วัฏจักรไกลออกซีเลต

(เปลี่ยนทางจาก Glyoxylate cycle)

วัฏจักรไกลออกซีเลต (อังกฤษ: glyoxylate cycle) เป็นเมตาโบลิก พาทเวย์ที่สังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตจากกรดไขมัน กระบวนการนี้สามารถพบได้ในพืช จุลชีพบางชนิด และ สัตว์มีกระดูกสันหลังบางประเภท

ความสัมพันธ์ระหว่างวัฏจักรกรดซิตริก,วัฏจักรไกลออกซีเลตและกลูโคนีโอเจนิสิส

แก้

กรดไขมันที่ถูกเก็บสะสมนั้นสามารถถูกเปลี่ยนมาเป็นพลังงานได้โดยกรดไขมันผ่านกระบวนเบต้าออกซิเดชัน (Beta oxidation)ได้อะซิเตรด (acetate) ซึ่งอะซิเตรดจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสารอนุพันธ์ของโคเอมไซม์เอ (coenzyme A, CoA) และเข้าสู่วัฏจักรกรดซิตริก (Citric acid cycle) ได้แกสคาร์บอนไดออกไซด์ (carbondioxide) ในการบวนการดังกล่าวนี้สิ่งมีชีวิตสามารถได้รับพลังงานจากไขมัน
อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่สิ่งมีชีวิตต้องการน้ำตาลเป็นจำนวนมากในการเจริญเติบโต เช่น การสร้างผนังเซลล์ สิ่งมีชีวิตสามารถสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคสจากอะซิเตรดโดยผ่านวัฏจักรไกลออกซีเลต เริ่มจาก อะซิเตรด ถูกเปลี่ยนเป็น ซิเตรด (critrate) ถูกเปลี่ยนเป็น ไอโซซิเตรด (iso-critrate) จากนั้นไอโซซิเตรดถูกแบ่งเป็น ซักซิเนต (succinate) และ ไกลออกซีเลต (glyoxylate) ไกลออกซีเลตรวมกับอะซิติลโคเอ (acetyl-CoA) ได้เป็น มาเลต (malate) ซึ่งสามารถเปลี่ยนไปเป็น ฟอสโฟอีนอลไพรูเวต (phophoenolpyruvate) ตัวฟอสโฟอีนอลไพรูเวตเป็นสารเริ่มต้นของกระบวนการกลูโคนีโอเจนิสิส(gluconeogenesis) ดังนั้นโดยสรุปแล้วกระบวนการดังกล่าวเป็นการสังเคราะห์น้ำตาลจากกรดไขมัน