เฮอังเกียว
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เฮอังเกียว (ญี่ปุ่น: 平安京) คืออดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 794 โดยจักรพรรดิคัมมุ ในปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเกียวโต มีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศนานถึง 1074 ปี ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นโตเกียวใน ค.ศ. 1868
ประวัติ
แก้ใน ค.ศ. 784 จักรพรรดิคัมมุได้มีพระบรมราชโองการให้ย้ายเมืองหลวงจากนางาโอกะเกียวเมืองหลวงเก่าทางตอนใต้ของจังหวัดเกียวโตในปัจจุบัน มาสู่เฮอังเกียว ซึ่งใช้เวลาสร้างถึง 10 ปี เฮอังเกียวในปัจจุบันก็ยังมีรูปร่างคงสภาพอยู่เหมือนเดิม คือรูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้าแบบจีน เป็นแบบจำลองย่อส่วนจากนครฉางอานของราชวงศ์ถังตั้งอยู่ใจกลางตัวเมืองเกียวโตในปัจจุบัน กว้าง 4.5 กิโลเมตร และ ยาว 5.2 กิโลเมตร เมื่อถึงยุคกลาง ประชากรของเมืองเพิ่มมากขึ้น จึงมีการสร้างบ้านเรือนออกไปนอกพื้นที่เดิม จนในที่สุดก็กลายมาเป็นเมืองเกียวโตในปัจจุบันซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางมาก
ในยุคคามากูระและยุคเอโดะเฮอังเกียวหมดอำนาจลงเนื่องจากการปกครองได้เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามแบบประเทศจีนมาเป็นระบอบโชกุนซึ่งมีนักรบเป็นใหญ่ แต่เฮอังเกียวก็ยังมีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นและเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิเรื่อยมา แต่ในบันทึกนั้น ไม่มีการบอกว่าเฮอังเกียวนั้นเป็นเมืองหลวงเลย จนมาถึงในสมัยยุคเมจิได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่แบบตะวันตกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิซึ่งเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิในยุคนั้น จึงต้องทรงย้ายที่ประทับไปสู่เมืองหลวงใหม่โตเกียวแทน ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของเฮอังเกียวในฐานะเมืองหลวง
ชื่อ
แก้ชื่อของนคร เฮอังเกียว เป็นการดึงคำว่า เฮ ของ นครหลวงแห่งเก่าคือเฮโจเกียวมาผสมกับคำว่า อัง จากชื่อของนครฉางอาน รวมกัน
- เฮ (平) แปลว่าสงบสุข ราบเรียบ
- อัง หรือ อัน (安) แปลว่าสงบ เหมือนกับฉางอาน เมืองหล���งเก่าของจีน ซึ่งหมายความว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" (Perpetual Peace)
- เกียว (京) แปลว่าเมืองหลวง
ซึ่งถ้านำมารวมกัน จะสามารถแปลได้ว่า นครหลวงอันสงบสันติ (The City of Peace and Tranquillity)
มูลเหตุของการย้ายเมืองหลวงจากนางาโอกะสู่เฮอังเกียว
แก้ใน ค.ศ. 784 องค์จักรพรรดิมีพระบัญชาให้ย้ายเมืองหลวงจากนครเฮโจเกียว (นารา) ซึ่งถูกกุมอำนาจโดยพระสงฆ์ในศาสนาพุทธไปสู่นางาโอกะที่อยู่ทางเหนือของเฮโจเกียวประมาณ 30 ไมล์ โดยจำลองผังเมืองจากนครฉางอันเช่นเดียวกับเฮโจเกียว แต่สามารถขยายเมืองหลวงไปได้กว้างไกลว่าเฮโจเกียว โดยผู้คุมการก่อสร้างนครหลวงแห่งใหม่คือฟูจิวาระ โนะ ทาเน็ตสึงุ สมาชิกของตระกูลฟูจิวาระที่กำลังไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจ
พระราชวังหลวงและหน่วยราชการต่าง ๆ ได้ย้ายมาสู่นางาโอกะ แม้ทาเน็ตสึงุจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็บ่มเพาะศัตรูไว้มากมาย และศัตรูคนหนึ่งของเขาคือองค์ชายรัชทายาทซาวาระ พระอนุชาของจักรพรรดิคัมมุ และตระกูลบางตระกูลที่มีความแค้นกับตระกูลฟูจิวาระ ได้ปล่อยข่าวลือ (ซึ่งค่อนข้างถูกต้อง) ว่ามีตระกูลเชื้อสายจากจีนให้เสนอที่ดินที่ใช้สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ให้เพื่อแลกกับการให้ทาเน็ตสึงุสนับสนุนในราชสำนัก เพียง 1 ปีหลังจากการย้ายเมืองหลวงไปนางาโอกะ ทาเน็ตสึงุได้ถูกลอบสังหาร เชื่อกันว่าผู้จ้างวานลงมือคือองค์ชายซาวาระและตระกูลฝ่ายศัตรู
ฝ่ายฟูจิวาระใช้การถูกลอบสังหารของทาเน็ตสึงุเป็นเครื่องมือกล่าวหาจนผู้ต้องสงสัยบางคนถูกสั่งประหาร และถูกเนรเทศ องค์ชายซาวาระถูกลงทัณฑ์ด้วยการถูกคุมขังไว้ในวัด หลังจากนั้นถูกเนรเทศไปยังเกาะอาวาจิและสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นเมืองนางาโอกะ เกิดหายนะอย่างใหญ่หลวง ทั้งยังเกิดโรคระบาด สมัยนั้นเชื่อว่าเกิดจากวิญญาณอาฆาตขององค์ชายซาวาระ ใน ค.ศ. 800 สำนักราชวังจึงแต่งตั้งองค์ชายซาวาระผู้สิ้นพระชมน์ไปแล้วถึง 5 ปี ให้มีตำแหน่งพระจักรพรรดิสุโด (Sudou) เพื่อคลายความอาฆาต
จากนั้น จักรพรรดิคัมมุ จึงมีพระดำริให้ย้ายเมืองหลวงอีกครั้ง สู่หมู่บ้านเล็กที่ห่างไปทางเหนืออีก 10 ไมล์ เป็นสถานที่ที่เหมาะสมตามลักษณะฮวงจุ้ย ทั้งธาตุลม ทั้ง ธาตุน้ำ สามารถรองรับการขยายตัวของเมืองได้เป็นอย่างดี และเหตุผลทางด้านไสยศาสตร์ ที่เชื่อว่า ในนางาโอกะ กลายเป็นที่สิงสถิตย์วิญญาณอาฆาตของทั้งองค์ชายซาวาระและฟูจิวาระ ทาเน็ตสึงุ กลายเป็นที่อัปมงคล
ใน ค.ศ. 794 เป็นปีที่ย้ายไปสู่นครหลวงแห่งใหม่ สำนักพระราชวังประกาศชื่อนครหลวงแห่งนี้ว่า นครเฮอังเกียว นครหลวงแห่งความสงบสันติ และเป็นนครหลวงสืบต่อมากว่าพันปี
ดูเพิ่ม
แก้ก่อนหน้า | เฮอังเกียว | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นางาโอกะเกียว | นครหลวงของญี่ปุ่น (ค.ศ. 794–1180) |
ฟูกูฮาระเกียว | ||
ฟูกูฮาระเกียว | นครหลวงของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1180–1868) |
โตเกียว |