โรคโปลิโอ
โรคโปลิโอ (อังกฤษ: poliomyelitis, polio, infantile paralysis) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันซึ่งติดต่อจากคนสู่คนทางอุจจาระ-ปาก[5] ชื่อนี้มาจากภาษากรีกว่า πολιός (poliós) หมายถึง สีเทา, µυελός (myelós) หมายถึงไขสันหลัง และคำปัจจัย -itis หมายถึงการอักเสบ[6]
โรคโปลิโอ (Poliomyelitis) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Poliomyelitis, infantile paralysis |
ผู้ป่วยโปลิโอมีขาขวาฝ่อลีบ | |
การออกเสียง | |
สาขาวิชา | ประสาทวิทยา, โรคติดเชื้อ |
อาการ | กล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้เป็นอัมพาต[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | กลุ่มอาการหลังเป็นโรคโปลิโอ[2] |
การตั้งต้น | ไม่กี่ชั่วโมงถึงหลายวัน[1][3] |
สาเหตุ | ไวรัสโปลิโอ แพร่กระจายทางอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ[1] |
วิธีวินิจฉัย | ตรวจหาไวรัสในอุจจาระ หรือตรวจหาแอนติบอดีในเลือด[1] |
การป้องกัน | วัคซีนโรคโปลิโอ[3] |
การรักษา | การรักษาตามอาการ[3] |
ความชุก | 136 คน (ค.ศ. 2018)[4] |
การติดเชื้อโปลิโอกว่า 90% จะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดยผู้ติดเชื้ออาจมีอาการได้หลายอย่างหากได้รับไวรัสเข้ากระแสเลือด[7] ผู้ป่วย 1% จะมีการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทกลาง ทำให้เซลล์ประสาทสั่งการถูกทำลาย ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอัมพาตอ่อนเปียก ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรงได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดคือโปลิโอไขสันหลัง ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนแรงแบบไม่สมมาตรมักเป็นที่ขา โปลิโอก้านสมองส่วนท้ายทำให้เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทสมอง โปลิโอไขสันหลังและก้านสมองส่วนท้ายจะทำให้มีอาการร่วมกันทั้งการอัมพาตก้านสมองส่วนท้ายและไขสันหลัง[8]
โรคโปลิโอค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1840 โดย Jakob Heine[9] ส่วนไวรัสโปลิโอซึ่งเป็นสาเหตุของโรคถูกค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1908 โดยคาร์ล ลันท์ชไตเนอร์[9] แม้จะไม่มีบันทึกว่ามีการระบาดของโปลิโอก่อนปลายศตวรรษที่ 19 แต่โปลิโอก็เป็นโรคในเด็กที่ก่อปัญหาสาธารณสุขมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การระบาดของโปลิโอทำให้มีผู้พิการหลายพันคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก และเป็นโรคที่ทำให้เกิดความพิการและการเสียชีวิตมากที่สุดโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์ โปลิโอระบาดในพื้นที่เล็ก ๆ มานับพันปี ก่อนที่จะมีการระบาดครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1880 ในยุโรป และต่อมาจึงระบาดไปยังสหรัฐอเมริกา[10]
ช่วง ค.ศ. 1910 จำนวนผู้ป่วยโปลิโอเพิ่มสูงขึ้นมาก มีการระบาดบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่ในเขตชุมชนช่วงอากาศร้อน การระบาดเหล่านี้ทำให้มีผู้ป่วยอัมพาตเพิ่มขึ้นหลายพันคน จึงมีการกระตุ้นให้เกิด "การแข่งขันครั้งใหญ่" (The Great Race) เพื่อผลิตวัคซีนขึ้นมาให้ได้ จนสำเร็จในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 วัคซีนโปลิโอที่ผลิตขึ้นมานี้ทำให้จำนวนผู้ป่วยโปลิโอทั่วโลกลดลงจากหลายแสนคนต่อปีเหลือไม่ถึงหนึ่งพันคนต่อปีในปัจจุบัน[11] โรตารีสากล องค์การอนามัยโลก และ UNICEF กำลังดำเนินการเพื่อให้คนทั่วโลกได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีน เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือกำจัดโปลิโอให้หมดไปจากโลก[12][13]
การจำแนกประเภท
แก้"โรคโปลิโอ" (poliomyelitis) เป็นคำที่ใช้ระบุถึงโรคที่เกิดจากไวรัสโปลิโอชนิดใดชนิดหนึ่งจาก 3 ซีโรทัยป์ มีการบรรยายแบบแผนของการติดเชื้อโปลิโอแบบทั่วไปเอาไว้สองรูปแบบ ได้แก่ โรคที่เป็นเล็กน้อย ซึ่งไม่ลุกลามเข้าถึงระบบประสาทส่วนกลาง แบบนี้บางครั้งเรียกว่า abortive poliomyelitis และโรคที่เป็นมาก ลุกลามเข้าถึงระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ป่วยอาจมีอาการอัมพาตหรือไม่มีก็ได้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันเป็นปกติส่วนใหญ่เมื่อติดเชื้อโปลิโอจะไม่แสดงอาการ หรืออาจทำให้เกิดอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ เช่น แสดงอาการเป็นการติดเชื้อในระบบหายใจส่วนบน (เช่น มีไข้ เจ็บคอ) มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร (คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องผูก หรืออาจพบเป็นท้องร่วงได้ แต่น้อย) หรือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
การระบาด
แก้ประเทศ | ผู้ป่วยจากธรรมชาติ | ผู้ป่วยจากวัคซีน | สถานภาพการระบาด | ชนิด |
---|---|---|---|---|
อัฟกานิสถาน | 21 | 0 | ประจำถิ่น | WPV1 |
ปากีสถาน | 12 | 0 | ประจำถิ่น | WPV1 |
DRC | 0 | 20 | เฉพาะวัคซีน | cVDPV2 |
อินโดนีเซีย | 0 | 1 | เฉพาะวัคซีน | cVDPV1 |
โมซัมบิก | 0 | 1 | เฉพาะวัคซีน | cVDPV2 |
ไนเจอร์ | 0 | 10 | เฉพาะวัคซีน | cVDPV2 |
ไนจีเรีย | 0 | 34 | เฉพาะวัคซีน | cVDPV2 |
ปาปัวนิวกินี | 0 | 26 | เฉพาะวัคซีน | cVDPV1 |
โซมาเลีย | 0 | 12 | เฉพาะวัคซีน | cVDPV2/3 |
รวม | 33 | 104 |
แม้ว่าปัจจุบันโรคโปลิโอจะพบน้อยในโลกตะวันตก แต่โรคโปลิโอยังพบประจำถิ่นในเอเชียใต้และทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศปากีสถานและไนจีเรียตามลำดับ นับแต่มีการใช้วัคซีนโปลิโอไวรัสอย่างกว้างขวางในกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 อุบัติการณ์ของโรคโปลิโอลดลงอย่างมากในประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศ
ความพยายามในการกำจัดโปลิโอทั่วโลกเริ่มต้นใน ค.ศ. 1988 โดยมีองค์การอนามัยโลก ยูนิเซฟและมูลนิธิโรตารีเป็นผู้นำ[16] ความพยายามเหล่านี้ลดจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยต่อปีลง 99% จากผู้ป่วยที่ประเมิน 350,000 คนใน ค.ศ. 1988 เหลือเพียง 483 คนใน ค.ศ. 2001 ซึ่งหลังจากปีนั้น จำนวนผู้ป่วยยังคงที่อยู่ที่ระดับราว 1,000 คนต่อปี (1,606 คนใน ค.ศ. 2009)[17][18][19] ใน ค.ศ. 2012 ผู้ป่วยลดลงเหลือ 223 คน[20] โปลิโอเป็นหนึ่งในสองโรคที่เป็นหัวข้อโครงการกำจัดทั่วโลกในปัจจุบัน อีกโรคหนึ่งคือ โรคพยาธิกินี จวบจนปัจจุบัน โรคสองชนิดที่ถูกมนุษย์กำจัดไปอย่างสมบูรณ์คือ โรคฝีดาษ ซึ่งหมดไปใน ค.ศ. 1979[21] และโรครินเดอร์เปสต์ ใน ค.ศ. 2010[22]
ปัจจุบันหลายภูมิภาคในโลกได้รับการประกาศแล้วว่าปลอดโรคโปลิโอ ทวีปอเมริกาได้รับการประกาศใน ค.ศ. 1994[23] ใน ค.ศ. 2000 มีการประกาศว่าโปลิโอถูกกำจัดอย่างเป็นทางการในประเทศแปซิฟิกตะวันตก 37 ประเทศ รวมถึงประเทศจีนและออสเตรเลีย[24][25] ทวีปยุโรปได้รับการประกาศว่าปลอดโปลิโอใน ค.ศ. 2002[26] ใน ค.ศ. 2013 โปลิโอยังประจำถิ่นในสามประเทศเท่านั้น คือ ไนจีเรีย ปากีสถานและอัฟกานิสถาน[17][27] แม้ว่าจะยังก่อโรคระบาดทั่วในประเทศใกล้เคียงอื่นได้เนื่องจากการแพร่เชื้อแบบซ่อนหรือกลับมามีอีกครั้ง[28] ตัวอย่างเช่น มีการยืนยันว่ามีการระบาดทั่วในประเทศจีนเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 แม้ว่าโรคโปลิโอในประเทศจีนจะถูกกำจัดหมดไปแล้วเมื่อสิบปีก่อน โดยสายพันธุ์โปลิโอที่ก่อโรคนั้นเป็นสายพันธุ์ที่พบในประเทศปากีสถานซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน[29] ไม่มีรายงานผู้ป่วยการติดเชื้อโรคโปลิโอจากธรรมชาติในประเทศอินเดียตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2011 และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ประเทศอินเดียถูกนำออกจากรายการประเทศซึ่งโปลิโอประจำถิ่นขององค์การอนามัยโลก[30][31]
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2014 องค์การอนามัยโลกประกาศว่าโรคโปลิโอถูกกำจัดหมดไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยสิบเอ็ดประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน เกาหลีเหนือ อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ พม่า เนปาล ศรีลังกา ไทย และติมอร์-เลสเต[17]
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Hamborsky J, Kroger A, Wolfe C, บ.ก. (2015). "Poliomyelitis". Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases (The Pink Book) (13th ed.). Washington DC: Public Health Foundation. (chap. 18). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2016..
- ↑ "Post-Polio Syndrome Fact Sheet". NIH. 16 เมษายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Poliomyelitis Fact sheet N°114". who.int. ตุลาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ "This page allows you to request a table with AFP/polio data". WHO. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2019.
- ↑ Cohen JI (2004). "Chapter 175: Enteroviruses and Reoviruses". ใน Kasper DL; Braunwald E; Fauci AS; และคณะ (บ.ก.). Harrison's Principles of Internal Medicine (16th ed.). McGraw-Hill Professional. p. 1144. ISBN 0-07-140235-7.
- ↑ Chamberlin SL; Narins B, บ.ก. (2005). The Gale Encyclopedia of Neurological Disorders. Detroit: Thomson Gale. pp. 1859–70. ISBN 0-7876-9150-X.
- ↑ Ryan KJ; Ray CG, บ.ก. (2004). "Enteroviruses". Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 535–7. ISBN 0-8385-8529-9.
- ↑ Atkinson W, Hamborsky J, McIntyre L, Wolfe S, บ.ก. (2009). "Poliomyelitis". Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases (The Pink Book) (PDF) (11th ed.). Washington DC: Public Health Foundation. pp. 231–44.
- ↑ 9.0 9.1 Paul JR (1971). A History of Poliomyelitis. Yale studies in the history of science and medicine. New Haven, Conn: Yale University Press. pp. 16–18. ISBN 0-300-01324-8.
- ↑ Trevelyan B, Smallman-Raynor M, Cliff AD (มิถุนายน 2005). "The Spatial Dynamics of Poliomyelitis in the United States: From Epidemic Emergence to Vaccine-Induced Retreat, 1910-1971". Annals of the Association of American Geographers. 95 (2): 269–93. doi:10.1111/j.1467-8306.2005.00460.x. PMC 1473032. PMID 16741562.
- ↑ Aylward R (2006). "Eradicating polio: today's challenges and tomorrow's legacy". Ann Trop Med Parasitol. 100 (5–6): 401–13. doi:10.1179/136485906X97354. PMID 16899145.
- ↑ Heymann D (2006). "Global polio eradication initiative". Bull. World Health Organ. 84 (8): 595. doi:10.2471/BLT.05.029512. PMC 2627439. PMID 16917643. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2022.
- ↑ McNeil, Donald (1 กุมภาพันธ์ 2011). "In Battle Against Polio, a Call for a Final Salvo". New York Times. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2011.; excerpt, "... getting rid of the last 1 percent has been like trying to squeeze Jell-O to death. As the vaccination fist closes in one country, the virus bursts out in another .... The [eradication] effort has now cost $9 billion, and each year consumes another $1 billion."
- ↑ "Polio Case Count". World Health Organization. 27 December 2017. สืบค้นเมื่อ 27 December 2017.
- ↑ "Polio This Week". Global Polio Eradication Initiative. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2019.
- ↑ Mastny, Lisa (25 มกราคม 1999). "Eradicating Polio: A Model for International Cooperation". Worldwatch Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2008.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 Centers for Disease Control and Prevention (CDC) (2006). "Update on vaccine-derived polioviruses". MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 55 (40): 1093–7. PMID 17035927.
- ↑ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) (พฤษภาคม 2008). "Progress toward interruption of wild poliovirus transmission—worldwide, January 2007–April 2008". MMWR Morb. Mortal. Wkly. Rep. 57 (18): 489–94. PMID 18463607.
- ↑ "Wild Poliovirus 2000 - 2007" (PDF). polioeradication.org. 25 กันยายน 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2010.
- ↑ "Polio this week - As of 06 February 2013". Polio Global Eradication Initiative. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2013.
- ↑ "Smallpox". WHO Factsheet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2008.
- ↑ "UN 'confident' disease has been wiped out". BBC. 14 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2010.
- ↑ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) (1994). "International Notes Certification of Poliomyelitis Eradication—the Americas, 1994". MMWR Morb Mortal Wkly Rep. Centers for Disease Control and Prevention. 43 (39): 720–2. PMID 7522302.
- ↑ "General News. Major Milestone reached in Global Polio Eradication: Western Pacific Region is certified Polio-Free" (PDF). Health Educ Res. 16 (1): 109. 2001. doi:10.1093/her/16.1.109.
- ↑ D'Souza R, Kennett M, Watson C (2002). "Australia declared polio free". Commun Dis Intell. 26 (2): 253–60. PMID 12206379.
- ↑ "Europe achieves historic milestone as Region is declared polio-free" (Press release). European Region of the World Health Organization. 21 มิถุนายน 2002. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2008.
- ↑ Fine PEM (2009). "Polio: Measuring the protection that matters most". J Infect Dis. 200 (5): 673–675. doi:10.1086/605331. PMID 19624277.
- ↑ "Wild Poliovirus case list 2000–2010". WHO/HQ. 9 พฤศจิกายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ธันวาคม 2010.
- ↑ "New polio outbreak hits China - CNN.com". CNN. 21 กันยายน 2011.
- ↑ Ray, Kalyan (26 กุมภาพันธ์ 2012). "India wins battle against dreaded polio". Deccan Herald.
- ↑ "India polio-free for a year: 'First time in history we're able to put up such a map'". The Telegraph. 26 กุมภาพันธ์ 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- A History of Polio (Poliomyelitis) โครงการประวัติวัคซีนโปลิโอโดยวิทยาลัยแพทย์ฟิลาเดลเฟีย
- โรคโปลิโอ ที่เว็บไซต์ Curlie
- Jennie Vásquez-Solís (1996), "Fermín: Making Polio History", Perspectives in Health, Pan American Health Organization, 1 (2), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 – ผู้ป่วยโปลิโอคนสุดท้ายในสหรัฐอเมริกา
- "John Prestwich – 40 years a layabout". 2004 [เมษายน 1996]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กรกฎาคม 2011. – ผู้ป่วยโปลิโอชาวอังกฤษซึ่งรอดชีวิต
- "Polio: A Virus' Struggle" (PDF), The Science Creative Quarterly, The University of British Columbia – หนังสือการ์ตูนสั้น
- Polio-related photos จากนิตยสาร Life
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |