เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร (เกิด 20 มิถุนายน พ.ศ. 2506) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร | |
---|---|
เกื้อกูล ใน พ.ศ. 2552 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | โสภณ ซารัมย์ วราวุธ ศิลปอาชา |
ดำรงตำแหน่ง 14 มกราคม – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
ถัดไป | ชัจจ์ กุลดิลก กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2506 อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544–2549) ชาติไทย (2550–2551) ชาติไทยพัฒนา (2552–2556) เพื่อไทย (2556–2561) ภูมิใจไทย (2561–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นลินี ด่านชัยวิจิตร |
ประวัติ
แก้นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[2] เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพ สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยกองทัพบก รุ่นที่ 44
งานการเมือง
แก้เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร เริ่มต้นเข้าสู่การเมืองโดยการลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ในนามพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ต่อมาได้ย้ายมากัดพรรคชาติไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร เคยดำรงตำแหน่งในการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2541 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2548 และได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ [3]
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม[4] หลังจากที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 7 ต่อ 1 ให้หมดสมาชิกภาพ เนื่องจากถือหุ้นในกิจการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 และมาตรา 48 รวมทั้งได้หุ้นมาหลังจากได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แล้ว[5] และในที่สุดนายเกื้อกูล ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็น ส.ส.[6] และได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554[7]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคชาติไทยพัฒนาที่ได้รับเลือกตั้งในจังหวัดนี้ ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2556 หลังการยุบสภาผู้แทนราษฎร เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[8]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเขต 1 ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 1 แต่ไม่รับได้รับการเลือกตั้ง อยู่ลำดับที่ 2 แพ้คะแนนให้กับ คุณ ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ จากพรรคก้าวไกล ด้วยคะแนน 41,081 คะแนน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ 'ภูมิใจไทย' เคาะแล้ว 'กรรมการบริหารพรรค' ชุดใหม่
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ นายกฯเผย“เกื้อกูล”ยอมลาออกจากรัฐมนตรีก่อนลงส.ส.
- ↑ ตุลาการศาลรธน.ตัดสิน 6 ส.ส.พ้นสภาพ เก็บถาวร 2012-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนข่าวสด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
- ↑ กกต.รับรองผลการเลือกตั้งซ่อมส.ส.3จังหวัด[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 5ง วันที่ 15 มกราคม 2554
- ↑ ‘เกื้อกูล’ อดีตรมช.คมนาคม-ลูกพรรค ‘บรรหาร’ ไขก๊อกซบเพื่อไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑