มณฑลเฮย์หลงเจียง
เฮย์หลงเจียง (จีน: ; พินอิน: Hēilóngjiāng) เป็นมณฑลห��ึ่งในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มณฑลเฮย์หลงเจียงมีอาณาเขตทางทิศใต้ติดกับมณฑลจี๋หลิน และทิศตะวันตกติดกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และยังติดกับประเทศรัสเซียทางทิศเหนือและทิศตะวันออก (ได้แก่ แคว้นอามูร์ แคว้นปกครองตนเองยิว ดินแดนฮาบารอฟสค์ ดินแดนปรีมอร์สกี และดินแดนซาไบคัลสกี) เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของมณฑลคือ ฮาร์บิน ในบรรดาเขตการปกครองระดับมณฑลของจีน มณฑลเฮย์หลงเจียงมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ
มณฑลเฮย์หลงเจียง 黑龙江省 | |
---|---|
การถอดเสียงชื่อมณฑล | |
• ภาษาจีน | เฮย์หลงเจียงเฉิ่ง (黑龙江省 Hēilóngjiāng Shěng) |
• อักษรย่อ | HL / เฮย์ (黑 Hēi) |
ภูมิทัศน์ของทะเลสาบจิ้งพัว | |
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเฮย์หลงเจียง | |
พิกัด: 48°N 129°E / 48°N 129°E | |
ตั้งชื่อจาก | เฮย์ (黑 hēi) — ดำ หลง (龙 lóng) — มังกร เจียง (江 jiāng) — แม่น้ำ แม่น้ำมังกรดำ (แม่น้ำอามูร์) |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | ฮาร์บิน (ค.ศ. 1954–ปัจจุบัน) ฉีฉีฮาร์ (ค.ศ. 1949–1953) |
จำนวนเขตการปกครอง | 13 จังหวัด, 130 อำเภอ, 1,274 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | จาง ชิ่งเหว่ย์ (张庆伟) |
• ผู้ว่าการ | หวาง เหวินเทา (王文涛) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 454,800 ตร.กม. (175,600 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 6 |
ความสูงจุดสูงสุด | 1,690 เมตร (5,540 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2010)[2] | |
• ทั้งหมด | 38,312,224 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 15 |
• ความหนาแน่น | 84 คน/ตร.กม. (220 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 28 |
ประชากรศาสตร์ | |
• องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ | ฮั่น: 95% แมนจู: 3% เกาหลี: 1% มองโกล: 0.4% หุย: 0.3% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษาจีนกลางตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาษาจีนกลางจี้หลู่, ภาษาจีนกลางเจียวเหลียว |
รหัส ISO 3166 | CN-HL |
GDP (ค.ศ. 2017)[3] | 1.62 ล้านล้านเหรินหมินปี้ 239.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 21) |
• ต่อหัว | 42,699 เหรินหมินปี้ 6,324 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 25) |
HDI (ค.ศ. 2018) | 0.747[4] (สูง) (อันดับที่ 12) |
เว็บไซต์ | www |
ชื่อของมณฑลมาจากชื่อแม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดในมณฑล แม่น้ำเฮย์หลง (ชื่อจีนของแม่น้ำอามูร์) ซึ่งเป็นอาณาเขตระหว่างประเทศจีนและรัสเซีย มณฑลเฮย์หลงเจียงมีทั้งจุดเหนือที่สุด (ในนครมั่วเหอ ริมแม่น้ำอามูร์) และจุดตะวันออกสุดของของประเทศจี (ตรงจุดบรรจบของแม่น้ำอามูร์กับแม่น้ำอุสซูรี)
มณฑลเฮย์หลงเจียงมีการผลิตทางการเกษตรและวัตถุดิบที่สำคัญ เช่น ไม้ซุง น้ำมัน และถ่านหิน[5]
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้มณฑลเฮย์หลงเจียงมีพื้นที่ติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศรัสเซีย
- ทิศใต้ ติดต่อกับ มณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศรัสเซีย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ประเทศจีน
ภูมิประเทศ
แก้ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่สูง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้เป็นพื้นที่ต่ำ ทรัพยากร มีพื้นที่ป่าปกคลุม 191,900 ตร.กม. เป็น 41.9% ปริมาณสะสมและการผลิตป่าไม้เป็นอันดับ 1 ของจีน ยังมีพื้นที่ทุ่งหญ้า 43,300 ตร.กม.
ภูมิอากาศ
แก้รับอิทธิพลจากลมมรสุมแบบภาคพื้นทวีประหว่างเขตหนาวและอบอุ่น
เศรษฐกิจ
แก้เกษตรกรรม มีการผลิตธัญพืชที่สำคัญได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด มันฝรั่ง ข้าวเจ้า อุตสาหกรรม มณฑลเฮยหลงเจียงมีอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย[ต้องการอ้างอิง] เป็นฐานสำคัญของอุตสาหกรรมพลังงานของจีน นอกจากถ่านหินแล้ว ยังมีพลังงานไฟฟ้าและแก๊ส สถานีไฟฟ้าขนาดเล็กและใหญ่ในมณฑลมีเกือบ 200 แห่ง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าสูงถึง 1,400 ล้านเมกกะวัตต์/ชั่วโมง
การคมนาคม
แก้ทางรถไฟ มีทางรถไฟสายหลักถึง 60 สายในมณฑลเฮยหลงเจียง รวมกับเส้นทางย่อยมีความยาวทั้งสิ้นกว่า 5,300 กิโลเมตร โดยมีทางรถไฟสาย สุยเฟินเหอ - ฮาเอ่อร์บินหรือฮาร์บิน (ในมณฑลเฮยหลงเจียง)- หม่านโจวหลี่ (ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน) เป็น สะพานแผ่นดินใหญ่
ทางหลวง ปี 2000 เส้นทางหลวงทั้งสิ้นกว่า 50,000 กิโลเมตร
การบินพลเรือน ปัจจุบันเฮย์หลงเจียงเปิดเส้นทางบิน 58 เส้นทาง เป็นเส้นทางบินภายในประเทศ 51 เส้นทาง ระหว่างประเทศ 6 เส้นทาง และเป็นเส้นทางสายพิเศษ สนามบินฮาร์บินยังเป็น 1 ใน 8 สนามบินใหญ่ของประเทศด้วย สามารถรองรับการเข้าออกของเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่จากรัสเซีย และเมืองสำคัญ ในประเทศ อาทิ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว(กวางเจา) เซิ่นหยัง ซีอัน อูหลู่มู่ฉี เป็นต้น
เขตการปกครอง
แก้มณฑลเฮย์หลงเจียงแบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดทั้งหมด 13 แห่ง แบ่งเป็น 12 นครระดับจังหวัด และ 1 จังหวัด ได้แก่
☐ เขตเจียเก๋อต๋าฉี และเขตซงหลิ่ง
ในทางพฤตินัยขึ้นอยู่กับจังหวัดต้าซิงอานหลิ่ง แต่ทางนิตินัยเป็นส่วนหนึ่งของ กองธงปกครองตนเองโอโรเชน เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน |
- นครฮาร์บิน (จีน: 哈尔滨市; พินอิน: Hā'ěrbīn Shì)
- นครฉีฉีฮาร์ (จีน: 齐齐哈尔市; พินอิน: Qíqíhā'ěr Shì)
- นครจีซี (จีน: 鸡西市; พินอิน: Jīxī Shì)
- นครเฮ่อกั่ง (จีน: 鹤岗市; พินอิน: Hègǎng Shì)
- นครชวันยาชาน (จีน: 双鸭山市; พินอิน: Shuāngyāshān Shì)
- นครต้าชิ่ง (จีน: 大庆市; พินอิน: Dàqìng Shì)
- นครอีชุน (จีน: 伊春市; พินอิน: Yīchūn Shì)
- นครเจียมู่ซี (จีน: 佳木斯市; พินอิน: Jiāmùsī Shì)
- นครชีไถเหอ (จีน: 七台河市; พินอิน: Qītáihé Shì)
- นครหมู่ตานเจียง (จีน: 牡丹江市; พินอิน: Mǔdānjiāng Shì)
- นครเฮย์เหอ (จีน: 黑河市; พินอิน: Hēihé Shì)
- นครสุยฮว่า (จีน: 绥化市; พินอิน: Suíhuà Shì)
- จังหวัดต้าซิงอานหลิ่ง (จีน: 大兴安岭地区; พินอิน: Dàxīng'ānlǐng Dìqū)
เขตการปกครองระดับจังหวัดทั้ง 13 แห่งนี้ แบ่งย่อยอีกเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ ทั้งหมด 128 แห่ง (แบ่งเป็น 65 เขต, 20 นครระดับอำเภอ, 42 อำเภอ, และ 1 อำเภอปกครองตนเอง) และแบ่งย่อยอีกเป็นเขตการปกครองระดับตำบล 1,284 แห่ง (แบ่งเป็น 473 เมือง, 400 ตำบล, 58 ตำบลชาติพันธุ์, และ 353 แขวง)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Doing Business in China – Survey". Ministry Of Commerce – People's Republic Of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2013. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
- ↑ "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
- ↑ 黑龙江省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Heilongjiang on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Heilongjiang Bureau of Statistics. 2018-04-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
- ↑ "Sub-national HDI" (PDF). 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
- ↑ "Heilongjiang and China's Food Security". Stratfor. 2012-03-05. สืบค้นเมื่อ 2019-10-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มณฑลเฮย์หลงเจียง
- เว็บไซต์มณฑลเฮย์หลงเจียง
- มหาวิทยาลัยนานาชาติเฮย์หลงเจียง เก็บถาวร 2021-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน