เจ้าหญิงแพทริเซียแห่งคอนน็อต
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เจ้าหญิงแพทริเซียแห่งคอนน็อต หรือพระนามเต็ม วิกตอเรีย แพทริเซีย เฮเลนา เอลิซาเบธ (อังกฤษ: Princess Patricia of Connaught; ภายหลังจากการอภิเษกสมรสคือ เลดีแพทริเซีย แรมเซย์ (Lady Patricia Ramsay); 17 มีนาคม ค.ศ. 1886 - 12 มกราคม ค.ศ. 1974) ทรงเป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งของพระราชวงศ์อังกฤษ โดยเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระองค์ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์พระองค์แรกที่สละฐานันดรศักดิ์เจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักรและพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ
เจ้าหญิงแพทริเซีย | |||||
---|---|---|---|---|---|
เลดีแพทริเซีย แรมเซย์ | |||||
ประสูติ | 17 มีนาคม ค.ศ. 1886 ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร | ||||
สิ้นพระชนม์ | 12 มกราคม ค.ศ. 1974 เซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร | (87 ปี)||||
ฝังพระศพ | 21 มกราคม 1974 สุสานหลวงฟ็อทซมอร์ | ||||
พระสวามี | เซอร์อเล็กซานเดอร์ แรมเซย์ | ||||
พระโอรส | อเล็กซานเดอร์ แรมเซย์แห่งมาร์ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ |
| ||||
พระบิดา | เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น | ||||
พระมารดา | เจ้าหญิงลูอีส มาร์กาเร็ตแห่งปรัสเซีย |
ชีวิตในวัยเยาว์
แก้เจ้าหญิงแพทริเซีย หรือ "แพ็ตซี่" ที่รู้จักในหมู่พระประยูรญาติ ประสูติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1886 ณ พระราชวังบักกิงแฮม กรุงลอนดอน พระชนกคือ เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียกับเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี ส่วนพระชนนีคือ เจ้าหญิงลูอีส มาร์กาเร็ตแห่งปรัสเซีย พระองค์มีพระภคินีและพระเชษฐา 2 พระองค์คือ เจ้าหญิงมาร์กาเรตแห่งคอนน็อต ซึ่งภายหลังทรงเป็นมกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน และ เจ้าชายอาร์เธอร์แห่งคอนน็อต เจ้าหญิงทรงได้รับการขนานพระนามเต็มว่า วิกตอเรีย แพทริเซีย เฮเลนา เอลิซาเบธ ณ ตำหนักแบ็กช็อตพาร์ค เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1886 โดยมีพ่อและแม่ทูนหัว คือ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เจ้าหญิงคริสเตียนแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ แกรนด์ดัชเชสพระชายาแห่งโอลเด็นบูร์ก เจ้าฟ้าชายวิลเฮล์มแห่งเยอรมนี ดยุกแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา และ เจ้าชายอัลเบร็คต์แห่งปรัสเซีย พระนามวิกตอเรียมาจากสมเด็จพระอัยยิกา แพทริเซียมาจากนักบุญแพทริค ซึ่งเป็นนักบุญประจำวันประสูติ เฮเลนามาจากพระนามของเจ้าหญิงเฮเลนา พระภคินีในเจ้าชายอาร์เธอร์ พระชนกของพระองค์ และเอลิซาเบธมาจากพระนามของแกรนด์ดัชเชสพระชายาแห่งโอลเด็นบูร์ก
ประเทศแคนาดา
แก้เจ้าหญิงแพทริเซียทรงเดินทางอยู่บ่อยครั้งขณะยังทรงพระเยาว์ ดยุคแห่งคอนน็อต พระชนกทรงได้รับมอบหมายให้ประจำอยู่ที่กองทัพในประเทศอินเดีย เจ้าหญิงจึงได้ประทับอยู่ที่นั่นเป็นเวลาสองปี Connaught Place ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเดลี ได้ตั้งชื่อตามดยุกด้วย ในปี ค.ศ. 1911 ดยุคแห่งค็อนน็อตได้ทรงรับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่แห่งแคนาดา เจ้าหญิงจึงได้โดยเสด็จพระชนกและพระชนนีไปยังแคนาดา และที่แห่งนี้เองทำให้พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพทหารแคนาดาในเจ้าหญิงแพทริเซีย (Princess Patricia's Canadian Light Infantry) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 โดยทรงดำรงอยู่ในตำแหน่งนี้จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ กองทัพนี้ได้ตั้งชื่อตามพระนามของเจ้าหญิง พระองค์ทรงออกแบบตราสัญลักษณ์และสีให้สำหรับกองทัพเพื่อนำไปยังประเทศฝรั่งเศส ในฐานะที่ทรงเป็นผู้บัญชาการกองทัพ พระองค์ทรงได้แสดงบทบาทสำคัญต่างๆ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ ในปี ค.ศ. 1974 เลดีแพทริเซีย เมานท์แบ็ตเทน (ต่อมาคือ เลดีบราเบิร์น) ซึ่งเป็นพระญาติและลูกทูนหัวของเจ้าหญิง และต่อมาดำรงพระยศเป็น เคานท์เตสเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า ได้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพต่อไป และให้คนในกองทัพลดพระยศและเรียกท่านเป็น เลดีแพทริเซีย เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าหญิง
อภิเษกสมรส
แก้คำถามเรื่องการอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงแพทริเซียเป็นประเด็นร้อนแรงในหัวข้อสนทนาช่วงสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระองค์ทรงถูกจับคู่กับเจ้าชายเชื้อพระวงศ์ต่างประเทศอยู่หลายพระองค์ ทั้งนี้ยังได้รวมถึงอนาคตกษัตริย์แห่งโปรตุเกสและสเปน แกรนด์ดยุกไมเคิล อเล็กซานโดรวิชแห่งรัสเซีย ที่เป็นพระอนุชาในจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย
ในตอนสุดท้าย เจ้าหญิงทรงเลือกคู่ครองเป็นบุรุษสามัญชนแทนเจ้าชายเชื้อพระวงศ์ต่างๆ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับนาวาโท (ภายหลังเป็นนายพลเรือ) เซอร์อเล็กซานเดอร์ แรมเซย์ (29 พฤษภาคม ค.ศ. 1881 - 8 ตุลาคม ค.ศ. 1972) ทหารราชองครักษ์ในพระชนกของพระองค์ และบุตรชายของเอิร์ลแห่งดัลฮูซี เจ้าหญิงทรงอภิเษกสมรส ณ มหาวิหารเวสต์มินส์เตอร์ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 โดยในวันนี้พระองค์ได้ทรงสมัครใจที่จะสละฐานันดรศักดิ์เจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้า แล้วทรงเปลี่ยนมาใช้พระอิสริยยศ เลดีแพทริเซีย แรมเซย์ (Lady Patricia Ramsay) โดยมีลำดับโปเจียมก่อนหน้ามาร์เชเนสต่างๆ ของประเทศอังกฤษ
ปลายพระชนม์ชีพ
แก้แม้ว่าจะทรงสละฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว แต่เจ้าหญิงก็ยังคงทรงเป็นสมาชิกในพระราชวงศ์อังกฤษ อยู่ในลำดับการสืบราชสมบัติ และเข้าร่วมพิธีสำคัญๆ อาทิ พิธีราชาภิเษกสมรส พิธีฝังพระศพและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร และ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ใน ค.ศ. 1937 และ ค.ศ. 1953 ตามลำดับ
เจ้าหญิงแพทริเซียทรงเป็นอัครศิลปินที่สามารถโดยทรงเชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาพเขียนสีน้ำ ผลงานส่วนมากได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเดินทางท่องไปในประเทศเขตร้อน รูปแบบการเขียนภาพได้รับการอิทธิพลมาจากโกแก็งและแวน โกะ เพราะพระองค์ทรงร่ำเรียนมาจาก เอ เอส ฮาร์ทริค ซึ่งรู้จักศิลปินเหล่านี้ด้วย เจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักริบส์เด็นโฮลต์ เมืองวินเดิลแชม เซอร์รีย์ ก่อนถึงวันประสูติครบรอบ 88 ปีและหลังจากพระสวามีเป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในสองพระราชนัดดาสตรีที่ยังทรงพระชนม์อยู่ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในระยะเวลานั้น เลดีแพทริเซีย แรมเซย์และนายพลเรือ เซอร์อเล็กซานเดอร์ แรมเซย์ ได้ถูกฝังเคียงคู่กันที่สุสานหลวงฟร็อกมอร์ เมืองวินด์เซอร์
พระอิสริยยศ และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พระอิสริยยศ
แก้- 17 มีนาคม 1886 – 27 กุมภาพันธ์ 1919: เจ้าหญิงแพทริเซียแห่งคอนน็อต (Her Royal Highness Princess Patricia of Connaught)
- 27 กุมภาพันธ์ 1919 – 12 มกราคม 1974: เลดีแพทริเซีย แรมเซย์ (Lady Patricia Ramsay)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎแห่งอินเดีย ชั้นที่ 1 (Companion of the Order of the Crown of India)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญจอห์นแห่งเยรูซาเล็ม ชั้นที่ 1 (Dame Grand Cross of the Order of St. John of Jerusalem)
พระโอรส
แก้- อเล็กซานเดอร์ แรมเซย์แห่งมาร์ (อเล็กซานเดอร์ อาร์เธอร์ อัลฟองโซ เดวิด มอล แรมเซย์; 21 ธันวาคม ค.ศ. 1919 - 20 ธันวาคม ค.ศ. 2000)
- สมรสเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ เมืองเฟรเซอร์เบอระ กับ ฟลอรา เฟรเซอร์ เลดีที่ 21 แห่งซอลเทิน (เกิด 18 ตุลาคม ค.ศ. 1930)