ภาษาไทย

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รากศัพท์

แก้ไข

เป็นไปได้ว่ากร่อนมาจาก ปาก +‎ ตู ซึ่งคำหลังมาจากไทดั้งเดิม *tuːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᨲᩪ (ตู) (เก่า) หรือ ᨸᨲᩪ (ปตู) (ใหม่), ปักษ์ใต้ ตู, ลาว ປະຕູ (ปะตู), ไทดำ ꪔꪴ (ตุ) หรือ ꪜꪱꪀꪔꪴ (ปากตุ), ไทใหญ่ တူ (ตู), ปู้อี dul, จ้วง dou หรือ du

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ปฺระ-ตู
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbprà-dtuu
ราชบัณฑิตยสภาpra-tu
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pra˨˩.tuː˧/(สัมผัส)

คำนาม

แก้ไข

ประตู (คำลักษณนาม ประตู หรือ บาน)

  1. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้
    ประตูบ้าน
    ประตูเมือง
  2. ช่อง, ทาง
    ไม่มีประตูสู้
  3. (ในเชิงเปรียบเทียบ) สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
    ประตูฟุตบอล
    ประตูรักบี้
  4. ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนันบางชนิด อย่างถั่ว โป ไฮโล น้ำเต้า
    ถูกประตูเดียว
    กิน 3 ประตู

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

คำลักษณนาม

แก้ไข

ประตู

  1. ลักษณนามเรียกจำนวนครั้งที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู
    ได้ 2 ประตู
    เสีย 3 ประตู

ลูกคำ

แก้ไข