เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน

เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส-พาลิโอจีน เกิดขึ้นเมื่อราว 66 ล้านปีก่อน[1] เป็นหนึ่งในการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก การสูญพันธุ์ครั้งนี้เกิดหลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคไทรแอสสิก-จูแรสสิก ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ซึ่งกวาดล้างสิ่งมีชีวิตไปกว่า 70% หรือประมาณ 3 ใน 4 ของสายพันธุ์ทั้งหมดบนโลก[2][1][3]รวมถึงพวกไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ และสัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล[ต้องการอ้างอิง] สาเหตุการสูญพันธุ์ในครั้งนี้นั้นได้มีการสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากอุกกาบาตที่พุ่งชนโลกบริเวณคาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก

ภาพจำลองเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งเข้าชนโลก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งนี้

ทฤษฎีต่าง ๆ ที่อธิบายการสูญพันธุ์

แก้
  • ทฤษฎีอุกกาบาตชนโลก เป็นทฤษฎีที่น่าเชื��อถือที่สุด โดยสาเหตุของทฤษฎีนี้ เพราะว่ามีการค้นพบหลุมอุกกาบาต ขนาด 10 กม. ในบริเวณแหลมยูกาตัน ประเทศเม็กซิโก และนอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอิริเดียม ที่พบมากในอุกกาบาต ในบริเวณแหลมยูกาตันด้วย ซึ่งแร่ธาตุอิริเดียม พวกนี้อาจมาจากอุกกาบาตที่พุ่งชนโลก ในบริเวณนั้น
  • ทฤษฎีภูเขาไฟระเบิด เป็นทฤษฎีที่น่าเชื่อถือเช่นเดียวอุกกาบาตพุ่งชนโลก ซึ่งภูเขาไฟทั่วโลกอาจระเบิดพร้อมกัน ทำให้พืชที่ไดโนเสาร์กินพืชกินนั้นเป็นพิษเมื่อมันกินเข้าไป ทำให้พวกไดโนเสาร์กินพืชต่างล้มตาย และเมื่อพวกกินเนื้อไม่มีอาหารคือพวกกินพืช พวกมันก็ล่ากันเอง จนสูญพันธุ์ในที่สุด
  • ทฤษฎีอากาศหนาวขึ้นและการเปลี่ยนแปลงกะทันหันของสภาพแวดล้อม โดยฤดูกาลในโลกอาจเปลี่ยนแปลง ทำให้มีหิมะตก จนอากาศหนาวขึ้น และเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง พวกสัตว์อาจปรับตัวไม่ทันและสูญพันธุ์ในที่สุด
  • ทฤษฎีไข่ถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขโมย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินไข่อาจเพิ่มจำนวนขึ้น และเข้าไปกินไข่ของสัตว์อื่น แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นสัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเลพวกอิกธีโอซอร์ ที่ไม่วางไข่บนบกจะไม่สูญพันธุ์ รวมทั้งแอมโมไนต์ ปลาในมหายุคมีโซโสอิคด้วย[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Renne, Paul R.; Deino, Alan L.; Hilgen, Frederik J.; Kuiper, Klaudia F.; Mark, Darren F.; Mitchell, William S.; Morgan, Leah E.; Mundil, Roland; Smit, Jan (7 February 2013). "Time Scales of Critical Events Around the Cretaceous-Paleogene Boundary" (PDF). Science. 339 (6120): 684–687. Bibcode:2013Sci...339..684R. doi:10.1126/science.1230492. PMID 23393261. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-07. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  2. "International Chronostratigraphic Chart". International Commission on Stratigraphy. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2014. สืบค้นเมื่อ 29 April 2015.
  3. Fortey, Richard (1999). Life: A Natural History of the First Four Billion Years of Life on Earth. Vintage. pp. 238–260. ISBN 978-0-375-70261-7.

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้