ไซโทโครม P450 2C9 (อังกฤษ: Cytochrome P450 2C9; ชื่อย่อ: CYP2C9; EC 1.14.13.48) เป็นเอนไซม์ในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งระบบออกซิเดชันอเนกประสงค์ของร่างกาย โดย CYP2C9 มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้เกิดเมแทบอลิซึมของสารกลุ่มซีโนไบโอติคส์ในร่างกาย ทั้งนี้ เอนไซม์ CYP2C9 ถูกควบคุมโดยยีน CYP2C9[1][2] ซึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 10 โลคัส 10q23.33 และถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450[3]

cytochrome P450 family 2 subfamily C member 9
Identifiers
Aliasesflavoprotein-linked monooxygenase1.14.99.38S-mephenytoin 4-hydroxylasecytochrome P450family 2subfamily Cpolypeptide 9(R)-limonene 6-monooxygenasemicrosomal monooxygenase1.14.13.80xenobiotic monooxygenasecytochrome P-450MPCYPIIC9cytochrome P450 PB-1cytochrome P450 2C9(S)-limonene 6-monooxygenase1.14.13.48cytochrome P-450 S-mephenytoin 4-hydroxylaseCytochrome P450 MP-4CYP2C9(S)-limonene 7-monooxygenase1.14.13.49Cholesterol 25-hydroxylaseCytochrome P450 MP-8
External IDsGeneCards: [1]
Orthologs
SpeciesHumanMouse
Entrez
Ensembl
UniProt
RefSeq (mRNA)

n/a

n/a

RefSeq (protein)

n/a

n/a

Location (UCSC)n/an/a
PubMed searchn/an/a
Wikidata
View/Edit Human

หน้าที่

แก้

CYP2C9 เป็นเอนไซม์ที่สำคัญในไซโทโครม P450 ซึ่งทำหน้าที่หลักในการออกซิไดซ์สารซีโนไบโอติกและสารประกอบอื่นภายในร่างกาย โดยปริมาณของ CYP2C9 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 18 ของโปรตีนในไซโทโครม P450ของไมโครโซมของเซลล์ตับ โดยยาที่ใช้ในการป้องกันและบำบัดรักษาโรคในปัจจุบันกว่า 100 ชนิดนั้นต้องเกิดการเมแทบอลิซึมผ่าน CYP2C9 นี้ ซึ่งรวมไปถึงยาที่มีขอบเขตการรักษาแคบ (narrow therapeutic index) อย่างวาร์ฟาริน และเฟนิโทอิน และยารักษาโรคเรื้อรังอื่นๆอีกมากมายที่จำเป็นต้องมีการบริหารยาต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน เช่น อะซีโนคูมารอล โทลบูตาไมด์ ลอซาร์แทน กลิพิไซด์ และยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์บางชนิด ในทางตรงกันข้าม เท่าที่มีข้อมูลในปัจจุบัน CYP2C9 ที่อยู่นอกเนื้อเยื่อตับจำทำหน้าที่ในการเมแทบอไลซ์สารภายในร่างกาย (endogenous compound) ที่สำคัญ เช่น เซโรโทนิน และเนื่องจากการที่ CYP2C9 มีฤทธิ์เป็นเอนไซม์อีพอกซีจีเนสด้วย ทำให้สามารถเมแทบอไลซ์กรดไขมันไม่อิ่มตัวสายได้ด้วย โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงกรดไขมันเหล่านี้ไปเป็นสารชีวเคมีที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกายต่อไป[4][5]

การเกิดเมแทบอลิซึมของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาวโดย CYP2C9 จะได้สารเมแทบอลไต์ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นกับชนิดของกรดไขมันตั้งต้น โดยการเมแทบอไลซ์กรดอะราคิโดนิกจะให้สารผลิตภัณฑ์เป็นกลุ่มสารสเตอริโอไอโซเมอร์ของกรดอีพอกไซด์ไอโคแซททริอีโนอิค (EETs) คือ 5R,6S-epoxy-8Z,11Z,14Z-eicosatetrienoic และ 5S,6R-epoxy-8Z,11Z,14Z-eicosatetrienoic acids; 11R,12S-epoxy-8Z,11Z,14Z-eicosatetrienoic และ 11S,12R-epoxy-5Z,8Z,14Z-eicosatetrienoic acids; และ 14R,15S-epoxy-5Z,8Z,11Z-eicosatetrainoic และ 14S,15R-epoxy-5Z,8Z,11Z-eicosatetrainoic acids ส่วนการเมแทบอไลซ์กรดดอคโคซาเฮกซะอีโนอิกจะได้สารเมแทบอไลต์เป็นกรดอีพอกซีดอคโคซาเพนทาอีโนอิก (EDPs; ส่วนใหญ่เป็น 19,20-epoxy-eicosapentaenoic acid ไอโซเมอร์ [10,11-EDPs]) และการเมแทบอไลซ์กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิกจะได้สารสุดท้ายเป็นกรดอีพอกซีไอโคซาเตตราอีโนอิก (EEQs, ส่วนใหญ่เป็น 17,18-EEQ และ 14,15-EEQ ไอโซเมอร์)[6] ข้อมูลจากการศึกษาในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ที่มีอยู่อย่างจำกัดพบว่าสารอีพอกไซด์เหล่านี้มีความเกี่ยวเนื่องกับการลดลงของระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และความผิดปกติอื่นที่จะนำสู่การเกิดพยาธิสภาพแก่หัวใจ; การกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง; การยับยั้งกระบวนการการอักเสบ; การกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่; และฤทธิ์อื่นๆ ต่อเนื้อเยื่อประสาท ซึ่งรวมไปถึงการปรับสมดุลการหลั่งฮอร์โมนประสาท และการยับยั้งการรับรู้ความปวด (ดูเพิ่มที่ กรดอีพอกซีไอโคแซททริอีโนอิก และอีพอกซีจีเนส)[5]

เภสัชพันธุศาสตร์

แก้

CYP2C9 ถือเป็นเอนไซม์อีกชนิดหนึ่งที่มีการแสดงออกที่มีความแปรผันหลากหลายทางพันธุกรรม ทั้งนี้เนื่องจากยีน CYP2C9 ที่ควบคุมการทำงานของเอนไซม์ชนิดนี้มีความแปรผันหลากหลายค่อนข้างสูง โดยในปัจจุบัน SNPs ของยีน CYP2C9 มีอยู่มากกว่า 50 ซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึม (SNPs) ทั้งในส่วนควบคุมและส่วนกำหนดข้อมูลพันธุกรรม[7] ในจำนวนนี้พบว่าบาง SNPs มีความสัมพันธ์กับการลดลงของการทำงานของเอนไซม์ CYP2C9 เมื่อเปรียบเทียบกับเอนไซม์ในหลอดทดลอง[ต้องการอ้างอิง]

การศึกษาในมนุษย์หลายการศึกษาพบว่ารูปแบบพันธุกรรมหลายรูปแบบของ CYP2C9 ที่เกิดจากการกลายพันธุ์มีความสัมพันธ์กับระดับการเกิดเมแทบอลิซึมและขนาดยาต่อวันของซับสเตรตของ CYP2C9 ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว อาการไม่พึงประสงค์จากยา (ADRs) ที่เกิดขึ้นมักเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเอนไซม์ CYP2C9 ที่ไม่อาจคาดเดาได้ และถือเป็นผลสืบเนื่องมาจากความแปรผันหลากหลายทางพันธุกรรมอีกทอดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซับสเตรตที่สำคัญของ CYP2C9 อย่างวาร์ฟารินและเฟนิโทอิน ที่อาจถูกเมแทบอไลซ์ได้น้อยลงเนื่องจากความแปรผันหลากหลายทางพันธุกรรมและการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดพิษจากยาทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ ถึงแม้จะเป็นการบริหารยาในขนาดปกติก็ตาม[8][9]

ความถี่อัลลีล (%) ของยีน CYP2C9 ในกลุ่มประชากรต่างๆ

อัลลีล ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา ชาวแอฟริกันผิวดำ ชาวปิ๊กมี่ ชาวเอเชีย ชาวคอเคเซียน
CYP2C9*2 2.9 0-4.3 0 0-0.1 8-19
CYP2C9*3 2.0 0-2.3 0 1.1-3.6 3.3-16.2
CYP2C9*5 0-1.7 0.8-1.8 ไม่มีข้อมูล 0 0
CYP2C9*6 0.6 2.7 ไม่มีข้อมูล 0 0
CYP2C9*7 0 0 6 0 0
CYP2C9*8 1.9 8.6 4 0 0
CYP2C9*9 13 15.7 22 0 0.3
CYP2C9*11 1.4-1.8 2.7 6 0 0.4-1.0
CYP2C9*13 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล 0.19-0.45 ไม่มีข้อมูล

ลิแกนด์ของ CYP2C9

แก้

การเป็นอีพอกซีจีเนส

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Romkes M, Faletto MB, Blaisdell JA, Raucy JL, Goldstein JA (April 1991). "Cloning and expression of complementary DNAs for multiple members of the human cytochrome P450IIC subfamily". Biochemistry. 30 (13): 3247–55. doi:10.1021/bi00227a012. PMID 2009263.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Inoue K, Inazawa J, Suzuki Y, Shimada T, Yamazaki H, Guengerich FP, Abe T (September 1994). "Fluorescence in situ hybridization analysis of chromosomal localization of three human cytochrome P450 2C genes (CYP2C8, 2C9, and 2C10) at 10q24.1". The Japanese Journal of Human Genetics. 39 (3): 337–43. doi:10.1007/BF01874052. PMID 7841444.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. National Center for Biotechnology Information (April 9, 2018). "CYP2C9 cytochrome P450 family 2 subfamily C member 9 [ Homo sapiens (human) ]". U.S. National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ April 18, 2018.
  4. Rettie AE, Jones JP (2005). "Clinical and toxicological relevance of CYP2C9: drug-drug interactions and pharmacogenetics". Annual Review of Pharmacology and Toxicology. 45: 477–94. doi:10.1146/annurev.pharmtox.45.120403.095821. PMID 15822186.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 Spector AA, Kim HY (April 2015). "Cytochrome P450 epoxygenase pathway of polyunsaturated fatty acid metabolism". Biochimica et Biophysica Acta. 1851 (4): 356–65. doi:10.1016/j.bbalip.2014.07.020. PMC 4314516. PMID 25093613.
  6. Westphal C, Konkel A, Schunck WH (November 2011). "CYP-eicosanoids--a new link between omega-3 fatty acids and cardiac disease?". Prostaglandins & Other Lipid Mediators. 96 (1–4): 99–108. doi:10.1016/j.prostaglandins.2011.09.001. PMID 21945326.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. Sim, Sarah C (2 May 2011). "CYP2C9 allele nomenclature". Cytochrome P450 (CYP) Allele Nomenclature Committee.
  8. García-Martín E, Martínez C, Ladero JM, Agúndez JA (2006). "Interethnic and intraethnic variability of CYP2C8 and CYP2C9 polymorphisms in healthy individuals". Molecular Diagnosis & Therapy. 10 (1): 29–40. doi:10.1007/BF03256440. PMID 16646575.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. Rosemary J, Adithan C (Jan 2007). "The pharmacogenetics of CYP2C9 and CYP2C19: ethnic variation and clinical significance". Current Clinical Pharmacology. 2 (1): 93–109. doi:10.2174/157488407779422302. PMID 18690857.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้


บทความนี้รวบรวมข้อมูลจากหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน ซึ่งจัดเป็นสาธารณสมบัติ