ข้ามไปเนื้อหา

ตับอักเสบ บี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตับอักเสบ บี
(Hepatitis B)
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แสดงให้เห็นเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
สาขาวิชาInfectious disease, gastroenterology
อาการNone, yellowish skin, tiredness, dark urine, abdominal pain[1]
ภาวะแทรกซ้อนCirrhosis, liver cancer[2]
การตั้งต้นSymptoms may take up to 6 months to appear[1]
ระยะดำเนินโรคShort or long term[3]
สาเหตุHepatitis B virus spread by some body fluids[1]
ปัจจัยเสี่ยงIntravenous drug use, sexual intercourse, dialysis, living with an infected person[1][4]
วิธีวินิจฉัยBlood tests[1]
การป้องกันHepatitis B vaccine[1]
การรักษาAntiviral medication (tenofovir, interferon), liver transplantation[1]
ความชุก356 million (2015)[3]
การเสียชีวิต65,400 direct (2015), >750,000 (total)[1][5]

ตับอักเสบ บี (อังกฤษ: hepatitis B) เป็นโรคตับชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี[1] ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง[1] ผู้ป่วยที่ติดเ��ื้อครั้งแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการ[1] บางรายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลือง อ่อนเพลีย ปัสสาวะเข้ม และปวดท้องได้[1] ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ และมีเพียงส่วนน้อยที่อาการดำเนินไปอย่างรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตในการติดเชื้อครั้งแรกนี้[1][6] ระยะฟักตัวอาจยาวนานได้ถึง 30-180 วัน[1] ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้ตั้งแต่แรกเกิดจะเกิดตับอักเสบเรื้อรังได้ถึง 90% ในขณะที่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในภายหลังที่อายุมากกว่า 5 ปี จะเกิดตับอักเสบเรื้อรังเพียง 10%[4] ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอยู่เป็นเวลานาน แต่ในระยะท้าย ๆ อาจเกิดตับแข็งหรือมะเร็งตับขึ้นได้[2] ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 15-25% ของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสบี[1]

เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ติดต่อผ่านการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง[1] ในพื้นที่ที่มีความชุกสูง มักพบว่าผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุดคือทารกที่ติดเชื้อจากแม่ในขณะคลอด หรือเด็กที่ได้สัมผัสเลือดของผู้ที่มีเชื้อ[1] ส่วนในพื้นที่ที่มีความชุกต่ำ ผู้ป่วยที่พบบ่อยได้แก่ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดและผู้ป่วยที่รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์[1] ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (เช่น ทำงานในโรงพยาบาล) การรับเลือด การฟอกเลือด การใช้ชีวิตอยู่กับผู้ติดเชื้อ การเดินทางไปยังประเทศที่มีความชุกของโรคสูง และการเป็นผู้อาศัยในสถานบำบัด[1][4] ในสมัยคริสตทศวรรษ 1980 มีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับเชื้อผ่านการสักและการฝังเข็ม แต่ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีปลอดเชื้อเจริญรุดหน้ามากขึ้นก็พบผู้ติดเชื้อผ่านช่องทางเหล่านี้น้อยลง[7] เชื้อไวรัสตับอักเสบบีไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการจับมือ ใช้อุปกรณ์ในการกินอาหารร่วมกัน การจูบ การกอด การไอ จาม หรือการให้นมบุตร[4] ปัจจุบันสามารถตรวจพบเชื้อได้เร็วที่สุดประมาณ 30-60 วันหลังได้รับเชื้อ[1] การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยการตรวจเลือดหาชิ้นส่วนของไวรัส (แอนติเจน) และการตรวจหาสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซึ่งสร้างโดยร่างกายของผู้ติดเชื้อ (แอนติบอดี)[1] ไวรัสนี้เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดหนึ่งจากทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี

ตั้งแต่ ค.ศ. 1982 มีการผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีขึ้นสำเร็จ[1][8] องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทารกแรกเกิดทุกรายรับวัคซีนนี้ทันทีที่เกิดหากสามารถทำได้[1] หลังจากนั้นทารกต้องรับวัคซีนซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เมื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันได้เต็มที่[1] ซึ่งเมื่อให้อย่างถูกต้องวัคซีนจะสามารถป้องกันโรคได้ถึง 95%[1] วัคซีนนี้ได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในรายการวัคซีนมาตรฐานที่รัฐบาลสร้างนโยบายสนับสนุนแล้วในกว่า 180 ประเทศ[9] นอกจากการใช้วัคซีนแล้วยังมีการสนับสนุนมาตรการการป้องกันการติดเชื้อด้วยวิธีอื่นๆ อีก ได้แก่ การตรวจหาเชื้อในเลือดบริจาค การใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น จะช่วยลดไวรัสตับอักเสบบี [1] ในระยะแรกของการติดเชื้อ การรักษาจะเน้นไปที่การบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดกับผู้ป่วย (เช่น ยาลดไข้ ยาต้านการ���าเจียน)[1] ส่วนในผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรังนั้นอาจต้องใช้ยาต้านไวรัสเช่นทีโนโฟเวียร์ หรืออินเตอร์เฟียรอน แต่ยาเหล่านี้ยังมีราคาสูง[1] ในบางรายหากตับอักเสบเรื้อรังรุนแรงมากจนเสียการทำงานถาวร (เช่น ตับแข็ง) อาจจำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ[1]

ประมาณไว้ว่าประชากรโลกราวหนึ่งในสามจะต้องเคยรับเชื้อนี้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ในจำนวนนี้นับรวมถึงผู้ติดเชื้อแบบเรื้อรัง 343 ล้านคน[3][1][10] ปี ค.ศ. 2013 มีผู้ติดเชื้อแบบเรื้อรังเพิ่มขึ้นอีก 129 ล้านคน[11] ในปีหนึ่งๆ มีผู้เสียชีวิตจากโรคตับอักเสบ บีกว่า 750,000 คน[1] ในจำนวนนี้ 300,000 คนเสียชีวิตจากมะเร็งตับ[12] ปัจจุบันโรคนี้พบได้บ่อยเฉพาะในเอเชียตะวันออกและแอฟริกาใต้สะฮารา ในพื้นที่นี้ประชากรผู้ใหญ่ประมาณ 5-10% จะมีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง[1] ในขณะที่ในยุโรปและอเมริกาเหนือจะพบได้ไม่ถึง 1%[1] แต่เดิมนั้นโรคนี้เคยมีชื่อว่า serum hepatitis (ตับอักเสบชนิดซีรัม)[13] งานวิจัยในปัจจุบันกำลังพยายามผลิตวัคซีนต่อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถผสมได้ในอาหาร[14] นอกจากพบในมนุษย์แล้วยังอาจพบเชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในสัตว์วงศ์ลิงใหญ่ได้อีกด้วย[15]

การติดต่อ

[แก้]

เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี สามารถติดต่อทาง เลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง ท่านสามารถรับเชื้อได้โดยวิธี

มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยาง การจูบกันจะไม่ติดต่อถ้าปากไม่มีแผล ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู ใช้แปรงสีฟันร่วมกัน มีดโกน ที่ตัดเล็บ แม่ที่มีเชื้อสามารถติดต่อไปยังลูกได้ขณะคลอด ถ้าแม่มีเชื้อลูกมีโอกาสได้รับเชื้อ 90% และให้นมตัวเอง ถูกเข็มตำจากการทำงาน รักร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้ออยู่ โดยการสัมผัสกับ เลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล เชื้อนี้จะไม่ติดต่อกันทางลมหายใจ อาหาร หรือน้ำดื่ม การให้นม การจูบกัน

อาการ

[แก้]

การติดเชื้ออย่างเฉียบพลันของไวรัสตับอักเสบบีเกี่ยวโยงกับไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการตั้งแต่การป่วยโดยทั่วไป การไม่อยากอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดตามร่างกาย ไข้อ่อน ๆ และปัสสาวะสีเข้ม จากนั้นอาการอาจพัฒนาเป็นโรคดีซ่าน โดยมีบันทึกว่าอาการคันเป็นหนึ่งในตัวชี้ถึงอาการของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบทุกสายพันธุ์ อาการป่วยจะคงอยู่ไม่กี่สัปดาห์และจากนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น มีเพียงไม่กี่คนที่อาการอาจพัฒนาสู่อาการตับวายและอาจเสียชีวิต การติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการจึงทำให้ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัว[16]

การติดเชื้อแบบเรื้อรังของไวรัสตับอักเสบบีอาจไม่แสดงอาการ หรืออาจก่อให้เกิดการติดเชื้อตับเรื้อรัง (ตับอักเสบเรื้อรัง) ไปจนถึงโรคตับแข็งในเวลาหลายปี การติดเชื้อชนิดนี้เพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งเซลล์ตับ (มะเร็งตับ) อย่างมาก ทั่วทวีปยุโรป โรคไวรัสตับอักเสบบีและซีเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งเซลล์ตับในประมาณ 50% ของผู้ป่วย[17][18] คนที่เป็นพาหะนำโรคแบบเรื้อรังได้รับคำแนะนำให้งดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นตัวการเพิ่มความเสี่ยงของโรคตับแข็งและมะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบบีถูกพบว่าเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาของ membranous glomerulonephritis (MGN)[19]

อาการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับตับพบได้ใน 1-10% ของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ได้แก่ โรค serum-sickness–like โรคโพลีอาเทอร์ไรติส โนโดซา (โรคแพน) เมมเบรนัสโกลเมอรูโลสเคลอโรซิส (membranous glomerulonephritis) และ กลุ่มอาการจานอตตี–กรอสตี[20][21] โรค serum-sickness–like ที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบบีมักตามด้วยโรคดีซ่าน[22] อาการได้แก่มีไข้ ผื่นบนผิวหนัง และโรคโพลีอาเทอร์ไรติส โนโดซา[23] ประมาณ 30–50% ของคนที่มีอาการโรคโพลีอาเทอร์ไรติส โนโดซาเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ[24] โรคไตที่มาจากไวรัสตับอักเสบพบได้ในผู้ใหญ่บางส่วน ทว่าส่วนใหญ่แล้วพบในเด็ก[25][26]

การวินิจฉัย

[แก้]

การรักษา

[แก้]

การติดเชื้อตับอักเสบบีส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากผู้ติดเชื้อแทบทั้งหมดสามารถกำจัดเชื้อได้เอง มีไม่ถึง 1% ที่อาจต้องได้รับการรักษาในระยะแรกด้วยยาต้านไวรัส ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง (ตับอักเสบเต็มขั้น) หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่ในทางกลับกันบางครั้งก็จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัสกับผู้ป่วยตับอักเสบบีเรื้อรัง เพื่อลดโอกาสการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับ ผู้ป่วยกลุ่มที่ควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เช่น ผู้ติดเชื้อเรื้อรังที่มีระดับเอนไซม์ ALT สูงตลอด และตรวจพบดีเอ็นเอของไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น ระยะในการรักษาอยู่ที่ 6 เดือน ถึง 1 ปี แล้วแต่ชนิดยาและพันธุกรรมของผู้ป่วย

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

การป้องกัน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 1.26 1.27 1.28 1.29 1.30 1.31 1.32 "Hepatitis B Fact sheet N°204". who.int. กรกฎาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014.
  2. 2.0 2.1 Chang MH (June 2007). "Hepatitis B virus infection". Semin Fetal Neonatal Med. 12 (3): 160–167. doi:10.1016/j.siny.2007.01.013. PMID 17336170.
  3. 3.0 3.1 3.2 GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence, Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282. {{cite journal}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Hepatitis B FAQs for the Public — Transmission". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ธันวาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011.
  5. GBD 2015 Mortality and Causes of Death, Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/S0140-6736(16)31012-1. PMID 27733281. {{cite journal}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  6. Raphael Rubin; David S. Strayer (2008). Rubin's Pathology : clinicopathologic foundations of medicine ; [includes access to online text, cases, images, and audio review questions!] (5. ed.). Philadelphia [u.a.]: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins. p. 638. ISBN 9780781795166. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2015.
  7. Thomas HC (2013). Viral Hepatitis (4th ed.). Hoboken: Wiley. p. 83. ISBN 9781118637302. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2015.
  8. Pungpapong S, Kim WR, Poterucha JJ (2007). "Natural History of Hepatitis B Virus Infection: an Update for Clinicians". Mayo Clinic Proceedings. 82 (8): 967–975. doi:10.4065/82.8.967. PMID 17673066.
  9. Williams R (2006). "Global challenges in liver disease". Hepatology. 44 (3): 521–526. doi:10.1002/hep.21347. PMID 16941687.
  10. Schilsky ML (2013). "Hepatitis B "360"". Transplantation Proceedings. 45 (3): 982–985. doi:10.1016/j.transproceed.2013.02.099. PMID 23622604.
  11. Global Burden of Disease Study 2013, Collaborators (22 August 2015). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 301 acute and chronic diseases and injuries in 188 countries, 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 386 (9995): 743–800. doi:10.1016/S0140-6736(15)60692-4. PMC 4561509. PMID 26063472. {{cite journal}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  12. GBD 2013 Mortality and Causes of Death, Collaborators (17 December 2014). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990–2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385 (9963): 117–71. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMC 4340604. PMID 25530442. {{cite journal}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  13. Barker LF, Shulman NR, Murray R, Hirschman RJ, Ratner F, Diefenbach WC, Geller HM (1996). "Transmission of serum hepatitis. 1970". Journal of the American Medical Association. 276 (10): 841–844. doi:10.1001/jama.276.10.841. PMID 8769597.
  14. Thomas, Bruce (2002). Production of Therapeutic Proteins in Plants. p. 4. ISBN 9781601072542. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014.
  15. Plotkin, Stanley A.; Orenstein, Walter A.; Offit, Paul A., บ.ก. (2013). Vaccines (6th ed.). [Edinburgh]: Elsevier/Saunders. p. 208. ISBN 9781455700905. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2015.
  16. Terrault N, Roche B, Samuel D (July 2005). "Management of the hepatitis B virus in the liver transplantation setting: a European and an American perspective". Liver Transpl. 11 (7): 716–32. doi:10.1002/lt.20492. PMID 15973718.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. El-Serag HB, Rudolph KL (June 2007). "Hepatocellular carcinoma: epidemiology and molecular carcinogenesis". Gastroenterology. 132 (7): 2557–76. doi:10.1053/j.gastro.2007.04.061. PMID 17570226.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  18. El-Serag HB (22 September 2011). "Hepatocellular carcinoma". New England Journal of Medicine. 365 (12): 1118–27. doi:10.1056/NEJMra1001683. PMID 21992124.
  19. Gan SI, Devlin SM, Scott-Douglas NW, Burak KW (October 2005). "Lamivudine for the treatment of membranous glomerulopathy secondary to chronic hepatitis B infection". Canadian journal of gastroenterology = Journal canadien de gastroenterologie. 19 (10): 625–9. PMID 16247526.
  20. Dienstag JL (February 1981). "Hepatitis B as an immune complex disease". Seminars in Liver Disease. 1 (1): 45–57. doi:10.1055/s-2008-1063929. PMID 6126007.
  21. Trepo C, Guillevin L (May 2001). "Polyarteritis nodosa and extrahepatic manifestations of HBV infection: the case against autoimmune intervention in pathogenesis". Journal of Autoimmunity. 16 (3): 269–74. doi:10.1006/jaut.2000.0502. PMID 11334492.
  22. Alpert E, Isselbacher KJ, Schur PH (July 1971). "The pathogenesis of arthritis associated with viral hepatitis. Complement-component studies". The New England Journal of Medicine. 285 (4): 185–9. doi:10.1056/NEJM197107222850401. PMID 4996611.
  23. Liang TJ (May 2009). "Hepatitis B: the virus and disease". Hepatology (Baltimore, Md.). 49 (5 Suppl): S13–21. doi:10.1002/hep.22881. PMC 2809016. PMID 19399811.
  24. Gocke DJ, Hsu K, Morgan C, Bombardieri S, Lockshin M, Christian CL (December 1970). "Association between polyarteritis and Australia antigen". Lancet. 2 (7684): 1149–53. doi:10.1016/S0140-6736(70)90339-9. PMID 4098431.
  25. Lai KN, Li PK, Lui SF, Au TC, Tam JS, Tong KL, Lai FM (May 1991). "Membranous nephropathy related to hepatitis B virus in adults". The New England Journal of Medicine. 324 (21): 1457–63. doi:10.1056/NEJM199105233242103. PMID 2023605.
  26. Takekoshi Y, Tanaka M, Shida N, Satake Y, Saheki Y, Matsumoto S (November 1978). "Strong association between membranous nephropathy and hepatitis-B surface antigenaemia in Japanese children". Lancet. 2 (8099): 1065–8. doi:10.1016/S0140-6736(78)91801-9. PMID 82085.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก