ข้ามไปเนื้อหา

แนวสเตรซา

จากวิกิพีเดีย ��ารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน

แนวสเตรซา คือ การประชุมร่วมกันที่เมืองสเตรซา ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ และผู้นำอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี เมื่อวันที่ 14 เมษายน 1935 ซึ่งได้ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่าเป็น คำประกาศสุดท้ายของที่ประชุมเมืองสเตรซา มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะรักษาสนธิสัญญาโลคาร์โน และประกาศยืนยันถึงความเป็นเอกราชของออสเตรีย และพร้อมที่จะต้านทานเยอรมนีถ้าหากเกิดการฝ่าฝืนสนธิสัญญาแวร์ซาย

แนวสเตรซาได้ชื่อมาจาก ที่ประชุมเมืองสเตรซา ในอิตาลี ซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุม แนวสเตรซานั้นมีปัจจัยมาจากการที่เยอรมนีทำการสร้างกองทัพอากาศขึ้นใหม่ และเพิ่มขนาดของกองทัพบกเป็น 36 กองพล (หรือ 400,000 นาย) และทำการประกาศเกณฑ์ทหารเมื่อเดือนมีนาคม 1935

แนวสเตรซานั้นล้มเหลวดังที่เห็นได้จากเป้าหมายที่คลุมเครือ เป้าหมายไม่ชัดเจนและเป็นการยากที่จะส่งเสริมเอาไว้ มันถูกบัญญัติออกมาไว้เพื่อให้เกิดความคลุมเครือ และไม่สนใจการพาดพิงถึงเยอรมนี ซึ่งอังกฤษพยายามรับเข้ามาเป็นนโยบายคู่ อังกฤษนั้นถือว่าข้อพิพาทใด ๆ ที่พาดพิงไปถึงเยอรมนีจะไม่สร้างความเป็นปรปักษ์ระหว่างฮิตเลอร์กับการเจรจาอังกฤษ-เยอรมัน ซึ่งทำให้ดูเหมือนกับว่าการประนีประนอมระหว่างอังกฤษกับเยอรมนีก็ค่อนข้างจะประสบความสำเร็จ ฮิตเลอร์นั้นได้ใช้ยุทธวิธีที่อังกฤษและฝรั่งเศสคาดเดาล่วงหน้าได้ยาก แต่ว่าแนวสเตรซาก็ทำให้ฮิตเลอร์ต้องเดาบ้างว่าอังกฤษนั้นต้องการที่จะทำอะไร อย่างไรก็ตาม การเจรจากับเยอรมนีนั้น ไม่ได้ทำให้อังกฤษได้เปรียบเลยในข้อตกลงการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมนี

อีกเหตผลหนึ่งที่นำไปสู่ความล้มเหลว ก็คือ ไม่มีชาติใดเลยในที่ประชุมสเตรซา (ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี) ที่มีความต้องการที่จะรุกรานเยอรมนี และไม่ได้มีการตอบโต้กรณีที่เยอรมนีสร้างกำลังทหารขึ้นใหม่อย่างจริงจัง แต่ว่ารัฐบาลอังกฤษนั้นมีเจตจำนงว่าไม่ต้องการที่จะก่อสงครามตามความคิดเห็นของคนอังกฤษส่วนใหญ่ในเวลานั้น

แนวร่วมดังกล่าวนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ภายในสองเดือน สหราชอาณาจักรได้เซ็นสัญญาในข้อตกลงการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมนี ซึ่งเยอรมนีได้รับไฟเขียวให้สร้างกองทัพเรือขึ้นมาใหม่ และสามารถสร้างเรือดำน้ำขึ้นมาได้ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องมีระวางน้ำหนักไม่เกิน 35% ของราชนาวีอังกฤษ อังกฤษนั้นไม่ได้ปรึกษาหารือใด ๆ กับชาติร่วมประชุม ทำให้แนวร่วมดังกล่าวพบกับความเสียหายอย่างร้ายแรง ประเทศที่เข้าร่วมประชุมนั้นได้ดำเนินการตามทางของตัวเอง แนวสเตรซาจึงปราศจากความหมาย และถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงเมื่ออิตาลีรุกรานเอธิโอเปียในสงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง

มุสโสลินีนั้นมีความทะเยอทะยานที่จะครอบครองอะบิสซิเนีย มุสโสลินีเดือดดาลมากที่อังกฤษได้เซ็นสัญญาการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมัน เนื่องจากว่าอังกฤษไม่ยอมมาปรึกษากับเขาก่อน มุสโสลินีนั้นหันกลับไปสู่แผนการรุกรานอะบิสซิเนียซึ่งมีชายแดนติดต่อกับโซมาลิแลนด์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ เขานั้นไม่มีความต้องการที่จะให้มิตรของเขาโกรธ แต่ว่าเขามีความรู้สึกว่าอังกฤษได้ทรยศหักหลังเขา เขายังเชื่อด้วยว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฐานะดังที่ได้ตกลงกันในแนวสเตรซา

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1936 มุสโสลินีได้เปิดช่องว่างให้แก่ฮิตเลอร์ในการที่เขาจะส่งทหารเข้าไปประจำในไรน์แลนด์ และบอกว่าอิตาลีนั้นจะไม่ยอมทำตามสนธิสัญญาโลคาร์โนอย่างเด็ดขาด และเยอรมนีก็ควรที่จะทำเช่นนั้น