ไมน์คัมพฟ์
ไมน์คัมพฟ์ (เยอรมัน: Mein Kampf) หรือ การต่อสู้ของข้าพเจ้า เป็นแถลงการณ์ทางการเมืองแบบอัตชีวประวัติใน ค.ศ. 1925 ที่เขียนโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หัวหน้าพรรคนาซี ผลงานนี้กล่าวถึงกระบวนการที่ฮิตเลอร์กลายเป็นผู้ต่อต้านยิว และภาพรวมของอุดมการณ์ทางการเมืองและแผนการ��นอนาคตสำหรับประเทศเยอรมนี ไมน์คัมพฟ์ เล่ม 1 ได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1925 และเล่มที่ 2 ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1926[1] หนังสือนี้ได้รับการแก้ไขครั้งแรกจากเอมีล โมรีส จากนั้นรูด็อล์ฟ เฮ็สจึงทำหน้าที่นี้ต่อ[2][3]
ใบหุ้มปกของหนังสือฉบับ ค.ศ. 1926–1928 | |
ผู้ประพันธ์ | อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ |
---|---|
ประเทศ | สาธารณรัฐไวมาร์ |
ภาษา | เยอรมัน |
หัวเรื่อง | อัตชีวประวัติ แถลงการณ์ทางการเมือง ปรัชญาการเมือง |
สำนักพิมพ์ | Franz Eher Nachfolger |
วันที่พิมพ์ | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1925 |
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ | 13 ตุลาคม ค.ศ. 1933 (ย่อ) ค.ศ. 1939 (เต็ม) |
ชนิดสื่อ | พิมพ์ (ทั้งหนังสือปกแข็งและหนังสือปกอ่อน) |
หน้า | 720 |
ISBN | 978-0395951057 (1998) แปลโดย by Ralph Manheim |
943.086092 | |
LC Class | DD247.H5 |
เรื่องถัดไป | Zweites Buch |
ฮิตเลอร์เริ่มเขียนไมน์คัมพฟ์ขณะถูกจองจำหลังการก่อรัฐประหารที่ล้มเหลวในมิวนิกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1923 และถูกไต่สวนในข้อหากบฏต่อแผ่นดินในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1924 ทำให้เขาถูกตัดสินให้จำคุก 5 ปี แม้ว่าในตอนแรกเขามีแขกเข้ามาเยี่ยมจำนวนมาก แต่ในไม่ช้าเขาก็อุทิศตนให้แก่หนังสือเล่มนี้ทั้งหมด ขณะที่เขากำลังเขียนอยู่นั้น เขาตระหนักว่าสิ่งนี้ต้องเป็นผลงานสองเล่ม โดยเล่มแรกมีกำหนดวางจำหน่ายในต้น ค.ศ. 1925 ผู้ว่าลันดิสแบร์กสังเกตในเวลานั้นว่า "เขา [ฮิตเลอร์] หวังว่าหนังสือนี้จะมีการตีพิมพ์หลายฉบับ ทำให้เขาสามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันทางการเงินและชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในขณะที่พิจารณาคดีได้"[4][5] หลังยอดขายในช่วงแรกเชื่องช้า หนังสือเล่มนี้กลายเป็นหนังสือขายดีในประเทศเยอรมนีหลังฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจใน ค.ศ. 1933[6]
หลังฮิตเลอร์เสียชีวิต ลิขสิทธิ์ของไมน์คัมพฟ์จึงตกเป็นของรัฐบาลรัฐบาวาเรีย ซึ่งไม่อนุญาตให้มีการคัดลอกหรือพิมพ์หนังสือนี้ในประเทศเยอรมนี จากนั้นหลังลิขสิทธิ์หมดอายุใน ค.ศ. 2016 ไมน์คัมพฟ์จึงได้รับการตีพิมพ์ใหม่ในประเทศเยอรมนีครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1945 ก่อให้เกิดการถกเถียงกันในที่สาธารณะและเกิดปฏิกิริยาที่แตกแยกจากกลุ่มชาวยิว
ไมน์คัมพฟ์ฉบับภาษาไทย ถูกแปลในชื่อเรื่อง "การต่อสู้ของข้าพเจ้า" โดยผู้ใช้นามแฝง ศ.ป. ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2480
ชื่อเรื่อง
แก้เดิมทีฮิตเลอร์ต้องการเรียกหนังสือที่กำลังจะตีพิมพ์ของเขาว่า Viereinhalb Jahre (des Kampfes) gegen Lüge, Dummheit und Feigheit (4 ปีครึ่ง [ของความดิ้นรน] ต่อการโกหก ความโง่เขลา และความขี้ขลาด)[7] Max Amann หัวหน้า Franz Eher Verlag และสำนักพิมพ์ของฮิตเลอร์ เป็นผู้ให้คำแนะนำ[8]ชื่อที่สั้นกว่าว่า "Mein Kampf" ("การต่อสู้ของข้าพเจ้า")
อ้างอิง
แก้- ↑ Mein Kampf ("My Struggle"), Adolf Hitler (originally 1925–1926), Reissue edition (15 September 1998), Publisher: Mariner Books, Language: English, paperback, 720 pages, ISBN 978-1495333347
- ↑ Shirer 1960, p. 85.
- ↑ Robert G.L. Waite, The Psychopathic God: Adolf Hitler, Basic Books, 1977, pp. 237–243
- ↑ Heinz, Heinz (1934). Germany's Hitler. Hurst & Blackett. p. 191.
- ↑ Payne, Robert (1973). The Life and Death of Adolf Hitler. Popular Library. p. 203.
- ↑ Shirer 1960, pp. 80–81.
- ↑ Bullock 1999, p. 121.
- ↑ Cohen, Richard (28 June 1998). "Guess Who's on the Backlist". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 April 2008.