ข้ามไปเนื้อหา

ควายป่าแอฟริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ควายป่าแอฟริกัน)

ควายป่าแอฟริกา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 0.7–0Ma
สมัยไพลโอซีนตอนกลาง-สมัยโฮโลซีน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: สัตว์กีบคู่
วงศ์: วงศ์วัวและควาย
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยวัวและควาย
สกุล: ควายป่าแอฟริกา

(Sparrman, 1779)
สปีชีส์: Syncerus caffer
ชื่อทวินาม
Syncerus caffer
(Sparrman, 1779)
ชนิดย่อย

S. c. caffer
S. c. nanus
S. c. brachyceros
S. c. aequinoctialis
S. c. mathewsi

แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ตามชนิดย่อย

ควายป่าแอฟริกา (อังกฤษ: African buffalo, Cape buffalo; ชื่อวิทยาศาสตร์: Syncerus caffer) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) วงศ์ย่อยวัวและควาย (Bovinae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Syncerus[2]

ควายป่าแอฟริกามีลักษณะรูปร่างคล้ายกับควายป่า (Bubalus arnee) และควายบ้าน (B. bubalis) ที่พบในทวีปเอเชีย แต่ทว่ามีรูปร่างที่บึกบึนกว่ามาก มีนิสัยว่องไวและดุร้ายยิ่งกว่าควายป่าเอเชียอย่างมาก และมีส่วนโคนเขาที่ย้อนเข้าหากัน ในตัวผู้จะหนา และโคนเขาชนกัน ขณะที่ตัวเมียจะมีเขาที่เล็กกว่า และโคนเขาไม่ชนกัน ลำตัวมีสีเข้ม กีบเท้ามีลักษณะโค้งกลมขนาดใหญ่ ลำตัวมีความยาว 2.1–3.4 เมตร น้ำหนักมากกว่า 700 กิโลกรัมขึ้นไป มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 22–25 ปี

พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาใต้ บริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าสะวันน่า และบึงน้ำขนาดใหญ่ทั่วไป กินหญ้าและใบไม้เป็นอาหาร เมื่อโตเต็มวัยมักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ชอบที่จะแช่ปลักโคลนเหมือนควายในทวีปเอเชีย โดยมีตัวเมียและลูกเป็นส่วนใหญ่ของฝูง โดยมีตัวผู้ที่มีอายุมากที่สุดเป็นจ่าฝูง มีระยะเวลาตั้งท้องนานประมาณ 340 วัน เมื่อถูกคุกคามจากสัตว์อื่น เช่น สิงโต ทั้งฝูงจะหันบั้นท้ายเข้าชนกัน เพื่อป้องกันลูกควายวัยอ่อนที่ยังป้องกันตัวไม่ได้ ให้อยู่ในวงล้อมป้องกันจากการถูกโจมตี[3]

ควายป่าแอฟริกาได้รับความสนใจในเชิงการท่องเที่ยวดูสัตว์ โดยถูกจัดให้เป็น 1 ใน 5 ผู้ยิ่งใหญ่ของสัตว์ป่าแอฟริกา อันประกอบไปด้วย สิงโต, ช้างแอฟริกา, ควายป่า, แรด และเสือดาว[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. IUCN SSC Antelope Specialist Group (2019). "Syncerus caffer". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T21251A50195031. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-1.RLTS.T21251A50195031.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. African Buffalo Information (อังกฤษ)
  4. ["The Famous "Big Five" (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-08. สืบค้นเมื่อ 2012-03-26. The Famous "Big Five" (อังกฤษ)]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]