โปรโพฟอล (Propofol) หรือชื่อทางการค้าคือ ดิปริแวน (Diprivan) เป็นสารออกฤทธิ์สั้นที่ส่งผลต่อการลดลงของระดับสติสัมปชัญญะ โดยให้ยาด้วยวิธีการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ การใช้ทางการแพทย์ได้แก่ การนำสลบและรักษาระดับของการวางยาสลบ การระงับประสาทสำหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ และการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการ โปรโพฟอล ยังใช้กันทั่วไปในสัตวแพทยศาสตร์ โปรโพฟอล ได้รับการอนุมัติสำหรับการใช้งานในกว่า 50 ประเทศ โดยถูกผลิตในรูปแบบของยาสามัญ

โปรโพฟอล
ข้อมูลทางคลินิก
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • B (U.S.), C (Au)
ช่องทางการรับยาการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผลNA
การจับกับโปรตีน95 to 99%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ glucuronidation
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ30 to 60 min
การขับออกไต
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.016.551
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC12H18O
มวลต่อโมล178.271 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Oc1c(cccc1C(C)C)C(C)C
  • InChI=1S/C12H18O/c1-8(2)10-6-5-7-11(9(3)4)12(10)13/h5-9,13H,1-4H3 checkY
  • Key:OLBCVFGFOZPWHH-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ในทางเคมี โปรโพฟอล ไม่เกี่ยวข้องกับบาร์บิทูเรท และมีบทบาทส่วนใหญ่เข้ามาแทนที่ของ โซเดียมไธโอเพนเทล (เพนโทเธล) สำหรับการชักนำสลบ เนื่องจากการคืนฤทธิ์ของ โปรโพฟอล สามารถทำได้รวดเร็วและชัดเจนมากกว่าเมื่อเทียบกับ ไธโอเพนเทล

โปรโพฟอล ไม่จัดว่าเป็นยาแก้ปวดดังนั้น ออพไพออยด์ เช่น เฟนทาเนียล อาจถูกใช้ร่วมกับ โปรโพฟอล เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด[1] โปรโพฟอล ได้รับการขนานนามว่า "น้ำนมความจำเสื่อม" (เล่นคำจากน้ำนมแมกนีเซีย) เพราะลักษณะที่ปรากฏเหมือนน้ำนมในการเตรียมยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำ[2]

อ้างอิง

แก้
  1. Miner JR, Burton JH. Clinical practice advisory: Emergency department procedural sedation with propofol. Annals of Emergency Medicine. 2007 Aug;50(2):182–7, 187.e1. Epub 2007 Feb 23.
  2. Euliano TY, Gravenstein JS (2004). "A brief pharmacology related to anesthesia". Essential anesthesia: from science to practice. Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 173. ISBN 0-521-53600-6. สืบค้นเมื่อ 2009-06-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้