ไมโครซอฟท์ บิง

(เปลี่ยนทางจาก Microsoft Bing)

ไมโครซอฟท์ บิง (อังกฤษ: Microsoft Bing) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า บิง (อังกฤษ: Bing) เป็นบริการเสิร์ชเอนจินโดยมีไมโครซอฟท์เป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการ บริการนี้มีต้นกำเนิดมาจากเอ็มเอสเอ็น เสิร์ช วินโดวส์ ไลฟ์ เสิร์ช และไลฟ์ เสิร์ช ซึ่งเป็นเสิร์ชเอนจินก่อนหน้าโดยไมโครซอฟท์ บิงให้บริการการค้นหาที่หลากหลายรวมถึง เว็บไซต์ วิดีโอ รูปภาพ ผลิตภัณฑ์ และแผนที่ บิงได้รับการพัฒนาโดยใช้เอเอสพีดอตเน็ต (ASP.NET)

ไมโครซอฟท์ บิง
โลโก้ตั้งแต่ตุลาคม 2020
ภาพหน้าจอ
หน้าแรกของบิงจะมีรูปภาพที่เปลี่ยนแปลงทุกวัน
ประเภทเสิร์ชเอนจิน
ภาษาที่ใช้ได้40 ภาษา
เจ้าของไมโครซอฟท์
สร้างโดยไมโครซอฟท์
รายได้Microsoft Advertising
ยูอาร์แอลbing.com
ลงทะเบียนไม่ต้องลงทะเบียน
เปิดตัว3 มิถุนายน 2009; 15 ปีก่อน (2009-06-03)
สถานะปัจจุบันยังมีการพัฒนาอยู่
เขียนด้วยASP.NET[1]

ประวัติ

แก้

บิงถูกสร้างมาทดแทนไลฟ์ เสิร์ช ซึ่งสร้างโดยไมโครซอฟท์เช่นเดียวกัน บิงได้รับการเปิดตัวโดยสตีฟ บอลเมอร์ซีอีโอในขณะนั้น เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2009 ในการประชุมทุกสิ่งเป็นดิจิทัลในแซนดีเอโก แคลิฟอร์เนีย เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2009 บิงมีคุณลักษณะใหม่ที่โดดเด่นในเวลานั้นรวมถึงมีรายการข้อเสนอแนะในการค้นหาในขณะที่ป้อนแบบสอบถามและรายการการค้นหาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถูกเรียกว่า "สำรวจบานหน้าต่าง" (Explore pane) เป็นเทคโนโลยีทางอรรถศาสตร์จากพาวเวอร์ เซ็ท[2] ซึ่งไมโครซอฟท์ได้รับมาในปี 2008[3]

ในเดือนกรกฎาคม 2009 ไมโครซอฟท์และยาฮู! ประกาศข้อตกลงที่ยาฮู! เสิร์ชจะถูกแทนที่ด้วยเอนจินของบิงแต่ยังคงรักษาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบเดิมไว้[4] ซึ่งจะเสร็จสิ้นปี 2012[5]

ในเดือนตุลาคม 2011 ไมโครซอฟท์ ระบุว่าพวกเขากำลังออกแบบการค้นหาแบบใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลการค้นหาที่รวดเร็วและเกี่ยวข้องมากขึ้นสำหรับผู้ใช้ เทคโนโลยีการให้บริการดัชนีใหม่นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เสือ" (Tiger) เทคโนโลยีการแสดงดัชนีใหม่นี้ได้ถูกรวมเข้ากับบิงทั่วโลกตั้งแต่เดือนสิงหาคมในปีนั้น[6] ในเดือนพฤษภาคม 2012 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศออกแบบเสิร์ชเอนจินใหม่อีกครั้งที่มีชื่อว่า "Sidebar" ซึ่งเป็นฟีเจอร์ค้นหาเครือข่ายสังคมของผู้ใช้เพื่อหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหา[7]

ดัชนีการค้นหาของเสิร์ชเอนจินบิทพันเนล และส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องมือโอเพนซอร์ซถูกสร้างขึ้นโดยไมโครซอฟท์ในปี 2016[8][9]

ในเดือนตุลาคม 2018 บิงเป็นเสิร์ชเอนจินที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกโดยมีปริมาณการใช้งาน 4.58% ตามหลังกูเกิล (77%) และไป่ตู้ (14.45%) ยาฮู! เสิร์ชซึ่งใช้เอนจินของบิงมีปริมาณการใช้งาน 2.63%[10][11]

เอ็มเอสเอ็น เสิร์ช

แก้

ไมโครซอฟท์เปิดตัวเอ็มเอสเอ็น เสิร์ชครั้งแรกในปี 1998 โดยใช้ผลการค้นหาจากอิงค์โทมิประกอบด้วยเครื่องมือค้นหาดัชนีและโปรแกรมรวบรวมข้อมูลเว็บ ในช่วงต้นปี 1999 เอ็มเอสเอ็น เสิร์ช ได้เปิดตัวในเวอร์ชันที่แสดงรายชื่อจากลุคมาร์ทผสมผสานกับผลลัพธ์จากอิงค์โทมิ แต่ในช่วงเวลาสั้น ๆ ในปี 1999 มีการใช้ผลลัพธ์จากอัลตาวิสตาแทน ไมโครซอฟท์ตัดสินใจที่จะลงทุนในการค้นหาเว็บโดยการสร้างโปรแกรมรวบรวมข้อมูลเว็บของตัวเองสำหรับเอ็มเอสเอ็น ทำให้ดัชนีมีการปรับปรุงรายสัปดาห์หรือทุกวันในบางครั้ง มีการอัปเกรดเพื่อเริ่มทดสอบซอฟต์แวร์ในเดือนพฤศจิกายน 2004 และปล่อยออกมาเป็นตัวเต็มในเดือนกุมภาพันธ์ 2005[12]

วินโดวส์ ไลฟ์ เสิร์ช

แก้

รุ่นทดสอบรุ่นแรกของวินโดวส์ ไลฟ์ เสิร์ช เปิดตัวเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2006 โดยมีรุ่นสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2006 ถูกสร้างมาเพื่อแทนที่เอ็มเอสเอ็น เสิร์ช เสิร์ชเอนจินแบบใหม่นี้ใช้แท็บค้นหาที่มีเว็บ ข่าวสาร รูปภาพ เพลง และไมโครซอฟท์ เอนคาร์ตา

ในระหว่างการเปิดตัววินโดวส์ ไลฟ์ เสิร์ช ไมโครซอฟท์ได้หยุดใช้พิคเสิร์ชเป็นผู้ให้บริการค้นหารูปภาพและเริ่มทำการพัฒนาเครื่องมือค้นหาภาพของตนเอง[13]

ไลฟ์ เสิร์ช

แก้

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2007 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะแยกการพัฒนาเสิร์ชเอนจินออกจากบริการวินโดวส์ไลฟ์ ซึ่งจะแยกออกมาต่างหากเป็นไลฟ์ เสิร์ช จากนั้นไลฟ์ เสิร์ชได้ถูกรวมเข้ากับแพลตฟอร์มการค้นหาและโฆษณาที่นําโดยสัตยา นาเดลลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนกแพลตฟอร์มและระบบของไมโครซอฟท์ ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไลฟ์ เสิร์ชถูกผสานเข้ากับการโฆษณาของไมโครซอฟท์[14]

ชุดปรับโครงสร้างขององค์กรและการรวมข้อเสนอการค้นหาของไมโครซอฟท์ เกิดขึ้นภายใต้แบรนด์ไลฟ์ เสิร์ช เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2008 โดยไมโครซอฟท์ประกาศที่จะยกเลิกไลฟ์ เสิร์ชบุ๊ก และไลฟ์ เสิร์ชแอกคาเดมิก เพื่อรวมผลการค้นหาทางวิชาการและหนังสือทั้งหมดไว้ในการค้นหาแบบปกติ ด้วยเหตุนี้ไมโครซอฟท์จึงได้หยุดสนับสนุนโปรแกรมไลฟ์ เสิร์ชบุ๊ก หลังจากนั้นได้ไม่นานวินโดวส์ไลฟ์เอ็กซ์โปก็ถูกหยุดสนับสนุนเช่นกัน ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 ต่อมาไลฟ์ เสิร์ชแมโคร ซึ่งเป็นบริการสําหรับผู้ใช้ในการสร้างเครื่องมือการค้นหาแบบกําหนดเองหรือใช้แมโครของผู้ใช้รายอื่นได้ถูกหยุดสนับสนุนเช่นกัน ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2009 การยกเลิกการสนับสนุนนี้ยังรวมไปถึง บิง โปรดักต์อัปโหลด และเอ็มเอสเอ็น คิวเอ็นเอ [15]

อ้างอิง

แก้
  1. Roger Chapman. "Top 40 Website Programming Languages". roadchap.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2011. สืบค้นเมื่อ September 6, 2011.
  2. Metz, Cade. "Microsoft Bing rides open source to semantic search". www.theregister.com (ภาษาอังกฤษ).
  3. "Bing - Microsoft to Acquire Powerset - Powerset blog - Bing Community". web.archive.org. 28 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
  4. "Microsoft and Yahoo seal web deal". 29 July 2009.
  5. "Help for Yahoo Search". help.yahoo.com.
  6. "Bing Unleashing Tiger to Speed Search Results". Search Engine Watch. September 30, 2011. สืบค้นเมื่อ October 3, 2011.
  7. Goldman, David (May 10, 2012). "Bing fires at Google with new social search". CNN Money. สืบค้นเมื่อ May 10, 2012.
  8. Yegulalp, Serdar (September 6, 2016). "Microsoft open-sources Bing components for fast code compilation". InfoWorld.
  9. Verma, Arpit (2016-09-07). "Microsoft Open Sources Major Components Of Bing Search Engine, Here's Why It Matters". Fossbytes (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-12.
  10. Bright, Peter (April 16, 2015). "Microsoft loses exclusivity in shaken up Yahoo search deal". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ January 26, 2016.
  11. "Net Marketshare, Market Share Statistics for Internet Technologies". netmarketshare.com.
  12. "Microsoft's MSN Search To Build Crawler-Based Search Engine". June 30, 2003.
  13. Chris Sherman (September 11, 2006). "Microsoft Upgrades Live Search Offerings". Search Engine Watch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2006. สืบค้นเมื่อ September 12, 2006.
  14. Mary Jo Foley (March 21, 2007). "Microsoft severs Live Search from the rest of the Windows Live family". ZDNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-15. สืบค้นเมื่อ May 10, 2012.
  15. Doug Caverly (May 29, 2009). "Yahoo Answers Outlives MSN QnA". WebProNews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2012. สืบค้นเมื่อ May 10, 2012.