หญ้า

(เปลี่ยนทางจาก Poaceae)

หญ้า เป็นวงศ์ของพืชดอกใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีจำนวนมากและมีแทบทุกหนแห่ง โดยมีประมาณ 780 สกุลและประมาณ 12,000 สปีชีส์[4] ทำให้หญ้าเป็นวงศ์พืชที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 โดยเป็นรองเพียงวงศ์ทานตะวัน, วงศ์กล้วยไม้, วงศ์ถั่ว และวงศ์เข็ม[5]

หญ้า
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Albian–ปัจจุบัน [1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
Monocots
เคลด: Commelinids
Commelinids
อันดับ: อันดับหญ้า
เคลด: Graminid clade
วงศ์: หญ้า

Barnhart[2]
สกุลต้นแบบ
Poa
L.
วงศ์ย่อย
ชื่อพ้อง[3]

Gramineae Juss.

หญ้าเป็นวงศ์พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุด โดยสามารถนำธัญพืช เช่น ข้าวโพด, ข้าวสาลี, ข้าว, ข้าวบาร์เลย์ และข้าวฟ่าง ไปผลิตอาหารหลักหรือให้อาหารสัตว์ที่ผลิตเนื้อได้ พวกมันให้พลังงานทางอาหารมากกว่าครึ่งหนึ่ง (51%) ของพลังงานทางอาหารทั้งหมด ผ่านการบริโภคของมนุษย์โดยตรง แบ่งเป็นข้าว 20%, ข้าวสาลี 20%, ข้าวโพด 5.5% และธัญพืชอื่น ๆ 6%[6] สมาชิกวงศ์หญ้าบางส่วนใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง (ไม้ไผ่, มุงจาก และฟาง) ในขณะที่บางส่วนเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ผ่านการแปลงข้าวโพดเป็นเอทานอล

ทุ่งหญ้าอย่างสะวันนาและแพรรีที่มีหญ้าเป็นส่วนใหญ่ ประมาณการว่าครอบคลุมไปถึง 40.5% ของพื้นที่ผิวโลก (ไม่นับกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา)[7] หญ้ายังมีส่วนสำคัญต่อพืชพรรณในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึง พื้นที่ชุ่มน้ำ, ป่า และทุนดรา

ถึงแม้ว่า���ดยทั่วไปจะเรียกหญ้าทะเล, กก และวงศ์กกเป็น "หญ้า" แต่ทั้งหมดอยู่นอกวงศ์นี้ โดยกกและวงศ์กกมีความคล้ายคลึงกับหญ้าตรงที่อยู่ในอันดับ Poales แต่หญ้าทะเลอยู่ในอันดับ Alismatales อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ศัพทมูลวิทยา

แก้

จอห์น เฮนด์ลีย์ บาร์นฮาร์ตเป็นผู้คิดค้นศัพท์ Poaceae ใน ค.ศ. 1895[8]: 7  โดยอิงจากชื่อเผ่า Poeae ที่รอเบิร์ต บราวน์อธิบายไว้ใน ค.ศ. 1814 และสกุล Poa ที่คาร์ล ลินเนียสอธิบายไว้ใน ค.ศ. 1753 ศัพท์นี้มาจากภาษากรีกโบราณว่า πόα (póa, "อาหารสัตว์")

สมุดภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Yan Wu; Hai-Lu You; Xiao-Qiang Li (2018). "Dinosaur-associated Poaceae epidermis and phytoliths from the Early Cretaceous of China". National Science Review. 5 (5): 721–727. doi:10.1093/nsr/nwx145.
  2. Angiosperm Phylogeny Group (2009). "An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG III". Botanical Journal of the Linnean Society. 161 (2): 105–121. doi:10.1111/j.1095-8339.2009.00996.x.
  3. HASTON, ELSPETH; RICHARDSON, JAMES E.; STEVENS, PETER F.; CHASE, MARK W.; HARRIS, DAVID J. (October 2009). "The Linear Angiosperm Phylogeny Group (LAPG) III: a linear sequence of the families in APG III". Botanical Journal of the Linnean Society. 161 (2): 128–131. doi:10.1111/j.1095-8339.2009.01000.x.
  4. Christenhusz, M.J.M.; Byng, J.W. (2016). "The number of known plants species in the world and its annual increase". Phytotaxa. 261 (3): 201–217. doi:10.11646/phytotaxa.261.3.1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-29.
  5. "Angiosperm Phylogeny Website". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2016. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  6. "Rice is Life" (PDF). Food and Agricultural Organization of the United Nations. 2004.
  7. Reynolds, S.G. "Grassland of the world". www.fao.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-20. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.
  8. Barnhart, John Hendley (15 January 1895). "Family nomenclature". Bulletin of the Torrey Botanical Club. 22 (1): 1–24. doi:10.2307/2485402. JSTOR 2485402. สืบค้นเมื่อ 5 June 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   นิยามแบบพจนานุกรมของ grass ที่วิกิพจนานุกรม