เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี
เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี (เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2495) เป็นอาจารย์สอนสถาปัตยกรรมไทย ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี | |
---|---|
เกิด | 6 มกราคม พ.ศ. 2495 จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
อาชีพ | สถาปนิก อาจารย์ |
คู่สมรส | รศ. แจ่มใส สุวรรณศักดิ์ศรี |
ประวัติและการศึกษา
แก้เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2495 หรือที่รู้จักกันในนาม อาจารย์เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี เป็นศิษย์รุ่นแรกของศิลปินแห่งชาติ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 เผ่าได้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมไทยเช่นกัน เผ่าเป็นนิสิตเก่าดีเด่น ปี 2549[1] และอาจารย์ดีเด่นของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] เขาดำรงตำแหน่งอนุสาสกหอพักนิสิตชาย ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างยาวนาน มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 จนถึงปี พ.ศ. 2559 [3] จนเป็นที่รักและเคารพจากนิสิตเก่า จุฬาฯจากหลายพื้นที่ [4] เผ่าสมรสแล้วกับ รศ.แจ่มใส สุวรรณศักดิ์ศรี อาจารย์ที่คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ โรงเรียนจารุพันธ์พิทยา, โรงเรียนสงเคราะห์ศึกษา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อ.เมืองอุบลราชธานี จ. อุบลราชธานี และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างปี พ.ศ .2514 - 2518 รุ่นเดียวกับ รศ. ดร. ทิพย์สุดา ปทุมานนท์, ดร.ดุษฎี ทายตะคุ, นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ จากนั้นสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีอีกใบหนึ่ง เป็นบัณฑิตรุ่นแรกของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการงานก่อสร้าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การทำงาน
แก้อาจารย์เผ่า เริ่มการทำงานในตำแหน่ง สถาปนิก ที่กองควบคุม การเคหะแห่งชาติ และบริษัท สยามกลการ จำกัด ซึ่งที่นั่นทำให้มีโอกาสร่วมทำงานกับศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติอีกท่านหนึ่ง ต่อมาด้วยความที่เป็นคนสมัย 14 ตุลาเมื่อครั้งยังศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความคิดที่ต้องการจะทำงานรับใช้ประเทศชาติ จึงมาสมัครเข้ารับราชการใน ตำแหน่งอาจารย์ แผนกวิชาช่าง��่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในปี 2521 ตำแหน่งสถาปนิก กองอาคารและสถานที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี 2522 และในปี 2524 เข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมงานกับ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรีอีกครั้ง จนถึงทุกวันนี้ ใน พ.ศ. 2557 เขาเข้าร่วมกับกปปส.ชุมนุมประท้วงกดดันให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากความเป็นหัวหน้ารัฐบาล[5]
ผลงาน
แก้อาจารย์เผ่ามีแนวคิดในการสร้างสรรผลงานโดยออกแบบอาคารสถาปัตยกรรมไทย ต้องรักษาสัดส่วนและรายละเอียดที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างเหมาะสม อาจารย์เคยกล่าวไว้ว่า
..ผมเชื่อว่าสถาปัตยกรรมไทยจะมีอายุยืนยาวต่อไปได้..[6]
ผลงานในงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีของอาจารย์มีมากมาย เช่น
- งานออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง อาคารคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- งานออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง ตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารเรียนปริยัติธรรม วัดหนองแขม ซอยเพชรเกษม ๘๑ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
- งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศาลาอเนกประสงค์(ศาลา สง่า–ทองอยู่ นาควัชระ) วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
- งานออกแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
- งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เรือนรัชพร โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)
- งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง หอพระประจำโรงเรียน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)
- งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
- งานออกแบบปรับปรุงซ่อมแซมและควบคุมการก่อสร้างอาคารคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เรือนไทยของคุณสุวรรณาอาริยพัฒนกุล คลอง ๑๒ อ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี
- งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้างวิหารพระพุทธโลกนารถบพิตร วัดพระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่
- งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พระอุโบสถ วัดหลักสาม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
- งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารบรรจุอัฐิ และรูปหล่อท้าวสุรนารี วัดศาลาลอย อ.เมือง จ.นครราชสีมา
- งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พระอุโบสถ วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
- งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง หอกลอง หอระฆัง วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
- งานออกแบบและติดตามงานก่อสร้าง ศาลาไทยหน้าหอประชุม กองทัพเรือ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
- งานออกแบบวิหารรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดปทุมวนาราช ราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
- งานออกแบบศาลา ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
- งานออกแบบศาลาบูรพาจารย์ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
- งานออกแบบอาคารธรรมสถาน ในมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย อ. ศาลายา จ.นครปฐม
- บทความทางวิชาการในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย หลายฉบับ
- หนังสือ การเขียนแบบ 3 มิติโครงสร้างไม้ ISBN 9789740324935
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัตินิสิตเก่าดีเด่น คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ
- ↑ คำประกาศเกียรติคุณ อาจารย์ดีเด่นระดับหน่วยงาน ประจำปี ๒๕๔๘
- ↑ "ทำเนียบอนุสาสกหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-03. สืบค้นเมื่อ 2011-02-05.
- ↑ เว็บไซต์ซีมะโด่ง หอพักนิสิตจุฬาฯ
- ↑ 180314 อาจารย์เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรีและกลุ่มอุบลรักชาติ
- ↑ ข่าวศิลปินแห่งชาติ ปี 2553 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน หน้า 16 วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๒, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่���งราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๓๑, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๑๔, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗