โรงเรียนบัวใหญ่

โรงเรียนบัวใหญ่ อักษรย่อ บ.ญ. เป็นโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา และเป็นโรงเรียนประจำอำเภอของอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เลขที่ 83 ถนนเทศบาล 8 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30120 อยู่ห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 80 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด129 ไร่ 3 งาน 48 ตารางวา

โรงเรียนบัวใหญ่
Bua Yai School
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ญ.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทสหวิทยา สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงมหาดไทย
คำขวัญ“นตถิ ปัญญา สมาอาภา” แปลว่า แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
สถาปนาพ.ศ. 2459]
เขตการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ผู้อำนวยการนายไพทูลย์ จักรแก้ว
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา
สีฟ้า-ชมพู
เพลงมาร์ช ฟ้า-ชมพู
เว็บไซต์[1]

ประวัติ

แก้

โรงเรียนบัวใหญ่เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่และเป็นโรงเรียน ประจำอำเภอ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2459 เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนพลราษฎร์บำรุง

  • พ.ศ. 2489 กระทรวงศึกษาธิการฟื้นฟูขึ้นใหม่ตั้งชื่อว่า “โรงเรียนประจำอำเภอบัวใหญ่” ใช้อักษรย่อว่า น.ม. 5 และเปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2
  • พ.ศ. 2492 เปิดทำการสอนถึงระดับชั้นม.6 และใช้ชื่อว่า โรงเรียนบัวใหญ่ แต่ยังคงใช้อักษรย่อ น.ม. 5
  • พ.ศ. 2513 เปลี่ยนอักษรของโรงเรียนบัวใหญ่ จาก น.ม. 5 เป็น บ.ญ.
  • พ.ศ. 2536 รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง จากกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2536 รับรางวัลต้นแบบในการเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน
  • พ.ศ. 2537 รับรางวัลเป็นศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารดีเด่น จากมณฑลทหารบกที่ 21
  • พ.ศ. 2544 รับรางวัลโรงเรียนจริยศึกษาดีเด่นขนาดใหญ่จากกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2545 รับรางวัลโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาดีเด่นกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2547 ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนชั้นนำของ สพท.นม.6 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2550 ได้รับการถ่ายโอนไปยังองค์กรบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

เกียรติประวัติ

แก้
  • เป็นศูนย์แนะแนว และศูนย์วิทยาศาสตร์ของ สพท.นม.6
  • เป็นโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีของ สสวท.
  • ได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมอนามัยดีเด่น
  • พ.ศ. 2548 รับรางวัลแชมป์ประจำฤดูร้อนรายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ปีที่ 1 ,รองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ อันดับ 1 รายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ปีที่ 1
  • พ.ศ. 2549 รับรางวัลแชมป์ประจำฤดูร้อนรายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ปีที่ 2 ,รองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ อันดับ 2 รายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ปีที่ 2 ,รองชนะเลิศรายการยามาฮ่าลูกทุ่งคอนเทสต์ บริษัท สยามกลการ
  • พ.ศ. 2550 รอบรองชนะเลิศประจำฤดูร้อน รอบ 4 ทีมสุดท้าย รายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ปีที่ 3
  • พ.ศ. 2551 รอบก่อนรองชนะเลิศประจำฤดูหนาว รอบ 8 ทีมสุดท้าย รายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ปีที่ 4
  • พ.ศ. 2552 รอบรองชนะเลิศประจำฤดูหนาว รอบ 4 ทีมสุดท้าย รายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ปีที่ 5
  • พ.ศ. 2553 รับรางวัลแชมป์ประจำฤดูร้อนรายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ปีที่ 6 ,รองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ อันดับ 1 รายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ปีที่ 6

อ้างอิง

แก้