ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2487) ประธานที่ปรึกษาพรรครวมไทยสร้างชาติ[1] อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลประยุทธ์[2] อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[3] อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ [4] อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีต ส.ส. หลายสมัย
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี | |
---|---|
ไตรรงค์ ใน พ.ศ. 2553 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มกราคม พ.ศ. 2553 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (1 ปี 206 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ดำรงตำแหน่ง 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541 (0 ปี 324 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ตรี ด่านไพบูลย์ |
ถัดไป | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 (0 ปี 208 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | สนั่น ขจรประศาสน์ |
ถัดไป | ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (2 ปี 75 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ บุญชู ตรีทอง | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ชวลิต โอสถานุเคราะห์ |
ถัดไป | อำนวย ปะติเส |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (14 ปี 105 วัน) | |
ก่อนหน้า | ไสว พัฒโน |
ถัดไป | ไพร พัฒโน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2487 อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2527–2565) รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นุช สุวรรณคีรี |
บุตร | รัดเกล้า สุวรรณคีรี |
ประวัติ
แก้เกิดวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ที่ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และรองนายกรัฐมนตรี เป็นบิดาของ นาง รัดเกล้า สุวรรณคีรี ที่ปรึกษาของรองนายกรัฐมนตรี (นาย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
การศึกษา
แก้จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2510 และระดับปริญญาโท จาก มหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2515 และสำเร็จปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2518
การทำงาน
แก้ไตรรงค์ หรือที่มักเรียกกันว่า ดร.ไตรรงค์ เป็นเลขานุการส่วนตัวของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เมื่อครั้ง ศ.ดร.ป๋วย ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอยู่ในมหาวิทยาลัยในเช้าวันเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาด้วย และเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกกล่าวหาจากฝ่ายอนุรักษนิยมพร้อมกับ ศ.ดร.ป๋วย จนต้องลี้ภัยไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะกลับมาสอนที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเวลาต่อมา
การเมือง
แก้ไตรรงค์ เข้าสู่งานการเมืองด้วยการได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อ พ.ศ. 2524 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 ในจังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นโฆษกรัฐบาลยุค พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี บทบาทของ ดร.ไตรรงค์ โดดเด่นมาก จนได้รับฉายาว่า "โฆษกสามสี " (มาจากชื่อของเจ้าตัว ที่แปลว่า สามสี)
จากนั้น ไตรรงค์ ได้รับเลือกตั้งมาโดยตลอด บทบาทในรัฐสภาของ ดร.ไตรรงค์ นับว่าโดดเด่นมาก เนื่องจากเป็นนักอภิปรายที่เมื่ออภิปรายครั้งใดแล้ว สื่อมวลชนและผู้ที่ติดตามการเมืองจะให้ความสนใจ เพราะเป็นผู้ที่อภิปรายเก่ง น่าติดตาม และมีมุขตลกซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะเป็นสีสันได้อีกมาก เช่น เมื่อในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคประชาธิปัตย์ได้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ดร.ไตรรงค์ได้อภิปราย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น โดยบอกว่า "ผู้ที่จะทำงานหน้าที่นี้ต้องมีวิสัยทัศน์สูง ต้องมองลงมาจากที่สูง ฉะนั้น คืนนี้กลับไปบินซะ"
ไตรรงค์ เคยมีนายทหารติดตาม และทำหน้าที่ช่วยงานประจำคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล
จากความที่เป็นนักพูดที่สามารถเรียกเสียงหัวเราะได้นี้ ทำให้น้ำเสียงที่ติดสำเนียงใต้และลีลาการพูดจาในแบบฉบับของ ดร.ไตรรงค์ ถูกเลียนแบบตามในสื่อมวลชนโดยเฉพาะในสายบันเทิง หรือในรายการล้อการเมืองเสมอ ๆ โดยผู้ที่เลียนเสียงของ ดร.ไตรรงค์ ที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นต้น [5]
ในปี พ.ศ. 2548 เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ปรับโครงสร้างของผู้บริหารพรรค ดร.ไตรรงค์ ได้รับเลือกให้เป็นรองหัวหน้าพรรค
ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ชื่อของ ดร.ไตรรงค์ ในฐานะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ถูกอ้างอิงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีมีสมาชิก ของพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันขัดขวางการสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่อาคารรับสมัคร จ.สงขลา ซึ่งเป็นมูลเหตุอ้างอิงที่จะให้มีคำสั่งยุบพรรค แต่ในที่สุดมีคำวินิจฉัยคือ กรณีดังกล่าวไม่สามารถรับฟังได้ว่า ดร.ไตรรงค์ มีส่วนร่วมในกรณีดังกล่าว
ไตรรงค์ ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ต่อมาในปีเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) และมาสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติพร้อมกับนายชุมพล กาญจนะ และนายชัชวาลล์ คงอุดม เมื่อวันอังคารที่ 27 ธันวาคม[6]
รัฐบาลเงา
แก้ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีเงาว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[7]
ประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
แก้- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ / แบบสัดส่วน พ.ศ. 2544, 2548, 2550, 2554
- สมาชิกวุฒิสภา ปี พ.ศ. 2524-2529
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2531-2534[8]
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ปี พ.ศ. 2535-2537[9]
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2537-2538
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปี พ.ศ. 2540-2541
- รองนายกรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2542, 2553
- รัฐมนตรีเงาว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2551
รางวัลและเกียรติยศ
แก้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ได้รับพระราชทานยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดน เมื่อ พ.ศ. 2532 เป็น นายกองเอก ไตรรงค์ สุวรรณคีรี[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เดนมาร์ก:
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ 'ปุ้ย พิมพ์ภัทรา'สวมเสื้อพรรค รทสช.แล้ว
- ↑ ประยุทธ์ แต่งตั้ง ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีคนล่าสุด
- ↑ ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ชกข้ามรุ่น ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (กรุงเทพฯ : ฏ ปฏัก - 2552 ISBN 9786117199011)
- ↑ "'ไตรรงค์-ชุมพล-ชัช เตาปูน' เปิดตัวซบรวมไทยสร้างชาติยก 'บิ๊กตู่' ผู้มากบารมี!". เดลินิวส์.
- ↑ "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ ได้รับพระราชทานยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๗, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- หนังสือชีวลิขิต โดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้า | ไตรรงค์ สุวรรณคีรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สนั่น ขจรประศาสน์ | รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 53) (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) |
บัญญัติ บรรทัดฐาน | ||
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ | รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 59) (15 มกราคม พ.ศ. 2553 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
กิตติรัตน์ ณ ระนอง | ||
สนั่น ขจรประศาสน์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม. 50) (17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) |
ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ | ||
ตรี ด่านไพบูลย์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ครม. 53) (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541) |
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ | ||
สมศักดิ์ ชูโต | โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 43) (30 เมษายน พ.ศ. 2526 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529) |
มีชัย วีระไวทยะ | ||
ชวลิต โอสถานุเคราะห์ | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 50) (29 กันยายน พ.ศ. 2535 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537) |
บุญชู ตรีทอง |