ภาษาไทย

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ปู
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbpuu
ราชบัณฑิตยสภาpu
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/puː˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *puːᴬ¹, จากภาษาไทดั้งเดิม *pɯwᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨸᩪ (ปู), ภาษาลาว ປູ (ปู), ภาษาไทลื้อ ᦔᦴ (ปู), ภาษาไทดำ ꪜꪴ (ปุ), ภาษาไทใหญ่ ပူ (ปู), ภาษาไทใต้คง ᥙᥧ (ปู), ภาษาอาหม 𑜆𑜥 (ปู), ภาษาจ้วง baeu, ภาษาปู้อี baul

คำนาม

แก้ไข

ปู

  1. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea มีรยางค์ขา ๕ คู่ คู่แรกเป็นก้าม รยางค์ที่ปล้องท้องไม่ใช้ในการว่ายน้ำ มีหลายวงศ์ เช่น ปูดำหรือปูทะเล ปูม้า ปูแสม
  2. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวสิธยะ ดาวสมอสำเภา ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก

คำพ้องความ

แก้ไข
(สัตว์): ดูที่ อรรถาภิธาน:ปู

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

ปู (คำอาการนาม การปู)

  1. วางทอดลงเป็นพื้น เช่น ปูกระดาน ปูหินอ่อน, วางแผ่ลง กับพื้น เช่น ปูเสื่อ ปูผ้า.

ภาษาเขมรเหนือ

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

เทียบภาษาเขมร ពូ (พู)

การออกเสียง

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

ปู

  1. อา, น้าชาย

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

รากศัพท์ 1

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

ปู

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨻᩖᩪ (พลู)
  2. อีกรูปหนึ่งของ ᨻᩪ (พู)

รากศัพท์ 2

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

ปู (คำลักษณนาม ตัว)

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨸᩪ (ปู)

ภาษาเลอเวือะตะวันตก

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำคุณศัพท์

แก้ไข

ปู

  1. หนา

ภาษาเลอเวือะตะวันออก

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำคุณศัพท์

แก้ไข

ปู

  1. หนา