ตระกูลสิริวัฒนภักดี
ตระกูลสิริวัฒนภักดี เป็นครอบครัวนักธุรกิจ เชื้อสายไทย-จีน และเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย ครอบครัวนี้มีเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นผู้นำ ซึ่งสร้างฐานะจากธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และนับแต่นั้นเป็นต้นมา เขาได้ขยายการถือครองทรัพย์สินของครอบครัวไปสู่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และอุตสาหกรรมอื่นๆ ผ่านการซื้อกิจการครั้งใหญ่หลายครั้ง ครอบครัวนี้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทจดทะเบียน ได้แก่ ไทยเบฟเวอเรจ, โออิชิ กรุ๊ป, เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้, แอสเสท เวิรด์ คอร์ป และบริษัทอื่น ๆ ทั้งที่ถือครองโดยตรงและภายใต้การถือหุ้นในนาม กลุ่มทีซีซี[1][2][3] ตระกูลสิริวัฒนภักดีถือเป็น 1 ใน 5 ตระกูลธุรกิจใหญ่ที่ครองตลาดธุรกิจในประเทศไทย[4]
ประวัติ
[แก้]เจริญ สิริวัฒนภักดี เกิดที่กรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2487 เป็นบุตรคนที่สองจากพี่น้องทั้งหมด 11 คน พ่อของเขาซึ่งเป็นพ่อค้าริมถนนเป็นชาวแต้จิ๋ว ที่อพยพมาจากเมืองซัวเถา ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้อพยพรุ่นสุดท้ายที่มาถึงก่อนเกิด การปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน ในปี พ.ศ. 2492 ตระกูล โส / ซู (蘇) เดิมใช้นามสกุลไทยว่า ศรีสมบูรณานนท์ ส่วนชื่อ "สิริวัฒนภักดี" ซึ่งมาจากคำภาษาบาลี สิริ แปลว่า 'ความเจริญรุ่งเรือง' + วัฒน แปลว่า 'เพิ่มขึ้น' + ภักติ แปลว่า 'ความจงรักภักดี' - เป็นนามสกุลที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่เจริญและครอบครัว ในปี พ.ศ. 2531[5]
เจริญมีบุตรธิดาห้าคนกับภรรยา วรรณา สิริวัฒนภักดี (พ.ศ. 2486-2566) ได้แก่ อาทินันท์ พีชานนท์, วัลลภา ไตรโสรัส, ฐาปน สิริวัฒนภักดี, ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล และ ปณต สิริวัฒนภักดี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบุตรธิดาของเจริญได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในบริษัทต่าง ๆ ของอาณาจักรธุรกิจของครอบครัว[6]
บุคคลในตระกูล
[แก้]สมาชิกในตระกูลประกอบด้วย:
- เจริญ สิริวัฒนภักดี (เกิด พ.ศ. 2487) มหาเศรษฐีชาวไทย
- วรรณา สิริวัฒนภักดี (2 มีนาคม 2486–17 มีนาคม 2566) ภรรยาของเจริญ เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารหลายตำแหน่งรวมทั้งรองประธานบริษัทไทยเบฟเวอเรจ[7][8]
- อาทินันท์ พีชานนท์ ธิดาคนโต
- โชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ สามีของอาทินันท์
- วัลลภา ไตรโสรัส ธิดาคนที่สอง
- โสมพัฒน์ ไตรโสรัส รองประธานกรรมการ บมจ.แอสเสท เวิลด์ คอร์ป สามีของวัลลภา
- ฐาปน สิริวัฒนภักดี (เกิด พ.ศ. 2517) บุตรคนที่ 3 และลูกชายคนโต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทยเบฟเวอเรจ
- ปภัชญา สิริวัฒนภักดี (สกุลเดิม: เธียรประสิทธิ์) เจ้าของโรงเรียนอนุบาลเธียรประสิทธิ์ศาสตร์ ภรรยาของฐาปน
- ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล
- อัศวิน เตชะเจริญวิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ สามีของฐาปณี
- ปณต สิริวัฒนภักดี
- หม่อมหลวงตรีนุช จักรพันธุ์ สิริวัฒนภักดี ภรรยาของปณต
การบริหารงานในกลุ่มทีซีซี
[แก้]บุตร-ธิดา | ธุรกิจที่ดูแล | การทำงานในกลุ่มทีซีซีในปัจจุบัน | อ้างอิง | |
---|---|---|---|---|
ตำแหน่ง | บริษัท | |||
อาทินันท์ พีชานนท์ | ประกันการเงิน | รองประธานกรรมการบริหาร | บมจ. ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ | |
วัลลภา ไตรโสรัส | อสังหาริมทรัพย์และโรงแ��ม | ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร | บมจ. แอสเสท เวิลด์ คอร์ป | |
ฐาปน สิริวัฒนภักดี | อาหารและเครื่องดื่ม | ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ | บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ | |
รองประธานกรรมการคนที่ 3 และประธานกรรมการบริหาร | บมจ. เสริมสุข | |||
อสังหาริมทรัพย์ | ประธานกรรมการบริหาร | บจก.ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) | ||
รองประธานกรรมการ | บมจ. ยูนิเวนเจอร์ | |||
สื่อและสิ่งพิมพ์ | รองประธานกรรมการ | บมจ. อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ | ||
ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล | สินค้าอุปโภคบริโภค, ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง | ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร | บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ | |
ปณต สิริวัฒนภักดี | อสังหาริมทรัพย์ | ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม | เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Charoen Sirivadhanabhakdi". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
- ↑ "Sirivadhanabhakdi family/TCC group". Nikkei Asia. 1 December 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
- ↑ Jittapong, Khettiya (22 January 2013). "Thai billionaire Charoen builds empire with F&N takeover". Reuters. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
- ↑ Crispin, Shawn W. (13 December 2019). "Thailand's 'five families' prop and imperil Prayut". Asia Times. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
- ↑ Ono, Yukako (11 January 2018). "CEO in the news: Thailand's M&A king lives up to his reputation with Saigon Beer deal". Nikkei Asia. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
- ↑ Wailerdsak, Natenapha (31 May 2023). Business Groups and the Thailand Economy: Escaping the Middle-Income Trap (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. ISBN 978-1-000-88596-5.
- ↑ "Khunying Wanna of ThaiBev dies". สืบค้นเมื่อ 17 March 2023.
- ↑ "LADY WANNA, WIFE OF CHAROEN SIRIVADHANABHAKDI, HAS DIED AT 80". Khaosod English. 17 March 2023. สืบค้นเมื่อ 19 March 2023.