เอ็มบีเคเซ็นเตอร์

ศูนย์การค้าในกรุงเทพมหานคร
(เปลี่ยนทางจาก เอ็ม บี เค)

ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (อังกฤษ: MBK Center) เดิมชื่อ ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ (อังกฤษ: Mahbunkhrong Center) เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการในชื่อ ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อศูนย์การค้าเป็นเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ และ ดำเนินงานโดยบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) บนพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในเป็นบริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของสี่แยกปทุมวัน ในย่านสยาม มีพื้นที่ใช้ทั้งหมด 270,685.57 ตารางเมตร ซึ่งส่วนหนึ่งจัดเป็นพื้นที่เช่าค้าขาย จำนวนกว่า 2,500 ร้านค้า โดยมีสินค้าและบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ นับเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกของประเทศไทยที่มีศูนย์อาหารฟู้ดคอร์ท[3]

ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์
MBK Center
ภาพภายนอกของศูนย์การค้าในปี 2566
แผนที่
ที่อยู่444 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เปิดให้บริการ7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 (ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์)
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 (ไฟไหม้) (ปรับปรุงครั้งแรก)
พ.ศ. 2542 (ปรับปรุงครั้งที่ 2)
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 (ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์)
พ.ศ. 2559 (ปรับปรุงครั้งที่ 3)
21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (ดอง ดอง ดองกิ)
ชื่อเดิมศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2543)
จุฬาคอมเพล็กซ์ (ชื่อโครงการในช่วงก่อสร้างอาคาร)
ผู้พัฒนาบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)
พื้นที่ชั้นขายปลีก89,000 ตารางเมตร
จำนวนชั้น8 ชั้น
ขนส่งมวลชน สนามกีฬาแห่งชาติ
บริษัท
ชื่อทางการค้า
บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)
ชื่อเดิม
  • บจก.มาบุญครองอบพืชและไซโล
  • บจก.เอ็มบีเคพรอพเพอร์ตีส์แอนด์ดีเวลอปเมนต์
  • บมจ.เอ็มบีเคพรอพเพอร์ตีส์แอนด์ดีเวลอปเมนต์
  • บมจ.เอ็มบีเคดีเวลอปเมนต์
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:MBK
อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
รูปแบบพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ก่อตั้ง25 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
��ู้ก่อตั้งศิริชัย บูลกุล
สำนักงานใหญ่ชั้น 8 เอ็มบีเคเซ็นเตอร์
444 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร[1]
บุคลากรหลัก
บริการ
  • ศูนย์การค้า
  • โรงแรมและการท่องเที่ยว
  • อสังหาริมทรัพย์
  • อาหาร
  • การเงิน
  • การประมูล
  • ธุรกิจสนันสนุนองค์กร
เว็บไซต์www.mbk-center.co.th
เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ โซนเอ (Atrium)

ประวัติ

แก้

บริษัท มาบุญครองอบพืชและไซโล จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[4]  ดำเนินกิจการให้บริการพัก เก็บ อบ และขนถ่ายผลิตผลทางการเกษตร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อนุมัติให้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต เมื่อปี พ.ศ. 2521[4]

จุดเริ่มต้นของของพื้นที่หมอน 51 ในช่วงปี 2516-2518 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแนวคิดในการสร้างคอมเพล็กซ์ เพราะมองว่าอาคารพาณิชย์รับคนไม่ได้มาก[5] ในปี พ.ศ. 2526 บริษัทฯ ดำเนินการเช่าที่ดินบริเวณสี่แยกปทุมวันกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก่อสร้างโครงการ ในตอนแรกนั้นใช้ชื่อว่า จุฬาคอมเพล็กซ์[6] ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ จนกระทั่งแล้วเสร็จและศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ เปิดบริการเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์ทรงไปเปิดศูนย์การค้า[4] และศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ นับเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ผนังอาคารทั้งหลัง บุด้วยหินอ่อนทั้งภายนอกและภายใน ทว่าบริษัทฯ ขอยุติการเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต เมื่อปี พ.ศ. 2530[4]

ต่อมาปี พ.ศ. 2533 มีการเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร[4] พร้อมทั้งชื่อใหม่เป็นบริษัท เอ็มบีเค พรอพเพอร์ตีส์ แอนด์ ดีเวลอปเมนต์ จำกัด ซึ่งเข้าจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2537 เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2539 โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า MBK-PD และเริ่มซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน ปีเดียวกัน[7]

ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เปลี่ยนชื่อศูนย์การค้าจากมาบุญครอง เซ็นเตอร์ เป็น เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงอาคาร โดยเปลี่ยนวัสดุผนังภายนอก และปรับปรุงทางหนีไฟ จากนั้น ดำเนินการเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ อีกสองครั้ง��ป็นบริษัท เอ็ม บี เค ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และเป็น บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) รวมทั้งเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์เป็น MBK เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546[7]

ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 บมจ.เอ็มบีเค ได้รวมตัวกับสยามพิวรรธน์ในนามวันสยาม และกลุ่มธุรกิจสยามสแควร์ ภายใต้การกำกับดูแลโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งสมาคมการค้าพลังสยามขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าในย่านสยามให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก[8][9] จากนั้น บมจ.เอ็มบีเค ก็ได้รับเงินจำนวน 1,000 ล้านบาท ในการใช้ปรับปรุงเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ให้ทันสมัยขึ้น โดยปรับปรุงแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2559[10][11]

การจัดสรรพื้นที่

แก้
 
ดอง ดอง ดองกิ

เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์การค้าครบวงจรภายใต้ Concept “One Stop Shopping” ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 23 ไร่ โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้

  • Cool Shop ร้านค้าในเครือ ไอ.ซี.ซี,โอ.ซี.ซี และร้านซูรุฮะ
    • ห้างสรรพสินค้า At First
  • ดอง ดอง ดองกิ สร้างบนพื้นที่เดิมของห้างสรรพสินค้าโตคิว โดยเป็นสาขาแรกในกรุงเทพมหานครที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง[12]
  • ร้านค้าในกลุ่มเซ็นทรัล
    • ท็อปส์
    • ซูเปอร์สปอร์ต แฟคทอรี เอาท์เล็ต
  • เซเว่น อีเลฟเว่น
    • คัดสรร เบเกอรี่ แอนด์ คอฟฟี่ โดยเซเว่น
  • สำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์[13] และสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปทุมวัน[14] กรมการกงสุล
  • จุดบริการด่วนมหานคร สำนักงานเขตปทุมวัน[15] (ย้ายมาจากสถานีสยาม[16])
  • ศูนย์อาหารฟู้ด เลเจนส์ บาย เอ็มบีเค
  • ทีทีเอ สเปซ บาย ดราฟท์บอร์ด[17]
  • เอสเอฟ ทาวน์
    • โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า จำนวน 8 โรงภาพยนตร์ สาขาแรกของเอสเอฟ ซีเนม่า โดยสร้างบนพื้นที่เดิมของเอ็มบีเค ฮอลล์ ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ Zigma CineStadium by C2 และซีเนคาเฟ่ (CineCafe) รูปแบบละ 1 โรง
    • อะนิเมท
    • มาเนะคิเนโกะ คาราโอเกะ
    • เกมเซ็นเตอร์
      • ฮีโร่ ซิตี้ เกมเซ็นเตอร์
      • Active-Z เกมเซ็นเตอร์
      • EX-10 เกมเซ็นเตอร์
  • โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส
    • ดิ โอลิมปิก คลับ
  • อาคารสำนักงานเอ็มบีเค

โดยมีสะพานลอยปรับอากาศเชื่อมศูนย์การค้ากับสยามสแควร์ผ่านอลาอาร์ตและสยามสเคปและไปเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และสะพานลอยเชื่อมไปยังคณะสหเวชศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พื้นที่จัดสรรในอดีต

แก้
  • ห้างสรรพสินค้าโตคิว (ห้างสรรพสินค้าโตคิว เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ เป็นสาขาที่ 2 ที่ย้ายมาจากสาขาอาคารศรีวราทาวเวอร์ รัชดาภิเษก ปัจจุบันคืออาคารซีดับเบิลยูและเปิดกิจการในประเทศไทย โดยประกาศยุติการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและปิดให้บริการเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 และต่อมาถูกปรับปรุงเป็น ดอง ดอง ดองกิ สาขาที่ 4 ในประเทศไทยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
  • เอ็มบีเค ฮอลล์ (ฮอลล์จัดคอนเสิร์ตบนพื้นที่ชั้น 7 บริเวณโดมสีทองกลางอาคาร ปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2542 และต่อมาถูกปรับปรุงเป็นโรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2542)
  • สวนสนุกแดนเนรมิต (ลานสวนสนุกบนดาดฟ้าชั้น 8 ของศูนย์การค้าโดยซื้อเครื่องเล่นต่อจากสวนสนุกแฮปปี้แลนด์ ปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เพราะเหตุไฟไหม้ของศูนย์การค้าและต่อมาถูกปรับปรุงเป็นอาคารสํานักงานเอ็มบีเค)
  • ดิจิตอลไลฟ์ สตูดิโอ โดยบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (ย้ายมาจากเอ็มควอเทียร์ และปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[18] ต่อมาถูกปรับปรุงเป็นอนิไทม์ เอ็มบีเค เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2567)
    • บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต คาเฟ่ (ย้ายมาจากเดอะมอลล์ บางกะปิ และสร้างบนพื้นที่เดิมของไทย-เดนมาร์ก มิลค์แลนด์)[19]

อ้างอิง

แก้
  1. รายละเอียดบริษัท/หลักทรัพย์เซ็ทเทรดดอตคอม
  2. MBK แต่งตั้ง วิจักษณ์ ประดิษฐวณิช นั่งแท่น CEO คนใหม่ สานต่อความแข็งแกร่ง
  3. https://pmcu.co.th/wp-content/uploads/2017/12/100-pee-cu-small-for-web-download.pdf
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "ประ���ัติเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ (หน้าเว็บเก่า)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-11. สืบค้นเมื่อ 2011-12-11.
  5. "PMCU History". PMCU.
  6. https://pmcu.co.th/wp-content/uploads/2017/12/100-pee-cu-small-for-web-download.pdf 100 ปีจุฬา
  7. 7.0 7.1 ประวัติเอ็มบีเค เซ็นเตอร์
  8. "3 ยักษ์ค้าปลีก ผนึก 'พลังสยาม' เทียบชั้นมหานครใหญ่". วอยซ์ทีวี. 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน "ย่านสยาม" ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า". สมาคมการค้าพลังสยาม. 2015-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  10. "รู้หรือไม่ "MBK Center" เคยเป็นศูนย์การค้าแบรนด์เนม และเผยภารกิจใหญ่กับการเพิ่มลูกค้าไทย". Brand Buffet. 2016-09-13. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "[SR] โฉมใหม่รับปีใหม่ : ไปถ่ายไฟที่ MBK Center กัน !! … ลุยยยย !!". พันทิป.คอม. 2016-12-31. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. kaset (2022-10-20). "ดองกิ MBK ประกาศเปิด 24 ชั่วโมง เริ่ม 21 ต.ค.นี้เป็นต้นไป". ประชาชาติธุรกิจ.
  13. Insight, The Bangkok. "รอเลย!! 'กรมการกงสุล' เปิดสำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์เต็มรูปแบบ ที่ เอ็มบีเค 1 มี.ค. นี้ | The Bangkok Insight". LINE TODAY.
  14. "ทำพาสปอร์ตได้แล้ว สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์". ryt9.com.
  15. Sentangsedtee (2022-09-07). "จุดบริการด่วนมหานคร สนง.เขตปทุมวัน สะดวกง่ายๆ ที่ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์". เส้นทางเศรษฐี. สืบค้นเมื่อ 2023-02-23.
  16. 8 จุดบริการด่วนมหานคร Bangkok Express Sevice ทำบัตรประชาชน
  17. Center, M. B. K. "เปลี่ยน Work from home มา Work from here ชิลๆ กับ TTA Space by DraftBoard@เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ นั่งทำงานก็สะดวกสบาย คุยงานก็เพลิน Co-Working Space กลางกรุง ติดรถไฟฟ้า | MBK Center". mbk-center.co.th.
  18. 'เอ็มบีเค เสริมทัพแม่เหล็กฉีกออนไลน์หวังดึงลูกค้า'
  19. 'พาส่องความเปลี่ยนแปลง BNK48 Cafe จากเดอะมอลล์บางกะปิสู่ข้างตู้ปลา MBK'

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°44′40″N 100°31′49″E / 13.744471°N 100.530288°E / 13.744471; 100.530288