โรงเรียนนายเรือ
โรงเรียนนายเรือ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนายทหารเรือชั้นสัญญาบัตรของกรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือไทย ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนนายเรือ เรียกว่า นักเรียนนายเรือ (นนร.) นักเรียนนายเรือที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาบัตรในระดับปริญญาตรีเช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ และมีสิทธิได้รับการแต่งตั้งยศนายทหารชั้นสัญญาบัตรเป็น "ว่าที่เรือตรี"
Royal Thai Naval Academy | |
ชื่อย่อ | รร.นร. / RTNA |
---|---|
ประเภท | โรงเรียนทหาร-ตำรวจ |
สถาปนา | พ.ศ. 2441 |
ผู้สถาปนา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ที่ตั้ง | |
เว็บไซต์ | http://www.rtna.ac.th/ |
ประวัติ
แก้โรงเรียนนายเรือก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2440 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานที่ตั้งเดิมอยู่ที่บริเวณพระราชวังเดิมในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 กองทัพเรือได้ถือเอาวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น วันกองทัพเรือ[1]
ใน พ.ศ. 2495 ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ ที่อยู่ปัจจุบัน คือ ป้อมเสือซ่อนเล็บ ถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
การเปิดสอนในช่วงแรก ได้จ้างชาวต่างชาติมาสอน มี นาวาโท ไซเดอร์ลิน ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้บังคับการ ร.ล. มูรธาวสิตสวัสดิ์ ในปี พ.ศ. 2448 นายพลเรือตรี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ปรับปรุงหลักสูตร และอำนวยการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2449-2454
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือคนปัจจุบัน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2567) ได้แก่ พลเรือโท ปรีดิวัฒน์ ดิลกนรนารถ[2] รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ ได้แก่ พลเรือตรี อาภากร บุญยิ่ง[3] และ พลเรือตรี กฤดากร หอมสุวรรณ[4]
โครงสร้างหน่วย
แก้โรงเรียนนายเรือมีสถานะเป็นหน่วยราชการในระดับเทียบเท่ากองบัญชาการ มีการจัดส่วนราชการภายในดังนี้
- กองบัญชาการ
- มีหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชา วางแผน อำนวยการ ควบคุม และบริหารกิจการของโรงเรียนนายเรือให้บรรจุภารกิจที่กำหนด
- กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์
- มีหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชา และฝึกอบรมนักเรียนนายเรือในเรื่องการปลูกฝังนิสัย วินัย จิตวิทยา ความอดทน และลักษณะผู้นำ (หน่วยนี้เดิมเรียกชื่อว่า "กองนักเรียน โรงเรียนนายเรือ" กองทัพเรือได้ยกฐานะเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2521 ในชื่อ "กองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ" (กอง นนร.รอ.รร.นร.) ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ" ใช้อักษรย่อว่า "กรม นนร.รอ.รร.นร."[5])
- ฝ่ายศึกษา
- มีหน้าที่ให้การศึกษาวิชาการอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี และวิชาชีพทหารเรือแก่นักเรียนนายเรือ
- ฝ่ายบริการ
- รับผิดชอบงานด้านพลาธิการ การขนส่ง การสาธารณูปโภค อุปกรณ์และเครื่องช่วยการศึกษา การบำรุงรักษาอาคาร สิ่งก่อสร้าง ยานพาหนะ ให้บริการทั่วไปและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยต่าง ๆ ในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งทางวัตถุและองค์บุคคล รวมทั้งเป็นหน่วยในการศึกษาภาคปฏิบัติในโรงงานแก่นักเรียนนายเรือ
- กองสถิติและวิจัย
- มีหน้าที่การดำเนินการเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษาและทะเบียนประวัติของนักเรียนนายเรือ วิจัยและพัฒนาการฝึกและศึกษา รวมทั้งการสถิติที่เกี่ยวข้อง
- โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ
- รับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลแก่นักเรียนนายเรือ ข้าราชการ ทหาร ลูกจ้าง และครอบครัว ตลอดจนดำเนินการด้านสุขาภิบาล และการเวชกรรมป้องกันในเขตพื้นที่ของโรงเรียนนายเรือ
- กองร้อยรักษาความปลอดภัยที่ 6 (หน่วยสมทบ)
- มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยภายในบริเวณโรงเรียนนายเรือและพื้นที่ในความรับผิดชอบของโรงเรียนนายเรือ
ทำเนียบผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ
แก้ลำดับ | รายนามผู้บัญชาการฯ | ดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | นายเรือโท ไชเดอลิน | พ.ศ. 2442 – 2443 | |
2 | นายเรือเอก ซีโทรลลี | พ.ศ. 2443 – 2443 | |
3 | นายเรือเอก หม่อมไพชยนต์เทพ (หม่อมราชวงศ์ พิณ สนิทวงศ์) | พ.ศ. 2445 – 2446 | |
4 | นายเรือโท พระองค์เจ้าวิบูลย์พรรณรังสี | พ.ศ. 2447 – 2450 | |
5 | นายเรือโท หลวงพินิจจักรภัณฑ์ | พ.ศ. 2450 – 2454 | |
6 | นายนาวาโท พระนรินทร์รังสรรค์ | พ.ศ. 2454 – 2456 | |
7 | นายเรือเอกผู้ช่วย ขุนนิกรอาษา | พ.ศ. 2456 – 2461 | |
8 | นายเรือเอก หลวงฤทธิศักดิ์ชลเขต | พ.ศ. 2461 – 2462 | |
9 | นายนาวาโท หลวงกาจกำแหง (ห้อง หังสนาวิน) | พ.ศ. 2462 – 2467 | |
10 | นายนาวาโท พระภารสมุทร์ | พ.ศ. 2467 – 2475 | |
11 | นายนาวาโท พระมงคลนาวาวุธ | พ.ศ. 2475 – 2476 | |
12 | นายนาวาตรี หลวงสุนาวินวิวัฒน์ | พ.ศ. 2475 – 2476 | |
13 | นายนาวาตรี หลวงยุทธกิจพิลาศ (มี ปัทมะนาวิน) | พ.ศ. 2476 – 2482 | |
14 | นายนาวาโท หลวงชาญชัยศึก | พ.ศ. 2482 – 2486 | |
15 | นาวาเอก ประวิศ ศรีพิพัฒน์ | พ.ศ. 2486 – 2488 | |
16 | นาวาเอก สวัสดิ์ จันทนี | พ.ศ. 2488 – 2490 | |
17 | นาวาเอก ชวน โกศลนาวิน | พ.ศ. 2490 – 2491 | |
18 | นาวาเอก สวัสดิ์ ภูติอนันต์ | พ.ศ. 2490 – 2500 | |
19 | พลเรือจัตวา จิตต์ สังขดุลย์ | พ.ศ. 2500 – 2500 | |
20 | พลเรือจัตวา นัย นพคุณ | พ.ศ. 2500 – 2501 | |
21 | พลเรือตรี จรัส บุญบงการ | พ.ศ. 2501 – 2503 | |
22 | พลเรือตรี ศิริ กระจ่างเนตร์ | พ.ศ. 2503 – 2505 | |
23 | นาวาเอก หม่อมราชวงศ์พันธุม ทวีวงศ์ | พ.ศ. 2505 – 2509 | |
24 | พลเรือตรี สมุทร์ สหนาวิน | พ.ศ. 2509 – 2513 | |
25 | พลเรือตรี ประพัฒน์ จันทวิรัช | พ.ศ. 2513 – 2519 | |
26 | พลเรือตรี ประเสริฐ แทนขำ | พ.ศ. 2519 – 2521 | |
27 | พลเรือตรี จินดา ไชยอุดม | พ.ศ. 2521 – 2523 | |
28 | พลเรือตรี วินิจ ศรีพจนารถ | พ.ศ. 2523 – 2526 | |
29 | พลเรือตรี วินิจ ตาปสนันทน์ | พ.ศ. 2526 – 2527 | |
30 | พลเรือตรี สมโภช ขมะสุนทร | พ.ศ. 2527 – 2529 | |
31 | พลเรือตรี สำราญ สมรูป | พ.ศ. 2529 – 2531 | |
32 | พลเรือตรี สุวิทย์ วัฒนกุล | พ.ศ. 2531 – 2532 | |
33 | พลเรือโท ศิริ ทองวิบูลย์ | พ.ศ. 2532 – 2532 | |
34 | พลเรือโท ไพรัช ชูธงชัย | พ.ศ. 2532 – 2532 | |
35 | พลเรือโท โกวิทย์ วัฒนธรรม | พ.ศ. 2532 – 2533 | |
36 | พลเรือตรี สุวิทย์ วัฒนกุล | พ.ศ. 2533 – 2534 | |
37 | พลเรือโท ไพโรจน์ สันติเวชกุล | พ.ศ. 2534 – 2536 | |
38 | พลเรือโท อธิคม ฮุนตระกูล | พ.ศ. 2536 – 2537 | |
39 | พลเรือโท วรงค์ ส่งเจริญ | พ.ศ. 2537 – 2539 | |
40 | พลเรือโท สำเภา พลธร | พ.ศ. 2539 – 2541 | |
41 | พลเรือโท วิโรจน์ ยุวนางกูร | พ.ศ. 2541 – 2542 | |
42 | พลเรือโท สุชาติ กลศาสตร์เสนี | พ.ศ. 2542 – 2543 | |
43 | พลเรือโท วิศาล ไพทีกุล | พ.ศ. 2543 – 2544 | |
44 | พลเรือโท ไพศาล นภสินธุวงศ์ | พ.ศ. 2544 – 2545 | |
45 | พลเรือโท วีรศักดิ์ วัชรบูล | พ.ศ. 2545 – 2546 | |
46 | พลเรือโท เดชา อยู่พรต | พ.ศ. 2546 – 2547 | |
47 | พลเรือโท ประวิตร์ ศรีสุขวัฒนา | พ.ศ. 2547 – 2548 | |
48 | พลเรือโท อภิชาติ เพ็งศรีทอง | พ.ศ. 2548 – 2550 | |
49 | พลเรือโท วัลลภ เกิดผล | พ.ศ. 2550 – 2551 | |
51 | พลเรือโท สุรศักดิ์ แก้วแถมทอง | พ.ศ. 2551 – 2552 | |
52 | พลเรือโท อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ | พ.ศ. 2552 – 2553 | |
53 | พลเรือโท ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร | พ.ศ. 2553 – 2554 | |
54 | พลเรือโท ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ | พ.ศ. 2554 – 2555 | |
56 | พลเรือโท อนุทัย รัตตะรังสี | พ.ศ. 2555 - 2556 | |
57 | พลเรือโท รุ่งศักดิ์ เสรีสวัสดิ์ | พ.ศ. 2556 - 2557 | |
58 | พลเรือโท พงษ์เทพ หนูเทพ | พ.ศ. 2557 - 2558 | |
59 | พลเรือโท ลือชัย รุดดิษฐ์ | พ.ศ. 2558 - 2559 | |
60 | พลเรือโท ชัชชัย โพธิพรรค | พ.ศ. 2559 - 2561 | |
61 | พลเรือโท สุชา เคี่ยมทองคำ[6] | พ.ศ. 2561 - 2562 | |
62 | พลเรือโท ไชยนันท์ นันทวิทย์ | พ.ศ. 2562 - 2563 | |
63 | พลเรือโท ไกรศรี เกษร | พ.ศ. 2563 - 2564 | |
64 | พลเรือโท ชาติชาย ทองสะอาด | พ.ศ. 2564 - 2565 | |
65 | พลเรือโท ประวุฒิ รอดมณี | พ.ส. 2565 - 2567 | |
66 | พลเรือโท ปรีดิวัฒน์ ดิลกนรนารถ | พ.ศ. 2567 - เวลาปัจจุบัน |
รายนามนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) (รุ่นที่ 14) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) (รุ่นที่ 19 ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (รุ่นที่ 21 ) อดีตนายกรัฐมนตรี
- พลเรือโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา(รุ่นที่ 22) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
- พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ (รุ่นที่ 33 ต้นปี) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา (รุ่นที่ 58) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ (รุ่นที่ 60) อดีตองคมนตรี
- พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ (รุ่น���ี่ 63) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ (รุ่นที่ 67) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ (รุ่นที่ 70) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย (รุ่นที่ 70) อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ (รุ่นที่ 70) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลเรือเอก ณะ อารีนิจ (รุ่นที่ 72) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ (รุ่นที่ 73) องคมนตรี
- พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ (รุ่นที่ 73) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ (รุ่นที่ 75) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน (รุ่นที่ 77) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม (รุ่นที่ 80) ผู้บัญชาการทหารเรือ
หลักสูตร
แก้หลักสูตรต่าง ๆ จะเปิดสอนตามความต้องการของกองทัพเรือเป็นหลัก โดยปัจจุบัน มีหลักสูตรที่เปิดสอน ดังนี้
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- สาขาบริหารศาสตร์
- สาขาวิทยาการทางเรือ
ห้องสมุด
แก้ห้องสมุดโรงเรียนนายเรือ เป็นแผนกหนึ่งที่ขึ้นตรงต่อฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ สังกัดกรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ สถานที่ตั้งเดิมอยู่บนชั้น 3 ของอาคารกองบังคับการโรงเรียนนายเรือ มีขนาดพื้นที่ 684 ตารางเมตร ต่อมาได้มีโครงการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนนายเรือให้ทันสมัยได้ตามมาตรฐาน จึงได้ย้ายสถานที่ทำการใหม่มาอยู่ ณ อาคารเรียน 6 บนชั้น 3 และ 4 มีขนาดพื้นที่ 1,622 ตารางเมตร โดย พลเรือเอก ประเสริฐ บุญทรง ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มาทำพิธีเปิดอาคารในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เปิดทำการทุกวัน เว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
การส่งนักเรียนนายเรือไทยไปศึกษาต่างประเทศ
แก้เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงรากฐานของกองทัพเรือตามแบบแผนใหม่แล้ว ได้ทรงส่งพระราชโอรสหลายพระองค์ไปศึกษายังต่างประเทศ พระราชโอรสที่ทรงศึกษาวิชาทหารเรือมี ๓ พระองค์คือ
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
ต่อมาได้ทรงแสดงพระราชประสงค์ที่จะบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้นักเรียนนายเรือไปศึกษาต่อยังต่างประเทศด้วย ตามประกาศของกรมทหารเรือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ว่า "ครั้นเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า ให้กรมทหารเรือ ฝึกห��ดนักเรียนนายเรือให้เรียบร้อย ถ้านักเรียนคนใดได้เล่าเรียนฝึกหัดได้สมควรที่จะส่งไปเล่าเรียนวิชา ณ ต่างประเทศ จะทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคพระราชทรัพย์พระราชทานให้กรมทหารเรือส่งนักเรียนออกไปเรียนทุกปี"
นักเรียนนายเรือที่รับพระราชทานทุนการศึกษาชุดแรกคือชุดที่ไปศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ๒๔๔๘ มีรายนามดังนี้
- นนร.หม่อมเจ้าเจริญสุขโสภาคย์ เกษมสันต์ (เจ้ากรมอู่ทหารเรือลำดับที่ ๑๐ ๒๔๗๐-๒๔๗๕ ยศสุดท้าย นาวาโท)
- นนร.บุญรอด (บุญชัย) สวาทะสุข (พล.ร.ต.พระยาวิจารณ์จักรกิจ ร.น. ได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมอู่ทหารเรือ ลำดับที่ ๑๒ ๒๔๗๖-๒๔๘๑ และผบ.ทร. และอดีตรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง)
- นนร.แดง ลางคุลเสน (พล.ร.ท.พระวิจิตรนาวี รน.เจ้ากรมอู่ทหารเรือ ลำดับที่ ๑๑ ๒๔๗๕, ๒๔๙๖-๙๘ ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน)
- นนร.พัน ลางคุลเสน
- นนร.วงศ์ สุจริตกุล (พล.ร.ต. พระจักรานุกรกิจ ร.น.เจ้ากรมอู่ทหารเรือลำดับที่ ๑๔ ๒๔๘๑-๘๙)
- นนร.เจริญ ประทีปะเสน
- นนร.วาศ พิทศาสตร์
(ในคณะของนักเรียนนายเรือชุดนี้มีนักเรียนสมทบเพื่อไปศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น อีก ๔ นายคือ ม.จ.เสพโสมนัส เทวกุล นายประทีป บุนนาค นายชัย บุนนาค และนายพร้อม บุณยกะลิน)
นักเรียนนายเรือชุดแรกนี้เมื่อกลับมารับราชการในกองทัพเรือแล้ว ได้มีบทบาทในการสร้างสมุททานุภาพของกองทัพเรือ การพัฒนาการทางช่างของกรมอู่ทหารเรือ และได้มีบทบาทในการพัฒนาประเทศในหลายสาขาจนเป็นที่ประจักษ์ต่ออนุชนรุ่นหลัง
หลังจากนั้นกองทัพเรือได้จัดส่งนักเรียนนายเรือไปศึกษาต่ออีกรุ่นหนึ่งคือ ๒๔๕๙ นนร.สินธุ์ กมลนาวิน ไปศึกษาวิชาการทหารเรือประเทศเดนมาร์ค (อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ สมาชิกคณะราษฎร รัฐมนตรีวาการกระทรวงธรรมการ กระทรวงเกษตราธิการกระทรวงกลาโหม และอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) (มีประวัติจารึกไว้ในหอเกียรติยศโรงเรียนนายเรือ) ๒๔๖๕ ส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศอังกฤษ (นนร.ฉาด แสงชูโต นนร.สรรใจ บุนนาค นนร.สมพันธุ์ บุนนาค) ๒๔๙๔ ส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศอังกฤษ (นนร.อำนาจ จันทนะมัฎฐะ นนร.ไพบูลย์ นาคสกุล) ๒๔๙๔ ส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศเนเธอร์แลนด์ (นนร.ประกอบ นิโครธานนท์) ๒๔๙๕ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศสเปน (นนร.เกาะหลัก เจริญรุกข์ นนร.วินัย อินทรสมบัติ) ๒๔๙๕ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา ๒๔๙๘ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศสวีเดน ๒๔๙๙ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศฝรั่งเศส ๒๕๐๕ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศเยอรมัน (นนร.ไพศาล ไล่เข่ง (นพสินธุวงศ์) นนร.เทวินทร์ มุ่งธัญญา)
นักเรียนนายเรือไทยในประเทศอังกฤษ
แก้หลังจากส่ง นนร.ไปศึกษายังประเทศญี่ปุ่นชุดแรก (๒๔๔๘) นั้นแล้ว ต่อมากองทัพเรือได้ยึดถือเอาพระราโชบายในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์บุคคล โดยได้จัดส่งนักเรียนนายเรือไปศึกษาต่ออีกหลายประเทศ โดยประเทศแรกที่ส่งไปเรียนคือประเทศอังกฤษ ที่รวบรวมได้มีรายนามดังต่อไปนี้คือ
- พ.ศ. 2451 นนร.ฉา โพธิทัต ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง (King’s scholarship) ไปศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษา และเข้าเรียนระดับปริญญาตรี ณ Durham University สาขาวิชา Marine Engineering ได้รับรางวัลการศึกษายอดเยี่ยมของชั้นปี และได้ไปศึกษาต่อด้าน การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนจากการกลั่นอัลกอฮอล์จากถ่านหินได้รับ Diploma of Imperial College (DIC) จาก Imperial College, University of London. จากนั้ได้เข้าฝึกงานกับกองเรือดำน้ำของสหราชอาณาจักรได้รับพระราชทานยศเรือเอก จากราชนาวีอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้ผ่านการฝึกงานในอู่ราชนาวี Portsmouth และในโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง หลังสงครามโลกตอนที่เสด็จในกรมไปจัดหาเรือหลวงพระร่วง ร.อ.ฉา โพธิทัตได้ถวายงานและติดตามพระองค์ท่านจนงานสำเร็จ เมื่อกลับมารับราชการท่านได้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในอู่เรือหลวง ทั้งในกรมโรงงาน และในกรมสารวัตรช่าง จนได้รับพระราชทายศและบรรดาศักดิ์เป็น นาวาโทหลวงชำนิกลการ ต่อมาท่านได้ดอนย้ายไปรับราชการกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ จนเกษียณอายุราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมือปี ๒๔๙๙
- พ.ศ. 2465 นนร.สรรใจ บุนนาค ([7], ศึกษา ณ Loughborough Engineering College, Civil Engineering ยศสุดท้าย พลเรือตรี เคยดำรงตำแหน่งรองเจ้ากรมโยธาธิการทหารเรือ)
- พ.ศ. 2465 นนร.ฉาด แสง-ชูโต (Loughborough College ยศสุดท้าย พลเรือตรี) เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาโรงงานหล่อหลอมของกรมอู่ทหารเรือด้วยการสร้างเตาคิวโพล่าเป็นครั้งแรก ภายหลังจากออกจากราชการแล้ว ได้ไปพัฒนาระบบบริหารงานโลจิสติกส์ของระบบโรงงานอุตสาหกรรม
- พ.ศ. 2466 นนร.สมพันธุ์ บุนนาค (ศึกษา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, ยศสุดท้าย พลเรือตรี [8] ในตำแหน่งเจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ พลเรือตรีสมพันธุ์ บุนนาค ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทน ไทยไปร่วมประชุมคณะผู้ว่าการทบวงพลังงานปรมาณู ระหว่างประเทศที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย ๓ ครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ๒๕๐๕ และ ๒๕๐๗ และได้ไปประชุมใหญ่ของสหประชาชาติครั้งที่ ๓ เรื่องการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗)
- พ.ศ. 2494 นนร.อำนาจ จันทนะมัฎฐะ (ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยลีดส์ ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ได้รับการจารึกชื่อในสามัคคีสมาคม กรุงลอนดอน และได้ที่ 1 ของสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้รับการเชิดชูเกียรติในการเชิญธงชาติไทยขึ้นประดับ ณ มหาวิทยาลัยลีดส์ ทุกวันที่ 24 มิ.ย. ของทุกปี ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมอู่ทหารเรือ ๒๕๓๒-๓๔ ยศสุดท้าย พลเรือเอก [9] ฉบับที่ 84 เล่มที่ 8 2544 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก มจธ. เมื่อ ๒๕๓๓ ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริษัทพาณิชย์นาวีในตลาดหลักทรัพย์[10] และโรงพยาบาลเอกชน) *มีประวัติจารึกไว้ในหอเกียรติยศโรงเรียนนายเรือ
- พ.ศ. 2494 นนร.ไพบูลย์ นาคสกุล (ศึกษา มหาวิทยาลัยลีดส์ ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้รับการจารึกชื่อในสามัคคีสมาคม กรุงลอนดอน ได้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ยศสุดท้าย พลเรือเอก)
- พ.ศ. 2503 นนร.บรรพต เอกะวิภาต
- พ.ศ. 2505 นนร.เกรียงศักดิ์ ศรีภูมิ ยศสุดท้าย พลเรือเอก
- พ.ศ. 2507 นนร.สุชาติ กลศาสตร์เสนี ยศสุดท้าย พลเรือเอก
- พ.ศ. 2520 นนร.เอกชัย ตรุศบรรจง (B.Sc.Mechanical Engineering, Manchester, M.Sc., Ph.D., Imperial College, พ.ศ. ๒๕๕๘ เคยดำรงตำแหน่ง รองผู้จัดการ บ.อู่กรุงเทพ รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงกลาโหม) [11]
- พ.ศ. 2521 นนร.บรรพต กาบคำ
- พ.ศ. 2522 นนร.เศวตนันท์ ประยูรรัตน์ [12] (B.Sc.Mechanical Engineering, Birmingham, Ph.D. Birmingham ปัจจุบันลาออกจากราชการแล้ว ยศ พลเรือตรี เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการ องค์การมหาชนสังกัดกระทรวงกลาโหม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมการศึกษาดีเด่น รร.เตรียมทหาร 2520 และรางวัลนักวิจัยดีเด่น)
- พ.ศ. 2523 นนร.บุญฤทธิ์ โผกรุด (B.Sc.Electrical Engineering, Southampton Univ., Ph.D., Imperial College ได้รับยศ พลเรือตรี ลาออกจากราชการแล้ว ทำงานภาคเอกชน ได้รับรางวัลเกียรตินิยมการศึกษาดีเด่น รร.เตรียมทหาร 2521-22)
- พ.ศ. 2524 นนร.สมัย ใจอินทร์ (B.Sc.Mechanical Engineering, Bristol Univ., M.Sc., Ph.D. UMIST, Manchester ได้รับยศ พลเรือเอก เคยดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.กร. ได้รับรางวัลเกียรตินิยมการศึกษาดีเด่น รร.เตรียมทหาร 2523 รางวัลเกียรติยศนาวี 2551 รางวัลผู้นำวิทยาศาสตร์พลังงานทางเลือกดีเด่นแห่งชาติสาขาเทคโนโลยีไบโอดีเซล ปี ๒๕๕๒ จาก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี ๒๕๕๙ [13] [14] รายละเอียดการสัมภาษณ์จากนาวิกศาสตร์ ปี่ที่ 87 ฉบับที่ 09 กันยายน 2547) *มีประวัติจารึกไว้ในหอเกียรติยศโรงเรียนนายเรือ
- พ.ศ. 2525 นนร.อัตตะวีร์ ทักษรานุพงศ์ (B.Eng. Manadon สอบได้เกียรตินิยมการศึกษาดีเด่น รร.นายเรืออังกฤษ ๒๕๒๗, M.Eng. Surray )
- พ.ศ. 2526 นนร.นฤเทพ โชคเจริญวานิช (B.Eng. Manadon สอบได้เกียรตินิยมการศึกษาดีเด่น รร.นายเรืออังกฤษ ๒๕๒๘, M.Eng., Surray, Ph.D.Imperial) ลาออกจากราชการแล้วและทำงานภาคเอกชน[15]
- พ.ศ. 2527 นนร.กิตติ กิตติศัพท์
- พ.ศ. 2528 นนร.วิชาญ สีดา (B.Eng.Electrical Engineering Glasgow Univ., Ph.D. Univ. of Belfast) และ นนร.บุญสืบ จันทรวงศ์
- พ.ศ. 2529 นนร.ดนัย ปฏิยุทธ์
- พ.ศ. 2530 นนร.อภิรักษ์ กลิ่นกุหลาบ
- พ.ศ. 2531 นนร.กิตติศักดิ์ ดีทองคำ
- พ.ศ. 2532 นนร.สมชาย น้อยพิทักษ์ (รับราชการในกรมข่าวทหารเรือ เคยดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน)
- พ.ศ. 2533 นนร.ชลัมพ์ โสมาภา (B.Eng, Ph.D. Mechanical Engineering, Liverpool Univ.) (รับราชการในกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ได้รับรางวัลด้านงานวิจัยหลายโครงการ เคยดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน)
- พ.ศ. 2534 นนร.กฤษฎา แสงเพชรส่อง (B.Eng, Ph.D. Electrical Engineering Cranfield Univ.) เคยเป็นอาจารย์ รร.นายเรือ ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2555 ลาออกจากราชการขณะยศนาวาเอก
- พ.ศ. 2535 นนร. ศักดา นฤนิรนาท (B.Eng, Ph.D. Electrical Engineering, Liverpool Univ.) รับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายเรือ , นนร.กิตติวัฒน์ สุทธิวารี (B.Eng, Ph.D. Electrical Engineering, Liverpool Univ.) และ นนร. ยศภาค โชติกพงศ์ (B.Eng, Ph.D. Electrical Engineering, Surrey Univ.)
- พ.ศ. 2536 นนร.ยอดชาย วงศ์สุวรรณ (E.Eng, Ph.D.Electrical&Electronic Engineering, Cardiff Uni.) และ นนร.สุริยะ ศีรษะโคตร (E.Eng, Ph.D.Electrical&Electronic Engineering, Cardiff Uni.)
นักเรียนนายเรือไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา
แก้- พ.ศ. 2521 นนร.ชีวิน หวังในธรรม ศึกษา B.Eng., M.Eng. Mechanical Engineering, Wisconsin Madison (เกษียณอายุราชการแล้ว)
- พ.ศ. 2522 นนร.ณรงค์ศักดิ์ วงศ์มณีโรจน์ B.Eng.,M.Eng. Electrical Engineering ได้รับพระราชทานยศ พลเรือตรี ๑ ต.ค. ๖๑
- พ.ศ. 2523 นนร.วิรุฬ ปั่นโภชา ศึกษา B.Eng., MEng. Mechanical Engineering ลาออกจากราชการแล้ว
- พ.ศ. 2524 นนร.อรัญ นำผล ศึกษา BEng, Ph.D. Electrical Engineering เกษียณอายุราชการแล้ว ยศสุดท้าย พลเรือเอก
- พ.ศ. 2525 นนร.พัลลภ เขม้นงาน ศึกษา BEng, MEng. Naval Architecture and Marine Engineering @ University of Michigan. และ Ph.D. Newcastle University UK เกษียณอายุราชการ พ.ศ. ๒๕๖๗ ยศสุดท้าย พลเรือเอก
- พ.ศ. 2532 นนร.เสรี ฉ่ำชื่น, ศึกษา ณ United States Naval Academy, Mechanical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
- พ.ศ. 2532 นนร.จเร โฉมเฉลา, ศึกษา ณ United States Coast Guard Academy, Electrical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
- พ.ศ. 2533 นนร.เกษม เนียมฉาย, ศึกษา ณ United States Coast Guard Academy, Electrical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการในตำแหน่ง นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ
- พ.ศ. 2533 นนร.วีระชัย จุฬารมย์, ศึกษา ณ Catholic University of America, Electrical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการ กองเรือยุทธการ
- พ.ศ. 2534 นนร.แมนรัฐ ศรีสุข, ศึกษา ณ Texas A&M University, Electrical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการ โรงเรียนนายเรือ
- พ.ศ. 2534 นนร.กอบเกียรติ สุกร์มณี, ศึกษา ณ Texas A&M University, Electrical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการ โรงเรียนนายเรือ
- พ.ศ. 2535 นนร.อิศเรศ เลิศทางธรรม, ศึกษา ณ United States Coast Guard Academy, Electrical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
- พ.ศ. 2535 นนร.วิชัย ผลิตวานนท์, ศึกษา ณ University of Iowa, Electrical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ
- พ.ศ. 2535 นนร.ฤทธิรงค์ อาศา, ศึกษา ณ Texas A&M University, Electrical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ
- พ.ศ. 2535 นนร.สิทธิพร เอื้อสลุง, ศึกษา ณ University of Iowa, Electrical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ
- พ.ศ. 2536 นนร.หัสไชยญ์ มั่งคั่ง, ศึกษา ณ United States Naval Academy, Mechanical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก ลาออกจากกองทัพเรือ ไปเป็นอาจารย์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[16]
- พ.ศ. 2536 นนร.จิรพงษ์ อภิชาตวงษ์, ศึกษา ณ United States Coast Guard Academy, Civil Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการในตำแหน่ง ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
- พ.ศ. 2537 นนร.บรรเจิด ทองชิว, ศึกษา ณ United States Naval Academy, Mechanical Engineering ปัจจุบัน ยศ นาวาเอก รับราชการ กรมข่าวทหารเรือ
อ้างอิง
แก้- ประวัติโรงเรียนนายเรือ เก็บถาวร 2007-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/035/891.PDF เปิดโรงเรียนนายเรือ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ http://www.navy.mi.th/nrdo/KingNavy/king19.htm
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๒๑๒ ง พิเศษ หน้า ๓๔ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-14. สืบค้นเมื่อ 2009-04-20.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-14. สืบค้นเมื่อ 2009-04-20.
- ↑ http://www.navy.mi.th/navic/document/navicmain.html
- ↑ http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=PSL&language=th&country=TH
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-15. สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.
- ↑ http://www.nstda.or.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=1340&Itemid=66
- ↑ http://www.navy.mi.th/navic/document/navicmain.html
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-06. สืบค้นเมื่อ 2009-04-26.
- ↑ "นาวาเอก อ.ดร.หัสไชยญ์ มั่งคั่ง::คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". www.polsci.chula.ac.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์โรงเรียนนายเรือ เก็บถาวร 2005-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนนายเรือ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°36′35″N 100°35′38″E / 13.609722°N 100.593921°E
- เว็บไซต์ของนักเรียนนายเรือไทยสมัยที่96 เก็บถาวร 2010-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน