ยูเอสเอส นิมิตซ์ (CVN-68)
ยูเอสเอส นิมิตซ์ (CVN-68) (อังกฤษ: USS Nimitz) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ของกองทัพเรือสหรัฐ เป็นเรือนำในกลุ่มเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ และนับเป็นหนึ่งในเรือรบที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในตอนแรกมีหมายเลขตัวเรือว่า CVAN-68 ("aircraft carrier, attack, nuclear powered" – เรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีพลังงานนิวเคลียร์) แต่ภายหลังก็ถูกเปลี่ยนรหัสเป็น CVN-68 ("aircraft carrier, multi-mission, nuclear-powered" – เรือบรรทุกเครื่องบินอเนกประสงค์พลังงานนิวเคลียร์) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1975 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างทัพเรือในปีนั้น
ยูเอสเอส นิมิตซ์ (CVN-68) นอกชายฝั่งแซนดีเอโกในเดือนกรกฎาคม 2009
| |
ประวัติ | |
---|---|
สหรัฐอเมริกา | |
ชื่อ | |
ตั้งชื่อตาม | จอมพลเรือ เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์ |
Ordered | 31 มีนาคม 1967 |
อู่เรือ | นิวพอร์ตนิวส์ชิปบิลดิง |
ปล่อยเรือ | 22 มิถุนายน 1968 |
เดินเรือแรก | 13 พฤษภาคม 1972 |
เข้าประจำการ | 3 พฤษภาคม 1975 (49 ปี) |
เปลี่ยนระดับ | CVN-68, 30 มิถุนายน 1975 |
ท่าจอด | ฐานทัพเรือคิตแซป |
รหัสระบุ |
|
คำขวัญ |
|
ชื่อเล่น |
|
สถานะ | อยู่ในประจำการ |
สัญลักษณ์ | |
ลักษณะเฉพาะ | |
ชั้น: | นิมิตซ์ |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | 100,020 ลองตัน (112,020 ชอร์ตตัน)[1][2] |
ความยาว: |
|
ความกว้าง: |
|
กินน้ำลึก: |
|
ระบบขับเคลื่อน: |
|
ความเร็ว: | 31.5 นอต (58.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 36.2 ไมล์ต่อชั่วโมง)[3] |
พิสัยเชื้อเพลิง: | ไม่จำกัดระยะทาง 20–25 ปี |
อัตราเต็มที่: |
|
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: |
|
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: |
|
ยุทโธปกรณ์: |
|
เกราะ: | เป็นความลับ |
อากาศยาน: | เครื่องบินปีกนิ่งและเฮลิคอปเตอร์ 90 ลำ |
เรือลำนี้ได้รับการตั้งชื่อตามจอมพลเรือ เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์ ผู้บัญชาการทัพเรือแปซิฟิกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นจอมพลเรือคนที่ 3 ของกองทัพเรือสหรัฐ นิมิตซ์เป็นเรือลำเดียวในชั้นที่ใช้นามสกุลเป็นชื่อเรือ เดิมประจำการอยู่ที่ฐานทัพเรือนอร์ฟอล์ก รัฐเวอร์จิเนีย จนกระทั่งปี 1987 ก่อนจะย้ายไปประจำการที่ฐานทัพเรือเบรเมอร์ตัน รัฐวอชิงตัน (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของฐานทัพเรือคิตแซป) หลังผ่านการเติมเชื้อเพลิงและปรับปรุงซ่อมแซมครั้งใหญ่ในปี 2001 นิมิตซ์ก็ถูกย้ายไปประจำการที่ฐานทัพอากาศนอร์ทไอแลนด์ ในแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย และในปี 2012 ก็ถูกย้ายกลับไปประจำการที่ฐานทัพเรือเอเวอเรตต์ รัฐวอชิงตัน อีกครั้ง ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายของกองทัพเรือลงไปได้ถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การก่อสร้าง
แก้กระดูกงูของนิมิตซ์ได้ถูกวางลงในวันที่ 22 มิถุนายน 1968 โดย Newport News Shipbuilding ที่ Newport News,เวอร์จิเนีย ยูเอสเอส นิมิตซ์ถูกตั้งชื่อในปี 1972 โดย แคทเทอรีน นิมิตซ์ เลย์ลูกสาวของเชสเตอร์ วิลเลี่ยม นิมิตซ์ ยูเอสเอส นิมิตซ์ถูกส่งไปยังกองทัพเรือในปี 1975 และขึ้นระวางที่ Naval Station Norfolk ในวันที่ 3 พฤษภาคม 1975 โดยประธานาธิบดี เจอร์รัล ฟอร์ด
กองเรือจู่โจมนิมิตซ์
แก้นิมิตซ์เป็นส่วนหนึ่งของกองเรือจู่โจมที่ 11 (CSG-11) กับ Carrier Air Wing Eleven (CVW-11) นิมิตซ์เป็นเรือธงของกองเรือจู่โจมและฐานบัญชาการหน่วย Destroyer Squadron 23
Ships of DESRON-23
แก้ประวัติ
แก้1970s
แก้ยูเอสเอส นิมิตซ์ได้ถูกส่งไปปฏิบัติการครั้งแรกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในวันที่ 7 กรกฎาคม 1976 กับ Carrier Air Wing 8 ร่วมกับ USS South Carolina และ USS California ในเดือนพฤศจิกายน 1976 นิมิตซ์ได้รับเหรียญ The Battle E จากผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐภาคพื้นแอตแลนติกสำหรับการเป็นผู้ให้บริการเครื่องบินรบที่มีประสิทธิภาพที่สุดและสำคัญที่สุดในมหาสมุทรแอตแลนติกและกองเรือได้กลับสู่นอร์ฟลอค เวอร์จิเนียในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1977
ปฏิบัติการครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นอีกครั้งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 1977 ถึง 20 กรกฎาคม 1978 และครั้งที่ 3 ได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 10 กันยายน 1979 นิมิตซ์ได้ออกจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเคลื่อนไปยังมหาสมุทรอินเดียเพราะเกิดเหตุการณ์ตัวประกันอิหร่านในสถานทูตสหรัฐประจำกรุงเตหะรานมีตัวประกันทั้งหมด 52 คน 4 เดือนต่อมาปฏิบัติการ Evening Light ได้เริ่มขึ้นบนดาดฟ้าเรือนิมิตซ์เพื่อเข้าไปช่วยเหลือตัวประกันแต่ต่อมาภารกิจนี้ถูกยกเลิกเนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ได้ตกที่จุดเติมเชื้อเพลิงในทะเลทรายอิหร่าน นิมิตซ์ได้กลับสู่อเมริกาในวันที่ 26 พฤษภาคม 1980 หลังจากอยู่ในทะเลอิหร่านถึง 144 วัน
1980s
แก้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 1981 EA-6B Prowler ได้ตกกระแทกดาดฟ้าเรือนิมิตซ์ส่งผลให้ลูกเรือเสียชีวิต 14 นายและบาดเจ็บอีก 45 นาย EA-6B Prowler ถังเชื้อเพลิงเสียหายอย่างหนักหลังจากภารกิจ bolter จึงตกกระแทก เกิดเพลิงไหม้และระเบิดบนดาดฟ้าเรือสร้างความเสียหายแก่เครื่องบินที่จอดอยู่บนดาดฟ้าเรือถึง 11 ลำ (ทั้งถูกทำลายและเสียหาย)
- ↑ Polmar, Norman (2004). The Naval Institute Guide to the Ships and Aircraft of the U.S. fleet. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. p. 112. ISBN 978-1-59114-685-8.
- ↑ "CVN-68: NIMITZ CLASS" (PDF).
- ↑ Slade, Stuart (29 April 1999). "Speed Thrills III – Max speed of nuclear-powered aircraft carriers". NavWeaps. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-01-10.