ข้ามไปเนื้อหา

โคเบะ

พิกัด: (1545410)_region:JP-28 34°41′24″N 135°11′44″E / 34.69000°N 135.19556°E / 34.69000; 135.19556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
นครโคเบะ

神戸市
Port of Kobe
Akashi Bridge
Kitano Thomas house
Chang'an gate
Night view of Osaka bay
Kobe Port Tower
ธงของนครโคเบะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของนครโคเบะ
ตรา
แผนที่
ที่ตั้งของโคเบะในจังหวัดเฮียวโงะ
ที่ตั้งของโคเบะในจังหวัดเฮียวโงะ
นครโคเบะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
นครโคเบะ
นครโคเบะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: (1545410)_region:JP-28 34°41′24″N 135°11′44″E / 34.69000°N 135.19556°E / 34.69000; 135.19556
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันไซ
จังหวัด จังหวัดเฮียวโงะ
บันทึกทางการครั้งแรก201 ก่อนคริสตกาล
สถานะนคร1 เมษายน 1889
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีคิโซ ฮิซาโมโตะ
พื้นที่
 • นคร557.02 ตร.กม. (215.07 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มิถุนายน 2021)
 • นคร1,522,188 คน
 • อันดับที่ 7
 • ความหนาแน่น2,700 คน/ตร.กม. (7,100 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[1] (2015)2,419,973 (ที่ 6) คน
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
• ต้นไม้แต้ฮั้งฮวย (Camellia sasanqua)
• ดอกไม้ไฮเดรนเยีย
โทรศัพท์078-331-8181
ที่อยู่6-5-1 Kano-chō, Chūō-ku, Kōbe-shi, Hyōgo-ken
650-8570
เว็บไซต์www.city.kobe.lg.jp/foreign/english/index.html
โคเบะ
"โคเบะ" ในคันจิแบบใหม่ (ชินจิไต)
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
ชินจิไต神戸
คีวจิไต神戶
ฮิรางานะこうべ
คาตากานะコーベ
การถอดเสียง
โรมาจิKōbe

นครโคเบะ (ญี่ปุ่น: 神戸市โรมาจิKōbe-shi; อังกฤษ: Kobe City[2]) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับที่ 5 และเป็นเมืองท่าที่สำคัญของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของเกาะฮนชู ห่างจากโอซากะไปทางตะวันตกประมาณ 30 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคนและเป็นส่วนหนึ่งของมหานครเคฮันชิง

โคเบะปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในพงศาวดารนิฮงโชกิที่กล่าวถึงการก่อตั้งศาลเจ้าอิกูตะโดยพระจักรพรรดิจิงกูเมื่อ ค.ศ. 201[3] โคเบะไม่มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากนัก แม้แต่เมื่อครั้งที่ท่าเรือโคเบะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะในสมัยเอโดะ จนกระทั่งมีการก่อตั้งเมืองขึ้นในปี ค.ศ. 1889 ในชื่อเมือง "คัมเบะ" (神戸) เพื่อระลึกถึงผู้บริจาคในการสร้างศาลเจ้าอิกูตะ[4] จากนั้น ใน ค.ศ. 1956 รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดตั้งให้โคเบะมีฐานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด

โคเบะเป็นเมืองท่าที่สำคัญของญี่ปุ่นที่มีการค้าขายกับทางประเทศตะวันตกนับตั้งแต่การยกเลิกนโยบายปิดประเทศ ในปี ค.ศ. 1995 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้เมืองโคเบะได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่ก็สามารถซ่อมแซมบูรณะจนกลายมาเป็นเมืองท่าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งได้ บริษัทหลาย ๆ แห่งได้ตั้งสำนักงานใหญ่ที่โคเบะ และเมืองนี้ยังขึ้นชื่อในเรื่องของเนื้อโคเบะอีกด้วย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ยุคแรกเริ่มจนถึงยุคเมจิ

[แก้]

มีการขุดพบการใช้เครื่องมือของมนุษย์ในยุคโจมงทางตะวันตกของโคเบะ[5] ด้วยความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ของโคเบะทำให้มีการพัฒนาท่าเรือขึ้นที่บริเวณแห่งนี้ หลักฐานลายลักษณ์อักษรของโคเบะปรากฏครั้งแรกในพงศาวดารนิฮงโชกิ ที่กล่าวถึงการตั้งศาลเจ้าอิกูตะโดยพระจักรพรรดิจิงกูเมื่อ ค.ศ. 201[3]

ในยุคนาระและยุคเฮอันนั้น ท่าเรือในบริเวณนี้ก็เป็นที่รู้จักในชื่อท่าจอดเรือแห่งโอวาดะ (โอวาดะ โนะ โทมาริ) เป็นจุดที่เริ่มต้นของการเดินทางเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน[5] เมืองโคเบะเคยเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อปี ค.ศ. 1180 เมื่อซามูไรไทระ โนะ คิโยโมริสั่งให้พระจักรพรรดิอันโตกุย้ายไปอยู่ที่เขตฟูกูฮาระในเขตเมืองโคเบะ[5] แต่หลังจากนั้น 5 เดือน พระจักรพรรดิก็ย้ายกลับไปเคียวโตะอีกครั้ง[6] ในช่วงปลายของยุคเฮอัง โคเบะเป็นสมรภูมิของสงครามเก็มเป อันเป็นเป็นเส้นแบ่งระหว่างยุคเฮอังและยุคคามากูระ

หลังจากยุคคามากูระ โคเบะกลายเป็นศูนย์กลางการค้าขายกับจีนและต่างประเทศ และในคริสต์ศตวรรษที่ 13 โคเบะเริ่มเป็นที่รู้จักในชื่อ ท่าเรือเฮียวโงะ (兵庫津 เฮียวงตสึ) เป็นท่าเรือสำคัญเคียงคู่กับท่าเรือของเมืองโอซากะ

หลังจากนั้น เมื่อเข้าสู่ยุคเอโดะ พื้นที่ทางตะวันออกของโคเบะอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลอะมะงะซะกิและพื้นที่ทางตะวันออกอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลอะกะชิ ส่วนพื้นที่ตอนกลางของเมืองถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ[7][8] จนกระทั่งมีการยกเลิกไปเมื่อมีการยกเลิกระบบศักดินาในปี ค.ศ. 1871 เมื่อล่วงเข้าสู่ยุคเมจิ และมีการใช้ระบบการปกครองแบบจังหวัด ดังเช่นที่ใช้กันในทุกวันนี้

รัฐบาลบากูฟุเปิดท่าเรือโคเบะให้ค้าข่ายกับต่างประเทศได้พร้อมท่าเรือโอซากะเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1868 ก่อนที่จะเกิดสงครามโบชิงและการปฏิรูปเมจิขึ้น จากนั้นพื้นที่ของโคเบะจึงเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น และมีชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณคิตาโนะทางตอนเหนือของโคเบะในปัจจุบัน

สมัยใหม่

[แก้]

เมืองโคเบะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1889 และเนื่องจากเมืองมีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับศาลเจ้าอิกูตะ จึงได้ตั้งชื่อเมืองว่า "โคเบะ" ซึ่งมาจากคำว่า "คันเบะ" (神戸) ที่เป็นคำโบราณที่หมายถึงผู้ที่บริจาคในการสร้างศาลเจ้าแห่งนี้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โคเบะถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือการทิ้งระเบิด B-29 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1945 จนเป็นเหตุให้มีพลเรือนเสียชีวิต 8,841 ราย พื้นที่เมืองโคเบะลดลงไปกว่าร้อยละ 21 เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่องสุสานหิ่งห้อยโดยสตูดิโอจิบลิ

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1975 เทศมนตรีเมืองโคเบะผ่านบัญญัติว่าด้วยการห้ามมิให้ยานพาหนะใดที่บรรทุกอาวุธนิวเคลียร์เข้ามาเทียบท่าที่ท่าเรือโคเบะโดยเด็ดขาดหลังจากที่ได้รับการกดดันจากพลเรือนมาโดยตลอด

เมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1995 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงวัดขนาดได้ที่แมกนิจูด 7.2 เมื่อเวลา 5:46 นาฬิกา คร่าชีวิตชาวเมืองไป 6,434 ราย และประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย 212,443 คน ท่าเรือและหลายส่วนของเมืองได้รับความเสียหาย[9] หลังจากได้มีการบูรณะเมืองจนเข้าสู่สภาพปกติเรียบร้อยแล้ว เมืองโคเบะได้จัดแสดงแสงสี (Luminari) เพื่อเป็นที่ระลึกถึงโศกนาฏกรรมในครั้งนั้นเป็นประจำทุกปี

ท่าเรือโคเบะเคยเป็นท่าเรือที่มีเรือเข้าออกมากที่สุดของญี่ปุ่นและติดอันดับท่าเรือชั้นนำของเอเชีย จนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง[10] ปัจจุบัน โคเบะเป็นท่าเรืออันดับที่ 4 ของญี่ปุ่นและเป็นท่าเรือที่มีเรือเข้าออกมากที่สุดเป็นอันดับ 49 ของโลก (จากการจัดอันดับเมื่อปี 2012)

ภูมิศาสตร์

[แก้]

โคเบะตั้งอยู่ระหว่างชายฝั่งและภูเขา เป็นเมืองที่ยาวและแคบ ทางตะวันออกติดกับนครอาชิยะ ทางตะวันตกติดกับนครอากาชิ และมีเมืองอื่น ๆ ที่สำคัญตั้งอยู่รอบ ๆ เช่น ทาการาซูกะ นิชิโนมิยะ และมิกิ

จุดสังเกตที่สำคัญของพื้นที่บริเวณท่าเรือโคเบะคือหอคอยท่าเรือ อันเป็นหอคอยเหล็กกล้าสีแดง และชิงช้าสวรรค์ยักษ์ในย่านฮาร์เบอร์แลนด์ นอกจกนี้ยังมีการถมทะเลเพื่อสร้างเป็นเกาะพอร์ทและเกาะร็อกโกเพื่อขยายพื้นที่ของเมืองอีกด้วย

สำหรับย่านไกลจากทะเลนั้น มีย่านโมโตมาชิ ซันโนมิยะ และไชน่าทาวน์ เป็นย่านที่สำคัญของเมือง มีทางรถไฟหลายสายให้บริการรับส่งผู้โดยสารจากฝั่งตะวันออกไปถึงฝั่งตะวันตกของเมือง โดยมีศูนย์กลางรถไฟหลักอยู่ที่สถานีซันโนมิยะ สถานีโคเบะ และสถานรถไฟชิงกันเซ็งชินโคเบะ

จุดชมวิวที่สำคัญของเมืองอยู่บนภูเขารกโก สูงจากระดับน้ำทะเล 931 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ทั้งเมือง และจะมีความสวยงามเป็นพิเศษในช่วงฤดูใบไม้ร่วง

เขตปกครอง

[แก้]

เทศบาลนครโคเบะแบ่งการปกครองออกเป็น 9 เขต ได้แก่

แผนที่เขตของนครโคเบะ
ชื่อเขต คันจิ พื้นที่ (ตร.กม) หมายเลข
เขตคิตะ 北区 241.84 2
เขตชูโอ 中央区 28.37 7
เขตซูมะ 須磨区 30 4
เขตทารูมิ 垂水区 26.89 3
เขตนางาตะ 長田区 11.46 5
เขตนาดะ 灘区 31.4 8
เขตนิชิ 西区 137.86 1
เขตฮิงาชินาดะ 東灘区 30.36 9
เขตเฮียวโงะ 兵庫区 14.54 6

ภูมิอากาศ

[แก้]

โคเบะ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (CFA ตามระบบการแบ่งภูมิอากาศของเ��ิปเปน) มีฤดูร้อนที่ร้อนและฤดูหนาวที่อากาศเย็น ความชื้นในช่วงฤดูร้อนจะสูงกว่าฤดูหนาว แม้ว่าเป็นค่าที่ค่อนข้างต่ำกว่าบริเวณอื่น ๆ ในเกาะฮนชู และเป็นเมืองที่ไม่ค่อยจะมีหิมะตก

ข้อมูลภูมิอากาศของKobe
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 8.4
(47.1)
8.8
(47.8)
12.3
(54.1)
18.5
(65.3)
22.9
(73.2)
26.0
(78.8)
29.8
(85.6)
31.6
(88.9)
27.6
(81.7)
22.0
(71.6)
16.6
(61.9)
11.3
(52.3)
19.65
(67.37)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 4.7
(40.5)
5.0
(41)
8.0
(46.4)
14.0
(57.2)
18.4
(65.1)
22.0
(71.6)
25.9
(78.6)
27.3
(81.1)
23.6
(74.5)
17.7
(63.9)
12.5
(54.5)
7.5
(45.5)
15.55
(59.99)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.4
(34.5)
1.5
(34.7)
4.0
(39.2)
9.8
(49.6)
14.4
(57.9)
18.8
(65.8)
23.1
(73.6)
24.3
(75.7)
20.4
(68.7)
14.1
(57.4)
8.8
(47.8)
4.1
(39.4)
12.06
(53.71)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 43.4
(1.709)
54.4
(2.142)
92.6
(3.646)
136.4
(5.37)
144.2
(5.677)
218.0
(8.583)
156.8
(6.173)
91.7
(3.61)
170.8
(6.724)
103.1
(4.059)
66.2
(2.606)
38.0
(1.496)
1,315.6
(51.795)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 1
(0.4)
1
(0.4)
1
(0.4)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
3
(1.2)
ความชื้นร้อยละ 61 63 62 64 67 74 77 73 71 67 66 63 67.3
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 144.7 127.9 161.1 170.1 195.9 146.7 174.5 201.6 145.8 159.3 143.1 146.9 1,917.6
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990) [11]

ประชากร

[แก้]

เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 โคเบะมีประชากร 1,530,295 คน คิดเป็น 658,876 หลังคาเรือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากปีที่แล้ว ความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ 2,768 คนต่อตารางกิโลเมตร มีอัตราส่วนของผู้ชาย 90.2 คนต่อผู้หญิง 100 คน มีอัตราส่วนของประชากรอายุระหว่าง 0-14 ปีอยู่ที่ร้อยละ 13 อายุระหว่าง 15-64 ปีอยู่ที่ร้อยละ 67 และอายุเกิน 65 ปีอยู่ที่ร้อยละ 20 [12]

มีชาวต่างชาติที่ลงทะเบียนอาศัยอยู่ในโคเบะประมาณ 44,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลี (22,237 คน) ชาวจีน (12,516 คน) ชาวเวียดนาม (1,301 คน) และชาวสหรัฐอเมริกา (1,280 คน)[12]

เศรษฐกิจ

[แก้]
ท่าเรือโคเบะเป็นท่าที่มีเรือเข้าออกมากที่สุดในแถบคันไซ

ท่าเรือโคเบะ เป็นท่าเรือที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางการผลิตของเขตอุตสาหกรรมฮันชิง โคเบะเป็นเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าที่มีเรือเข้าออกมากที่สุดในภูมิภาค มากกว่าท่าเรือโอซากะ และสูงเป็นอันดับ 4 ของญี่ปุ่น[13]

ในปี ค.ศ. 2004 โคเบะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ที่ 6.3 ล้านล้านเยน คิดเป็นร้อยละ 34 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเฮียวโงะและคิดเป็นร้อยละ 8 ของแถบคันไซ[14][15] รายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ที่ 2.7 ล้านเยนต่อปี แบ่งเป็นประเภทหนึ่ง (เกษตรกรรม ประมง และเหมืองแร่) ร้อยละ 1 ประเภทที่สอง (การผลิตและอุตสาหกรรม) ร้อยละ 21 และประเภทบริการ ร้อยละ 78

มูลค่าของสินค้าที่ผลิตได้ในปี 2004 ของโคเบะคือ 2.5 ล้านล้านเยน โดยส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก อาหาร อุปกรณ์การขนส่ง และอุปกรณ์การสื่อสาร

การคมนาคม

[แก้]
สะพานอากาชิไคเกียว เชื่อมต่อโคเบะกับเกาะอาวาจิ

การขนส่งทางราง

[แก้]

สถานีซันโนมิยะ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของโคเบะ โดยมีรถไฟเจอาร์สายโคเบะเชื่อมต่อโคเบะกับโอซากะและฮิเมจิ ส่วนรถไฟฮันกีวสายโคเบะและรถไฟฮันชิงสายโคเบะก็เชื่อมต่อโคเบะกับสถานีอูเมดะในโอซากะ นอกจากนี้ รถไฟใต้ดินโคเบะก็เชื่อมต่อกับรถไฟซันโย ชิงกันเซ็งที่สถานีชินโคเบะ และรถไฟฟ้าซันโยก็ให้บริการรถไฟเชื่อมต่อกับฮิเมจิด้วยรถไฟด่วนโคเบะ

นอกจากนี้ ยังมีรถไฟเชื่อมเมืองโคเบะกับส่วนอื่น ๆ ในจังหวัดเฮียวโงะอีก เช่น รถไฟฟ้าโคเบะ รถไฟโฮกุชิงเกียวกุ และรถไฟโคเบะนิวทรานซิท

การคมนาคมทางถนนและทางอากาศ

[แก้]

โคเบะเป็นศูนย์กลางของทางด่วน โดยเฉพาะทางด่วนเมชิง (นาโงยะ–โคเบะ) และทางด่วนฮันชิง (โอซากะ–โคเบะ) มีทางด่วนโคเบะ–อาวาจิ–นารูโตะที่เชื่อมโคเบะกับนารูโตะผ่านเกาะอาวาจิทางสะพานอากาชิไคเกียวที่มีชื่อเสียงในฐานะสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก

สำหรับการคมนาคมทางการอากาศ มีท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะและท่าอากาศยานโคเบะที่อยู่ใกล้กับเมือง ขณะที่ศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศของภูมิภาคคันไซจะอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ

การศึกษา

[แก้]

เมืองโคเบะมีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 169 แห่ง มีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 81 แห่ง มีนักเรียนประมาณ 80,200 และ 36,000 คนตามลำดับ[16] สำนักงานเขตโคเบะให้บริการการศึกษาระดับมัธยมปลาย 7 แห่ง และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดเฮียวโงะรับผิดชอบโรงเรียนมัธยมปลายอีก 18 แห่ง มีนักเรียนทั้งสิ้น 43,400 คน

โคเบะยังมีมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนตั้งอยู่มากมาย โดยมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงคือ มหาวิทยาลัยโคเบะ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

เมืองฝาแฝดและเมืองพี่น้อง

[แก้]

ท่าเรือพี่น้อง

[แก้]

ความร่วมมือทางธุรกิจ

[แก้]

คลังภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "UEA Code Tables". Center for Spatial Information Science, University of Tokyo. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
  2. "Kobe's official English name". City.kobe.lg.jp. 2013-02-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ 2013-03-31.
  3. 3.0 3.1 Ikuta Shrine official website เก็บถาวร 2008-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "ประวัติของศาลเจ้าอิกุตะ" (ภาษาญี่ปุ่น)
  4. Nagasaki University เก็บถาวร 2007-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "Ikuta Shrine". Retrieved February 3, 2007.
  5. 5.0 5.1 5.2 City of Kobe เก็บถาวร 2007-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "ประวัติศาสตร์ของโคเบะ" (ภาษาญี่ปุ่น). เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2550.
  6. Kobe City Info เก็บถาวร 2008-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "History". เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550.
  7. City of Kobe เก็บถาวร 2008-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "โคเบะเมืองเก่า" (ภาษาญี่ปุ่น). เรียกดูข้อมูล 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550.
  8. City of Ashiya เก็บถาวร 2008-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "An Outline History of Ashiya". เรียกดูข้อมูล 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550.
  9. The Great Hanshin-Awaji Earthquake Statistics and Restoration Progress เก็บถาวร 2008-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Jan. 2008). เรียกดูข้อมูล 14 เมษายน พ.ศ. 2551.
  10. Maruhon Business News เก็บถาวร 2001-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Port Conditions in Japan. เรียกดูข้อมูล 23 มกราคม พ.ศ. 2550.
  11. "Kobe Climate Normals 1961-1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ January 6, 2013.
  12. 12.0 12.1 City of Kobe เก็บถาวร 2007-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "Statistical Summary of Kobe". Retrieved July 25, 2007.
  13. American Association of Port Authorities เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "World Port Rankings 2005". เรียกดูข้อมูล 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550.
  14. Hyogo Industrial Advancement Center เก็บถาวร 2007-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "Industry Tendencies in Various Areas of Hyogo Prefecture" (ภาษาญี่ปุ่น). เรียกดูข้อมูล 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550.
  15. Cabinet Office, Government of Japan เก็บถาวร 2007-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "2004 Prefectural Economy Survey" (Japanese). เรียกดูข้อมูล 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550.
  16. City of Kobe เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "Number of municipal schools and students" (ภาษาญี่ปุ่น). เรียกดูข้อมูล 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550.
  17. 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 17.11 "Kobe's Sister Cities". Kobe Trade Information Office. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-21. สืบค้นเมื่อ 2013-08-11.
  18. "Twin cities of Riga". Riga City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2009-07-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]