ลิงซ์ยูเรเชีย
ลิงซ์ยูเรเชีย (อังกฤษ: Eurasian lynx; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lynx lynx) แมวป่าชนิดหนึ่ง จำพวกลิงซ์ จัดอยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) พบได้แพร่หลายจากยุโรปเหนือ กลาง และตะวันออกถึงเอเชียกลางและไซบีเรีย ที่ราบสูงทิเบต และหิมาลัย อาศัยอยู่ในบริเวณป่าเขตอบอุ่นและไทกาสูงถึง 5,500 m (18,000 ft) แม้ว่าจะพบได้แพร่หลาย ลิงซ์ยูเรเชียตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการทำลายถิ่นฐานธรรมชาติและการแตกเป็นหย่อม การบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ และการลดลงของเหยื่อ[2]
ลิงซ์ยูเรเชีย | |
---|---|
ลิงซ์ที่อุทยานแห่งชาติป่าบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | สัตว์กินเนื้อ Carnivora |
อันดับย่อย: | เฟลิฟอเมีย Feliformia |
วงศ์: | เสือและแมว Felidae |
วงศ์ย่อย: | แมว Felinae |
สกุล: | Lynx (Linnaeus, 1758) |
สปีชีส์: | Lynx lynx[1] |
ชื่อทวินาม | |
Lynx lynx[1] (Linnaeus, 1758) | |
การกระจายพันธุ์ของลิงซ์ยูเรเชีย ค.ศ. 2015[2] | |
ชื่อพ้อง | |
|
การจำแนก
แก้Felis lynx เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ที่ใช้งานใน ค.ศ. 1758 โดยคาร์ล ลินเนียสในผลงาน Systema Naturae[3] ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 มีการเสนอชนิดย่อยของลิงซ์ยูเรเชียไว้ ดังนี้:[4][5]
รายการข้างล่างนี้ก็มีการเสนอ แต่ไม่ถือเป็นการจำแนกที่ได้รับการรับรอง:[5]
- ลิงซ์อัลไต (L. l. wardi) Lydekker, 1904
- ลิงซ์ไบคาล (L. l. kozlovi) Fetisov, 1950
- ลิงซ์อามูร์ (L. l. stroganovi) Heptner, 1969
- ลิงซ์ซาร์ดีเนีย (L. l. sardiniae) Mola, 1908
ลักษณะ
แก้ลิงซ์ยูเรเชีย นับเป็นลิงซ์ชนิดที่ใหญ่ที่สุด และพบได้กว้างขวาง แพร่กระจายพันธุ์ที่สุด ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ตัวผู้อาจมีความสูงจากปลายเท้าจรดหัวไหล่ 50 เซนติเมตร และมีน้ำหนักได้ถึง 17 กิโลกรัม มีรายงานว่าตัวที่มีนำหนักมากที่สุดอยู่ที่ไซบีเรีย ซึ่งหนักถึง 38 กิโลกรัม หรือบางรายงานกล่าวว่าหนักถึง 45 กิโลกรัม[9][10]
ลิงซ์ยูเรเชีย มีจุดเด่น คือ ขนปลายหูสีดำที่เป็นติ่งแหลมชี้ขึ้นด้านบน ใช้สำหรับประสิทธิภาพในการรับฟังเสียง ทำให้ได้ยินเสียงความเคลื่อนไหวของเหยื่อที่อยู่ใต้ดินไกลถึง 50 เมตร หางสั้น และมีข้อเท้าและอุ้งเท้าที่แข็งแกร่ง ทรงพลัง และจะประกาศอาณาเขตของตนด้วยการสร้างรอยข่วนด้วยเล็บทิ้งไว้ตามต้นไม้หรือซากไม้ล้มในป่า ซึ่งเห็นได้ชัดเจน[11]
ที่อยู่อาศัย
แก้ลิงซ์ยูเรเชียมีถิ่นกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่สแกนดิเนเวีย, ยุโรปกลางจรดจนถึงเอเชียเหนือ, เอเชียตะวันออก, เอเชียกลาง และบางส่วนในจีน เช่น ทะเลสาบคานาส ในแถบเทือกเขาอัลไต[12] เชื่อว่าลิงซ์ยูเรเชียตัวผู้มีถิ่นหากินกว้างไกลได้ถึง 100 ตารางกิโลเมตร และบางครั้งจะล่วงล้ำเข้าไปในถิ่นหากินของตัวเมียอยู่บ่อย ๆ ออกหาอาหารในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็กหลายอย่าง รวมถึง เป็ด, ไก่ หรือนกกระทา อันเป็นสัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์ของมนุษย์อีกด้วย รวมถึงสามารถล่าสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น กวางเรนเดียร์ ได้อีกด้วย และยังกินซากสัตว์ที่ตายแล้ว บ่อยครั้งที่ลิงซ์ยูเรเชียจะออกหาอาหารในแหล่งที่ใกล้กับบ้านเรือนของชุมชนของมนุษย์ตามชายป่า นอกจากนี้แล้วลิงซ์ยูเรเชียยังเป็นแมวป่าที่ไม่กลัวน้ำ ตรงกันข้ามกลับชอบที่จะเล่นน้ำ และว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว[11]
ลิงซ์ยูเรเชีย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ราว 2–2.5 ปี ลูกลิงซ์ยูเรเชียจะอาศัยอยู่กับแม่จนถึงอายุวัยช่วงนั้น ก่อนที่จะแยกตัวออกไปหากินตามลำพัง ลิงซ์ยูเรเชียเป็นสัตว์สันโดษ ตามปกติแล้วจะอาศัยอยู่ตามลำพัง มีบางครั้งที่ลูกลิงซ์ยูเรเชียที่เกิดมาเป็นพี่น้องในครอกเดียวกัน จะอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นคู่ และมีความผูกพันกันมาก จนถึงช่วงวัยที่เติบโตพอที่จะแยกไปอาศัยอยู่ตามลำพัง[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Wozencraft, W. C. (2005). "Species Lynx lynx". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 541. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Breitenmoser, U.; Breitenmoser-Würsten, C.; Lanz, T.; von Arx, M.; Antonevich, A.; Bao, W. & Avgan, B. (2017) [errata version of 2015 assessment]. "Lynx lynx". IUCN Red List of Threatened Species. 2015: e.T12519A121707666. สืบค้นเมื่อ 24 January 2022.
- ↑ Linnaeus, C. (1758). "Felis lynx". Caroli Linnæi Systema naturæ per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาละติน). Vol. Tomus I (decima, reformata ed.). Holmiae: Laurentius Salvius. p. 43.
- ↑ von Arx, M.; Breitenmoser-Würsten, C.; Zimmermann, F.; Breitenmoser, U., บ.ก. (June 2004). Status and conservation of the Eurasian lynx (Lynx lynx) in Europe in 2001 (PDF). Eurasian Lynx Online Information System ELOIS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 August 2021. สืบค้นเมื่อ 23 September 2019.
- ↑ 5.0 5.1 Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O’Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z. & Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group" (PDF). Cat News (Special Issue 11): 42−45. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-17. สืบค้นเมื่อ 2019-02-10.
- ↑ "IUCN/SSC - Cat Specialist Group - Balkan Lynx Compendium". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2017. สืบค้นเมื่อ 10 May 2014.
A fragmented population of probably less than 50 individuals remains in western Macedonia and eastern Albania.
- ↑ "Balkan Lynx Recovery Programme 2006-2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2015. สืบค้นเมื่อ 28 May 2014.
The present population of the Balkan lynx - described as an own subspecies Lynx lynx balcanicus - is estimated to be less than 100 individuals which are distributed in Macedonia, Albania, Montenegro and Kosovo.
- ↑ "sociation for the Protection and Preservation of Natural Environment in Albania" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ 10 May 2014.
Recent expert based estimates indicate that the lynx population in Albania is no more than 15 - 20 remaining individuals.
- ↑ "San Diego Zoo's Animal Bytes: Lynx". Sandiegozoo.org. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2010.
- ↑ Boitani, Luigi (1984). Simon & Schuster's Guide to Mammals. Simon & Schuster/Touchstone Books. ISBN 978-0-671-42805-1.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 The Lynx Liaison. มิติโลกหลังเที่ยงคืน. สารคดีทางไทยพีบีเอส. 5 เมษายน 2014.
- ↑ วริษฐ์ ลิ้มทองกุล (13 สิงหาคม 2006). "จดหมายจากซินเกียง : สวรรค์นาม 'คานาส'(จบ)". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2014.
อ่านเพิ่ม
แก้- Deksne, G.; Laakkonen, J.; Näreaho, A.; Jokelainen, P.; Holmala, K.; Kojola, I.; Sukura, A. (2013). "Endoparasites of the Eurasian Lynx (Lynx lynx) in Finland". Journal of Parasitology. 99 (2): 229–234. doi:10.1645/GE-3161.1. PMID 23016871. S2CID 4761342.
- Jokelainen, Pikka; Deksne, Gunita; Holmala, Katja; Naäreaho, Anu; Laakkonen, Juha; Kojola, Ilpo; Sukura, Antti (2013). "Free-ranging Eurasian lynx (Lynx lynx) as host of Toxoplasma gondii in Finland". Journal of Wildlife Diseases. 49 (3): 527–534. doi:10.7589/2011-12-352. PMID 23778601. S2CID 21910854.
- Lavikainen, A.; Haukisalmi, V.; Deksne, G.; Holmala, K.; Lejeune, M.; Isomursu, M.; Jokelainen, P.; Näreaho, A.; Laakkonen, J.; Hoberg, E. P.; Sukura, A. (2013). "Molecular identification of Taenia spp. in the Eurasian lynx (Lynx lynx) from Finland". Parasitology. 140 (5): 653–662. doi:10.1017/S0031182012002120. PMID 23347590. S2CID 43152474.
- Zlatanova, D.; Racheva, V.; Peshev, D.; Gavrilov, G. (2009). "First Hard Evidence of Lynx (Lynx Lynx L.) Presence in Bulgaria". Biotechnology and Biotechnological Equipment. 23: 184–187. doi:10.1080/13102818.2009.10818396. S2CID 83537184.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Mueenuddin, N. (2020). Himalayan Lynx Filmed Hunting Markhor in Pakistan for First Time (Motion picture). WWF Pakistan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2021.
- IUCN/SSC Cat Specialist Group. "Eurasian lynx". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-29. สืบค้นเมื่อ 2024-06-23.
- "The Balkan Lynx Compendium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-18. สืบค้นเมื่อ 2024-06-23.
- "Eurasian Lynx Online Information System". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2017. สืบค้นเมื่อ 9 August 2020.
- "Large Carnivore Initiative for Europe".
- "Lynx UK Trust". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-20. สืบค้นเมื่อ 2015-12-08.
- "Lynx in Craven, North Yorkshire". Lower Winskill.