สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย

(เปลี่ยนทางจาก Oceania Football Confederation)

สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย (อังกฤษ: Oceania Football Confederation, ฝรั่งเศส: Confédération du football d'Océanie) หรือ โอเอฟซี (OFC) เป็นสมาพันธ์ฟุตบอลที่ดูแลการจัดการแข่งขันฟุตบอลในพื้นที่ทวีปโอเชียเนีย โดยสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเป็น 1 ใน 6 สมาคมที่จัดการแข่งขันฟุตบอลทั่วโลกของฟีฟ่า สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียจัดการแข่งขันภายในทวีปหลายรายการ ที่สำคัญคือ โอเอฟซีเนชันส์คัพ ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนโอเชียเนีย โอเอฟซีวีเมนส์เนชันส์คัพและโอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ซึ่งผู้ชนะจะได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก

สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย
ชื่อย่อOFC
ก่อตั้งค.ศ. 1966
ประเภทองค์กรกีฬา
สํานักงานใหญ่ออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
โอเชียเนีย
สมาชิก
13 ชาติสมาชิก (โดยสมบูรณ์ 11 ชาติ)
ภาษาทางการ
อังกฤษ
แลมเบิร์ต มัลท็อก
รองประธาน
Thierry Ariiotima
จอห์น คาปี นัตโต
ลอร์ด เวเอฮาลา
เลขาธิการ
Franck Castillo
องค์กรปกครอง
ฟีฟ่า
เว็บไซต์oceaniafootball.com

ชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการฟุตบอลโลก 4 ครั้ง โดยฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 1974 และ ค.ศ. 2006 และฟุตบอลทีมชาตินิวซีแลนด์ในปี ค.ศ. 1982 และ ค.ศ. 2010 ในกรณีของฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย แม้จะลาออกจากการเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียและเข้าสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียในปี ค.ศ. 2006 แต่ในขณะนั้นฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียเข้าแข่งขันรอบคัดเลือกในเขตโอเชียเนีย จึงนับได้ว่าการเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกในครั้งนั้นมาจากตัวแทนของทวีปโอเชียเนีย

ประวัติ

แก้

สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเป็นเพียงสมาพันธ์เดียวเท่านั้น ที่ไม่มีโควตาโดยตรงในการเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกตามรูปแบบการแบ่งโควตาในปัจจุบัน ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียเป็นชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียที่มีผลการแข่งขันดีที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยสามารถเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในปี ค.ศ. 2006 ส่วนในอีก 3 ครั้งที่เหลือทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้ ในการแข่งขัน 13 นัดของชาติสมาชิกโอเอฟซี พบว่ามีเพียงนัดเดียวเท่านั้นที่ชาติสมาชิกโอเอฟซีได้รับชัยชนะ คือ ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียชนะฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2006 ด้วยผล 3 – 1 ในขณะที่ฟุตบอลทีมชาตินิวซีแลนด์เป็นเพียงชาติเดียวที่ไม่พ่ายแพ้ต่อฟุตบอลทีมชาติอื่นในการแข่งขันฟุตบอลโลก ค.ศ. 2010 ที่แอฟริกาใต้ โดยเป็นผลเสมอทั้ง 3 นัด

ในส่วนการแข่งขันระดับทวีป ตัวแทนจากฟุตบอลทีมชาตินิวซีแลนด์เป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันโอเอฟซีเนชันส์คัพ โอเอฟซี แชมเปียนส์ชิพรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปีและโอเอฟซี แชมเปียนส์ชิพรุ่นอายุต่ำกว่า 17 ปี มากกว่า 1 ครั้ง ในส่วนของฟุตบอลหญิง นิวซีแลนด์เป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขับระดับทวีปทุกรายการที่สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเป็นผู้จัด อย่างไรก็ตามในส่วนของฟุตซอล เมื่อออสเตรเลียออกจากการเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียแล้ว ฟุตซอลทีมชาติหมู่เกาะโซโลมอนกลายมาเป็นทีมชาติที่แข็งแกร่งที่สุดในทวีป โดยเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตซอลโอเชียเนียแชมเปียนส์ชิพทุกครั้งนับแต่นั้นมา สำหรับฟุตบอลชายหาด หมู่เกาะโซโลมอนมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชายหาดโลก 5 ครั้งติดต่อกัน ในขณะที่ตาฮีติเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยได้อันดับ 4 ในการแข่งขันปี ค.ศ. 2013

ในการแข่งขันระดับสโมสร สโมสรจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันโอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับสโมสรที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคทุกครั้ง ยกเว้นในปี ค.ศ. 2009 – 2010 เมื่อเฮการี ยูไนเต็ดจากประเทศปาปัวนิวกินีชนะการแข่งขันในปีนั้น

สมาชิก

แก้

ชาติสมาชิก

แก้
รหัส สมาคม ทีม ปีก่อตั้ง ปีที่เข้าร่วมฟีฟ่าและโอเอฟซี
FIJ   ฟีจี ฟุตบอลชาย
ฟุตบอลหญิง
ฟุตซอล
ฟุตบอลชายหาด
1938 1963 (ฟีฟ่า), 1966 (โอเอฟซี)[1]
COK   หมู่เกาะคุก ฟุตบอลชาย
ฟุตบอลหญิง
ฟุตซอล
ฟุตบอลชายหาด
1971 1994[2]
SLB   หมู่เกาะโซโลมอน ฟุตบอลชาย
ฟุตบอลหญิง
ฟุตซอล
ฟุตบอลชายหาด
1978 1988[3]
NCL   นิวแคลิโดเนีย ฟุตบอลชาย
ฟุตบอลหญิง
ฟุตซอล
ฟุตบอลชายหาด
1928 2004 (ฟีฟ่า),[4] 1969 (โอเอฟซี)
NZL   นิวซีแลนด์ ฟุตบอลชาย
ฟุตบอลหญิง
ฟุตซอล
ฟุตบอลชายหาด
1891 1948 (ฟีฟ่า), 1966 (โอเอฟซี)[5]
PNG   ปาปัวนิวกินี ฟุตบอลชาย
ฟุตบอลหญิง
ฟุตซอล
1962 1963 (ฟีฟ่า), 1966 (โอเอฟซี)[6]
TAH   ตาฮีตี ฟุตบอลชาย
ฟุตบอลหญิง
ฟุตซอล
ฟุตบอลชายหาด
1989 1990[7]
SAM   ซามัว ฟุตบอลชาย
ฟุตบอลหญิง
ฟุตซอล
1968 1986[8]
ASM   อเมริกันซามัว ฟุตบอลชาย
ฟุตบอลหญิง
1984 1998[9]
TON   ตองงา ฟุตบอลชาย
ฟุตบอลหญิง
1965 1994[10]
VUT   [[|วานูวาตู]] ฟุตบอลชาย
ฟุตบอลหญิง
ฟุตบอลชายหาด
1934 1988[11]
  • ^ เฟรนช์โปลินีเซียใช้ชื่อตาฮีติในการแข่งขันฟุตบอลในโอเอฟซีและฟีฟ่า
  • อดีตสมาชิก

    แก้
    •   ออสเตรเลีย: เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียในปี ค.ศ. 1966 แต่ออกจากการเป็นสมาชิกในปี ค.ศ. 2006 เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย[12]
    •   จีนไทเป: เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียในปี ค.ศ. 1975 หลังจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียขับออกจากการเป็นสมาชิกภาพ ฟุตบอลหญิงทีมชาติจีนไทเปเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันโอเอฟซีวีเมนส์เนชันส์คัพ 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1989 สมาคมฟุตบอลจีนไทเปเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียอีกครั้ง[13]

    สมาชิกสมทบ

    แก้

    สมาคมฟุตบอลในทวีปโอเชียเนียเป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย 3 ประเทศ โดยที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมบูรณ์ของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียและสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ จึงมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันที่จัดโดยสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเท่านั้น ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันที่จัดโดยสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศได้[14]

    รหัสประเทศ สมาคม ทีม ปีก่อตั้ง ปีที่เข้าร่วมโอเอฟซี
    NIU   นีวเว ฟุตบอลชาย 1960 1986
    TUV   ตูวาลู ฟุตบอลชาย
    ฟุตบอลหญิง
    ฟุตซอล
    1976 2006
    KIR   คิริบาส ฟุตบอลชาย
    ฟุตซอล
    1979 2008

    อดีตสมาชิกสมทบ

    แก้
    •   อิสราเอล: เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย หลังจากออกจากการเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ในปี ค.ศ. 1991 สมาคมฟุตบอลอิสราเอลออกจากการเป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียและเข้าร่วมเป็นสมาชิกของยูฟ่า[15]
    •   หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา: เป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียจนถึงปี ค.ศ. 2009 หลังจากนั้นเป็นต้นมาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย[16]
    •   ปาเลา: เข้าเป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียในปี ค.ศ. 2007 ในปี ค.ศ. 2009 สมาคมฟุตบอลปาเลาแสดงความจำนงค์เข้าร่วมสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ[16]

    ไม่ได้เป็นสมาชิก

    แก้

    การแข่งขันที่จัดโดยโอเอฟซี

    แก้

    ทีมที่ผ่านเข้ารอบฟุตบอลโลก

    แก้

    ชาย

    แก้

    เหตุการณ์

    หญิง

    แก้

    ตารางต่อไปนี้แสดงถึงตัวแทนโอเอฟซีที่เข้าแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง เรียงตามจำนวนครั้งที่เข้าร่วม

    ทีม  
    1991
     
    1995
     
    1999
     
    2003
     
    2007
     
    2011
     
    2015
     
    2019
    รวม
      ออสเตรเลีย GS GS GS เข้าร่วมสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย 3
      นิวซีแลนด์ GS GS GS GS GS 5

    อันดับทีมชาติ

    แก้
    • ปรับปรุงล่าสุด:
      • ทีมชาติฟุตบอลชาย – 1 ตุลาคม 2015 –[17]
      • ทีมชาติฟุตบอลหญิง – 25 กันยายน 2015 –[18]
    อันดับสูงสุดทีมชาติชาย
    การจัดเรียงคำนวณโดยฟีฟ่า
    อันดับสูงสุดทีมชาติหญิง
    การจัดเรียงคำนวณโดยฟีฟ่า
    โอเอฟซี ฟีฟ่า ชาติ คะแนน โอเอฟซี ฟีฟ่า ชาติ คะแนน
    1 148   นิวซีแลนด์ 188 1 16   นิวซีแลนด์ 1,839
    2 162   ซามัว 152 2 49   ปาปัวนิวกินี 1,480
    3 164   อเมริกันซามัว 144 3 85   ฟีจี 1,292
    4 166   หมู่เกาะคุก 132 4 93   ตองงา 1,258
    5 169   นิวแคลิโดเนีย 120 5 94   นิวแคลิโดเนีย 1,252
    6 188   ตาฮีตี 60 6 104   หมู่เกาะคุก 1,185
    7 189   ฟีจี 60 7 113   หมู่เกาะโซโลมอน 1,144
    8 197   หมู่เกาะโซโลมอน 33 8 114   ซามัว 1,138
    9 200   ตองงา 17 9 148**   เฟรนช์พอลินีเชีย 1,238
    10 201   วานูวาตู 13   วานูวาตู 1,139
    11 206   ปาปัวนิวกินี 4   อเมริกันซามัว 1,075

    อ้างอิง

    แก้
    1. "About Fiji FA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2014.
    2. "About Cook Islands Football Association". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2014.
    3. "Solomon Islands Football Federation". สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    4. "Fédération Calédonienne de Football". สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    5. "New Zealand Football". สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    6. "PNGFA History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    7. "Fédération Tahitienne de Football". สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    8. "Football Federation Samoa". สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    9. "American Samoa Info". สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    10. "Tonga Info". สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    11. "Vanuatu Info". สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2014.
    12. "Who we are". Football Federation Australia. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    13. 中華民國足球協會簡介 [Introduction to the Football Association of the Republic of China] (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    14. "Members Associations". oceaniafootball.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    15. "אודות ההתאחדות" [About the association]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014. (ในภาษาฮีบรู).
    16. 16.0 16.1 "EAFF News". สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2014.
    17. "Men's Ranking". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2016.
    18. "Women's Ranking". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2016.

    แหล่งข้อมูลอื่น

    แก้