เหรียญกาชาด
เหรียญกาชาด | |
---|---|
มอบโดย สภานายิกาสภากาชาดไทย | |
ประเภท | เหรียญพระราชทานเป็นที่ระลึก |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2461 |
ประเทศ | ราชอาณาจักรไทย |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
มอบเพื่อ | บำเหน็จความชอบที่พระราชทานแก่ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สภากาชาดไทย |
สถานะ | ยังพระราชทานอยู่ |
ผู้สถาปนา | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ประธาน | สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
เหรียญกาชาด เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จความชอบที่พระราชทานแก่ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สภากาชาดไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เหรียญกาชาดสมนาคุณ เหรียญกาชาดสรรเสริญ และเหรียญกาชาดสดุดี
เหรียญกาชาดสมนาคุณ
เหรียญกาชาดสมนาคุณ มีลักษณะเป็นเหรียญโลหะกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 27 มิลลิเมตร ด้านหน้ามีรูปกาชาดและรูปนางพยาบาลประคองทารกกับคนชรา ด้านหลังกลางเหรียญมีที่ว่างสำหรับจารึกนามผู้ได้รับเหรียญและพุทธศักราช ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า “สภากาชาด” และภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า “สมนาคุณ” ด้านหน้ามีห่วงเป็นรูปกระหนก สำหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบสีขาวกว้าง 30 มิลลิเมตร ด้านหน้าแพรแถบตรงกลางมีกาชาดลงยา สำหรับสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าวผูกเป็นรูปแมลงปอ
เหรียญกาชาดสมนาคุณ มีลำดับเป็น 3 ชั้น คือ
- ชั้นที่ 1 ทองคำลงยาที่กาชาด
- ชั้นที่ 2 เงินกาไหล่ทอง
- ชั้นที่ 3 เงินรมดำ
แพรแถบย่อ | ||
---|---|---|
ชั้นที่ 1 | ชั้นที่ 2 | ชั้นที่ 3 |
การขอเหรียญกาชาดสมนาคุณ
- ผู้ที่จะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ คือ ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทย โดยบริจาคเงินประการหนึ่ง โดยการช่วยด้านกำลังกายกำลังปัญญาจนเป็นผลดีประการหนึ่งและการบริจาคโลหิตอีกประการหนึ่ง
- ผู้ที่จะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1 หรือชั้นที่ 2 ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่บริจาคหรือขึ้นอยู่กับผลงานที่เป็นประโยชน์แก่สภากาชาดไทย ส่วนผู้จะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 3 ขึ้นอยู่กับผลงานเป็นหลัก ทั้งนี้ อาจมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่สภากาชาดไทยกำหนดขึ้น
- ผู้ที่ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 3 อาจได้รับการพิจารณาให้ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2 และชั้นที่ 1 ได้โดยยึดหลักการพิจารณาข้อ 2
- เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1
- ผู้ที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินแก่สภากาชาดไทยในคราวเดียวเป็นจำนวนเงินหรือมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 600,000 บาท และไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอย่างอื่น จากสภากาชาดไทย
- ผู้ที่บริจาค
- ผู้ที่บริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยครบ 100 ครั้ง
- ผู้ที่บริจาคพลาสมาแก่สภากาชาดไทยครบ 100 คร้ง
- ผู้ที่บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
- ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทยด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา และได้รับ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 2 มาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปี โดยมีผลงานในด้านต่าง ๆ อาทิ การบรรเทาทุกข์ การรับบริจาคโลหิต การหารายได้ การหาสมาชิก การประชาสัมพันธ์ การยุวกาชาด หรืออื่น ๆ ที่สภากาชาดไทยมอบหมายจนเป็นท่ยอมรับ
- ผู้ที่เป็นหัวหน้าช่วยชักชวนและจัดการให้มีผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สิน แก่สภากาชาดไทยในคราวเดียวเป็นจำนวนเงินหรือมีมูลค่าตั้งแต่ 600,000 บาทขึ้นไป จนได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ช้นท่ 2 แล้ว แต่ยังช่วยแนะนำให้มีผู้บริจาคทรัพย์สินใหม่ ต่อไปอีกภายในระยะเวลาไม่เกิน 8 ปี เป็นจำนวนเงินหรือม���มูลค่าไม่ต่ำกว่า 800,000 บาท จะพิจารณาให้ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ช้นท่ 1
- ผู้เป็นประธานในการจัดหารายได้ให้สภากาชาดไทย อาจจะได้รับ การพิจารณาให้ได้รับเหรียญฯ แล้วแต่กรณี
- ผู้เป็นประธานในการจัดหารายได้ให้สภากาชาดไทยของคณะภริยาทูต จะได้รับการพิจารณาให้ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นท่ 1 เป็นกรณีพิเศษ
- ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกเหล่ากาชาดจังหวัด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์
- เจ้าหน้าที่สภากาชาดไทยและข้าราชการคณะแพทยศาสตร์ ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สภากาชาดไทยเป็นอเนกประการ ดังนี้
- ผู้พ้นจากหน้าที่เนื่องจากเกษียณอายุ
- ต้องดำรงตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดในสภากาชาดไทยต้งแต่ระดับผู้อำนวยการขึ้นไปเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
- รองผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการที่มีผลงานดีเด่น ประกอบด้วยคุณงามความดีเป็นที่ประจักษ์ จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
- ผู้พ้นจากหน้าที่เนื่องจากดำรงตำแหน่งโดยมีวาระก่อนครบวาระ ต่อไปอีก
- ต้องดำรงตำแหน่งในระดับผู้อำนวยการ
- ต้องดำรงตำแหน่งครบตามวาระหรือออกโดยเกษียณอายุ
- ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดในสภากาชาดไทย
- ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับผู้อำนวยการที่พ้นจากหน้าที่ด้วยสาเหตุอื่น (นอกจากในข้อ 8.1 และข้อ 8.2) ท่มีผลงานดีเด่นและกอปรด้วยคุณงามความดี เป็นท่ประจักษ์และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสภากาชาดไทย
- ผู้พ้นจากหน้าที่เนื่องจากเกษียณอายุ
- เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2
- ผู้ที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินแก่สภากาชาดไทยในคราวเดียว เป็นจำนวนเงินหรือมีมูลค่าไม่ต่ำากว่า 300,000 บาท และไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอย่างอื่น จากสภากาชาดไทย
- ผู้ที่เป็นหัวหน้าช่วยชักชวนและจัดการชักชวนให้มีผู้บริจาคเงินหรือ ทรัพย์สินแก่สภากาชาดไทยในคราวเดียวเป็นจำนวนเงินหรือมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 600,000 บาท
- ผู้ที่บริจาค
- ผู้ที่บริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยครบ 75 คร้ง
- ผู้ที่บริจาคพลาสมาแก่สภากาชาดไทยครบ 75 คร้ง
- ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทยด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา แรงงาน และได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ช้นที่ 3 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี โดยมีผลงานในด้านต่าง ๆ อาทิ การบรรเทาทุกข์ การรับบริจาคโลหิต การหารายได้ การหาสมาชิก การประชาสัมพันธ์ การยุวกาชาด หรืออื่น ๆ ท่สภากาชาดไทยมอบหมายจนเป็นที่ยอมรับ
- เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 3
- ผู้ที่บริจาค
- ผู้ที่บริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยครบ 50 ครั้ง
- ผู้ที่บริจาคพลาสมาแก่สภากาชาดไทยครบ 50 ครั้ง
- ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทยด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา และแรงงาน ไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยมีผลงานในด้านต่าง ๆ อาทิ การบรรเทาทุกข์ การรับบริจาคโลหิต การหารายได้ การหาสมาชิก การประชาสัมพันธ์ การยุวกาชาด หรืออื่น ๆ ที่สภากาชาดไทย มอบหมายจนเป็นที่ยอมรับ
เหรียญกาชาดสรรเสริญ
เหรียญกาชาดสรรเสริญ มีลักษณะเป็นเหรียญทองแดงแบนรูปกาชาดมีวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 มิลลิเมตรทับอยู่ ด้านหน้ามีรูปนางเมขลาอุ้มพระชนกขึ้นจากมหาสมุทรด้านหลังกลางเหรียญมีข้อความว่า “กาชาดสรรเสริญ” มีห่วงห้อย สำหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบสีขาวกว้าง 30 มิลลิเมตร มีริ้วสีแดงใกล้ขอบทั้งสองข้าง ด้านหน้าแพรแถบตรงกลางมีกาชาดลงยา สำหรับสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าวผูกเป็นรูปแมลงปอ
การขอเหรียญกาชาดสรรเสริญ
บุคคลที่ควรได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญให้แก่ผู้ประกอบคุณงามความดี
- ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ตกอยู่ในอันตราย และอาจถึงแก่ชีวิตให้รอดพ้นอันตรายโดยมิได้เห็นแก่สินจ้างรางวัล และมิได้นำพาต่ออันตรายของตนเอง
- ผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ เช่น ตั้งสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้าโดยมิได้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตัว
- ผู้บำเพ็ญคุณความดีช่วยเหลือผู้อื่นจนตัวเองถึงแก่ชีวิต มีสิทธิ์ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญ โดยทายาทจะเป็นผู้ได้รับพระราชทานแทน
- ผู้ที่ทำประโยชน์ในภาวะภัยพิบัติ เกิดโรคระบาดโดยบริจาคทรัพย์ของตนเองให้ความช่วยเหลือโดยไม่คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตัว
- ผู้ที่ทำหน้าที่ให้แก่สภากาชาด เพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บบริเวณเขตกระสุนปืนในภาวะสงคราม การจลาจล หรือในพื้นที่ที่มีโรคระบาด โดยไม่คิดประโยชน์ตอบแทนจากสภากาชาดไทย จนกระทั่งเหตุการณ์นั้นสงบเรียบร้อย และได้ผลดีเป็นที่พอใจของกรรมการ
- ชาวต่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดีแก่สภากาชาดไทย หรือบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ โดยมิได้คิดประโยชน์ส่วนตนซึ่งคณะกรรมการเจ้าหน้าที่เห็นสมควรยกย่องเป็นกรณีพิเศษ
- นายกเหล่ากาชาดจังหวัด กรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด เหรัญญิก และเลขานุการเหล่ากาชาดจังหวัด ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากสภากาชาดไทย เป็นเวลานานครบ 15 ปี มีสิทธิที่จะได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญ (หากผู้ใดปฏิบัติงานมิได้ติดต่อกัน แต่รวมเวลาปฏิบัติงานแล้วครบ 15 ปี ก็มีสิทธิ์ได้รับเช่นกัน)
- ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในสภากาชาดไทย และได้ทำการมาแล้วกอปรด้วยความดีความชอบเป็นเวลานานถึง 15 ปีขึ้นไป นับตั้งแต่วันที่รับตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดในกิจการของสภากาชาดไทย
เหรียญกาชาดสดุดี
เหรียญกาชาดสดุดี มีลักษณะเป็นเหรียญกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 มิลลิเมตร ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงฉลองพระองค์ชุดไทยประยุกต์ ทรงสายสะพายและสายสร้อยแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับดวงตราปฐมจุลจอมเกล้า เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙ ชั้นที่ ๑ ภายในวงขอบเหรียญมีข้อความว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย” ด้านหลังกลางเหรียญมีรูปตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ ขนาบด้านขวาและซ้ายด้วยเครื่องหมายกาชาด ด้านล่างมีข้อความว่า “กาชาดสดุดี” เหนือขอบเหรียญมีอักษรพระนามาภิไธย “ส.ก.” ไขว้ ภายใต้พระมหามงกุฎ ด้านหลังมีห่วงสำหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบกว้าง 30 มิลลิเมตร พื้นของแพรแถบเป็นสีขาวและตรงกลางแพรแถบมีริ้วสีแดง สำหรับสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าวผูกเป็นรูปแมลงปอ
เหรียญกาชาดสดุดี มีลำดับเป็น 3 ชั้น คือ
- ชั้นพิเศษ ทองคำ
- ชั้นที่ 1 เงิน
- ชั้นที่ 2 บรอนซ์