เทศบาลเมืองนครพนม

เทศบาลเมืองในจังหวัดนครพนม ประเทศไทย

นครพนม เป็นเทศบาลเมืองแห่งเดียวในจังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครพนม มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมืองและตำบลหนองแสงทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลอาจสามารถและตำบลหนองญาติ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดนครพนม

เทศบาลเมืองนครพนม
ศาลหลักเมืองจังหวัดนครพนม
ศาลหลักเมืองจังหวัดนครพนม
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองนครพนม
ตรา
คำขวัญ: 
ชุมชนน่าอยู่ คู่สังคมเอื้ออาทร เมืองนครพนมพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
ทม.นครพนมตั้งอยู่ในจังหวัดนครพนม
ทม.นครพนม
ทม.นครพนม
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองนครพนม
ทม.นครพนมตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทม.นครพนม
ทม.นครพนม
ทม.นครพนม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ทม.นครพนมตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.นครพนม
ทม.นครพนม
ทม.นครพนม (ประเทศไทย)
พิกัด: 17°24′27″N 104°46′48″E / 17.40750°N 104.78000°E / 17.40750; 104.78000
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครพนม
อำเภอเมืองนครพนม
จัดตั้งพ.ศ. 2478
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนิวัต เจียวิริยบุญญา
พื้นที่
 • ทั้งหมด24.13 ตร.กม. (9.32 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด26,337 คน
 • ความหนาแน่น1,091.46 คน/ตร.กม. (2,826.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04480102
��างหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
374 ถนนอภิบาลบัญชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000
โทรศัพท์0 4251 1535, 0 4251 2005
โทรสาร0 4251 6159
เว็บไซต์www.lovenkp.com
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

เทศบาลเมืองนครพนม ได้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2478 (ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 2096 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2478)[2] เดิมก่อตั้งอยู่ถนนสุนทรวิจิตร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งปัจจุบันได้ก่อสร้างเป็นสถานธนานุบาลเมืองนครพนม (โรงรับจำนำ) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2502 ได้ย้ายสำนักงานเทศบาลมา ปลูกสร้างแห่งใหม่ที่เลขที่ 374 ถนนอภิบาลบัญชา จนถึงปัจจุบัน อาคารบ้านเรือนของประชาชนส่วนมากจะปลูกสร้าง เรียงรายตามความยาวของแม่น้ำโขง มีเนื้อที่ประมาณ 3.23 ตารางกิโลเมตร และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2523 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลง เขตเทศบาลเมืองนครพนม (ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 97 หน้า 30 ตอนที่ 39 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2523)[3] พื้นที่ของเทศบาลเมืองนครพนมได้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองและตำบลหนองแสงทั้งตำบล รวมทั้งตำบลอาจสามารถและตำบลหนองญาติบางส่วน รวมเนื้อที่ปัจจุบัน 24.13 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 25 ชุมชน และเมื่อช่วงมกราคม 2557 ได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังใหม่ที่อยู่ข้าง ๆ กัน

ภูมิศาสตร์

แก้

อาณาเขต

แก้
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ
  • ทิศตะวันออก จรดแม่น้ำโขง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลหนองญาติ

ลักษณะภูมิประเทศ

แก้

สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเขตเทศบาลเมืองนครพนม มีลักษณะเป็นที่เนินสูงและที่ราบตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ประเทศลาว มีสภาพพื้นที่ด้านทิศตะวันออกตามแนวแม่น้ำโขงเป็นที่เนินสูงลาดต่ำลงมาทางทิศตะวันตกจนถึงแนวถนนอภิบาลบัญชาซึ่งเป็นใจกลางเมืองและย่านการค้าพาณิชย์ จากนั้นสภาพพื้นที่ค่อย ๆ ลาดสูงขึ้นไปทางทิศตะวันตก ส่วนทางทิศเหนือเป็นที่เนินสูงแล้วลาดต่ำลงมาทางทิศใต้

ภูมิอากาศ

แก้
  • ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม)
  • ฤดูฝน (พฤษภาคม-ตุลาคม)
  • ฤดูหนาว (ตุลาคม-กุมภาพันธ์)

ตราสัญลักษณ์

แก้
 
ตราประจำเทศบาลเมืองนครพนม

ดวงตราของเทศบาลเมืองนครพนม เป็นรูปพระธาตุพนมและ รูปนางฟ้าเพราะจังหวัดนครพนมมีพระธาตุพนมที่สำคัญและเก่าแก่องค์หนึ่งเรียกว่า พระธาตุพนม เป็นพระธาตุที่ สร้างขึ้นบนเนินสูง ทางตำนานกล่าวว่าพระธาตุพนมเป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 8 นับว่าเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่และมีคุณค่าทาง ศิลปกรรมมากองค์หนึ่งนอกจากนั้นยังมีตำนานเล่าว่า รูปแกะสลักทั้งภายในและภายนอกเป็นฝีมือของพระวิสสุกรรมทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เทศบาลจึงได้กำหนดดวงตราเป็น รูปพระธาตุพนมและรูปนางฟ้า

การปกครอง

แก้

เทศบาลเมืองนครพนมได้ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอเมืองนครพนม (ตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่) ได้แก่ ตำบลในเมืองและตำบลหนองแสง รวมทั้งตำบลอาจสามารถและตำบลหนองญาติบางส่วน รวมเนื้อที่ปัจจุบัน 24.13 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 25 ชุมชน ดังนี้

การศึกษา

แก้
สถาบันอาชีวศึกษา
  • วิทยาลัยเทคนิคนครพนม
สถาบันอุดมศึกษา

การขนส่ง

แก้

ทางหลวงแผ่นดิน

แก้

สถานีขนส่ง

แก้
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครพนม

จุดผ่านแดน

แก้
  • จุดผ่านแดนถาวร ท่าเรือเทศบาลเมืองนครพนม ระหว่างอำเภอเมืองนครพนมและเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน

สถานที่สำคัญ

แก้
  • วัดน้อยโพธิ์คำ บ้านน้อยใต้
  • วัดนักบุญอันนา
  • วัดมหาธาตุ
  • วัดโพธิ์ศรี
  • พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
  • สวนหลวง ร.9
  • เขื่อนหน้าเมืองนครพนม
  • แลนด์มาร์คพญาศรีสัตตนาคราช (จุดหมายตานครพนม)
  • ศาลหลักเมือง
  • วัดโอกาสศรีบัวบาน
  • วัดศรีเทพประดิษฐาราม
  • หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์
  • ตลาดอินโดจีน
  • ตลาดโต้รุ่ง
  • ถนนคนเดินนครพนม

อ้างอิง

แก้
  1. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองนครพนม ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม พุทธศักราช ๒๔๗๘
  3. "พ.ร.ฎ.เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. 2523" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-14. สืบค้นเมื่อ 2019-07-14.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-03. สืบค้นเมื่อ 2017-04-29.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-15. สืบค้นเมื่อ 2017-04-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้