พระเจ้าชุงจง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระเจ้าจุงจง เกาหลี: 중종; ฮันจา: 中宗; อาร์อาร์: Jungjong; เอ็มอาร์: Chungchong ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่11 ของอาณาจักรโชซอน (พ.ศ. 2049 ถึง พ.ศ. 2087) หรือ องค์ชายจินซอน เป็นโอรสของพระเจ้าซองจงกับมเหสีจอนฮยอน และเป็นพระอนุชาต่างมารดาขององค์ชายยอนซัน ซึ่งละเลยกิจการบ้านเมืองสนพระทัยแต่ความสุขในวังทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ในพ.ศ. 2049 กลุ่มขุนนางทีไม่พอใจองค์ชายยอนซันประกอบด้วยซองฮึยอัน พาร์ควอนจง ฮงเคียงจู ฯลฯ ยึดอำนาจจากองค์ชายยอนซันและเนรเทศพระองค์ไปที่เกาะคังฮวา ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน และสนับสนุนให้องค์ชายจินซอนจึงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจุงจง
ความพยายามในการปฏิรูป
พระราชกรณียกิจแรกของพระเจ้าจุงจงคือการแก้ไขปัญหาที่เกิดในสมัยองค์ชายยอนซันและนำความสงบสุขกลับคืน แต่รัชสมัยของพระองค์นั้นมิได้สงบสุขแต่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งอำนาจ เพราะพระเจ้าจุงจงทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขุนนางที่ยึดอำนาจมาให้พระองค์เอง เริ่มจากมเหสีทันเกียงของพระองค์ มีพระบิดาเป็นขุนนางที่เรืองอำนาจในสมัยองค์ชายยอนซัน บรรดาขุนนางจึงเกรงว่าพระนางจะแก้แค้นให้บิดา จึงปลดพระนางเสียและเนรเทศออกนอกวัง นางตรอมใจมากจึงผูกพระศอสิ้นพระชนม์ในพ.ศ. 2049
การที่จะเยียวยาบ้านเมืองจากสมัยองค์ชายยอนซัน พระเจ้าจุงจงทรงเห็นว่าควรจะมีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง จึงทรงเรียกปราชญ์ฝ่ายซานิม ที่ถูกทำลายย่อยยับไปในสมัยองค์ชายยอนซันนั้น กลับมารับราชการในพ.ศ. 2061 มีโจกวางโจเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อคานอำนาจกลุ่มฮุงงู โจกวางโจได้เสนอการปฏิรูปที่รุนแรงที่สุด คือ ยกเลิกการสอบควากอ (จอหงวน) ระบบเก่าและตั้งระบบควากอของ"ผู้ที่คงแก่เรียนและมีคุณธรรม" เป็นการคัดเลือกบัณฑิตใหม่เข้ารับราชการโดยการแนะนำของขุนนาง พระเจ้าจุงจงทรงถูกครอบงำโดยความคิดตามแบบอุดมคติของกลุ่มซานิม ซึ่งขัดแย้งกับแนวความคิดแบบเน้นการปฏิบัติจริงของหลักขงจื้อของกลุ่มฮุงงู
โจกวางโจยังเสนอให้ปลดขุนนางกลุ่มฮุงงูหลายคนจากจองกุก คงชิน (ทำเนียบผู้กระทำคุณความดี)ทำให้ขุนนางฮุงงูหลายคน ได้แก่ นัมกุน อัครเสนาบดี และฮงเกียงจู โค่นอำนาจกลุ่มซานิมและเนรเทศโจกวางโจรวมทั้งบริวารในพ.ศ. 2062 เรียกว่า การสังหารปราชญ์ในปีคิมโจ หรือการสังหารหมู่ปราชญ์ครั้งที่สาม หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้พระเจ้าจุงจงสูญเสียอำนาจให้แก่ขุนนางฮุงงูไปทั้งหมด โดยที่ทรงเป็นประมุขนั่งบัลลังก์อยู่อย่างเดียวเท่านั้น
ในพ.ศ. 2058 มเหสีจังเกียงจากตระกูลยุนประสูติองค์รัชทายาท (พระเจ้าอินจง) แต่สิ้นพระชนม์ในระหว่างพระประสูติการ จึงแต่งตั้งมเหสีองค์ที่สามจากตระกูลยุนอีกเช่นกันคือมเหสีมุนจอง ทำให้ราชสำนักแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายยุนใหญ่สนับสนุนองค์รัชทายาท และฝ่ายยุนเล็กสนับสนุนมเหสีมุนจอง ในพ.ศ. 2067 ฝ่ายยุนเล็กขับคิมอันโนขุนนางฝ่ายยุนใหญ่พ้นจากอำนาจ แต่คิมอันโลก็กลับมาและแก้แค้นโดยการใส่ร้ายพระสนมพาร์คเคียงบินและองค์ชายพอกซอง จนทั้งสองพระองค์ถูกสำเร็จโทษในพ.ศ. 2070 แต่พระอนุชาทั้งสองของมเหสีมุนจอง คือ ยุนอุลโล และยุนวอนฮัง ขับคิมอันโลจากอำนาจและถูกประหารชีวิต แต่ยุนอิม พระบิดาของมเหสีจังเกียงและพระอัยกาขององค์รัชทายาทยังรักษาอำนาจกลุ่มยุนใหญ่ไว้ได้ ทำให้ทั้งสองฝ่ายคานอำนาจกันสมดุล
ในสมัยของพระเจ้าจุงจงประเทศโชซอนยังต้องเผชิญศึกหนักทั้งทางทะเล คือ โจรสลัดวาโกะ ที่เริ่มการปล้นสะดมระลอกใหม่ตามเมืองท่าของเกาหลีและจีนสร้างความเสียหาย และทางบกคือพวกเผ่าแมนจูจากทางเหนือ
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าจุงจง
- เหตุการณ์กบฏ โซว กวางโจ ซึ่งเป็นเหตุให้ราชสำนัก โชซอน เกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งหนึ่งของสมัยพระเจ้าจุงจง เกิดขึ้นในช่วงต้นรัชสมัย
ในสมัยที่ โซว กวางโจ รับราชการนั้นพระเจ้าจุงจง ทรงมีความคิดที่จะริเริ่มปฏิรูปการเมือง แต่ด้วยฐานอำนาจของเหล่าขุนนางที่สนับสนุนพระองค์ มาแต่ครั้งโค่นล่ม องค์ชายยอนซันกุน มีมาก และกดดันให้พระเจ้าจุงต้องพระราชทานยาพิษให้กับโชว กวางโจ และเนรเทศเหล่าบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถออกไปจากเมืองหลวง เหตุการณ์นองเลือดครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ พระเจ้าจุงจง ไม่เคยลืมและเป็นตราบาปในพระทัยมาตลอด
- เหตุการณ์สาบแช่ง รัชทายาท พระเจ้าอินจง(เซจา) เกิดขึ้นในปีครองราชย์ที่ 22 ของพระเจ้าจุงจง มีการนำหนูตายมาสาบแช่งรัชทายาท ในงานวันประสูติของรัชทายาท ทำให้ราชสำนักเกาหลี เกิดความวุ่นวาย แบ่งเป็นฝักฝ่าย เกิดการแตกแยกทางความคิด กล่าวกันว่าเหล่าเชื้อพระวงศ์ นางในและขุนนางทั้งหลาย ที่มีพระพันปี เป็นผู้นำได้กราบทูลให้พระเจ้าจุงจงลงโทษ สนม ยอง พิน แต่พระเจ้าจุงจงก็ทรงปฏิเสธถึง 18 ครั้ง และในที่สุด 1 ใน 3 พระสมนเอก ยอง พิน (สกุลปาร์ค)ในฐานะที่เป็นผู้บงการเหตุการณ์ทั้งหมด ถูกปลดจากตำแหน่งและส่งตัวไปอยู่ที่ เมือง ซัง จู พร้อมกับองค์ชาย พก ซอง โอรสพระองค์โตของพระเจ้าจุงจง จนในที่สุดได้รับพระราชทานยาพิษ
- พระพันปี จาซุน เสด็จสวรรคต ในปีครองราชย์ที่ 24
- พระเจ้าจุงจง เสด็จสวรรคต ในปีครองราชที่ 48
บุคคลสำคัญ
พระเจ้าจุงจงทรงเป็นที่รู้จักกันดีว่าทรงมีแพทย์หลวงเป็นสตรี คือแดจังกึม เป็นแนอึยบี (แพทย์หลวงหญิง) ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางจอง 3 พุมในพ.ศ. 2067 คนแรกในประวัติศาสตร์เกาหลีที่ไม่เคยมีมาก่อน ที่เป็นสตรีและมาจากชนชั้นต่ำ และไม่เป็นที่ยอมรับในเหล่าขุนนางขณะนั้น
นอกจากนี้พระมเหสีมุนจอง ทรงเป็นสตรีที่ฝักใฝ่การเมือง และกุมอำนาจเอาชนะบรรดาขุนนางชายได้ และยังสามารถว่าราชการแทนพระโอรสได้ คือ พระเจ้าเมียงจง เหตุที่พระนางต้องฝักใฝ่การเมือง ก็เพราะช่วงแรกพระนางไม่สามารถมีโอรสให้พระเจ้าจุงจงได้ พระนางมีพระธิดา 4 พระองค์ ในอดีตพระนางยังเคยสนับสนุน โซว กวาง โจ อีกด้วย
และยังมีคีแซงฮวางจินอี หรือเมียงโวล เป็นนางรำ นางได้ขึ้นชื่อว่าเป็นนางรำที่สวยที่สุดในเมืองฮันยาง ในขณะนั้น และมีความสามารถในศิลปะหลายแขนงและเป็นที่รู้กันว่านางสามารถแต่งชิโจ (กลอนเกาหลี) ตอบโต้กับนักปราชญ์ได้
พระบรมวงศานุวงศ์
- พระราชบิดา: พระเจ้าซองจง (성종)
- พระราชมารดา: พระมเหสีจองฮยอน จาก ตระกูลยุน (정현왕후 윤씨)
- พระมเหสีและพระสนม:
- พระมเหสีดันกยอง จากตระกูล ชิน (단경왕후 신씨)
- พระมเหสีชังกยอง จากตระกูล ยุน (장경왕후 윤씨)
- พระมเหสีมุนจอง (문정왕후 윤씨)
- พระสนมเอก ยองพิณ จาก ตระกูล ปาร์ค (경빈 박씨, ?-1533)
- พระสนมเอก ฮีพิณ จากตระกูล ฮอง (희빈 홍씨, 1494-1581)
- พระสนมเอก ชางพิณ จากตระกูล อัน (창빈 안씨, 1499-1549)
- พระสนมฮอง (숙의 홍씨)
- พระสนมลี (숙의 이씨)
- พระสนมนา (숙의 나씨)
- พระสนมลี (숙원 이씨)
- พระสนมคิม (숙원 김씨)
- พระโอรสและพระธิดา:
- องค์ชายรัชทายาทอินจง (왕세자), ลูกชายเพียงคนเดียวของ พระมเหสี ชังกยอง
- องค์ชายรัชทายาทเมียงจง (경원대군), ลูกชายเพียงคนเดียวของ พระมเหสี มุนจอง
- องค์ชายบ๊กซอง(복성군), ลูกชายเพียงคนเดียวของพระสนมเอก ยองพิณ จากตระกูล ปาร์ค
- องค์ชายกึมวอน (금원군), ลูกชายคนแรกของพระสนมเอก ฮีพิณ จากตระกูล ฮอง
- องค์ชายบ๊งซอง (봉성군), ลูกชายคนที่สองของพระสนมเอก ฮีพิณ จากตระกูล ฮอง
- องค์ชายอยองยาง (영양군), ลูกชายคนแรกของพระสนม ชางพิณ จากตระกูล อัน
- องค์ชายต๊อกฮุง (덕흥군), ลูกชายคนที่สองของพระสนม ชางพิณ จากตระกูล อัน (ภายหลัง ลูกชายขององค์ชาย ต๊อกฮุงได้ขึ้นครองราชเป็น พระเจ้าซอนโจ
- องค์ชายแฮอัน (해안군), ลูกชายเพียงคนเดียวของ พระสนมฮอง
- องค์ชายด๊อกยาง (덕양군), ลูกชายเพียงคนเดียว ของพระสนมลี
- องค์หญิงโฮยฮี (효혜공주), ลูกสาวเพียงคนเดียวของ พระมเหสีชังกยอง
- องค์หญิงอยีฮี (의혜공주), ลูกสาวคนแรก ของพระมเหสี มุนจอง
- องค์หญิงโฮยซุน (효순공주), ลูกสาวคนที่สอง ของพระมเหสีมุนจอง
- องค์หญิงกยองฮยอน (경현공주), ลูกสาวคนที่สาม ของพระมเหสีมุนจอง
- องค์หญิงอินซุน (인순공주), ลูกสาวคนที่สี่ ของพระมเหสีมุนจอง
- องค์หญิงแฮซุน (혜순옹주), ลูกสาวคนแรกของ พระสนมเอกยองพิณ จากตระกูล ปาร์ค
- องค์หญิงแฮจอง (혜정공주), ลูกสาวคนที่สอง ของพระสนมเอกยองพิณ จากตระกูลปาร์ค
- องค์หญิงจองซิน (정신옹주), ลูกสาวเพียงคนเดียวของ พระสนมเอกชางพิณ จากตระกูลอัน
- องค์หญิงจองซัน (정순옹주), ลูกสาวคนแรกของ พระสนมลี
- องค์หญิงโฮยจอง (효정옹주), ลูกสาวคนที่สอง ของพระสนมลี
- องค์หญิงซอกจอง (숙정옹주), ลูกสาวเพียงคนเดียวของพระสนมคิม
|- style="text-align: center; vertical-align: middle;"
| rowspan="1" style="width: 26%; background-color: inherit;" | องค์ชายยอนซัน
| rowspan="1" style="width: 4%;" |
| rowspan="1" style="width: 40%; padding: .5em 0; background-color: inherit;" | ประมุขแห่งเกาหลี
(พ.ศ. 2049 - พ.ศ. 2087)
| rowspan="1" style="width: 4%;" |
| rowspan="1" style="width: 26%; background-color: inherit;" | พระเจ้าอินจง