โซโฮ
โซโฮ หรือ โซโห (อังกฤษ: Soho) เป็นย่านหนึ่งในนครเวสต์มินสเตอร์ในภูมิภาคเวสต์เอนด์ของลอนดอน โซโฮเคยย่านแฟชั่นของชนชั้นสูงและในปัจจุบันเป็นย่านบันเทิงหลักของลอนดอนซึ่งเป็นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
โซโฮ | |
---|---|
บนลงล่างและซ้ายไปขวา: บาร์ในโซโฮ, เพิงคนสวนในจัตุรัสโซโฮ, ถนนกรีก, รอนนี สกอทส์ แจ๊สคลับ, คอมพ์ทันส์, คิงลีคอร์ท | |
ที่ตั้งในเกรเทอร์ลอนดอน | |
โอเอสกริด | TQ294810 |
• ชาริงครอสส์ | 0.51 ไมล์ (0.8 กิโลเมตร) SE |
ลอนดอนโบโร | |
เซเรมอเนียลเคาน์ที | เกรเทอร์ลอนดอน |
ภูมิภาค | |
ประเทศ | อังกฤษ |
รัฐเอกราช | สหราชอาณาจักร |
โพสท์ทาวน์ | ลอนดอน |
เขตรหัสไปรษณีย์ | W1 |
รหัสโทรศัพท์ | 020 |
ตำรวจ | เมทรอพอลิเทิน |
ดับเพลิง | ลอนดอน |
รถพยาบาล | ลอนดอน |
รัฐสภาสหราชอาณาจักร | |
สภาลอนดอน | |
พื้นที่นี้พัฒนาขึ้นจากการเป็นพื้นที่เกษตรโดยเฮนรีที่แปดในปี 1536 โดยใช้เป็นอุทยานหลวง ในปลายศตวรรษที่ 17 พื้นที่เริ่มมีอาคารที่อยู่อาศัยของชนชั้นสูงและมีการตั้งจัตุรัสโซโฮในทศวรรษที่ 1680s ในขณะที่โบสถ์เซนต์แอนน์ตั้งขึ้นในปลายศตวรรษที่ 17 และยังคงตั้งสง่าในฐานะแลนด์มาร์กของย่านถึงปัจจุบัน โบสถ์คริสต์อื่น ๆ ในพื้นที่ได้แก่โบสถ์พระมารดาอัสสัมชัญและเซนต์เกรเกอรี และโบสถ์เซนต์แพทริกในจัตุรัสโซโฮ ชนชั้นสูงเริ่มย้ายออกจากพื้นที่ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ซ่งเกิดอหิวาห์รุนแรงในย่านเมื่อปี 1854 ในศตวรรษที่ 20 โซโฮเป็นที่รู้จักในฐานะย่านค้าบริการทางเพศและสถานบันเทิงยามราตรี รวมถึงเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัทภาพยนตร์ชั้นนำ จนกระทั่งนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980s ย่านโซโฮเกิดการย้ายเข้าของผู้อยู่อาศัยกลุ่มใหม่ครั้งใหญ่ ในปัจจุบันย่านโซโฮเป็นย่านแฟชั่นและเต็มไปด้วยร้านอาหารระดับบนและสำนักงานสื่อ ในขณะที่สถานเริงราตรีและค้าบริการทางเพศยังคงมีอยู่เล็ก ๆ ในย่าน นอกจากนี้ชุมชนเกย์ของลอนดอนยังมีศูนย์กลางอยู่บนถนนโอลด์คอมพ์ทันในย่านโซโฮ
ชื่อ
แก้คำว่า "Soho" ปรากฏครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 เป็นไปได้ว่าอาจมาจากเสียงร้องขณะออกล่า (hunting cry) ในอดีต[1] เจมส์ สก็อต ดยุกที่หนึ่งแห่งมอนมัธใช้คำว่า "soho" เป็นเสียงเรียกเดินขบวน (rallying call) สำหรับนายทหารของเขาในระหว่างยุทธการที่เซจมัวร์เมื่อ 6 กรกฎาคม 1685 หรือกว่าครึ่งศตวรรษหลังปรากฏชื่อโซโฮเป็นพื้นที่หนึ่งในลอนดอน[2][3]
ชื่อโซโฮยังปรากฏเป็นชื่อในย่านบันเทิงและย่านภัตตาคารทั่วโลก เช่นที่โซโฮ ย่านบันเทิงของฮ่อ���กง[4] และย่านโซโฮ [es] ในมาลากา[5] ส่วนย่านโซโฮในเขตแมนฮัตตันของนิวยอร์กซิตีนั้นได้มาจากตำแหน่งของย่านซึ่งอยู่ทางใต้ของถนนฮิวสตัน (South of Houston Street) และจงใจให้พ้องกับชื่อของย่านโซโฮในลอนดอนไปพร้อมกัน[6] ย่านอัปทาวน์ของพิตส์เบิร์ดในอดีตคือโซโฮเช่นกัน[7]
ที่ตั้ง
แก้โซโฮมีพื้นที่รวมประมาณ 1 ตารางไมล์ (2.6 ตารางกิโลเมตร) ล้อมรอบด้วยถนนชาฟทสบรีทางใต้, ถนนออกซเฟิดทางเหนือ, ถนนเรเจินท์ทางตะวันตก และ ถนนชาริงครอสทางตะวันออก[8] พื้นที่รอบข้างของโซโฮได้แก่เมย์แฟร์ทางตะวันตก, ฟิตซรอเวียทางเหนือ, เซนต์ไจลส์ และ คอเวินท์การ์เดินทางตะวันออก, เซนต์เจมเมิสทางใต้[9] สมาคมโซโฮ (Soho Society) ระบุว่าย่านไชน่าทาวน์ซึ่งจั้งอยู่ระหว่างเลสเตอร์สแควร์ เป็นส่วนหนึ่งของโซโฮเช่นกัน[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ Sheppard, F H W, บ.ก. (1996). "Estate and Parish History". Survey of London. London. 33–34 : St Anne Soho: 20–26. สืบค้นเมื่อ 10 April 2017.
- ↑ Room 1983, p. 113.
- ↑ Mee 2014, p. 233.
- ↑ "10 Things to see and do in Soho, Hong Kong". The Culture Trip. 9 February 2017. สืบค้นเมื่อ 6 January 2018.
- ↑ "Málaga holiday guide: what to see plus the best bars, hotels and restaurants". The Guardian. 25 July 2015. สืบค้นเมื่อ 6 January 2018.
- ↑ แม่แบบ:Cite aia5
- ↑ Potter, Chris. "Pittsburgh has a neighborhood named "Soho," directly across the Birmingham Bridge. My mother was raised there, when it was predominantly a Russian immigrant community, and I have always wanted to know how Soho got its name". Pittsburgh City Paper. สืบค้นเมื่อ 8 June 2020.
- ↑ Kirby 2013, p. 47.
- ↑ "Soho, London". Google Maps. สืบค้นเมื่อ 10 November 2017.
- ↑ "Licensing". The Soho Society. สืบค้นเมื่อ 10 November 2017.
บรรณานุกรม
แก้- Allen, Carl (2016). London Gig Venues. Amberley Publishing Limited. ISBN 978-1-445-65820-9.
- Banham, Martin, บ.ก. (1995). The Cambridge Guide to Theatre. Cambridge University Press. p. 400. ISBN 978-0-521-43437-9.
- Clayton, Antony (2003). London's Coffee Houses: A Stimulating Story. Historical Publications. ISBN 978-0-948-66786-2.
- Conte, Joseph (2008). Flies in My Spaghetti, Chocolates Over the Wall. Tate Publishing. ISBN 978-1-604-62251-5.
- During, Simon (30 June 2009). Modern Enchantments: The Cultural Power of Secular Magic. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-03439-6.
- Girling, Brian (2012). Soho & Theatreland Through Time. Amberley Publishing. ISBN 978-1-445-63091-5.
- Glinert, Ed (2012). The London Compendium. Penguin UK. ISBN 978-0-718-19203-7.
- Gorman, Paul (2001). The Look: Adventures in Pop & Rock Fashion. Sanctuary. ISBN 9781860743023.
- Haslam, Dave (2015). Life After Dark: A History of British Nightclubs & Music Venues. Simon and Schuster. ISBN 978-0-857-20700-5.
- Hutton, Mike (2012). The Story of Soho: The Windmill Years 1932–1964. Amberley Publishing Limited. ISBN 978-1-445-61231-7.
- Johnson, Steven (19 October 2006). The Ghost Map: The Story of London's Most Terrifying Epidemic—and How It Changed Science, Cities, and the Modern World. Penguin Publishing Group. ISBN 978-1-101-15853-1.
- Kirby, Dick (2013). The Scourge of Soho: The Controversial Career of SAS Hero Detective Sergeant Harry Challenor MM. Pen and Sword. ISBN 978-1-781-59350-9.
- Mee, Arthur (30 July 2014). King's England: London. Amberley Publishing Limited. ISBN 978-1-4456-4239-0.
- Moore, Tim (2003). Do Not Pass Go. Vintage. ISBN 978-0-099-43386-6.
- Nicholson, Virginia (2003). Among the Bohemians: Experiments in Living 1900–1939. Penguin UK. ISBN 978-0-141-93340-5.
- Room, Adrian (15 December 1983). A Concise Dictionary of Modern Place-names in Great Britain and Ireland. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-211590-4.
- Weinreb, Ben; Hibbert, Christopher; Keay, Julia; Keay, John (2008). The London Encyclopedia. Pan MacMillan. ISBN 978-1-4050-4924-5.