เดอะ คัพเฮด โชว์
เดอะ คัพเฮด โชว์ | |
---|---|
ประเภท | |
เค้าโครงจาก | คัพเฮด และตัวละคร โดย สตูดิโอเอ็มดีเอชอาร์ |
พัฒนาโดย | เดฟ วัสสัน |
เขียนโดย |
|
เสียงของ |
|
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง | อีโก พลัม |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | "เวลคัมทูเดอะคัพเฮดโชว์!" (ร้องโดย กิซเซล แอนเดรีย เบเซอร์รา, ทรู วาเลนติโน และ แฟรงก์ โทดาโร) |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | "เวลคัมทูเดอะคัพเฮดโชว์!" (บรรเลงดนตรีโดยอีโก พลัม) |
ผู้ประพันธ์เพลง | อีโก พลัม |
ประเทศแหล่งกำเนิด |
|
ภาษาต้นฉบับ | อังกฤษ |
จำนวนฤดูกาล | 3 |
จำนวนตอน | 36 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต |
|
ผู้อำนวยการสร้าง |
|
ผู้ลำดับภาพ | Amy Blaisdell |
ความยาวตอน | 13–34 นาที |
บริษัทผู้ผลิต |
|
Animation services | ไลต์เฮาส์สตูดิโอส์ สกรีนโนเวลตีส (สต็อปโมชัน) |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | เน็ตฟลิกซ์ |
ออกอากาศ | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน |
เดอะ คัพเฮด โชว์ (อังกฤษ: The Cuphead Show!) เป็นซีรีส์แอนิเมชันโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่องแนวตลกเจ็บตัว พัฒนาโดยเดฟ วัสสันสำหรับการฉายทางเน็ตฟลิกซ์[1] อ้างอิงอย่างหลวม ๆ จาก คัพเฮด วิดีโอเกมของแคนาดาในปี พ.ศ. 2560 โดยสตูดิโอเอ็มดีเอชอาร์ ชาดและจาเร็ด โมลเดนฮาวเออร์ ผู้สร้างสรรค์ คัพเฮด รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการผลิต ร่วมด้วยวัสสันและซีเจ เค็ตเลอร์จากคิงฟีเชอร์ซินดิเคต และคอสโม เซ็กเกอร์สัน รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการผลิตร่วม
ซีรีส์ปล่อยฉายทั่วโลกในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[2] และได้รับเสียงตอบรับในเชิงบวกจากนักวิจารณ์ ทั้งในด้านของแอนิเมชัน การพากย์ ดนตรี อารมณ์ขัน และโทนเรื่อง แม้ว่าบางคนรู้สึกว่ามีสาระน้อย ด้วยเนื้อเรื่องของแต่ละตอนถูกวิจารณ์ว่า "แยกจากกันเกินไป" และ "ซ้ำซาก" บ่อยครั้ง[3][4] ฤดูกาลที่สองปล่อยฉายในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565[5] ตามด้วยฤดูกาลที่สามในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
เนื้อเรื่อง
[แก้]ฉากในดินแดนอิงค์เวลไอล์ในโลกการ์ตูนลายเส้นสไตล์คริสต์ทศวรรษ 1930 เดอะ คัพเฮด โชว์เป็นเรื่องราวการผจญภัยของคัพเฮดและมักแมน คู่พี่น้องมานุษยรูปนิยมของถ้วยผู้อาศัยกับคุณตากาน้ำในกระท่อมรูปทรงกาน้ำชา เรื่องราวของพี่น้องคู่นี้มักเน้นไปที่เรื่องที่พวกเขาพยายามจะหาทางออกจากปัญหาต่าง ๆ บางครั้งก็ได้พบปะและมีปฏิสัมพันธ์กับตัวละครที่มาจากวิดีโอเกมต้นฉบับ แม้ว่าเนื้อเรื่องของแต่ละตอนในซีรีส์จะจบในตอน แต่ก็มีโครงเรื่องที่กลับมาซ้ำคือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเจ้าปีศาจ ตัวละครปฏิปักษ์หลักจากรูปแบบเกมที่พยายามตามล่าคัพเฮดเพื่อเอาวิญญาณ แต่ก็ล้มเหลวทุกครั้ง[6]
นักพากย์
[แก้]- ทรู วาเลนติโน รับบท คัพเฮด, พิธีกรเกมโชว์, ตำรวจผึ้ง
- แฟรงก์ โทดาโร รับบท มักแมน, Sargent Gumbo Gumbull, Jerry และ Earthworm
- เกรย์ ดีไลล์ รับบท มิสชาลิซ, Hilda Berg, Dorris, Emma, Screwdriver Clerk และ Mrs. Mayor
- โจ ฮันนา รับบท คุณตากาน้ำ และ Sal Spudder
- คอสโม เซ็กเกอร์สัน รับบท Porkrind, Chauncey Chantenay, Elephant, Hot Dog และ Parrot
- Jim Conroy รับบท Ollie Bulb, Jasper และ Duke
- Candi Milo รับบท Cherry และ Brandywine Heirloom
- Keith Ferguson รับบท Bowlboy
- Chris Wylde รับบท ริบบี้
- Rick Zieff รับบท โคร้กส์
- Andrew Morgado รับบท เชอร์แมน, จุ้นจ้าน และ Mr. Mayor
- Cristina Milizia รับบท น้องขวดนม
- เดฟ วัสสัน รับ นายโทรศัพท์, ไอศกรีมแมน, ตำรวจผึ้ง และเจ้าค่อม
- Zoë Moss รับบท Baroness Von Bon Bon และ Whippet Creampup[7]
- Gary Anthony Williams รับบท Quadratus
- Jason Vande Brake รับบท Captain Brineybeard
- Chris Kattan รับบท Werner Werman
- Adam Paloian รับบท Ms. Cyclops and Hippo Usher
- Natasia Demetriou รับบท Cala Maria
- มิก วินเกิร์ต รับบท ลุดวิก
- มาร์เชอ เกย์ ฮาร์เดน รับบท แซลลี่ สเตจเพลย์
- Melique Berger รับบท Belinda และ Bonnie
- Dawnn Lewis รับบท Bedelia และ Boo-Boo
- Deeki Deke รับบท Sword
- เวย์น เบรดี รับบท คิงไดส์[8]
- ลุก มิลลิงตัน-เดรก รับบท จ้าวปีศาจ
- Kimberly Brooks รับบท คุณย่าช้าง
การพัฒนา
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 มีการประกาศว่าเน็ตฟลิกซ์อนุมัติการสร้างซีรีส์ ชาดและจาเร็ด โมลเดนฮาวเออร์จากสตูดิโอเอ็มดีเอชอาร์มาเป็นผู้อำนวยการผลิต ร่วมด้วยซีเจ เค็ตเลอร์จากคิงฟีเชอร์ซินดิเคต, เดฟ วัสสัน, และอำนวยการผลิตร่วมโดยคอสโม เซ็กเกอร์สัน[9] เคลย์ มอร์โรว์และอาดัม พาโลเอียนเป็นผู้อำนวยการควบคุม[10] ผลิตแอนิเมชันโดยไลต์เฮาส์สตูดิโอ ซึ่งเป็นแผนกในเมืองคิลเค็นนีระหว่างเมอร์คิวรีฟิล์มเวิกส์และการ์ตูนซาลูน[1] และสต็อปโมชันดูแลโดยสกรีนโนเวลตีส เพื่อพยายามจะสร้างให้ทันเส้นตายของการสตรีมซีรีส์ ทีมงานผลิตของซีรีส์จึงไม่สามารถใช้แอนิเมชันที่วาดด้วยมือเหมือนในเกมต้นฉบับ จึงเลือกใช้วิธีอิงหุ่นเชิด ขณะที่ก็ใส่องค์ประกอบหลายอย่างเพื่อให้เข้ากับสไตล์แอนิเมชันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930[11] ซีรีส์เปิดตัวครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์แอนิเมชันนานาชาติแอนเนซีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563[12] พร้อมทั้งประกาศว่าดนตรีของซีรีส์จะแต่งโดยอีโก พลัม[13]
การฉาย
[แก้]ฤดูกาลแรกปล่อยฉายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 มีทั้งหมด 12 ตอน[14] เน็ตฟลิกซ์กำหนดให้ผลิตทั้งหมด 36 ตอน จึงแบ่งปล่อยฉายเป็น 3 ฤดูกาล[15] ฤดูกาลที่สองปล่อยฉายในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 มีทั้งหมด 13 ตอน โดยตอนที่ 3 และตอนที่ 8 มีความยาวเกือบ 25 นาที ฤดูกาลที่สามปล่อยฉายในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 มีทั้งหมด 11 ตอน and โดยตอนแรกและตอนสุดท้ายมีความยาว 20 นาที และตอนที่ 6 เป็นตอนที่ยาวที่สุดในซีรีส์คือมีความยาวถึง 30 นาที[16]
รายชื่อตอน
[แก้]ทุกตอนเขียนบทโดย ดีกิ เดก, เคลย์ มอร์โรว์, อาดัม พาโลเอียน, คอสโม เซ็กเกอร์สัน และเดฟ วัสสัน
ปี | จำนวนตอน | วันที่เผยแพร่ | |||
---|---|---|---|---|---|
1 | 12 | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 | |||
2 | 13 | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 | |||
3 | 11 | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
ฤดูกาลที่ 1 (พ.ศ. 2565)
[แก้]ตอน ทั้งหมด | ตอน | ชื่อ | กำกับโดย | สตอรีบอร์ดโดย | วันที่เผยแพร่ครั้งแรก |
---|---|---|---|---|---|
1 | 1 | "เทศกาลปีศาจ (Carn-Evil)" | Adam Paloian | Adam Paloian | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
2 | 2 | "น้องขวดนม (Baby Bottle)" | Clay Morrow | Casey Alexander & Dan Becker | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
3 | 3 | "ริบบี้กับโคร้กส์ (Ribby & Croaks)" | Adam Paloian | Benjamin Arcand & Ian Vazquez | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
4 | 4 | "เบามือหน่อย (Handle with Care)" | Clay Morrow | Dan Becker & Kennedy Tarell | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
5 | 5 | "เกมทอยเต๋า (Roll the Dice)" | Adam Paloian | Benjamin Arcand & Ian Vazquez | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
6 | 6 | "ผีไม่มีในโลก (Ghosts Ain't Real!)" | Adam Paloian | Benjamin Arcand & Ian Vazquez | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
7 | 7 | "แก๊งหัวโจก (Root Packed)" | Clay Morrow | Karl Hadrika, Zoë Moss and Dave Thomas | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
8 | 8 | "สเวตเตอร์ช่วยชีวิต (Sweater Off Dead)" (Part 1) | Adam Paloian | Megan Boyd & Fernando Puig | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
9 | 9 | "สเวตเตอร์นำโชค (Sweater Luck Next Time)" (Part 2) | Clay Morrow | Dan Becker & Kennedy Tarell | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
10 | 10 | "มักแมน ตัวอันตราย (Dangerous Mugman)" | Clay Morrow | Karl Hadrika & Zoë Moss | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
11 | 11 | "นอนให้ดินกลบหน้า (Dirt Nap)" | Clay Morrow | Karl Hadrika & Zoë Moss | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
12 | 12 | "เสน่ห์เหลือร้าย (In Charm's Way)" (Part 1) | Adam Paloian | Megan Boyd & Fernando Puig | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
ฤดูกาลที่ 2 (พ.ศ. 2565)
[แก้]ตอน ทั้งหมด | ตอน | ชื่อ | กำกับโดย | สตอรีบอร์ดโดย | วันที่เผยแพร่ครั้งแรก |
---|---|---|---|---|---|
13 | 1 | "เรือนจำฝังใจ (Jailbroken)" (Part 2) | Adam Paloian | Megan Boyd & Fernando Puig | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
14 | 2 | "เธอผู้มีเสน่ห์เป็นอาวุธ (Charmed & Dangerous)" (Part 3) | Clay Morrow | Dan Becker & Kennedy Tarrell | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
15 | 3 | "ผจญภัยกลางทะเลลึก (A High Seas Adventure!)" | Adam Paloian | Megan Boyd, Fernando Puig, Benjamin Arcand & Ian Vazquez | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
16 | 4 | "น้องชายอีกคน (Another Brother)" | Adam Paloian | Megan Boyd & Fernando Puig | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
17 | 5 | "ของหวานยั่วน้ำลาย (Sweet Temptation)" | Clay Morrow | Karl Hadrika & Zoë Moss | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
18 | 6 | "เจ้าไอศกรีมแมนตัวป่วน (The I Scream Man)" | Adam Paloian | Benjamin Arcand & Ian Vazquez | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
19 | 7 | "เรียนเปียโน (Piano Lesson)" | Clay Morrow | Dan Becker & Kennedy Tarrell | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
20 | 8 | "ปลดปล่อยปีศาจ! (Release the Demons!)" | Adam Paloian & Clay Morrow | Benjamin Arcand & Ian Vazquez | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
21 | 9 | "ถังแตก (Dead Broke)" | Adam Paloian | Megan Boyd & Fernando Puig | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
22 | 10 | "หนูมาแล้วจ้า (Rats All, Folks)" | Clay Morrow | Karl Hadrika, Zoë Moss & Casey Alexander | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
23 | 11 | "ยิ้มหน่อย (Say Cheese!)" | Clay Morrow | Dan Becker & Kennedy Tarrell | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
24 | 12 | "หลงป่า (Lost in the Woods)" | Clay Morrow | Jules Bridgers | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
25 | 13 | "คราดจ้าวปีศาจ (The Devil's Pitchfork)" (Part 1) | Clay Morrow | Karl Hadrika & Zoë Moss | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
ฤดูกาลที่ 3 (พ.ศ. 2565)
[แก้]ตอน ทั้งหมด | ตอน | ชื่อ | กำกับโดย | สตอรีบอร์ดโดย | วันที่เผยแพร่ครั้งแรก |
---|---|---|---|---|---|
26 | 1 | "บุกรังปีศาจ! (The Devil's Revenge!)" (Part 2) | Adam Paloian | Benjamin Arcand & Ian Vazquez | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
27 | 2 | "อย่าเปิดประตู (Don't Answer The Door)" | Adam Paloian | Fernando Puig | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
28 | 3 | "ชิงดีชิงเด่น (Cupstaged)" | Clay Morrow | Dan Becker & Kennedy Tarrell | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
29 | 4 | "ซากสัตว์บนถนน (Roadkill)" | Clay Morrow & Adam Paloian | Nick Lauer & Austin Faber | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
30 | 5 | "ต้นไม้ประจำเทศกาล (Holiday Tree-dition)" (Part 1) | Clay Morrow | Jared Morgan & Zoë Moss | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
31 | 6 | "คริสต์มาสฉบับปีศาจ (A Very Devil Christmas)" (Part 2) | Adam Paloian | Karl Hadrika, Benjamin Arcand, Fernando Puig & Ian Vazquez | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
32 | 7 | "พัสดุชิ้นพิเศษ (Special Delivery)" (Part 1) | Clay Morrow | Jared Morgan & Zoë Moss | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
33 | 8 | "อับโชค (Down & Out)" | Adam Paloian | Benjamin Arcand, Ian Vazquez & Sam Kessler | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
34 | 9 | "รถพาเพลิน (Joyride)" (Part 2) | Clay Morrow | Nick Lauer & Austin Faber | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
35 | 10 | "เต้นกับไฟ (Dance With Danger)" (Part 3) | Clay Morrow | Jared Morgan & Zoë Moss | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
36 | 11 | "ปีศาจกับมิสชาลีซ (The Devil & Ms. Chalice)" (Part 4) | Adam Paloian | Benjamin Arcand & Michael Ruocco | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
การตอบรับ
[แก้]ในเว็บไซต์รวมบทปริทัศน์รอตเทนโทเมโทส์ ร้อยละ 69 จากนักวิจารณ์ 16 คนให้คำวิจารณ์ในเชิงบวกต่อฤดูกาลแรก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 7.0/10 ความคิดเห็นเด่น ๆ ของเว็บไซต์คือ: "ในขณะที่เดอะ คัพเฮด โชว์เป็นการนำวิดีโอเกมต้นฉบับมาสร้างใหม่เป็นแอนิเมชันอย่างลื่นไหลและสะดุดตา ภาชนะที่ดูดีใบนี้ยังต้องการสาระบางอย่างมาเติมเต็ม"[3] อ้างอิงจากเว็บไซต์เมทาคริติก ซึ่งคำนวณคะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักได้ 69 อิงจากปฏิทัศน์จากนักวิจารณ์ 4 คน ฤดูกาลนี้ได้รับ "ปฏิทัศน์ชื่นชอบทั่วไป"[17]
นิตยสารเดอะเอสคาพิสต์ระบุว่า "แฟน ๆ และนักวิจารณ์ผิดหวังกับซีรีส์นี้เพราะมีสาระน้อยและมีขนาดสั้น" แต่สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็ก ๆ แล้วนั้น "เด็ก ๆ จะได้พบกับการ์ตูนที่มีชีวิตชีวาและทรงพลัง และอาจะพบว่าสิ่งที่มีมอบความบันเทิงได้อย่างเหลือเชื่อมาอยู่ที่นี่"[4]
รางวัล
[แก้]เดอะ คัพเฮด โชว์ได้รับการเสนอชื่อในรางวัลชิลเดรนส์แอนด์แฟมิลีอวอร์ดสำหรับซีรีส์แอนิเมชันโดดเด่นประปี พ.ศ. 2565[18][19][20]
ปี พ.ศ. | รางวัล | สาขา | ผล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
2565 | เดอะเกมอวอดส์ | ผลงานดัดแปลงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | [21] |
ชิลเดรนส์แอนด์แฟมิลีอวอร์ด | ซีรีส์แอนิเมชันโดดเด่น | เสนอชื่อเข้าชิง | [18] | |
Individual Achievement in Animation | ชนะ | [22] | ||
2566 | รางวัลแอนนี | Outstanding Achievement for Music in an Animated Television / Broadcast Production | ชนะ | [23] |
Outstanding Achievement for Storyboarding in an Animated Television / Broadcast Production | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Corvin, Ann-Marie (June 23, 2020). "Annecy Sneak Peeks 'The Cuphead Show!'; 'Sirocco,' 'Inu-Oh,' XR 'The Hangman at Home'". Variety (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2021. สืบค้นเมื่อ June 14, 2021.
- ↑ Milligan, Mercedes (January 18, 2022). "Trailer: Netflix Pours Out 'The Cuphead Show!' Feb. 18". Animation Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2022. สืบค้นเมื่อ January 18, 2022.
- ↑ 3.0 3.1 "The Cuphead Show!". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 5 March 2022.
- ↑ 4.0 4.1 Lab, Jesse (2022-02-22). "The Cuphead Show! Isn't Meant for Gamers, and That's because". The Escapist. สืบค้นเมื่อ 2022-02-27.
- ↑ THE CUPHEAD SHOW! New Episodes | Official Teaser | Netflix ที่ยูทูบ
- ↑ Hollis, Daniel (June 26, 2020). "Netflix has teased a look for the upcoming 'Cuphead' TV show". NME (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2021. สืบค้นเมื่อ June 14, 2021.
- ↑ Flook, Ray (2022-08-05). "The Cuphead Show! S02 Official Trailer: Double Down on Fun & Adventure". Bleeding Cool News And Rumors (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-08-05.
- ↑ Rosario, Alexandra Del (June 11, 2021). "'The Cuphead Show!': เวย์น เบรดี Joins Cast Of Netflix Video Game Animated Series". Deadline Hollywood (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2021. สืบค้นเมื่อ June 14, 2021.
- ↑ Shanley, Patrick (July 9, 2019). "Netflix to Adapt 'Cuphead' Into Animated Comedy Series". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2021. สืบค้นเมื่อ June 14, 2021.
- ↑ McCaffrey, Ryan (July 9, 2019). "Cuphead Netflix TV Show Details". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2019. สืบค้นเมื่อ June 14, 2021.
- ↑ Mallory, Micheal (January 25, 2022). "Creating a Rubber Hose Wonderland for 'The Cuphead Show!'". Animation Magazine. สืบค้นเมื่อ 19 August 2022.
- ↑ Baron, Reuben (June 27, 2020). "Annecy Report: A Look Inside The Cuphead Show". Comic Book Resources (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2021. สืบค้นเมื่อ June 14, 2021.
- ↑ Kain, Erik (June 26, 2020). "Here's Your First Look At 'The Cuphead Show' On Netflix". Forbes (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2021. สืบค้นเมื่อ June 14, 2021.
- ↑ Beresford, Trilby (January 18, 2022). "Netflix Drops Trailer for The Cuphead Show, Releasing on Streamer Next Month". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2022. สืบค้นเมื่อ January 28, 2022.
- ↑ Mallory, Michael (January 25, 2022). "Creating a Rubber Hose Wonderland for 'The Cuphead Show!'". Animation Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 26, 2022. สืบค้นเมื่อ January 28, 2022.
- ↑ Cripe, Michael (2022-10-24). "The Cuphead Show! Season 3 Hits Netflix Next Month, Reveals 'Secret Assassins' (Kind Of)". The Escapist (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.
- ↑ "The Cuphead Show! - Season 1 Reviews". Metacritic. CBS. สืบค้นเมื่อ 20 February 2022.
- ↑ 18.0 18.1 "NATAS ANNOUNCES NOMINATIONS FOR FIRST ANNUAL CHILDREN'S & FAMILY EMMYS - The Emmys". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-02. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.
- ↑ 2022 Children's & Family Emmys: Full List of Nominations - The Hollywood Reporter
- ↑ Netflix Leads First-Ever Children's & Family Emmys Nominations Tally - Variety
- ↑ Romano, Sal (14 November 2022). "The Game Awards 2022 nominees announced". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2022. สืบค้นเมื่อ 14 November 2022.
- ↑ Milligan, Mercedes (December 8, 2022). "NATAS Announces Individual Achievement in Animation Winners for 1st Children's & Family Emmys". Animation Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2022. สืบค้นเมื่อ December 8, 2022.
- ↑ Giardina, Carolyn (February 26, 2023). "'Guillermo Del Toro's Pinocchio' Wins Five Trophies Including the Top Prize at the 50th Annie Awards". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2023. สืบค้นเมื่อ April 20, 2023.