โชห่วย คือ ร้านขายของชำ ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 มาจากภาษาจีนแต้จิ๋วว่า 凑货 (อ่านว่า โฉ่วห่วย) ตัวหนังสือจีน 凑(โฉ่ว)​ แปลว่า รวบรวม​ ส่วนตัวหนังสือ 货(ห่วย)​ แปลว่า สินค้า

ร้านค้าโชห่วยทั่วไป Smiths Gully ในSmiths Gully ประเทศออสเตรเลีย
ภายในร้านค้าโชห่วยทั่วไปในเมือง Moundville รัฐอลาบามา สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1936

รากศัพท์

แก้

คำว่า โชห่วย ในความหมายของคนไทยคือ ร้านขายของชำ สันนิษฐานว่ามาจากภาษาจีนเขียนว่า 粗货[1] ออกเสียงจีนกลางว่า "ชู ฮั่ว" ( ชู - 粗 หมายถึง ใหญ่ ๆ หรือ หยาบ, ฮั่ว - 货 หมายถึง สินค้า, แปลรวมๆ หมายความว่า มีของขายเยอะแยะมากมาย) ในสำเนียงจีนฮกเกี้ยน ที่เป็นชาวจีนที่มาค้าขายรุ่นแรก ๆ ในไทย แถบปีนัง มลายู และภูเก็ต ก็ออกเสียงว่า โชฮ่วย หรือ ชุกห่วย

คำว่าโชห่วย ในภาษาจีนแต้จิ๋ว บางครั้งเรียกว่า จับห่วย (雜貨) หรือ แป๊ะห่วย (百貨) ในขณะที่ภาษากวางตุ้งจะออกเสียงว่า จาบฟอโผว[2]

อ้างอิง

แก้
  1. นวรัตน์ ภักดีคำ, 2553, หน้า 78
  2. ตอนที่ ๑ ตำนาน "จาบฟอโผว"

บรรณานุกรม

แก้