ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์จาก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงjàak
ราชบัณฑิตยสภาchak
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕaːk̚˨˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงจาค

รากศัพท์ 1

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

จาก

  1. ชื่อปาล์มชนิด Nypa fruticans Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกออยู่ตามป่าเลนหรือริมฝั่งน้ำกร่อยตื้นใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอกเป็นช่อยาวผลรวมเป็นทะลาย กินได้ เรียกว่า ลูกจาก
  2. เรียกขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมมะพร้าวกับน้ำตาลห่อด้วยใบจากแล้วปิ้ง ว่า ขนมจาก
  3. ชื่อปูชนิด Varuna litterata ในวงศ์ Grapsidae ตัวเล็ก อาศัยอยู่ตามป่าจากในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาเขมร ចាក (จาก)

คำกริยา

แก้ไข

จาก (คำอาการนาม การจาก)

  1. ออกพ้นไป
    จากบ้านจากเมือง
    จากลูกจากเมีย
  2. ตาย
    จากโลกนี้ไป
    เขาจากเราไปตลอดกาล

คำบุพบท

แก้ไข

จาก

  1. คำนำหน้านามบอกต้นทางที่มา
    ดื่มน้ำจากแก้ว
    เขามาจากอยุธยา
  2. ตั้งแต่
    จากเช้าจดค่ำ

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

จาก (คำอาการนาม ก๋ารจาก หรือ ก๋านจาก)

  1. (อกรรม, สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᨧᩣ᩠ᨠ (จาก)