เบลีซแบร์ริเออร์รีฟ

เบลีซแบร์ริเออร์รีฟ เป็นแนวปะการังที่มีชีวิตอยู่ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เทือกปะการังนี้มีความยาว 300 กิโลเมตรตามแนวคาบสมุทรยูกาตัน[1] ระบบนิเวศที่หลากหลายนี้ เริ่มนับตั้งแต่ทางตอนเหนือของเบลีซ ที่ติดกับเม็กซิโก ไล่ยาวไปจนถึงตอนใต้ที่ติดกับกัวเตมาลา รวมความยาวได้ประมาณ 300 กิโลเมตร นอกจากพืดหินปะการัง เขตอนุรักษ์นี้ยังมีเกาะปริ่มน้ำ 450 เกาะ และมีเกาะปะการังวงแหวนอีกสามเกาะ ซึ่งก็คือพืดหินปะการังรูปวงแหวนที่ล้อมรอบทะเลสาบน้ำเค็ม มีพื้นที่รวมกันทั้งหมด 960 ตารางกิโลเมตร หรือ 600,000 ไร่ ได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษภายใต้อนุสัญญามรดกโลก โดยบริเวณที่ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกมีตั้งแต่แนวปะการังใต้น้ำ ทะเลสาบ ปากแม่น้ำ ป่าชายเลน เกาะที่เกิดจากหินปะการัง หาดทราย รวมถึงพื้นที่ชายฝั่ง แนวปะการังแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก โดยถือว่าเป็นแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของโลก รองจากเกรตแบร์ริเออร์รีฟในออสเตรเลีย และเบลีซแบร์ริเออร์รีฟยังเป็นแนวปะการังที่ขนาดใหญ่และอุดมสมบูรณ์ที่สุดในซีกโลกเหนือและซีกโลกตะวันตก

ระบบอนุรักษ์เทือกปะการังเบลีซ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
เกรตบลูโฮล
พิกัด17°15′55.4″N 88°02′56.6″W / 17.265389°N 88.049056°W / 17.265389; -88.049056
ประเทศ เบลีซ
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(vii), (ix), (x)
อ้างอิง764
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1996 (คณะกรรมการสมัยที่ 20)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

สปีชีส์

แก้
 
แมนนาทีอินเดียตะวันตก

เบลีซแบร์ริเออร์รีฟเป็นบ้านที่มีขนาดใหญ่ของพืชและสัตว์ และยังเป็นสถานที่ที่มีระบบนิเวศหลากหลายแห่งหนึ่งของโลก

ตัวอย่างสปีชีส์ที่พบ

แก้

อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 10 ของแนวปะการังเท่านั้นที่ได้รับการสำรวจ อีกร้อยละ 90 ยังคงไม่ได้รับการสำรวจ จึงมีโอกาสพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ได้ตลอดเวลา

หลักเกณฑ์การพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก

แก้

(vii) : การเกิดแนวปะการัง ต้องใช้ระยะเวลานับล้านปี เพราะแนวปะการังคือปะการังและสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตในทะเลต่าง ๆ เช่น หอยที่มีเปลือกแข็ง สาหร่ายหินปูน มารวมกัน โดยปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด โดยวิธีการเกิดแนวปะการังของเบลีซนี้ แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการสำคัญต่าง ๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก

(ix) : ด้วยความที่เบลีซแบร์ริเออร์รีฟ เป็นแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในซีกโลกเหนือ มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งบนชายฝั่งและใต้ทะเล ซึ่งความโดดเด่นของปะการังเบลีซนี้มี เอกลักษณ์ หายาก สวยงามแปลกตาเป็นพิเศษ

(x): เบลีซแบร์ริเออร์รีฟเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์และพืชพรรณที่หายากจำนวนมากทั้งบนชายฝั่งและใต้น้ำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเบลีซแบร์ริเออร์รีฟเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

แต่เมื่อ ค.ศ. 2009 เบลีซแบร์ริเออร์รีฟก็ถูกจัดอยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ไมว่าจะเป็นการทำประมงผิดกฎหมาย ภัยคุกคามจากนักท่องเที่ยวที่ควบคุมไม่ได้ รวมถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเลหรือเอลนีโญ ซึ่งเบลีซแบร์ริเออร์รีฟเสียหายไปเกือบร้อยละ 40 เพราะการเกิดปะการังฟอกขาวและพายุเฮอริเคนทำให้ปะการังแตกหัก สิ่งที่ทำได้เพียงเพิ่มมาตรการป้องกันภัยคุกคามจากการประมง และการท่องเที่ยว เพื่อที่จะให้ปะการังฟื้นฟูด้วยตัวเอง [2]

อ้างอิง

แก้

17°18′56″N 87°32′4″W / 17.31556°N 87.53444°W / 17.31556; -87.53444