แมลงช้างปีกใส
แมลงช้างปีกใส | |
---|---|
แมลงช้างปีกใส | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ชั้น: | Insecta |
อันดับ: | Neuroptera |
สกุล: | Chrysoperla |
สปีชีส์: | C. carnea |
ชื่อทวินาม | |
Chrysoperla carnea (J.F.Stephens, 1835) |
แมลงช้างปีกใส ชนิด Chrysoperla carnea Stephens เป็นแมลงตัวห้ำที่สำคัญที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงมากที่สุดในแถบทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นศัตรูตามธรรมชาติที่สำคัญของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั้น เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้ง และไรแดง นอกจากนี้ตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสยังสามารถกินไข่และตัวอ่อนของด้วง หรือหนอนผีเสื้อที่ทำลายผลผลิตทางการเกษตรได้อีกด้วย ดังนั้นแมลงช้างปีกใสจึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีได้อย่างมีประสิทธิภาพ[1] แมลงช้างปีกใส C. carnea จะดำรงชีพแบบผู้ล่าหรือเป็นตัวห้ำเฉพาะในระยะตัวอ่อน ส่วนในตัวเต็มวัยจะกินน้ำหวานและละอองเรณู จึงมีบทบาทในการผสมเกสรและช่วยขยายพันธุ์พืชด้วยเช่นกัน [2]
แมลงช้างปีกใสในสกุล Chrysoperla ถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามลักษณะสัณฐานวิทยาของตัวเต็มวัย ได้แก่ กลุ่ม carnea กลุ่ม pudica กลุ่ม comans และกลุ่ม nyerina การศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของแมลงช้างปีกใสทั้ง 4 กลุ่ม โดยใช้ข้อมูลทางพันธุกรรม (nuclear marker 3 ยีน ได้แก่ namelywingless(546 bp), phosphoenolpyruvate carboxykinase (483 bp) และ sodium/potassium ATPase alpha subunit (410 bp)) พบว่า แมลงช้างปีกใสในกลุ่ม comans และ pudica เป็น sister group กัน และทั้งสองกลุ่มเป็น sister group กับกลุ่ม carnea แต่ความสัมพันธ์กับกลุ่ม nyerina ยังไม่แน่ชัด [3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Ulhaq, M.M., Sattar, A., Salihah, Z., Farid, A., Usman, A. and Khattak, S.U.K. 2006. Effect of different artificial diets on the biology of adult green lacewing (Chrysoperla carnea Stephens). Songklanakarin J. Sci. Technol. Vo. 28(1) : 1-8. http://rdo.psu.ac.th/sjstweb/journal/28-1/01_adult_green_lacewing.pdf เก็บถาวร 2018-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Fisher,T. W.,Thomas S. 1999. Handbook of Biological Control. Academic Press , The United States of America. 1031 p. http://books.google.co.th/books?id=u2X-rfgU0ewC&pg=PA418&redir_esc=y#v=onepage&q&f=true
- ↑ Haruyama, N., A. Mochizuki, P. Duelli, H. Naka, and M. Nomura. 2008. Green lacewing phylogeny, based on three nuclear genes (Chrysopidae, Neuroptera). Systematic Entomology 33(2):275–288. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1365-3113.2008.00418.x/pdf