แมคโอเอส
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
แมคโอเอส (อังกฤษ: macOS) ก่อนหน้าเรียกว่า แมคโอเอสเท็น (อังกฤษ: Mac OS X) ถึงปี 2554 และ โอเอสเทน (อังกฤษ: OS X) ถึงปี 2559 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดในตระกูลแมคโอเอสสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2001 ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ แกนกลาง ดาร์วิน (Darwin) ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมการทำงานแบบยูนิกซ์ที่เป็นโอเพนซอร์ส และส่วนติดต่อผู้ใช้แบบ อควา (Aqua) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทแอปเปิล
ผู้พัฒนา | แอปเปิล |
---|---|
เขียนด้วย | ภาษาซีพลัสพลัส, ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี, Swift, ภาษาซี |
ตระกูล | ยูนิกซ์ |
สถานะ | ปัจจุบัน |
รูปแบบ รหัสต้นฉบับ | Proprietary software/Closed source (บางส่วนเป็น ซอฟต์แวร์เสรี/โอเพนซอร์ส) |
วันที่ปล่อยให้ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ | 24 มกราคม 2527 (รุ่นที่ 1-9) 24 มีนาคม 2544 (รุ่นที่ 10-ปัจจุบัน) |
รุ่นเสถียร | macOS Sonoma 14.2.1 / 19 ธันวาคม ค.ศ. 2023 |
แพลตฟอร์ม ที่รองรับ | IA-32, PowerPC (ทั้ง 32 และ 64 บิต), x86-64, ARM (Apple Silicon) |
ชนิดเคอร์เนล | Hybrid |
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยาย | GUI (Aqua) |
สัญญาอนุญาต | Proprietary EULA |
เว็บไซต์ | Apple - macOS |
แอปเปิลยังได้สร้างแมคโอเอสรุ่นปรับปรุง เพื่อนำไปใช้ในอุปกรณ์ของแอปเปิล 4 ตัวได้แก่ แอปเปิลทีวี ไอโฟน ไอพอดทัช และไอแพด โดยที่ไอโฟน และ ไอพอดทัชนั้นจะใช้รุ่นของแมคโอเอสที่เรียกว่า iOS ซึ่งระบบปฏิบัติการที่แก้ไขนี้จะมีแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ไดรเวอร์และส่วนประกอบอื่นที่ไม่จำเป็นจะถูกนำออกไป
ข้อมูลของแมคโอเอสเวอร์ชันต่างๆ
แก้เวอร์ชัน | โค้ดเนม | วันเปิดตัว | วันปล่อยสู่สาธารณะอย่างเป็นทางการ | เวอร์ชันล่าสุด |
---|---|---|---|---|
Rhapsody เวอร์ชันสำหรับนักพัฒนา | Grail1Z4 / Titan1U | 7 มกราคม 2540 | 31 สิงหาคม 2540 | DR2 (14 พฤษภาคม 2541) |
Mac OS X Server 1.0 | Hera | ไม่ทราบ | 16 มีนาคม 2542 | 1.2v3 (27 ตุลาคม 2543) |
Mac OS X Developer Preview | ไม่ทราบ | 11 พฤษภาคม 2541[1] | 16 มีนาคม 2542 | DP4 (5 เมษายน 2543) |
Public Beta | Kodiak | 15 พฤษภาคม 2543 | 13 กันยายน 2543 | ไม่ทราบ |
Mac OS X 10.0 | Cheetah | 9 มกราคม 2544 | 24 มีนาคม 2544 | 10.0.4 (4Q12) (22 มิถุนายน 2544) |
Mac OS X 10.1 | Puma | 18 กรกฎาคม 2544[2] | 25 กันยายน 2544 | 10.1.5 (5S60)
(6 มิถุนายน 2545) |
Mac OS X 10.2 | Jaguar | 6 พฤษภาคม 2545[3] | 24 สิงหาคม 2545 | 10.2.8 (3 ตุลาคม 2546) |
Mac OS X 10.3 | Panther | 23 มิถุนายน 2546[4] | 24 ตุลาคม 2546 | 10.3.9 (7W48) (15 เมษายน 2548) |
Mac OS X 10.4 | Tiger | 4 พฤษภาคม 2547[5] | 29 เมษายน 2548 | 10.4.11 (14 พฤศจิกายน 2550) |
Mac OS X 10.5 | Leopard | 26 มิถุนายน 2549[6] | 26 ตุลาคม 2550 | 10.5.8 (9L31a)
(5 สิงหาคม 2552) |
Mac OS X 10.6 | Snow Leopard | 9 มิถุนายน 2551[7] | 28 สิงหาคม 2552 | 10.6.8 (10K549)(25 กรกฎาคม 2554) |
Mac OS X 10.7 | Lion | 20 ตุลาคม 2553[8] | 20 กรกฎาคม 2554 | 10.7.5 (11G6) (19 กันยายน 2555) |
OS X 10.8 | Mountain Lion | 16 กุมภาพันธ์ 2555[9] | 25 กรกฎาคม 2555[10] | 10.8.5 (12F2560) (13 สิงหาคม 2558) |
OS X 10.9 | Mavericks | 10 มิถุนายน 2556[11] | 22 ตุลาคม 2556 | 10.9.5
(13F1911) (18 กรกฎาคม 2559) |
OS X 10.10 | Yosemite | 2 มิถุนายน 2557 | 16 ตุลาคม 2557 | 10.10.5 (14F2511) (19 กรกฎาคม 2560) |
OS X 10.11 | El Capitan | 8 มิถุนายน 2558 | 30 กันยายน 2558 | 10.11.6 (15G31) (18 กรกฎาคม 2561) |
macOS 10.12 | Sierra | 13 มิถุนายน 2559 | 20 กันยายน 2559 | 10.12.6
(16G2136) (26 กันยายน 2562) |
macOS 10.13 | High Sierra | 6 มิถุนายน 2560 | 26 กันยายน 2560 | 10.13.6 (17G14042)
12 พฤศจิกายน 2563) |
macOS 10.14 | Mojave | 4 มิถุนายน 2561 | 24 กันยายน 2561 | 10.14.6 (18G9323)
(21 กรกฎาคม 2564) |
macOS 10.15 | Catalina | 3 มิถุนายน 2562 | 7 ตุลาคม 2562 | 10.15.7 (19H2026)
(20 กรกฎาคม 2565) |
macOS 11.0 | Big Sur | 22
มิถุนายน 2563 |
12 พฤศจิกายน 2563 | 11.7.10 (20G1427)
(11 กันยายน 2566) |
macOS 12.0 | Monterey | 8 มิถุนายน 2564 | 25 ตุลาคม 2564 | 12.7.2 (21G1924)
(11 ธันวาคม 2566) |
macOS 13.0 | Ventura | 6 มิถุนายน 2565 | 24 ตุลาคม 2565 | 13.6.3 (22G436)
(11 ธันวาคม 2566) |
macOS 14.0 | Sonoma | 6 มิถุนายน 2566 | 26 กันยาคม 2566 | 14.2.1 (23C71)
(19 ธันวาคม 2566) |
macOS 15.0 | Sequoia | 11 มิถุนายน 2567 | ปลายปี 2567 |
ชื่อเรียก
แก้ครั้งก่อนในช่วงใช้ชื่อ OS X นั้น โดยตัว���ักษร "X" หมายถึงเลขสิบในระบบโรมัน และอ่านออกเสียงว่า "เท็น" (Ten, แปลว่า "สิบ" ในภาษาอังกฤษ) แสดงถึงรุ่นที่ต่อมาจากแมคโอเอสตัวก่อนหน้าคือ แมคโอเอส 9 นอกจากนี้ตัวอักษร X ยังแสดงถึงความเป็นยูนิกซ์ (UNIX) ในตัวระบบปฏิบัติการด้วย
แอปเปิลเองได้มีวิธีการเรียกชื่อแมคโอเอสเท็นถึงสามวิธี
- Mac OS X v10.4 บอกเฉพาะเลขรุ่น (หมายเหตุ: ต้องมีอักษร v ด้วยเสมอ)
- Mac OS X Tiger บอกเฉพาะรหัสในการพัฒนา
- Mac OS X v10.4 "Tiger" บอกทั้งเลขรุ่นและรหัสในการพัฒนา
สังเกตว่ารหัสในการพัฒนานั้นจะเป็นชื่อสัตว์ในตระกูลเสือ มาจนถึง OS X 10.8 "Mountain Lion"
แต่ในตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา OS X จึงได้ใช้ชื่อเรียกจากตระกูลเสือนั้น มาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเริ่มจาก OS X Mavericks ก่อน แล้วใช้แบบนั้นมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อจากนั้น ในงาน WWDC 2016 ทางบริษัทแอปเปิลได้ทำการเปลี่ยนชื่อจาก OS X เป็น macOS ให้สอดคล้องกับ iOS , tvOS , watchOS และสามารถเรียกได้ง่ายขึ้น ซับซ้อนน้อยลง แต่ยังคงใช้โค๊ดเนมในสถานที่ท่องเที่ยวที่ รัฐแคลิฟอร์เนีย อยู่เช่นเคยโดยเริ่มต้นที่ macOS Sierra
แมคโอเอสเท็นรุ่นต่างๆ
แก้เวอร์ชั่น 10.x (ยุคหน่วยประมวลผล PowerPC - อินเทล , Aqua UI)
แก้Mac OS X Public Beta (Kodiak)
แก้เปิดตัวต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2000 ในราคา $ 29.95 เพื่อที่จะรับฟังความเห็นจากผู้ใช้ เป็นการเปิดตัวอินเตอร์เฟซ Aqua ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก และแอปเปิ้ลได้ทำการเปลี่ยนแปลง UI หลายอย่างจากความคิดเห็นของลูกค้าที่ตอบกลับมา Mac OS X Public Beta หมดอายุและหยุดการทำงานในฤดูใบไม้ผลิ 2001
Mac OS X 10.0 (Cheetah)
แก้เนื้อหาหลักดูที่ : Mac OS X 10.0
วางจำหน่าย 24 มีนาคม พ.ศ. 2544 ได้รับคำชมในเรื่องความเสถียรและความสามารถ แต่มีปัญหาในด้านความเร็วในการทำงาน ราคาจำหน่าย 129 ดอลลาร์
Mac OS X 10.1 (Puma)
แก้เนื้อหาหลักดูที่ : แมคโอเอสเท็น พูม่า
วางจำหน่าย 25 กันยายน พ.ศ. 2544 ไม่ได้วางจำหน่าย แต่แจกเป็นชุดอัพเกรดฟรีสำหรับ Cheetah เพิ่มความเร็วในการทำงาน และความสามารถอื่นๆ เช่น การเล่นดีวีดี
Mac OS X 10.2 (Jaguar)
แก้เนื้อหาหลักดูที่ : Mac OS X 10.2
วางจำหน่าย 23 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน หน้าตาแบบใหม่ และความสามารถ เช่น
- สนับสนุนเครือข่ายที่เป็นไมโครซอฟท์วินโดวส์
- iChat - อินสแตนท์ เมสเซจจิง
- Apple Rendezvous - การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบอัตโนมัติ
- CUPS (The Common Unix Printing System) - ระบบการพิมพ์'กลาง'ของระบบยูนิกซ์
Mac OS X 10.3 (Panther)
แก้วางจำหน่าย 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546 พัฒนาความสามารถด้านอื่นเพิ่มขึ้น โดยได้เพิ่มความสามารถเด่นมีดังนี้
- Exposé - การแสดงหน้าต่างทำงานทั้งหมดในหน้าจอเดียว ทำให้ผู้ใช้เปลี่ยนหน้าต่างทำงานได้อย่างรวดเร็ว
- Fast User Switching
- FileVault
- เพิ่มการสนับสนุนซีพียู PowerPC 970 บน Apple Power Mac G5
Mac OS X 10.4 (Tiger)
แก้กำหนดวางจำหน่าย 29 เมษายน พ.ศ. 2548 ความสามารถเด่นมีดังนี้
- Spotlight
- Dashboard
- QuickTime 7
- Automator
- Front row
โดยเวอร์ชั่นนี้ ได้เพิ่มการรองรับซีพียูบนสถาปัตยกรรม x86-64 ของอินเทล ตั้งแต่เวอร์ชั่น 10.4.4 เป็นต้นไป พร้อมทั้งนี้ เป็นเวอร์ชั่นสุดท้ายที่สนับสนุนซีพียู PowerPC 7xx บน Apple Mac G3
Mac OS X 10.5 (Leopard)
แก้เนื้อหาหลักดูที่ : แมคโอเอสเท็น ลีโอพาร์ด
แมคโอเอสเทน เลเพิร์ด (มักเรียกผิดเป็น ลีโอพาร์ด) วางจำหน่ายในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มีความสามารถเด่นที่ประกาศแล้วดังนี้
- Time Machine
- Spaces
- Core Animation
- Quicklook
- Stack
- Finder ใหม่ที่รวม Cover Flow view เข้าไป
- ในตัวระบบปฏิบัติการ รองรับ 64-bit
นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงแอปพลิเคชันที่มีอยู่เดิมอีกด้วย พร้อมทั้งนี้ เป็นเวอร์ชั่นสุดท้ายที่สนับสนุนซีพียู PowerPC 970 บน Apple Power Mac G5 และเป็นรุ่นสุดท้ายที่รองรับซีพียูบนสถาปัตยกรรม PowerPC
Mac OS X 10.6 (Snow Leopard)
แก้แมคโอเอส สโนว์ เลเพิร์ด ได้วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552 โดยหยุดการสนับสนุนสถาปัตยกรรม PowerPC และมีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมดังนี้
- Dock Exposé
- QuickTime X
- Grand Central Dispatch
- Safari 4
- เขียนภาษาจีนโดยใช้ Trackpad ได้
- ติดตั้งเร็วขึ้น 45%
- ใช้พื้นที่น้อยลง 6GB
- ปรับปรุงโค้ดกว่า 90%
- เปลี่ยนเป็นระบบปฏิบัติการ 64 บิต อย่างสมบูรณ์
- โปรแกรมทั้งหมดเปลี่ยนเป็น 64 บิต
Mac OS X 10.7 (Lion)
แก้แมคโอเอส เท็น ไลออน ราคาจำหน่าย 29.99 ดอลลาร์สหรัฐ และแจกจ่ายไม่คิดเงินสำหรับผู้ซื้อรุ่น 10.6 ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 หรือหลังจากนั้น ซึ่งไม่ได้รับ แมคโอเอส เท็น รุ่น 10.7[12]
- Safari 5
- Facetime
- iLife' 11
- Launchpad
- Mission Control
- Mac App Store
- Full-screen apps
- Multi-Touch Gestures
- Auto save
- Apps resume when launched
- Autohiding Scrollbars
- รองรับ Multi-Touch Gestures เพิ่มมากขึ้น (สำหรับ Apple MagicMouse และ Apple MagicTrackpad)
- รองรับการ Preview ในรูปแบบเต็มหน้าจอ
- รองรับ iCloud (รุ่น 10.7.2)
- รองรับ Back To My Mac (รุ่น 10.7.2)
- รองรับ Find My Mac (รุ่น 10.7.2)[13]
OS X 10.8 (Mountain Lion)
แก้โอเอสเท็น เมาท์เท่น ไลอออน ราคาจำหน่าย 19.99 ดอลลาร์สหรัฐ และแจกจ่ายให้ผู้ซื้อแมคตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2555 หรือหลังจากนั้นที่ไม่ได้รับแมคโอเอสเท็น 10.8[14]
- Game Center
- แอพ Messages ใหม่ รองรับ iMessage
- iCal เปลี่ยนเชื่อเป็น Calendar
- แยกรายการที่ต้องทำออกมาจาก iCal เป็นแอพใหม่ชื่อ Reminders
- รองรับ Documents in the Cloud ของ iWork
- เพิ่มระบบ Notification Center แจ้งเตือนและสถานที่รวมการแจ้งเตือนทั้งหมด
- รองรับบริการของประเทศจีน เช่น เพิ่ม Baidu ในเซิร์ชเอนจินของซาฟารี
- เพิ่ม QQ, 163.com เข้าไปในระบบ Mail, Contacts และ Calendar
- เพิ่ม Youku, Tudou, Sina Weibo เข้าไปใน share sheet
OS X 10.9 (Mavericks)
แก้โอเอสเท็น 10.9 มาเวอริก แจกฟรีสำหรับผู้ใช้แมคที่ใช้ Mac OS X 10.6 Snow Leopard ขึ้นไป
- แยกระบบหนังสือออกมาจาก iTunes เป็นแอพ iBooks และให้เปิดอ่านหนังสือจาก iBooks Store บน Mac ได้
- เพิ่มแอพ Maps ระบบแผนที่ของแอปเปิล
- iCloud Keychain ระบบเก็บรหัสผ่านของเว็บต่างๆ, บัตรเครดิต, รหัส Wi-Fi และส่งไปถึงอุปกรณ์ที่คุณใช้ทุกเครื่อง
- ปรับปรุงระบบทำงานหลายหน้าจอ
- การแจ้งเตือนแบบใหม่ สามารถจัดการงานต่างๆ ผ่านการแจ้งเตือนได้เลย เช่น ตอบข้อความ, รับสาย FaceTime, ลบอีเมล
- เพิ่มระบบแท็บและแท็กให้ Finder ทำให้จัดการไฟล์ต่างๆ ได้สะดวกกว่าเดิม[15]
OS X 10.10 (Yosemite)
แก้โอเอสเท็น 10.10 โยซิมิตี้ แจกฟรีสำหรับผู้ใช้แมคที่ใช้ Mac OS X 10.6 Snow Leopard ขึ้นไป
- เปลี่ยนหน้าตาใหม่เหมือน iOS 7 ที่มีหน้าตาสวย ทันสมัย
- เพิ่ม Today ใน Notification Center และสามารถใส่ widget เพิ่มได้ โดยสามารถดาวน์โหลด widget เพิ่มได้ที่ Mac App Store
- Spotlight คลิกแล้วจะมาอยู่ตรงกลางหน้า desktop พร้อมค้นหาได้หลายที่ เช่น Wikipedia, App Store, iTunes Store, iBooks Store, เว็บไซต์ดังๆ, เวลาแสดงหนัง
- iCloud Drive ทำให้เข้าถึงไฟล์บน iCloud ได้จากทุกที่ ทั้ง Mac, iPhone, iPad และ Windows
- Safari ใช้ระบบเข้าเว็บแบบส่วนตัวเป็นรายหน้าต่างได้แล้ว, เพิ่มระบบค้นหา DuckDuckGo ที่จะไม่เก็บประวัติการค้นหาของผู้ใช้
- Mail เพิ่มระบบ Markup ที่ไว้เซ็นหรือเขียนข้อความบนรูปภาพหรือไฟล์ PDF ได้จากในแอพ Mail, Mail Drop ระบบที่มีไว้เพื่อส่งไฟล์ที่ใหญ่แต่ต้องไม่เกิน 5GB
- ระบบ Continuity ทำให้การทำงานระหว่าง iOS และ OS X ราบรื่น ซึ่งจะทำงานได้บน iOS 8 และ/หรือ OS X Yosemite ขึ้นไปเท่านั้น[16]
OS X 10.11 (El Capitan)
แก้โดยเน้นปรับปรุงตรงที่ประสบการณ์การใช้งาน (Experience) และ ประสิทธิภาพ (Proformance)
- เคอเซอร์จะใหญ่ขึ้น หากขยับเมาส์ไปเร็วๆ
- Mail เพิ่ม gesture ปัดซ้าย-ขวาที่รายการอีเมล , เพิ่มเขียนเมลหลายแท็บ
- Safari สามารถสั่ง pin site ได้ โดยการลากแท็บเข้ามาชิดขอบซ้ายมือ , เพื่มการควบคุมแท็บที่เปิดเสียงอยู่ ในขณะเล่นผ่านเสียง
- Spotlight เพิ่มข้อมูลหลายอย่าง เช่น ผลกีฬา สภาพอากาศ
- เพิ่มการจัดการหน้าต่าง , เพิ่มสามารถทำ split view (2 หน้าต่างพร้อมกัน) ได้บน Full Window
- ปรับปรุงประสิทธิภาพ ดังนี้
- โหลดแอปพลิเคชัน เร็วขึ้น 1.4 เท่า
- สลับแอปพลิเคชัน เร็วขึ้น 2 เท่า
- โหลดเขียนอีเมลครั้งแรก เร็วขึ้น 2 เท่า
- เปิดไฟล์เอกสาร (PDF) บนพรีวิว เร็วขึ้น 4 เท่า
- เพิ่ม Metal API มาใช้แทนที่ OpenCL และ OpenGL โดยจะเพิ่ม
macOS Sierra (10.12)
แก้เวอร์ชั่นนี้ เป็นเวอร์ชั่นแรกที่เปลี่ยนซื่อจาก OS X เป็น macOS เพื่อให้มีการจัดระเบียบซื่อตาม iOS , watchOS และ tvOS
- เพิ่มความสามารถบนระบบ Continuity
- ความสามารถปลดล็อกอัตโนมัติ (Auto Unlock)
- ความสามารถคัดลอกแบบข้ามอุปกรณ์ (Universal Clipboard)
- iCloud Drive สามารถซิงค์เดสก์ท็อปได้ ไฟล์ต่างๆได้
- ปรับปรุงการจัดการพื้นที่โดย
- ย้ายไฟล์เก่าๆ ขึ้น iCloud โดยอัตโนมัติ
- ลบไฟล์ที่ไม่ใช้งานโดยอัตโนมัติ เช่น แคช , ไฟล์อยู่ในถังขยะนานเกิน 60 วัน
- เพิ่ม Apple Pay ให้ใช้จ่ายบนในเว็บได้
- เพิ่มแท็บ เพื่อจัดการหน้าต่างของแอพต่างๆ
- เพิ่ม Picture in Picture แสดงวิดีโอจากเว็บเป็นกรอบขนาดเล็ก เล่นอยู่ที่มุมจอ สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้ง่าย
- เพิ่ม Siri
macOS High Sierra (10.13)
แก้เนื้อหาหลักดูที่ : แมคโอเอส ไฮ ซีเอรา
ซึ่งได้เปิดตัวมาในงาน WWDC 2017 ในวันที่ 6 มิถุนายน 2560 โดยเน้นปรับปรุงในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ โดยปรับปรุงแอพบน Safari , Mail Photos และอื่น ๆ พร้อมทั้งนี้ ยังใช้ฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์ Apple File System (APFS) เป็นค่าเริ่มต้น , รองรับวิดีโอ ที่เข้ารหัสแบบ HEVC (H.265) , Metal API เป็นเวอร์ชัน 2
macOS Mojave (10.14)
แก้เนื้อหาหลักดูที่ : แมคโอเอส โมฮาวี
macOS Mojave ได้เปิดตัวในงาน WWDC 2018 ในวันที่ 4 มิถุนายน 2561 โดยมีการเพิ่ม Dark Mode , แอปที่มีใน iOS สามารถใช้กับ macOS ได้ (เบื้องต้นมี 4 แอปพลิเคชันคือ News, Stock, Voice Memo และ Home) , รองรับ Group FaceTime , ปรับปรุงหน้าจอ Mac App Store ใหม่ , ปรับปรุงการบันทึกหน้าจอ และสามารถบันทึกหน้าจอเป็นวีดีโอได้ ในเวอร์ชันนี้จะเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่รองรับแอพแบบ 32 บิต[18]
macOS Catalina (10.15)
แก้macOS Catalina ได้เปิดตัวในงาน WWDC 2019 ในวันที่ 3 มิถุนายน 2562 โดยได้เพิ่มฟิวเจอร์ดังต่อไปนี้
- ได้ทำการแยก iTunes แตกออกเป็น 3 แอพ (โดยมี Apple Music , Podscast และ Apple TV ส่วนตัวจัดการ iPhone ไปอยู่ในที่ Finder)
- รองรับ SideCar (คือการนำเอา iPad มาเป็นหน้าจอที่สองของ macOS)
- เพิ่มฟีเจอร์สำหรับคนพิการ
- เพิ่มแอพ Find My โดยสามารถค้นหาเครื่องแมคได้ แม้ว่าเครื่องแมคนั้นปิดอยู่ หรือเครื่องจะออฟไลน์อยู่ก็ตาม พร้อมเพิ่มความสามารถ Acitivation Lock
- เพิ่ม Screen Time เพื่อช่วยจัดการใช้งานในเวลาหน้าจอ
- มาพร้อม API ใหม่ ที่สามารถนำแอพจาก iPad มาทำเป็น macOS ได้ง่ายขึ้น ในที่มีชื่อว่า Project Catalyst[19][20]
เวอร์ชั่น 11 เป็นต้นไป (ยุคหน่วยประมวลผลแอปเปิลซิลิคอน)
แก้macOS Big Sur (11)
แก้เนื้อหาหลักดูที่ : แมคโอเอส บิ๊กเซอร์
ในงาน WWDC 2020 ในวันที่ 23 มิถุนายน 2563 ได้มีการเปิดตัว macOS Big Sur ซึ่งเป็นรุ่นแรกได้ใช้เป็นเวอร์ชัน 11 โดยได้ทำการเปลี่ยนการออกแบบการเชื่อมต่อผู้ใช้ครั้งใหญ่ เพิ่มความปลอดภัยจากการเข้าใช้งานจากเบราว์เซอร์ Safari และปรับปรุงแอปพลิเคชันในแมคโอเอส นอกจากนั้น ยังเป็นรุ่นแรก ที่รองรับซีพียูบนสถาปัตยกรรม ARM แอปเปิลซิลิคอน อย่างเป็นทางการ
macOS Monterey (12)
แก้ในวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ได้เปิดตัว macOS Monterey โดยได้เพิ่มโหมดโฟกัส และสามารถกำหนดหรือเปิดโหมดโฟกัสได้ทุกอุปกรณ์ , เพิ่มคำสั่งลัด (Shortcuts) , เพิ่มแสดงจุดสีเหลืองใน Control Center หากมีการใช้ไมโครโฟนอยู่ และสามารถตั้งค่าให้ไมโครโฟน โฟกัสที่ไหนได้ , เพิ่มโหมดภาพถ่ายบุคคล , Safari เพิ่มกลุ่มแท็บใหม่ และเพิ่มการซ่อนที่อยู่ไอพีของตัวเครื่อง ทำให้ผู้ให้บริการ และเจ้าของเว็บไซต์ไม่สามารถติดตามตัวได้[21][22]
หลังจากการเปิดตัวเวอร์ชั่นนี้ ได้มีการปรับดีไซน์ของ Safari ใหม่ให้เหลือแท็บเดียว หรือ Compact (จากเดิมที่แยก URL Bar กับ Tab Bar กัน) แต่พบว่าฝั่งผู้ใช้ และผู้ทดสอบที่ใช้ในรุ่นเบต้า กลับถูกพิพากวิจารณ์ในการปรับดีไซน์ ทำให้ต้องย้อนกลับไปเป็นแบบเดิม แต่สามารถเปิดโหมดกะทัดรัด (Compact) ได้เช่นเดิม[23]
ภาษา
แก้แมคโอเอสได้มีรุ่นภาษาอื่นดังต่อไปนี้
อ้างอิง
แก้- ↑ Davis, Jim (May 11, 1998). "OS X is the future for Apple". CNET. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
- ↑ "Apple Previews Next Version of Mac OS X" (Press release). Apple. July 18, 2001. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ "Apple Previews "Jaguar", the Next Major Release of Mac OS X" (Press release). Apple. May 6, 2002. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ "Apple Previews Mac OS X "Panther"" (Press release). Apple. June 23, 2003. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ "Steve Jobs to Kick Off Apple's Worldwide Developers Conference 2004 with Preview of Mac OS X "Tiger"" (Press release). Apple. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ "Apple Executives to Preview Mac OS X "Leopard" at WWDC 2006 Keynote" (Press release). Apple. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ "Apple Previews Mac OS X Snow Leopard to Developers" (Press release). Apple. June 9, 2008. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ "Apple Gives Sneak Peek of Mac OS X Lion" (Press release). Apple. October 20, 2010. สืบค้นเมื่อ October 20, 2010.
- ↑ "Apple Releases OS X Mountain Lion Developer Preview with Over 100 New Features" (Press release). Apple. February 16, 2012. สืบค้นเมื่อ February 16, 2012.
- ↑ "Mountain Lion Available Today From Mac App Store" (Press release). Apple. July 25, 2012. สืบค้นเมื่อ July 25, 2012.
- ↑ "Live From Apple's WWDC 2013 Keynote" (Press release). TechCrunch. June 10, 2013. สืบค้นเมื่อ June 10, 2013.
- ↑ OS X Lion and Lion Server Up to Date Program
- ↑ Mac App Store
- ↑ Mountain Lion Releases; Apple Sends 'Used' Codes For Free Upgrade Customers
- ↑ NewsroomOpen Newsroom navigation Newsroom Latest News
- ↑ Latest News
- ↑ แอปเปิลเปิดตัว OS X El Capitan มาพร้อมกับฟีเจอร์แบ่งหน้าจอ Split Screen, Metal for Mac
- ↑ "เปิดตัว macOS ใหม่ "Mojave" พร้อมกับ Dark Mode และอื่นๆ" (Map). Beartai. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562.
{{cite map}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Apple เผยตัวอย่าง macOS Catalina". Apple. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "WWDC 2019 : macOS 10.15 Catalina มาแล้วพร้อมลูกเล่นใหม่เพียบ". Sanook. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Crew, iMod (2021-10-26). "macOS Monterey มาแล้ว! มีอะไรเด็ดบ้างไปชมกัน". iMoD.
- ↑ "แอปเปิลออกแบบหน้าจอ Safari ใหม่ รองรับ extension ทุกแพลตฟอร์ม | Blognone". www.blognone.com. สืบค้นเมื่อ 2024-06-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "แอปเปิลเปลี่ยนใจ ปรับดีไซน์แท็บ Safari ของ macOS 12 กลับมาใช้ดีไซน์เดิม | Blognone". www.blognone.com. สืบค้นเมื่อ 2024-06-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)