พ.ศ. 2478
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1935)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2478 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1935 MCMXXXV |
Ab urbe condita | 2688 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1384 ԹՎ ՌՅՁԴ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6685 |
ปฏิทินบาไฮ | 91–92 |
ปฏิทินเบงกอล | 1342 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2885 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 24 Geo. 5 – 25 Geo. 5 |
พุทธศักราช | 2479 |
ปฏิทินพม่า | 1297 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7443–7444 |
ปฏิทินจีน | 甲戌年 (จอธาตุไม้) 4631 หรือ 4571 — ถึง — 乙亥年 (กุนธาตุไม้) 4632 หรือ 4572 |
ปฏิทินคอปติก | 1651–1652 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3101 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1927–1928 |
ปฏิทินฮีบรู | 5695–5696 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 1991–1992 |
- ศกสมวัต | 1857–1858 |
- กลียุค | 5036–5037 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11935 |
ปฏิทินอิกโบ | 935–936 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1313–1314 |
ปฏิทินอิสลาม | 1353–1354 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 10 (昭和10年) |
ปฏิทินจูเช | 24 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4268 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 24 民國24年 |
พุทธศักราช 2478 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1935
(หากเป็นการนับศักราชแบบเดิม พ.ศ. 2478 เริ่มในวันที่ 1 เมษายน)
- ปีกุน สัปตศก จุลศักราช 1297 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2478)
- พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่: เจ้าแก้วนวรัฐ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482)
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486)
- เจ้าประเทศราช:
- นายกรัฐมนตรี: พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) (21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2478
เหตุการณ์
[แก้]- 2 มีนาคม - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ
- หากนับศักราชแบบเก่าจะเป็นปี พ.ศ. 2477
- 20 มิถุนายน - โรงเรียนโยธินบูรณะ เปิดเรียนเป็นปฐมฤกษ์อย่างเป็นทางการ
- 3 ตุลาคม - มุสโสลินีส่งกองทหารอิตาลีเข้ายึดเอธิโอเปีย
- 27 มกราคม - ทีมฟุตบอลทีมชาติอุรุกวัยชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 13 ณ สนามกีฬานาซีโอนัล กรุงลิมา ประเทศเปรู
- 26 กุมภาพันธ์ - เกิดเหตุการณ์ 2-26 ในญี่ปุ่นโดยกลุ่มทหารหัวรุนแรงปิดล้อมศูนย์กลางรัฐบาลในกรุงโตเกียว และสังหารรัฐมนตรีคลัง โคเรดิโย ตาคาฮาชิ
- 7 มีนาคม - ฮิตเลอร์ส่งทหารเข้าไปในแคว้นไรน์
วันเกิด
[แก้]- 6 มกราคม – สมเด็จพระราชินีมาร์การิตาแห่งบัลแกเรีย
- 8 มกราคม – เอลวิส เพรสลีย์ นักร้องแนวร็อกแอนด์โรลและนักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 16 สิงหาคม พ.ศ. 2520)
- 16 มกราคม – อูโด ลาเทค ผู้ฝึกสอนฟุตบอลชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 31 มกราคม พ.ศ. 2558)
- 25 มกราคม – อังตอนียู รามัลยู ยานึช นายพลและนักการเมืองชาวโปรตุเกส
- 31 มกราคม – เค็นซาบูโร โอเอะ นักเขียนชาวญี่ปุ่น ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
- 12 กุมภาพันธ์ –
- โผน กิ่งเพชร นักมวยสากลชาวไทย (ถึงแก่กรรม 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2525)
- เจ้าหญิงมารินา เจ้าหญิงแห่งเนเปิลส์
- 10 มีนาคม - แจ้ง คล้ายสีทอง นักขับเสภา (ถึงแก่กรรม 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
- 25 มีนาคม – แฟลซ อีลอสเด้ นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์ (ถึงแก่กรรม 2 มกราคม พ.ศ. 2528)
- 12 เมษายน – ลพ บุรีรัตน์ นักร้องและนักแต่งเพลงลูกทุ่ง (ถึงแก่กรรม 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
- 8 พฤษภาคม – เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก พระญาติชั้นที่สองใน สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก (สิ้นพระชนม์ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561)
- 16 พฤษภาคม – เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ (ถึงแก่กรรม 13 มีนาคม พ.ศ. 2548)
- 13 มิถุนายน
- สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 แห่งราชอาณาจักรไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
- คริสโตและฌอง-โคลด ศิลปินแนวจัดวางชาวอเมริกันเชื้อสายบัลแกเรียและโมรอกโก (ถึงแก่กรรม 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
- 6 กรกฎาคม – เทนซิน เกียตโซ ทะไลลามะองค์ที่ 14 ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
- 14 กรกฎาคม – เออิจิ เนงิชิ นักเคมีชาวญี่ปุ่นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
- 30 กรกฎาคม – ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย นักร้องลูกทุ่งชายชาวไทย (ถึงแก่กรรม 28 มิถุนายน พ.ศ. 2535)
- 12 สิงหาคม – จอห์น คาซาล นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 13 มีนาคม พ.ศ. 2521)
- 20 สิงหาคม – รอน พอล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา
- 24 สิงหาคม – สึโตมุ ฮาตะ นักการเมืองญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560)
- 5 กันยายน – มานพ ยาระณะ ศิลปินชาวไทย (ถึงแก่กรรม 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558)
- 12 กันยายน – ฮาร์วีย์ เจ. ออลเทอร์ นักวิจัยทางการแพทย์, นักวิทยาไวรัส, แพทย์ และผู้รับรางวัลโนเบลชาวอเมริกัน
- 16 กันยายน – กำธร สุวรรณปิยะศิริ นักแสดงและนักพากย์ภาพยนตร์ชาวไทย (ถึงแก่กรรม 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553)
- 20 กันยายน – สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ (ถึงแก่อนิจกรรม 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
- 25 กันยายน – เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ
- 29 กันยายน – เจอร์รี ลี ลูวิส นักดนตรีแนวร็อกแอนด์โรลชาวอเมริกัน
- 1 ตุลาคม – จูลี แอนดรูว์ นักร้องและนักแสดงชาวอังกฤษ
- 6 ตุลาคม – บรูโน ซามมาร์ติโน นักมวยปล้ำอาชีพชาวอิตาลี
- 9 ตุลาคม – เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์
- 12 ตุลาคม – ลูชาโน ปาวารอตตี นักร้องโอเปราเสียงเทเนอร์ชาวอิตาลี (ถึงแก่กรรม 6 กันยายน พ.ศ. 2550)
- 8 พฤศจิกายน – อาแล็ง เดอลง นักแสดงชาวฝรั่งเศส
- 14 พฤศจิกายน – สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน (สวรรคต 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542)
- 16 พฤศจิกายน – มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอหฺ ผู้นำจิตวิญญาณชาวเลบานอน (ถึงแก่กรรม 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553)
- 28 พฤศจิกายน – เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนมิยะ
- 1 ธันวาคม – วูดดี อัลเลน นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
- 8 ธันวาคม – ธรรเมนทระ นักแสดงและนักการเมืองชาวอินเดีย
- 11 ธันวาคม – ประณัพ มุขัรชี ประธานาธิบดีคนที่ 13 แห่งสาธารณรัฐอินเดีย
- 15 ธันวาคม – มนูญกฤต รูปขจร อดีตประธานวุฒิสภา
- 26 ธันวาคม – นัสซิงเบ เอยาเดมา ประธานาธิบดีคนที่ 5 แห่งสาธารณรัฐโตโก (ถึงแก่อสัญกรรม 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548)
- 31 ธันวาคม – สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 8 กุมภาพันธ์ - มักซ์ ลีเบอร์มันน์ จิตกรชาวเยอรมัน (เกิด 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2390)
- 16 มีนาคม - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (ประสูติ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2395)
- 21 พฤษภาคม - ฮือโค เดอ ฟรีส นักพฤกษศาสตร์และนักพันธุศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ (เกิด 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2391)
- 29 สิงหาคม - สมเด็จพระราชินีอัสตริดแห่งเบลเยียม (พระราชสมภพ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448)
- 19 กันยายน - คอนสแตนติน ซีออลคอฟสกี นักวิทยาศาสตร์จรวดชาวรัสเซีย (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2400)
- 23 ตุลาคม - ชาลส์ เดมัธ ศิลปินชาวอเมริกัน (เกิด 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2426)
- 24 ตุลาคม - หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม (ประสูติ 30 กันยายน พ.ศ. 2401)
- 13 ธันวาคม - วิกตอร์ กรีญาร์ นักเคมีชาวฝรั่งเศส (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2414)
รางวัล
[แก้]- สาขาเคมี – Frédéric Joliot, Irene Joliot-Curie
- สาขาวรรณกรรม – ไม่มีการ��อบรางวัล
- สาขาสันติภาพ – คาร์ล ฟอน ออสซิเอ็ดซกี
- สาขาฟิสิกส์ – เจมส์ แชดวิก
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – ฮันส์ สเปมันน์