เทศบาลเมืองกำแพงเพชร (จังหวัดกำแพงเพชร)

เทศบาลเมืองในจังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทย

กำแพงเพชร เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การปกครอง และวัฒนธรรมของจังหวัดกำแพงเพชร มีฐานะเป็นเทศบาลเมืองตั้งอยู่ภายในอำเภอเมืองกำแพงเพชร มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมืองทั้งตำบล ในอดีตเคยเป็นเมืองเก่าแก่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เทศบาลเมืองกำแพงเพชรมีพื้นที่ประมาณ 14.9 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 9,312.5 ไร่ มีประชากรรวมทั้งสิ้น 28,125 คน (เดือนธันวาคม 2564)[1]

เทศบาลเมืองกำแพงเพชร
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
ทม.กำแพงเพชรตั้งอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร
ทม.กำแพงเพชร
ทม.กำแพงเพชร
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
ทม.กำแพงเพชรตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.กำแพงเพชร
ทม.กำแพงเพชร
ทม.กำแพงเพชร (ประเทศไทย)
พิกัด: 16°28′49″N 99°32′56″E / 16.48028°N 99.54889°E / 16.48028; 99.54889
ประเทศ ไทย
จังหวัดกำแพงเพชร
อำเภอเมืองกำแพงเพชร
จัดตั้ง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.9 ตร.กม. (5.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[1]
 • ทั้งหมด28,125 คน
 • ความหนาแน่น1,955.84 คน/ตร.กม. (5,065.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04620102
ที่อยู่
สำนักงาน
111 ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์0 5571 8200
โทรสาร0 5571 8225
เว็บไซต์www.kppmu.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์

แก้

ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็น ว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มีหลักฐาน ให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม โดยเมืองนครชุมสร้างขึ้นก่อน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1800 ต่อมาสมัยพระเจ้าลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง[ต้องการอ้างอิง]

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกเรื่อง กำแพงเมืองไว้ว่า เป็นกำแพงเมืองที่เก่าแก่ มั่นคง ยังมีความสมบูรณ์มาก และเชื่อว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังทรงวินิจฉัยว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองเดียวกับเมืองชากังราว[2] แต่ปัจจุบันมีแนวคิดที่แตกต่างออกไป[3]

ปัจจุบันเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง เพราะมีโบราณสถานเก่าแก่ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงหลายแห่งรวมอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534[4]

เมืองกำแพงเพชรได้รับการจัดตั้งขึ้นในฐานะเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้ตราขึ้นไว้วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2479 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งมีพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 0 ก วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2479[5] โดยมีหลวงมนตรีราชเป็นนายกเทศมนตรีกับนายยรรยง อินทรเกษมเป็นปลัดเทศบาลคนแรก และได้ใช้เรือนรับรองของจังหวัดเป็นอาคารสำนักงานแห่งแรก

ต่อมาได้มีการสร้างศาลากลางจังหวัดแห่งใหม่ใน พ.ศ. 2504 ทางเทศบาลเมืองกำแพงเพชรจึงขอใช้อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเดิมเป็นสำนักงานเทศบาล จนกระทั่งใน พ.ศ. 2521 เมื่อมีผู้อุทิศมอบที่ดินบริเวณถนนวิจิตร 1 จึงได้สร้างอาคารสำนักงานขึ้นใหม่ และเปิดทำการเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2522 ต่อมาใน พ.ศ. 2550 ได้เกิดการขยายตัวของเมือง การได้รับมอบภารกิจถ่ายโอนจากส่วนกลาง และการเพิ่มขึ้นของประชากรภายในท้องถิ่น เป็นเหตุทำให้มีราษฎรที่มาติดต่อราชการเป็นจำนวนมาก สำนักงานหลังเก่าไม่อาจสามารถรองรับได้สะดวก จึงมีการจัดสร้างอาคารสำนักงานขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่บริเวณถนนเลี่ยงเมืองกำแพงเพชร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และเปิดทำการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[6]

แต่เดิมเทศบาลเมืองกำแพงเพชรมีพื้นที่การปกครองทั้งหมด 4.5 ตารางกิโลเมตร ต่อมาเมื่อมีชุมชนอยู่หนาแน่น ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลที่ต่อเนื่องกัน จึงเป็นการสมควรในการปรับปรุงเขตเทศบาลใหม่ เพื่อขยายเขตให้เทศบาลได้ปกครองและทะนุบำรุงท้องถิ่น จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจรในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 83 ตอนที่ 21 ก วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2509[7] ขยายเขตจากพื้นที่เดิม 10.4 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็น 14.9 ตารางกิโลเมตร

ภูมิศาสตร์

แก้

เมืองกำแพงเพชรตั้งทางตอนกลางค่อนไปทางทิศเหนือของจังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่ 14.9 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล อยู่ในบริเวณตอนบนของภาคกลางของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ระยะทาง 358 กิโลเมตร

เมืองกำแพงเพชรมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านทางทิศตะวันตกของเมือง โดยพื้นที่ของเมืองทางทิศเหนือจะเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร พื้นที่ทางตอนกลางและใต้จะเป็นแหล่งธุรกิจที่สำคัญของเมือง แหล่งที่อยู่อาศัยที่หนาแน่น สถานที่ราชการ และสถานศึกษา

อาณาเขตติดต่อ

แก้

เทศบาลเมืองกำแพงเพชรมีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ดังนี้[8]

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร (2524–2553)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.5
(86.9)
31.7
(89.1)
36.6
(97.9)
38.7
(101.7)
36.1
(97)
33.9
(93)
33.0
(91.4)
30.0
(86)
28.5
(83.3)
27.9
(82.2)
26.9
(80.4)
25.9
(78.6)
30.1
(86.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 12.6
(54.7)
22.4
(72.3)
23.1
(73.6)
27.1
(80.8)
26.3
(79.3)
26.3
(79.3)
25.6
(78.1)
24.7
(76.5)
22.4
(72.3)
19.7
(67.5)
16.3
(61.3)
9.7
(49.5)
24.5
(76.1)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 2.5
(0.098)
14.0
(0.551)
39.9
(1.571)
54.6
(2.15)
197.8
(7.787)
192.3
(7.571)
164.4
(6.472)
134.8
(5.307)
268.8
(10.583)
191.7
(7.547)
42.0
(1.654)
6.7
(0.264)
1,309.5
(51.555)
ความชื้นร้อยละ 71 66 66 66 77 82 82 84 85 84 79 74 76.3
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1 mm) 1 2 4 6 14 19 17 19 18 16 6 1 123
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา

การศึกษา

แก้
  • สถาบันอาชีวศึกษา
    • วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร
    • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
    • วิทยาลัยอาชีวศึกษาภักดีพณิชยการและเทคโนโลยีกำแพงเพชร
  • โรงเรียนรัฐบาลสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร[9]
    • โรงเรียนเทศบาล 1 (เกริกกฤติยาอุปถัมภ์)
    • โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดทุ่งสวน)
    • โรงเรียนเทศบาล 3 (อินทรัมพรรย์ บุญประคองพิทยาคม)
    • โรงเรียนชากังราววิทยา (อินทร์-ชุ่ม ดีสารอุปถัมภ์)
  • โรงเรียนเอกชน
    • โรงเรียนกาญจนะศึกษา
    • โรงเรียนเตรียมนานาชาติภู่ขจร
    • โรงเรียนนวรนาถวิทยากำแพงเพชร
    • โรงเรียนอนุบาลจุฬารัตน์
    • โรงเรียนอนุบาลวาริน

การคมนาคม

แก้
 
ถนนกำแพงเพชรช่วงสะพานข้ามแม่น้ำปิง

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร". สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย.
  2. กรมศิลปากร (2534:204)
  3. คณะกรรมการโครงการชำระและจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือชุดประชุมพงศาวดาร (2542:212)
  4. "อุทยานประวัติศ��สตร์กำแพงเพชร". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2024.
  5. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองกำแพงเพ็ชร์ จังหวัดกำแพงเพ็ชร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ก): 1286–1289. 14 มีนาคม 2479.
  6. "ประวัติเทศบาลเมืองกำแพงเพชร". เทศบาลเมืองกำแพงเพชร. จังหวัดกำแพงเพชร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-20.
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (21 ก): 15–18. 5 มีนาคม 2509.
  8. "ที่ตั้งและอาณาเขต". เทศบาลเมืองกำแพงเพชร. จังหวัดกำแพงเพชร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-20.
  9. "การศึกษา : เทศบาลเมืองกำแพงเพชร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้