เพลงเถา
เพลงเถาเป็นเพลงไทยประเภทหนึ่ง โดยลักษณะการบรรเลงนั้นจะเริ่มจากอัตราจังหวะสามชั้น สองชั้น จนถึงชั้นเดียวตามลำดับ
เพลงเถากำเนิดในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีวิวัฒนาการจากการเล่นเสภาและการเล่นสักวา
ประเภทของเพลงเถา
แก้เพลงเถาสามารถแบ่งได้ตามที่มาดังนี้
- เพลงเถาที่มาจากเพลงสองชั้นเดิม นำมาขยายเป็นสามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว เพลงประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุด เช่น เพลงแขกมอญ เถา เพลงเขมรพวง เถา ฯลฯ
- เพลงเถาที่มาจากเพลงสามชั้นเดิม ภายหลังได้นำมาตัดลงเป็นสองชั้นและชั้นเดียวจนครบเถา เช่น เพลงนางครวญ เถา เพลงสุดสงวน เถา เพลงแขกบรเทศ เถา ฯลฯ
- เพลงเถาที่มาจากเพลงชั้นเดียวเดิม และได้นำมาขยายเป็นสองชั้นและสามชั้น เช่น เพลงไส้พระจันทร์ เถา ฯลฯ
- เพลงเถาที่แต่งใหม่ทั้งเถา เพลงประเภทนี้มีจำนวนน้อยมาก เช่น เพลงสุดาสวรรค์ ฯลฯ[1]
อัตราจังหวะในเพลงไทย
แก้อัตราจังหวะในเพลงไทยเดิมแบ่งได้สามอัตราดังนี้[2]
- อัตราจังหวะสามชั้น เป็นอัตราจังหวะที่ช้าที่สุดในบรรดาอัตราจังหวะทั้งสาม โดยผู้ที่ประพันธ์เพลงไทยอัตราจังหวะสามชั้นนั้นคือพระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร)
- อัตราจังหวะสองชั้น เป็นอัตราจังหวะที่ดำเนินไปในลักษณะกลางๆ ไม่ช้าและไม่เร็ว ครูเพลงส่วนใหญ่นิยมนำเพลงสองชั้นใช้ในการบรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงโขนและละคร
- อัตราจังหวะชั้นเดียว เป็นอัตราจังหวะที่ดำเนินรวดเร็วและสั้น เพลงเกร็ดบางเพลงรวมทั้งเพลงหางเครื่องก็ใช้อัตราจังหวะนี้ๅ
นอกจากนี้ยังมีอัตราจังหวะสี่ชั้นและครึ่งชั้น ปัจจุบันไม่นิยมเล่นแล้ว เนื่องจากอัตราจังหวะสี่ชั้นนั้นจะยาวเกินไป ส่วนอัตราจังหวะครึ่งชั้นนั้นสั้นเกินไป และมีเพียงบางเพลงเท่านั้นที่มีการประพันธ์ขึ้นเป็นอัตราจังหวะสี่ชั้น และครึ่งชั้น ในบางครั้งจะบรรเลงในอัตราจังหวะทั้งสองนี้เพื่ออวดทางเพลงหรืออวดฝีมือกันเป็นส่วนใหญ่
อ้างอิง
แก้- ↑ เพลงเถา@ปฎากรณ์ดุริยางค์ๅ เว็บไซต์ดนตรีไทย ปฎากรณ์ดอตคอม
- ↑ "โรงเรียนพาทยกุลการดนตรีและนาฏศิลป์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.