นักเรียนพลังกิฟต์
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นักเรียนพลังกิฟต์ | |
---|---|
ประเภท | ละครชุด (ซีรีส์) |
สร้างโดย | จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จีเอ็มเอ็มทีวี ภาพดีทวีสุข |
เค้าโครงจาก | The Gifted (พ.ศ. 2558) และ The Gifted ภารกิจลับ นักเรียนพลังกิฟต์ โดย SandOtnim (ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์) |
กำกับโดย | ปัฏฐา ทองปาน ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์ วาสุเทพ เกตุเพ็ชร์ จารุพัฒน์ กันนุลา |
แสดงนำ |
|
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | ฤดูกาลที่ 1 Intro The Gifted ฤดูกาลที่ 2 Intro The Gifted Graduation |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | ฤดูกาลที่ 1 หลุดพ้น - คิว สุวีระ บุญรอด ไม่มีคำสัญญา - ชาต��� สุชาติ แซ่แห้ง ฤดูกาลที่ 2 Intro The Gifted Graduation |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนฤดูกาล | 2 |
จำนวนตอน | 26 ตอน 13 ตอน (ฤดูกาลที่ 1) 13 ตอน (ฤดูกาลที่ 2) |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | สถาพร พานิชรักษาพงศ์ ดารกา เชยสงวน ณัฐพงษ์ มงคลสวัสดิ์ |
ผู้อำนวยการสร้าง | อารียา ชีวีวัฒน์ ภุชงค์ ตันติสังวรากูร ปัฏฐา ทองปาน วรวลัญช์ โกจิ๋ว กำธร ล้อจิตรอำนวย |
สถานที่ถ่ายทำ | โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต โรงเรียนทานตะวันไตรภาษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี |
ผู้กำกับภาพ | วงศ์วัฒนะ ชุณหวุฒิยานนท์ |
ผู้ลำดับภาพ | ภาพดีทวีสุข สวัสดีทวีสุข |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่องวัน (ฤดูกาลที่ 1) จีเอ็มเอ็ม 25 (ฤดูกาลที่ 2), ไลน์ทีวี (ฤดูกาลที่ 1-2) |
ออกอากาศ | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 |
นักเรียนพลังกิฟต์ (อังกฤษ: The Gifted) เป็นละครชุด (ซีรีส์) แนวแฟนตาซีวิทยาศาสตร์ระทึกขวัญ มีเค้าโครงมาจากภาพยนตร์สั้น เดอะกิฟเต็ด (พ.ศ. 2558) และนิยาย The Gifted ภารกิจลับ นักเรียนพลังกิฟต์ ของ SandOtnim (ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์)[1] ผลิตโดยจีเอ็มเอ็มทีวี และภาพดีทวีสุข กำกับการแสดงโดย ปัฏฐา ทองปาน, ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์, วาสุเทพ เกตุเพ็ชร์ และ จารุพัฒน์ กันนุลา มีเนื้อหาทั้งหมด 2 ฤดูกาล โดยฤดูกาลแรกใช้ชื่อว่า The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และ ฤดูกาลที่ 2 ในชื่อ The Gifted Graduation ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
ตัวละคร
ตัวละครหลัก
- ปวเรศ เสริมฤทธิรงค์ (แปง)
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 8 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 เป็นผู้ที่อยากจะเข้าห้องกิฟต์ และได้เข้าในที่สุดจนกลายเป็นที่พูดถึงในโรงเรียน เพราะแปงคือนักเรียนห้อง 8 คนแรกที่สามารถสอบเข้าห้องกิฟต์ได้ ในตอนแรกยังไม่ค้นพบศักยภาพของตนเองจนกระทั่งมีการเปิดเผยในช่วงหลังว่าศักยภาพของแปงคือการโน้มน้าวและสั่งการให้คนอื่นทำตามอย่างที่ตนต้องการได้ในทุกกรณี โดยมีข้อจำกัดว่าแปงจะต้องแตะถูกจุดชีพจรของฝ่ายตรงข้ามจึงจะใช้ศักยภาพได้ โดยแปงไม่พอใจในระบบห้องกิฟต์เพราะแปงเห็นว่าเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความไม่เท่าเทียมและเอาเปรียบกันในโรงเรียน จึงคิดวางแผนเปิดโปงความลับของผู้อำนวยการโรงเรียน โดยมีเวฟเป็นคู่หูร่วมกันวางแผน หลังจากเหตุการณ์เปิดโปง ผอ.สุพจน์ไม่สำเร็จแปงถูกครูปอมลบความทรงจำและถูกส่งกลับไปอยู่ที่ห้อง 8 ภายหลังก็ได้ความทรงจำกลับคืนมาจากการช่วยเหลือกลุ่มเพื่อนที่เหลือ และยังคงวางแผนเปิดโปงโรงเรียนและผู้อำนวยการอย่างลับๆ แต่หลังจากเหตุการณ์เผยเรื่องของกรและผอ. สุพจน์ ทำให้เริ่มลังเลใจกับจุดประสงค์ที่ต้องการเปลี่ยนระบบในโรงเรียนว่ายังคงต่อหรือไม่
- วสุธร วรโชติเมธี (เวฟ)
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 เป็นนักเรียนคนแรกที่ค้นพบศักยภาพของตัวเอง คือสามารถแฮ็กข้อมูลและควบคุมสื่ออิเล็กทรอนิคส์ต่างๆได้เพียงแค่สัมผัสไปที่อุปกรณ์นั้นๆ เดิมเป็นเด็กที่ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว แต่ด้วยเหตุการณ์ครูนาราเมื่อสมัยมัธยมต้นทำให้เวฟกลายเป็นคนที่ชอบเอาชนะ ชอบดูถูกคนอื่น และไม่เชื่อใจใครง่ายๆ เคยเป็นหัวหน้าห้องกิฟต์แทนปุณณ์ และพยายามจะเผยความลับของห้องกิฟต์หลังจากที่ได้อันดับรองในการสอบกลางภาคห้องกิฟต์แต่ไม่สำเร็จ ในตอนแรกไม่ถูกกับแปงแต่ในภายหลังแปงใช้ความจริงใจเข้าหาเวฟจนทำให้เวฟยอมเปิดใจให้และร่วมมือกันวางแผนเปิดโปงผู้อำนวยการโรงเรียน หลังจากเหตุการณ์เปิดโปง ผอ.สุพจน์ไม่สำเร็จ เวฟถูกตัดทุนจากการซื้อคอมพิวเตอร์ทำให้ไม่สามารถใช้ศักยกายภาพอย่างเต็มที่ ทำให้เวฟเริ่มหันไปให้ความสนใจอุปกรณ์สื่อสารรูปแบบอนาล็อกแทน ภายหลังเวฟพัฒนาศักยภาพจนสามารถใช้พลังของตัวเองฟื้นฟูให้คอมพิวเตอร์ที่เสื่อมสภาพหรือพังให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง รวมไปถึงนิสัยใจคอที่เปลี่ยนไปเป็นคนที่มีสติมากขึ้น รอบคอบ ช่างสังเกต และกล้าที่จะไว้ใจคนอื่นมากขึ้น (แต่ก็ยังคงให้ความไว้ใจกับแปงมากกว่าเพื่อนคนอื่น) แต่เวฟก็ยังคงความกวนประสาทและใจร้อนอันเป็นนิสัยพื้นฐานของเขาอยู่
- ชญานิศ ปราชญ์คริษฐ์ (น้ำตาล)
- นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 เป็นหนึ่งในกลุ่มเพื่อนสนิทของแปงผู้เปรียบเสมือนมันสมองของกลุ่ม มีศักยภาพในการมองเห็นอดีตได้ผ่านการสัมผัสสิ่งของต่างๆ แต่มีโรคประจำตัวคือโรคความดันต่ำซึ่งเป็นผลข้างเคียงของการใช้พลัง อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีการศึกษา 2561 น้ำตาลจำเป็นต้องลาออกจากโรงเรียนเนื่องจากถูกลูกหลงระเบิดที่กลุ่มแอนตี้กิฟต์วางไว้ในห้องประชุมขณะที่ตนเข้าไปช่วยผู้ที่บาดเจ็บอยู่ในห้อง ทำให้น้ำตาลได้รับบาดเจ็บสาหัสจนแม่ของเธอได้พาไปรักษาตัวยังต่างประเทศอย่างลับๆ โดยไม่ได้บอกกล่าวกับกลุ่มเพื่อน[2] แต่เธอก็ยังคงติดต่อกับกลุ่มนักเรียนห้องกิฟต์อยู่ (โดยเฉพาะโอม) และเป็นผู้ถอดรหัสลับที่เกรซส่งให้โอมเกี่ยวกับแผนการลับของผู้อำนวยการ แต่เมื่อศักยภาพของผู้อำนวยการเสื่อมลง เธอจึงกลับมาประเทศไทยเพื่อมาช่วยเหลือแปงจากวิกฤต และได้บอกสาเหตุที่ไม่ได้เข้าร่วม นั่นก็คือในช่วงที่ ผอ.สุพจน์ ดำรงตำแหน่ง ได้พยายามหาโอกาสกำจัดศักยภาพของน้ำตาลที่มีความสามารถในการมองเห็นอดีต จึงให้แม่พาไปรักษาที่ต่างประเทศ และห้ามกลับมาประเทศไทยจนกว่าเรื่องจะคลี่คลายลง
- ไอริน จรัสพรรณ (เอแคลร์)
- นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 สมาชิกชมรมการแสดง เดิมมีชื่อเล่นว่าเม็ดฝ้าย[3] มีศักยภาพในการมองเห็นความรู้สึกและอารมณ์ของคนอื่นได้ผ่านการกะพริบตาแล้วเพ่งสมาธิไปที่คนๆ นั้น โดยความรู้สึกและอารมณ์ที่จับได้จะปรากฏในรูปแบบสีต่างๆ เช่น สีน้ำเงินคืออารมณ์เศร้า, สีเขียวคือความอิจฉาริษยา, สีชมพูคือความรัก, สีม่วงคือความกลัว, สีแดงคือความโกรธ, สีส้มคือความสุข แต่ถ้าหากใช้ศักยภาพมากๆ จะมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการแสบตา เป็นคนรักของปุณณ์ ในช่วงแรกมักจะดูถูกคนอื่นทั้งเพื่อนร่วมห้องและเพื่อนร่วมชมรม แต่ในเหตุการณ์ปล่อยรูปหลุดทำให้เริ่มปรับความเข้าใจกันได้และเปิดใจให้สมาชิกในคลาสกิฟต์
- ปุณณ์ ทวีศิลป์ (ปุณณ์)
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 มีศักยภาพในการลอกเลียนแบบความสามารถของคนอื่นๆ ได้เพียงแค่จ้องมองไปที่คนๆ นั้น และสามารถเลียนแบบได้เป็นอย่างดีแต่ประสิทธิภาพจะไม่เทียบเท่ากับเจ้าของความสามารถ แต่การคัดลอกความสามารถทำให้เกิดมีตัวตนบุคลิกมากกว่าหนึ่งแบบทั้ง บุคลิกผู้นำ, บุคลิกหวาดกลัว, บุคลิกความโกรธ และ บุคลิกด้านมืด และด้วยการมีบุคลิกหลากรูปแบบทำให้เกิดการคุยกันภายในจิตใจ เคยเป็นหัวหน้าคลาสกิฟต์แต่ภายหลังได้ถอนตัวออกจากการเป็นหัวหน้าคลาสกิฟต์ เนื่องจากผลกระทบจากศักยภาพของตน เป็นคนรักของแคลร์ อย่างไรก็ตามปุณณ์ได้พัฒนาศักยภาพจนสามารถคัดลอกศักยภาพของนักเรียนห้องกิฟต์เกือบครบทุกรุ่น แต่มีจุดอ่อนคือหากเกิดอาการโกรธขึ้นมาทำให้บุคคลิกที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ถูกครูดารินหลอกใช้เป็นเครื่องมือในแผนการของกระทรวง อย่างไรก็ตามปุณณ์ก็กลับใจและปรับความเข้าใจใหม่กับแปง
- วิชัย ทรายเงิน (โอม)
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 2 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 หนึ่งในกลุ่มเพื่อนสนิทของแปง มีศักยภาพในการทำให้สิ่งของต่างๆ หรือสิ่งมีชีวิต หายไปได้ และในภายหลังพัฒนาศักยภาพทำให้ตัวเองสามารถล่องหนได้หรือทำการซ่อนวัตถุสิ่งของและสิ่งมีชีวิตได้ แต่หากโอมใช้ศักยภาพมากๆ จะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการเลือดกำเดาไหล มีนิสัยติดตลกและไม่จริงจังกับอะไร แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขาก็กลายเป็นคนที่จริงจังและพร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อผองเพื่อน และเป็นโค้ชหลักในการค้นหาศักยภาพของธาม นอกจากนี้โอมเป็นผู้ที่ติดต่อกับน้ำตาลเพื่อตามเรื่องแผนการเกี่ยวกับโรงเรียน
- ธนากร กอบกุล (กร)
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 นักเรียนในห้องกิฟต์ สมาชิกชมรมถ่ายรูป เป็นเพื่อนของแคลร์ในตอนเด็ก และเคยแอบชอบแคลร์ มีศักยภาพที่สามารถฟื้นฟูและรักษาร่างกายตัวเองได้ในระดับเซลล์ ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้ 24 ชั่วโมงโดยไม่จำเป็นต้องนอนหลับหรือพักผ่อนและสามารถต้านทานสารยาสลบชนิดต่างๆ แต่กรมองว่าศักยกายภาพดังกล่าวแทบไม่ค่อยมีประโยชน์มากเท่าใดนัก หลังจากนั้นจึงถูกระงับศักยภาพชั่วคราว แต่สุดท้ายเขาก็กลับเข้ามาอยู่ในห้องกิฟต์ และทำทีช่วยเพื่อนๆ แต่ลับหลังกรกลับเป็นผู้อยู่เบื้องหลังกลุ่มแอนตี้กิฟต์ที่ต่อต้านผอ.สุพจน์ และห้องกิฟต์ด้วยวิธีรุนแรง ซึ่งขัดกับหลักการของแปงและเพื่อนร่วมรุ่น15 คนอื่นๆ อีกทั้งเป็นผู้ปล่อยเชื้อไวรัส NYX-88 ของครูดาริน ใส่นักเรียนกิฟต์รุ่น 16 แต่อย่างไรก็ตามกรได้รับเชื้อไวรัส NYX-88 พร้อมกระโดดตึกเพื่อหลบหนีความผิดแต่ไม่ตายและถูกเก็บตัวไว้ในที่แห่งหนึ่ง แต่หลังจากนั้นก็กลับมาอีกครั้ง พร้อมเป็นคนแรกที่ใช้เครื่องลบเซลล์กิฟต์จากการแก้ไขรักษาไวรัส NYX-88
- พัชมณ ปิติวงกรณ์ (มณ)
- นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 2 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 สมาชิกชมรมศิลปะป้องกันตัว มีศักยภาพในด้านพละกำลังที่มากกว่ามนุษย์ทั่วไป แต่มีผลข้างเคียงที่สารฟีโรโมนจากของเหลวที่หลั่งจากร่างกายทั้งเหงื่อ, น้ำตา, เลือด ฯลฯ จะทำให้ผู้ที่ถูกสารดังกล่าวเกิดอาการคลุ้มคลั่ง และด้วยผลข้างเคียงดังกล่าวทำให้เกิดไม่มีความมั่นใจต่อการอยู่ชมรมเพราะเพื่อนในชมรมถูกสารฟีโรโมนจากเหงื่อของมณ จึงทำให้มณรู้ว่าเพื่อนในชมรมไม่ชอบมณ เธอจึงขอถอนตัวออกจากห้องกิฟต์ ทำให้ถูกระงับศักยภาพชั่วคราวเหมือนกับกร ในภายหลังเธอได้กลับเข้ามาอยู่ในห้องกิฟต์และใช้ศักยภาพเพื่อปกป้องทุกคนในห้องกิฟต์
- ชนุตม์ แซ่หลิว (แจ็ค) และ ชเนศ แซ่หลิว (โจ)
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 3 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 สองพี่น้องฝาแฝด มีศักยภาพในด้านการเชื่อมโยงกันระหว่างทั้ง 2 คน เช่น หากคนใดคนหนึ่งถูกทำร้าย เช่น ถูกเคาะหัวเข่า หรือบีบคอ อีกคนจะรู้สึกเจ็บไปด้วยแม้จะไม่ได้ถูกทำร้ายโดยตรง เมื่อเวลาผ่านไป แจ็คและโจคอยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้โอมในการฝึกค้นหาศักยภาพของธาม
- ธาม ธำรงค์สวัสดิ์ (ธาม)
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 16 นักเรียนใหม่��ี่สอบเข้าโรงเรียนฤทธาวิทยาคมมาได้ด้วยคะแนนอันดับ 1 ของรุ่น มีความฝันว่าอยากจะเข้าห้องกิฟต์ให้ได้ แต่เมื่อรู้ว่าห้องกิฟต์ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ธามก็ได้ร่วมมือกับเกรซและเพื่อนๆ ของเขาในการปลุกระดมนักเรียนเพื่อเรียกร้องให้นำห้องกิฟต์กลับมา แต่กลับได้ยินเสียงกระตุ้นเซลล์กิฟต์โดยบังเอิญในขณะที่กำลังแอบฟังกลุ่มนักเรียนกิฟต์รุ่น 15 วางแผน ทำให้ศักยภาพของธามถูกปลุกขึ้นก่อนการสอบวัดระดับและคัดเลือกนักเรียนเข้าห้องกิฟต์ ซึ่งศักยภาพของธามคือสามารถระบุพิกัดของคนอื่นและสถานที่ต่างๆได้อย่างแม่นยำเพียงแค่ใช้ความคิด แต่มีข้อจำกัดว่าธามจะต้องรู้จักหรือมีความคุ้นเคยกับสถานที่ดังกล่าว และรู้จักบุคคลเป้าหมายของเขา ทั้งนี้ ศักยภาพของธามมีผลข้างเคียงคือหากธามใช้ศักยภาพมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการปวดขมับอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามธามได้รับผลกระทบจากไวรัส NYX-88 จนรักษาตัวในโรงพยาบาลและถูดปิดข่าวเรื่องการเสียชีวิตในโรงเรียน
- ธรรมรงค์ เดชารัตน์ (เติร์ด)
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 1 นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 16 หนึ่งในสมาชิกทีมสารวัตรนักเรียนของโรงเรียนฤทธาวิทยาคม มีนิสัยจริงจัง ดุดัน เข้มงวด บ้าอำนาจ และชอบเอาชนะ เป็นอีกหนึ่งคนที่อยากจะให้คลาสกิฟต์กลับมาแม้จะมีท่าทีไม่ชอบใจนักเรียนกิฟต์รุ่นพี่เท่าใดนัก มีศักยภาพคือสามารถเข้าถึงความคิดจากสมองจากการสัมผัสที่หัวตามคำสั่งที่ต้องการ แต่มีผลข้างเคียงคือเติร์ดจะกลายเป็นคนอารมณ์รุนแรงในขณะที่กำลังใช้ศักยภาพ
- ณัฐณิชา วงศ์วัฒนะ (เกรซ)
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 16 นักเรียนหญิงรุ่นเดียวกับธาม เป็นคนที่เก่งหลายอย่างแต่ไม่โดดเด่นสักอย่าง มีบุคลิกลึกลับ พูดน้อย โลกส่วนตัวสูง ไม่ชอบเรื่องวุ่นวาย อีโก้สูง เจ้าความคิด และเป็นนักวางแผน เป็นกำลังสำคัญของธามในการปลุกระดมให้โรงเรียนนำห้องกิฟต์กลับมาอีกครั้ง มีศักยภาพคือเข้าสู่ลูปเวลาชั่วคราว (Temporal Looping) และเป็นคนเดียวในรุ่น 16 ที่ไม่ได้ติดเชื้อ NYX-88 จากฝีมือของกร เมื่อใช้ศักยภาพดังกล่าวผลกระทบคืออายุขัยสั้น แต่สามารถสื่อสารในจิตลูปเวลาได้ หลังจากการจับกุม ผอ.สุพจน์ สำเร็จ เกรซเป็นผู้ที่ใช้เครื่องลบเซลล์กิฟต์
- เกรชวัยผู้ใหญ่
- เกรซในมิติช่วงเวลาข้างหน้า ปรากฏตัวในนิมิตของเกรซที่ยังอยู่ในสภาวะหยุดชะงักจากศักยภาพของครูปอม เป็นผู้ที่ล่วงรู้ความจริงเกี่ยวกับเบื้องหลังของผอ. สุพจน์ และห้องกิฟต์ เป้าหมายจริงๆ คือต้องการให้พลังกิฟต์ทั้งหมดสูญหายไปเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องร้ายแรงที่ตามมาในอนาคต
บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
- ปรมะ วงศ์รัตนะ (ครูปอม)
- ครูที่ปรึกษาของห้องกิฟต์ เคยเป็นนักเรียนห้องกิฟต์รุ่นที่ 3 มีศักยภาพในการควบคุมคลื่นสมองและเปลี่ยนแปลงความทรงจำได้เพียงแค่ดีดนิ้ว แต่ต้องใช้เมโทรโนมหรือจังหวะเสียงสองจังหวะในการใช้พลัง หลังจากเหตุการณ์เกี่ยวกับการต่อต้านห้องกิฟต์ ครูปอมลาออกจากโรงเรียนไป แต่ในปีการศึกษา 2563 ครูปอมได้กลับเข้ามาในโรงเรียนอีกครั้งจากคำเชิญของ ผอ. สุพจน์ และจับตาดูการกระทำของแปงและนักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 อยู่เป็นระยะ ๆ
- ลัดดา งามกุล (ครูลัดดา)
- ครูหัวหน้าฝ่ายปกครองของโรงเรียนฤทธาวิทยาคม เป็นผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการมีห้องกิฟต์ แต่สุดท้ายก็เข้าใจและลาออกจากโรงเรียนฤทธาวิทยาคมไปช่วงปลายภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
- ดร. สุพจน์ เชื้อมณี
- ผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธาวิทยาคม มีศักยภาพเดียวกับแปงคือ สามารถโน้มน้าวและสั่งการให้คนอื่นทำตามอย่างที่ตนต้องการในทุกกรณี แต่มีความได้เปรียบตรงที่สุพจน์สามารถใช้ศักยภาพนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องแตะตัวอีกฝ่าย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของปริศนาลึกลับในโรงเรียนและการมีอยู่ของห้องกิฟต์ ในปีการศึกษา 2563 สุพจน์ถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดเรื่องนักเรียนห้องกิฟต์เสียชีวิต แต่ภายหลังก็ได้ช่วยเหลือธามและแปง โดยได้เล่าอดีตเบื้องหลังเกี่ยวกับพลังกิฟต์ แต่ว่าได้เผยอีกครั้งนั่นก็คือแผนการบางส่วนของ ผอ. สุพจน์ ที่ทำให้กลับมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนอีกครั้งพร้อมทั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริงคือต้องการสร้างการสอบเข้าห้องกิฟต์ทั่วประเทศ และเริ่มที่จะพยายามจะกำจัดบุคคลที่ต่อต้านห้องกิฟต์
- ในอดีตสุพจน์เป็นผู้ค้นพบเซลล์กิฟต์ โดยมียุทธและเนตรเป็นผู้ที่มีส่วนร่วม แต่ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ไม่ชอบมาพากลของกระทรวงทำให้ได้วางแผนสลับชื่อตัวตนโดยตนใช้ชื่อยุทธ แล้วหลอกให้ยุทธแทนเป็นสุพจน์รวมถึงเนตรที่ทดลองแล้วเกิดอาการป่วยจากการผลทดลอง และเมื่อกระทรวงได้ข้อตกลงทำให้สุพจน์เริ่มสร้างโครงการห้องกิฟต์โดยได้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธาวิทยาคมไป
- ดาริน วัฒนศิลป์ (ครูดาริน)
- ครูฝ่ายวิชาการคนใหม่ของโรงเรียนฤทธาวิทยาคม เข้าทำงานในปีการศึกษา 2563 ถูกส่งตัวมาโดยกระทรวงศึกษาและพัฒนามนุษย์เพื่อทำภารกิจนำไวรัส NYX-88 ใส่ ผอ.สุพจน์ และห้องกิฟต์ แต่หลังจากเกิดเรื่องกลุ่มแอนตี้กิฟต์ขโมยไวรัสไป จึงพยายามขอความช่วยเหลือให้กับกลุ่มนักเรียนกิฟต์รุ่น 15 และรุ่น 16 จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการต่อจากสุพจน์ และวางแผนอีกจุดประสงค์นั่นก็คือการทำลายกลุ่มภายในของนักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 โดยใช้ปุณณ์เป็นเครื่องมือ
นักเรียนคนอื่น
นักเรียนคนอื่น (ฤดูกาลที่ 1)
- ปกรณ์ มีโชค (แน็ก)
- อดีตเพื่อนสนิทและอดีตเพื่อนร่วมห้องของแปง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 ห้องที่ 1 อยู่ชมรมศิลปะป้องกันตัว เป็นผู้ที่สนใจที่จะเข้าห้องกิฟต์เช่นเดียวกับแปงแต่ไม่ผ่านการคัดเลือก และด้วยการไม่ได้ถูกเลือกห้องกิฟต์ทำให้แน็กเริ่มผิดใจกับแปงมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้แน็กเริ่มคิดไปเองว่าแปงไม่สนใจและพยายามจะเอาเปรียบเอาชนะตน อย่างไรก็ตามแน็กได้ถูกลบความทรงจำหลังจากเหตุการณ์ที่แปงใช้พลังที่มีอยู่ควบคุมไว้ โดยไม่มีความหมาดหมางกัน
- รวินท์ บุญรัก (ก้อย)
- นักเรียนหญิงชั้นมัธยมปีที่ 4 ห้องที่ 3 ชมรมข่าวสื่อสาร เป็นผู้พยายามจะเปิดโปงนักเรียนห้องกิฟต์ โดยใช้กรเป็นเครื่องมือ แต่ถูกขัดขวางโดยนักเรียนห้องกิฟต์ จึงถูกครูปอมลบความทรงจำและถูกไล่ออกในที่สุด
- มะม่วง
- นักเรียนหญิงอยู่ชมรมนักข่าว ทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศข่าวของโรงเรียน เป็นอีกคนที่ได้รับผลกระทบจากศักยภาพของมณ
- โฟล์ค
- ปรากฏตัวในตอนที่ 2 อดีตเพื่อนร่วมห้องและเพื่อนสนิทของโอม ชอบเอาเปรียบโอมประจำจนจำใจเป็นเพื่อนสนิทไป เป็นผู้ที่ถูกโอมใช้พลังที่ทำให้หายตัวไป แต่หลังจากที่กลับมาได้ ก็ถูกลบความท���งจำหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น
- แป้งร่ำ
- ปรากฏตัวในตอนที่ 4 นักเรียนหญิงที่อยู่ชมรมการละครเช่นเดียวกับแคลร์ เป็นผู้ที่ปล่อยคลิปและพยายามกลั่นแกล้งแคลร์บนโลกโซเชียล เพราะแค้นที่แคลร์ทำตัวเด่น ชอบกดให้คนอื่นอยู่ต่ำกว่าตน ไม่สนใจคนรอบข้าง ไม่เห็นหัวใคร
- มีนา
- นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ปรากฏตัวในตอนที่ 6 นักเรียนในชมรมศิลปะป้องกันตัวคนที่ได้รับผลกรทบศัลยภาพของมณ
- เบสท์
- ปรากฏตัวในตอนที่ 4 นักเรียนในชมรมการแสดง มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าชมรมและผู้กำกับการแสดง
- ฟลุ๊ค
- ปรากฏตัวในตอนที่ 4 นักเรียนในชมรมการแสดง
- ชะเอม
- ปรากฏตัวในตอนที่ 4 นักเรียนในชมรมการแสดง ทำหน้าที่เป็นผู้จัดชุดนักแสดงในชมรม
- อาร์ต
- นักเรียนชมรมศิลปะป้องกันตัว เป็นหัวหน้าชมรม รุ่นพี่ของมณ
- ดุ๊ค
- อดีตสมาชิกชมรมศิลปะป้องกันตัว เป็นผู้ขโมยชุดชั้นในหญิง
- เจน
- นักเรียนหญิงชมรมศิลปะป้องกันตัว เป็นผู้ที่ถูกสารฟีโรโมนของมณเป็นคนแรก
นักเรียนคนอื่น (ฤดูกาลที่ 2)
- หญิง
- ปรากฏตัวตั้งแต่ตอนที่ 8 อยู่ในช่วงอุ่น I Love เป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นผู้ที่ได้ยินเสียงกระตุ้นเซลล์กิฟต์โดยบังเอิญเช่นเดียวกับธามแต่อยู่บริเวณข้างนอกห้อง ทำให้ศักยภาพถูกปลุกขึ้นก่อนการสอบวัดระดับ แต่ไม่ได้ถูกคัดเลือกเป็นนักเรียนเข้าห้องกิฟต์ มีศักยภาพคือทำให้ร่างกายภายในเกิดความร้อนเมื่อเกิดอาการที่ตื่นเต้น
ตัวละครอื่นๆ
- ชานนท์ ทวีพงศ์ (นนท์)
- ปรากฏตัวตั้งแต่ตอนที่ 3 อดีตนักเรียนห้องกิฟต์รุ่นที่ 3 อยู่ชมรมวิทยาศาสตร์และอวกาศ เป็นเพื่อนสนิทสมัยเรียนของครูปอม แต่ถูกขับออกจากห้องกิฟต์และออกจากโรงเรียนในภายหลังเนื่องจากไปพบความลับของห้องกิฟต์และผอ.สุพจน์เข้าและพยายามจะเปิดโปงความลับ โดยครูปอมจำเป็นต้องลบความทรงจำของนนท์ไป และข้อมูลของนนท์ในหนังสือทะเบียนนักเรียนห้องกิฟต์ถูกฉีกออก โดยไม่รู้ว่าเขาอยู่ที่ไหนหลังจากออกจากโรงเรียน อย่างไรก็ตามชานนท์ได้กลับมาอีกครั้งเนื่องจากต้องการที่จะพยายามเปิดโปง ผอ.สุพจน์อีกครั้งหลังจากที่ได้เห็นข่าวเกี่ยวกับกลุ่มนักเรียนที่ไม่เห็นด้วยกับห้องกิฟต์และผอ.สุพจน์ โดยชานนท์ได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีของกระทรวงและเฝ้ามองเหตุการณ์เกี่ยวกับการวางแผนเปิดโปงโรงเรียนและผู้อำนวยการ โดยที่เป็นคนรู้ว่ากรคือผู้ที่นำเชื้อไวรัส NYX-88 จากครูดาริน แต่ว่าแผนดังกล่าวเป็นแผนหลอกซึ่งความจริงแล้วคือถูก ผอ. สุพจน์ รับมอบงานเกี่ยวกับเชื้อไวรัส NYX-88 และได้ฉีดเชื้อไวรัสใส่ครูปอมเพราะเกิดความแค้นในอดีตที่ทำไว้
- นิชา กันนุลา
- นักเรียนกิฟต์คนแรกของโรงเรียน เป็นคนที่มีศักยกายภาพในการต้านเชื้อโรคหลายๆ ชนิด แต่ก็สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- วิภาวี สุวรรณปาน
- เพื่อนสนิทของนิชา เป็นผู้ร่วมทำรายงานกับนิชา แต่ถูกเพื่อนในห้องกลั่นแกล้งและถูกหาว่าเป็นปลิงพยายามเกาะนิชาที่เป็นเด็กเรียนเก่งจนเกิดความแค้นขึ้นมา โดยวางแผนที่จะฆ่านิชาด้วยการเอายาพิษใส่ลงในเหรียญทอง และพยายามฆ่าทุกคนในโรงเรียนด้วยการวางยาพิษใส่แท็งค์น้ำในโรงเรียน แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากครูลัดดาได้พบเห็นตามข้อความรหัสมอร์สที่นิชาเคาะ เสียชีวิตจากการถูกนิชาพลักตกตึกตายและถูกปิดข่าวว่าเป็นการฆ่าตัวตาย และด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุที่ทำให้ทางโรงเรียนได้ปรับระเบียบกฏห้องเรียนในชั้นโดยแบ่งระดับห้องที่มีความเก่งจากมากไปหาน้อย
- ชญานี ปราชญ์คริษฐ์
- ปรากฏตัวในตอนที่ 3 เป็นแม่ของน้ำตาล
- ศ.ดร.เปรมชัย ทวีศิลป์
- พ่อของปุณณ์
- นารา ทวีวัฒนกุล
- ครูโรงเรียนเก่าของเวฟ สนใจเวฟที่มีความสามารถพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงพยายามตีสนิทและให้เวฟมาช่วยตนร่วมกันพัฒนาผลงาน แต่ในภายหลังนาราได้ไปใส่ร้ายเวฟว่าขโมยผลงานวิทยานิพนธ์ของเธอ จึงถูกเวฟแก้แค้นด้วยการแฉว่าเธอซื้อใบปริญญามา ทำให้นาราถูกไล่ออกจากโรงเรียน และเป็นตัวต้นเหตุที่ทำให้เวฟกลายเป็นคนที่ชอบเอาชนะคนอื่นและไม่เชื่อใจใคร
- พันโทพิเชษฐ์
- รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นศัตรูของ ผอ.สุพจน์ โดยวางแผนที่จะกำจัด ผอ.สุพจน์ ด้วยเชื้อไวรัส NYX-88 และส่งครูดารินเพื่อที่กำจัดภายในโรงเรียน
- ยุทธ
- เพื่อนสนิทของ ผอ. สุพจน์ ในสมัยวัยรุ่น ในอดีตถูก ผอ.สุพจน์ ใช้ศักยภาพเพื่อให้ตัวเองเชื่อว่าตนคือ "สุพจน์ เชื้อมณี" และมีพลังเช่นเดียวกับ ผอ.สุพจน์ แต่สุดท้ายก็ถูกหักหลังและถูกสุพจน์ใช้ศักยภาพบังคับใช้มีดที่เหลาจากช้อนปาดคอตัวเองตาย
- นัยเนตร จิรอาภา (เนตร)
- คนรักของยุทธ เป็นคนแรกที่ได้รับการทดลองคลื่นเสียงปลุกเซลล์กิฟต์ แต่เพราะอาการไข้หวัดที่มีอยู่ในวันทดลอง ทำให้เชื้อไข้หวัดที่อยู่ในตัวเนตรกลายพันธุ์เป็นไวรัสไข้สมองอักเสบชนิดรุนแรง และกลายเป็นต้นเหตุของเชื้อไวรัส NYX-88 และสุพจน์ได้เอาตัวเธอออกมาจากกระทรวงโดยหาคนอื่นไปแทนและหาวิธีรักษาเชื้อไวรัสนี้จนสำเร็จ และด้วยความรักและความเป็นห่วง สุพจน์จึงให้เธอเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น “กนกพรรณ รัตนเดชา” ตอนแรกเป็นหมอในโรงพยาบาลศิริราชได้ไม่นานก็ถูกบังคับให้เป็นครูของโรงเรียนในต่างจังหวัด
นักแสดง
นักแสดงหลัก
- กรภัทร์ เกิดพันธุ์ รับบท แปง
- วชิรวิชญ์ เรืองวิวรรธน์ รับบท เวฟ
- รมิดา จีรนรภัทร รับบท แคลร์
- อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ รับบท ปุณณ์
- หฤษฎ์ ชีวการุณ รับบท โอม
- พัทธดนย์ จันทร์เงิน รับบท กร
- นภสร วีระยุทธวิไล รับบท มณ
- ชยพล จุฑามาศ รับบท แจ็ค
- ชยกร จุฑามาศ รับบท โจ
- ชัชชวิศ เตชะรักษ์พงศ์ รับบท ครูป��ม
- วันชนะ สวัสดี รับบท ผอ.สุพจน์
- เฉพาะฤดูกาลที่ 1
- ณิชภาลักษณ์ ทองคำ รับบท น้ำตาล (รับเชิญ ฤดูกาลที่2)
- แคทรียา อิงลิช รับบท ครูลัดดา
- ภูมิพัฒน์ ไพบูลย์ รับบท แน็ค
- วรรณวิมล เจนอัศวเมธี รับบท ก้อย
- เฉพาะฤดูกาลที่ 2
- ณัฐวรรธ์ ฟิงค์เลอร์ รับบท ธาม
- ภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืน รับบท เติร์ด
- ชนิกานต์ ตังกบดี รับบท เกรซ
- มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล รับบท ครูดาริน
- ปรเมศร์ น้อยอ่ำ รับบท พันโทพิเชษฐ์
- จิรกิตติ์ ถาวรวงศ์ รับบท ชานนท์ (รับเชิญ ฤดูกาลที่1)
- ภูริกูลกฤษฎ์ ชูศักดิ์สกุลวิบูล รับบท พัน (ฤดูกาลที่2)
นักแสดงรับเชิญ
- เฉพาะฤดูกาลที่ 1
- สรัลธร คล้ายอุดม รับบท นารา
- แพรพลอย โอรี รับบท แป้งร่ำ
- สุภากาญจน์ เบญจอารักษ์ รับบท นิชา
- อภิชญา เเซ่จัง รับบท มีนา
- ภูมิรพี รักษาชัฎ รับบท โฟล์ค
- โยธาศักดิ์ โชคทวีสถาพร รับบท นาย
- ธนกร พรวรรณพงศา รับบท ฟลุ๊ค
- มนัสชญา พุทธขาว รับบท ชะเอม
- ธงชัย พิมาพันธุ์ศรี รับบท อาร์ต
- รพี พัฒนเจริญ รับบท ดุ๊ค
- ทิพนภา ไชยพงศ์ผาต รับบท เจน
- รังสิวุฒิ ชโลปถัมภ์ รับบท ศ.ดร.เปรมชัย ทวีศิลป์
- เฉพาะฤดูกาลที่ 2
- ฐานัฐพ์ โล่ห์คุณสมบัติ รับบท ยุทธ (ตัวจริง) / ผอ.สุพจน์ (ตัวปลอม)
- ตะวัน วิหครัตน์ รับบท ยุทธ (ตัวปลอม) / ผอ.สุพจน์ (ตัวจริง)
- ทิพนารี วีรวัฒโนดม รับบท เนตร (วัยสาว)
- ปรมาภรณ์ จ่างกมล รับบท เนตร (ปัจจุบัน)
- อินทิรา เจริญปุระ รับบท เกรซ (วัยผู้ใหญ่)
รางวัลและการเข้าชิง
ปี | งานประกาศรางวัล | สาขาที่เข้าชิง | ผู้ได้รับเสนอชื่อ | ผลการตัดสิน | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2562 | LINE TV Awards 2019 | Best Fight Scene ฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม | อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ | ชนะ | [4] |
25th Shanghai Television Festival Magnolia Awards | Best Foreign TV Series / Serial (ละครชุดสั้น/ยาวต่างประเทศยอดเยี่ยม) |
The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ | เสนอชื่อเข้าชิง | [5] | |
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 10 | กำกับภาพยอดเยี่ยม | วงศ์วัฒนะ ชุณหวุฒิยานนท์ | เสนอชื่อเข้าชิง | [6] | |
Asian Television Awards ครั้งที่ 24 | Best Actor in a Leading Role (นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม) |
กรภัทร์ เกิดพันธุ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | [7] | |
Best Actor in a Supporting Role (นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม) |
อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ | ชนะ | [8] | ||
Best Original Screenplay (บทโทรทัศน์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม) |
The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ | เสนอชื่อเข้าชิง | [7] | ||
2564 | สยามซีรีส์อวอร์ด 2021 | ซีรีส์/ละครสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม | The Gifted Graduation | ชนะ | [9] |
ซีรีส์/ละครสุดฮอต | The Gifted Graduation | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
นักแสดงชายยอดนิยม | กรภัทร์ เกิดพันธุ์ | ชนะ | |||
นักแสดงหญ���งยอดนิยม | รมิดา จีรนรภัทร | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
นักแสดงสมทบชายยอดนิยม | วชิรวิชญ์ เรืองวิวรรธน์ | ชนะ | |||
นักแสดงสมทบหญิงยอดนิยม | นภสร วีระยุทธวิไล | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
Asian Academy Creative Awards 2021 | Best Actor in a Leading Role นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม |
กรภัทร์ เกิดพันธุ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | [10] | |
Asian Television Awards ครั้งที่ 26 | Best Actor in a Leading Role นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม |
กรภัทร์ เกิดพันธุ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | [11] |
เพลงประกอบ
- ฤดูกาลที่ 1
- ในเวอร์ชันที่ลงทางเน็ตฟลิกซ์ไม่มีเพลงประกอบ
- หลุดพ้น - สุวีระ บุญรอด
- ไม่มีคำสัญญา Ost. wake up ชะนี Very Complicated - สุชาติ แซ่แห้ง
- ฤดูกาลที่ 2
- Intro The Gifted Graduation
อ้างอิง
- ↑ "อีกไม่กี่วัน! จากหนังสั้นธีสิส สู่ซีรีส์ที่หลายคนรอคอย The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์". sudsapda.com. 23 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ The Gifted Graduation ตอนที่ 2
- ↑ The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ ตอนที่ 4
- ↑ ""จีเอ็มเอ็มทีวี" กวาด 4 รางวัล "LINE TV AWARDS 2019"". springnews.co.th. 13 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2019.
- ↑ "Nominations for The 25th Shanghai TV Festival". stvf.com. 25 พฤษภาคม 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-19. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2019.
- ↑ "ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบ รางวัล นาฎราช ครั้งที่ 10". TrueID. 31 พฤษภาคม 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-03. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2019.
- ↑ 7.0 7.1 "2019 Nominess - Asian Television Awards". asiantvawards.com. 25 ตุลาคม 2019.
- ↑ ""กันอรรถพันธ์" คว้ารางวัล "Best Actor in a Supporting Role"". newsplus.co.th. 13 มกราคม 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-05. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2020.
- ↑ "'GMMTV' คว้า 5 รางวัล 'Siam Series Awards 2021'". 7 พฤศจิกายน 2021. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "AAA National Winners 2021 Full List" (PDF). Asian Academy Creative Awards. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2021.
- ↑ "2021 Nomineess - Asian Television Awards". asiantvawards.com. Asian Television Awards. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2021.