โกณารักสูรยมนเทียร

เทวสถานที่มีชื่อเสียงของอินเดีย

โกณารักสุรยมนเทียร (โอเดีย: କୋଣାର୍କ ସୂର୍ଯ୍ୟ ମନ୍ଦିର; Konark Surya Mandir) หรือ เทวสถานพระอาทิตย์โกณารัก (Konark Sun Temple) เป็นมนเทียรบูชาพระสูรยะ สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตั้งอยู่ที่เมืองโกณารัก ราว 35 กิโลเมตร (22 ไมล์) ทางนะวันออกเฉียงเหนือของปุรี บนชายฝั่งของรัฐโอฑิศา ประเทศอินเดีย[1][2] ผู้มีดำรัสสร้างคือพระเจ้านรสิงหเทวะที่หนึ่งแห่งจักรวรรดิคงคาตะวันออก ในราวปี 1250[3][4]

โกณารักสูรยมนเทียร
สูรยเทวาลัย / อารักเกษตร
อาคารหลักของสูรยมนเทียร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภอปุรี
เทพพระสูรยะ
เทศกาลจันทรภาคเมลา
หน่วยงานกำกับดูแลASI
ที่ตั้ง
ที่ตั้งโกณารัก
รัฐรัฐโอฑิศา
ประเทศอินเดีย
โกณารักสูรยมนเทียรตั้งอยู่ในรัฐโอริศา
โกณารักสูรยมนเทียร
ที่ตั้งในรัฐโอริศา
โกณารักสูรยมนเทียรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
โกณารักสูรยมนเทียร
โกณารักสูรยมนเทียร (ประเทศอินเดีย)
พิกัดภูมิศาสตร์19°53′15″N 86°5′41″E / 19.88750°N 86.09472°E / 19.88750; 86.09472
สถาปัตยกรรม
รูปแบบกลึงคะ
ผู้สร้างพระเจ้านรสิงหเทวะที่หนึ่ง
เสร็จสมบูรณ์c. 1250
พื้นที่ทั้งหมด10.62 ha (26.2 เอเคอร์)
เว็บไซต์
konark.nic.in
ที่ตั้งโกณารัก, รัฐโอฑิศา, ประเทศอินเดีย
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (i)(iii)(vi)
อ้างอิง246
ขึ้นทะเบียน1984 (สมัยที่ 8th)

หนึ่งลงในสิ่งก่อสร้างที่ยังคงเหลือในหมู่อาคารคือสูรยรถ (ราชรถพระสูรยะ) ความสูง 100-ฟุต (30-เมตร) ที่ซึ่งมีล้อและม้าสลักจากหินขนาดใหญ่ ที่ซึ่งในอดีตเคยมีความสูงถึง 200 ฟุต (61 เมตร)[1][5] ปัจจุบันส่วนใหญ่ของหมู่อาคารเหลือเพียงซากปรักหักพัง โดยเฉพาะศิขรเหนือมนเทียรหลัก ที่ซึ่งในอดีตเคยสูงกว่ามณฑปที่เหลืออยู่ สิ่งก่อสร้างและองค์ประกอบที่เหลืออยู่แสดงให้เห็นถึงงานศิลปะ ประติมานวิทยา และการแกะสลักที่วิจิตรตระการตา เช่นฉากที่แสดง กามะ และ มิถุน ในรูปอีโรติก อีกชื่อหนึ่งของมนเทียรนี้คือ สูรยเทวาลัย สถาปัตยกรรมของสูรยเทวาลัยนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของแบบโอฑิศา ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมกลึงคะ[1][6]

สิ่งที่ทำให้สูรยเทวาลัยถูกทำลายจนเหลือเพียงทุกวันนี้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์และยังคงเป็นที่ถกเถียง[7] มีผู้เสนอแนวคิดตั้งแต่ผลจากภัยพิบัติทางธรรมชาติไปจนถึงการทำลายของกองทัพมุสลิมในศตวรรษที่ 15 ถึง 17[1][7] นักเดินทางชาวยุโรปได้เรียกเทวาลัยนี้ว่า "เจดีย์ดำ" (Black Pagoda) มีหลักฐานเก่าแก่ถึงปี 1676 ด้วยหอหลักเป็นสีดำ[6][8] ควบคู่ไปกับชคันนาถเทวาลัยที่ปุรีซึ่งถูกเรียกว่า "เจดีย์ขาว" (White Pagoda) เจดีย์ทั้งสองนี้เป็นจุดสังเกตสำคัญของผู้ล่องเรือมาตามอ่าวเบงกอล[9][10]

หมู่เทวาลัยที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นได้รับการบูรณะบางส่วนโดยนักโบราณคดีชาวบริเตนในยุคอาณานิคม ในปี 1984 สูรยเทวาลัยโกณารักได้รับการยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[1][2] ในปัจจุบันที่นี่ยังคงเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญสำคัญของชาวฮินดูและเป็นหนึ่งในจุดหมายของเส้นทางจาริกที่มีขึ้นทุก ๆ ปีที่เรียกว่า จันทรภาคเมลา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์[6]

ศัพทมูล

แก้

คำว่า โกณารัก (Konark) มาจากการรวมคำภาษาสันสกฤตสองคำคือ โกณ (Kona; มุม/เทวดา) และ อารก (Arka; พระอาทิตย์)[9] ความหมายของ โกณ ในที่นี้นั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจสื่อถึงตำแหน่งที่เป็นตะวันออกเฉียงใต้ของมนเทียรหรืออาจของสูรยมนเทียรอื่น ๆ ในอนุทวีป[11] ส่วนคำว่า อรกะ หมายถึงเทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์ของฮินดู พระสูรยะ[9]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Konark: India, Encyclopaedia Britannica
  2. 2.0 2.1 "Sun Temple, Konârak". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 May 2013.
  3. Sen, Sailendra (2013). A Textbook of Medieval Indian History. Primus Books. pp. 121–122. ISBN 978-9-38060-734-4.
  4. Indian History. Tata McGraw-Hill Education. p. 2. ISBN 978-0-07-132923-1. สืบค้นเมื่อ 3 May 2013.
  5. James C. Harle (1994). The Art and Architecture of the Indian Subcontinent. Yale University Press. pp. 251–254. ISBN 978-0-300-06217-5.
  6. 6.0 6.1 6.2 Linda Kay Davidson; David Martin Gitlitz (2002). Pilgrimage: From the Ganges to Graceland : an Encyclopedia. ABC-CLIO. pp. 318–319. ISBN 978-1-57607-004-8.
  7. 7.0 7.1 Thomas Donaldson (2005). Konark. Oxford University Press. pp. 15–28. ISBN 978-0-19-567591-7.
  8. Thomas Donaldson (2005). Konark. Oxford University Press. p. 28. ISBN 978-0-19-567591-7.
  9. 9.0 9.1 9.2 Debala Mitra 1968, p. 3.
  10. Lewis Sydney Steward O'Malley (1 January 2007). Bengal District Gazetteer : Puri. Concept Publishing Company. p. 283. ISBN 978-81-7268-138-8. สืบค้นเมื่อ 3 May 2013.
  11. Karuna Sagar Behera (2005). Konark: The Black Pagoda. Government of India Press. pp. 1–2. ISBN 978-81-230-1236-0.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้