ชาวเบงกอล
| |
---|---|
ประชากรทั้งหมด | |
ป. 285 ล้านคน[1][2][3] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
บังกลาเทศ | 166,840,302[4][5] |
อินเดีย | 107,228,917[6][7] |
ภาษา | |
ภาษาและภาษาย่อยเบงกอล | |
ศาสนา | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวอินโด-อารยัน |
ชาวเบงกอล (อังกฤษ: Bengali, Bangalee;[8] เบงกอล: বাঙ্গালী/বাঙালি, ออกเสียง: [baŋgali, baŋali]( ฟังเสียง)) คือกลุ่มชาติพันธุ์อินโด-อารยันกลุ่มหนึ่งที่เป็นชนพื้นเมืองของภูมิภาคเบงกอลในเอเชียใต้ หรือระบุให้แคบลงคือ ส่วนตะวันออกของอนุทวีปอินเดียซึ่งปัจจุบันถูกแบ่งระหว่างประเทศบังกลาเทศกับรัฐเบงกอลตะวันตก, รัฐตริปุระ และบางส่วนของรัฐอัสสัม รัฐเมฆาลัย และรัฐมณีปุระของประเทศอินเดีย[9] ชาวเบงกอลพูดภาษาเบงกอลซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน
ชาวเบงกอลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากชาวฮั่นและชาวอาหรับ[10] นอกเหนือจากบังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตก, รัฐตริปุระ และหุบเขาพรากในรัฐอัสสัมของอินเดียแล้ว ประชากรชาวเบงกอลส่วนใหญ่ยังอาศัยอยู่ในดินแดนสหภาพหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ของอินเดีย เช่นเดียวกับเขตเนินเขาจิตตะกองของบังกลาเทศ (ซึ่งแต่เดิมไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเบงกอล) โดยมีประชากรอย่างมีนัยสำคัญในเดลี, รัฐอรุณาจัลประเทศ, รัฐฉัตตีสครห์, รัฐฌารขัณฑ์, รัฐเมฆาลัย, รัฐมิโซรัม, รัฐนาคาแลนด์ และรัฐอุตตราขัณฑ์ของอินเดีย[11] ชาวเบงกอลพลัดถิ่นทั่วโ��ก (ชาวบังกลาเทศพลัดถิ่นและชาวอินเดียเชื้อสายเบงกอล) มีชุมชนถาวรในปากีสถาน, สหรัฐ, สหราชอาณาจักร, แคนาดา, ตะวันออกกลาง, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอิตาลี
ชาวเบงกอลมีกลุ่มย่อยทางศาสนาที่สำคัญสี่กลุ่ม ได้แก่ ชาวมุสลิมเบงกอล, ชาวฮินดูเบงกอล, ชาวคริสต์เบงกอล และชาวพุทธเบงกอล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Bangladesh wants Bangla as an official UN language: Sheikh Hasina - Times of India". The Times of India.
- ↑ "General Assembly hears appeal for Bangla to be made an official UN language". 27 September 2010.
- ↑ "Hasina for Bengali as an official UN language". Ummid.com. Indo-Asian News Service. 28 September 2010.
- ↑ "Bangladesh Population 2022 (Demographics, Maps, Graphs)".
- ↑ "South Asia :: Bangladesh". Cia.gov. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 21 June 2020.
- ↑ "Census of India Website : Office of the Registrar General & Census Commissioner, India". Censusindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ "Scheduled Languages in descending order of speaker's strength – 2011" (PDF). Registrar General and Census Commissioner of India. 29 June 2018.
- ↑ "Part I: The Republic – The Constitution of the People's Republic of Bangladesh". Ministry of Law, Justice and Parliamentary Affairs. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2019. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
- ↑ Khan, Muhammad Chingiz (15 July 2017). "Is MLA Ashab Uddin a local Manipuri?". Tehelka. 14: 36–38.
- ↑ ประมาณ 163 ล้านคนในบังกลาเทศ และ 100 ล้านคนในอินเดีย (ประมาณการจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก 2014, ตัวเลขอาจเปลี่ยนแปลงตามการเพิ่มประชากรที่รวดเร็ว); ชาวบังกลาเทศในตะวันออกกลางประมาณ 3 ล้านคน, ชาวเบงกอลในปากีสถาน 1 ล้านคน, ชาวบริติชเชื้อสายบังกลาเทศ 0.4 ล้านคน
- ↑ "50th Report of the Commissioner for Linguistic Minorities in India" (PDF). nclm.nic.in. Ministry of Minority Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 July 2016. สืบค้นเมื่อ 2 November 2018.