ดูเพิ่ม: ต้าย และ ต๋าย

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ตาย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdtaai
ราชบัณฑิตยสภาtai
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/taːj˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *taːjᴬ², จากภาษาไทดั้งเดิม *p.taːjᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨲᩣ᩠ᨿ (ตาย), ภาษาอีสาน ตาย, ภาษาลาว ຕາຍ (ตาย), ภาษาไทลื้อ ᦎᦻ (ตาย), ภาษาไทดำ ꪔꪱꪥ (ตาย), ภาษาไทขาว ꪔꪱꪥ, ภาษาไทแดง ꪔꪱꪥ, ภาษาไทใหญ่ တၢႆ (ตาย), ภาษาไทใต้คง ᥖᥣᥭ (ตาย), ภาษาคำตี้ တၢဲႈ, ภาษาพ่าเก တႝ (ตย์), ภาษาอาหม 𑜄𑜩 (ตย์), ภาษาจ้วง dai, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง tai หรือ hai; เทียบภาษาเบดั้งเดิม *ɗaːjᴬ¹, ภาษาออสโตรนีเซียนดั้งเดิม *(m-)aCay (ตาย)

คำกริยา

แก้ไข

ตาย (คำอาการนาม การตาย หรือ ความตาย)

  1. สิ้นใจ, สิ้นชีวิต, ไม่เป็นอยู่ต่อไป, สิ้นสภาพของการมีชีวิต
    สภาวะสมองตาย
  2. เคลื่อนไหวไม่ได้
    มือตาย
    ตีนตาย
  3. ไม่เดินเพราะเครื่องเสียหรือหยุดเป็นต้น
    รถยนต์ตาย
    นาฬิกาตาย
  4. ยืนแต้มอยู่อย่างเดียว
    ลูกเต๋าตายหก
  5. ลักษณะที่ประตูในการเล่นการพนันบางประเภท เช่น โป ถั่ว ไม่ออกเลย หรือนานจึงจะออกสักครั้งหนึ่ง
  6. ผิดตามที่กติกากำหนดไว้ในการเล่นกีฬาหรือการละเล่นบางชนิด

คำพ้องความ

แก้ไข
ดูที่ อรรถาภิธาน:ตาย

ลูกคำ

แก้ไข

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

คำสืบทอด

แก้ไข
  • เขมร: តាយ (ตาย)

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

ตาย

  1. (ภาษาปาก, hyperbolic, sarcastic) คำประกอบท้ายประโยคหรือหน้าประโยค หมายความว่า แย่, เต็มที, ยิ่งนัก
    ร้อนจะตาย
    ตายละทีนี้

คำอุทาน

แก้ไข

ตาย

  1. คำเปล่งเสียงแสดงความตกใจหรือประหลาดใจเป็นต้น
    อุ๊ยตาย
    ตายแล้ว