ข้ามไปเนื้อหา

แบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
แผนภูมิวงกลมแสดงสัดส่วนขององค์ประกอบมวลหรือพลังงานที่มีอยู่ในเอกภพ ซึ่งราว 95% เป็นสสารมืดและพลังงานมืด

แลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม (อังกฤษ: Lambda-CDM) ย่อมาจาก Lambda-Cold Dark Matter หรือ แลมบ์ดา-สสารมืดเย็น มักถูกอ้างถึงในฐานะเป็น แบบจำลองมาตรฐาน ของการศึกษาจักรวาลวิทยาตามทฤษ���ีบิกแบง เป็นความพยายามอธิบายถึงการมีอยู่และโครงสร้างของรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล โครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ การกระจายตัวขององค์ประกอบแสง และการที่เอกภพขยายตัวออกด้วยอัตราเร่ง ซึ่งสังเกตได้จากแสงจากดาราจักรที่อยู่ห่างไกลหรือซูเปอร์โนวา เป็นแบบจำลองที่เรียบง่ายที่สุดที่เห็นพ้องกันว่าสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่สังเกตได้

พารามิเตอร์

[แก้]

แบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม อ้างอิงจากพารามิเตอร์ 6 ตัว ได้แก่ ความหนาแน่นทางกายภาพของแบริออน ความหนาแน่นทางกายภาพของสสารมืด ความหนาแน่นของพลังงานมืด ดัชนีสเปกตรัมเชิงสเกลาร์ ค่าแอมพลิจูดความผันแปรของความโค้ง และ reionization optical depth จากข้อมูลเหล่านี้ จะสามารถคำนวณหาค่าอื่นๆ ในแบบจำลอง (รวมถึงค่าคงที่ฮับเบิลและอายุของเอกภพ) ได้

พารามิเตอร์ที่แสดงอยู่ในตารางข้างล่างนี้ นำมาจากข้อมูลสังเกตการณ์ของดาวเทียม WMAP[1] ซึ่งรวมถึงการประมาณค่าที่อ้างอิงจากการแกว่งตัวของแบริออน (Baryon Acoustic Oscillations) ในดาราจักร และจากความส่องสว่าง/เวลาขยายตัว ของซูเปอร์โนวาประเภท Ia[2] การตีความข้อมูลเหล่านี้ในแบบจำลองจักรวาลวิทยา มีแสดงอยู่ในเอกสารวิชาการของ Komatsu et al.[3] และ สเพอร์เจล et al.[4]

พารามิเตอร์ ค่า คำอธิบาย
t0 ปี อายุของเอกภพ
H0 km s-1 Mpc-1 ค่าคงที่ฮับเบิล
Ωb ความหนาแน่นแบริออน
Ωc ความหนาแน่นสสารมืด
ΩΛ ความหนาแน่นพลังงานมืด
Ωtot kg/m3 ความหนาแน่นรวม
ΔR2 , k0 = 0.002Mpc-1 แอมพลิจูดความผันแปรของความโค้ง
σ8 แอมพลิจูดความผันแปร ที่ 8h-1Mpc
ns ดัชนีสเปกตรัมเชิงสเกลาร์
z* Redshift at decoupling
t* ปี Age at decoupling
τ Reionization optical depth
zreion Redshift of reionization
treion ปี Age at reionization

อ้างอิง

[แก้]
  1. Table 7 of Hinshaw, G. et al. (WMAP Collaboration). (2009). "Five-Year Wilkinson Microwave Anisotropy Probe Observations: Data Processing, Sky Maps, and Basic Results". The Astrophysical Journal Supplement. 180: 225–245. doi:10.1088/0067-0049/180/2/225. arXiv:0803.0732 astro-ph/ 0803.0732. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  2. M. Kowalski et al. 2008 (Supernova Cosmology Project Collaboration). Improved Cosmological Constraints From New, Old and Combined Supernova Datasets.
  3. E. Komatsu et al. 2009 (WMAP Collaboration). Five-Year Wilkinson Microwave Anisotropy Probe (WMAP) Observations: Cosmological Interpretation.
  4. D. N. Spergel et al. 2003 (WMAP collaboration). First year Wilkinson Microwave Anisotropy Probe (WMAP) observations: determination of cosmological parameters, Astrophys. J. Suppl. 148 175 (2003).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]