เกออร์กี จูคอฟ

จอมพลแห่งสหภาพโซเวียต

เกออร์กี คอนสตันตีโนวิช จูคอฟ (รัสเซีย: Гео́ргий Константи́нович Жу́ков, อังกฤษ: Georgy Konstantinovich Zhukov) เป็นนายทหารของกองทัพแดงและเป็นจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต เคยดำรงตำแหน่งเสนาธิการใหญ่, รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และเคยเป็นสมาชิกสภาเปรซิเดียมพรรคคอมมิวนิสต์ฯ จูคอฟเคยเป็นแม่ทัพภาคสนามที่นำกองทัพแดงได้รับชัยชนะหลายครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นแม่ทัพโซเวียตที่โด่งดังที่สุดจากยุคสงครามโลก

เกออร์กี จูคอฟ
Геoргий Жyков
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
9 กุมภาพันธ์ 1955 – 26 ตุลาคม 1957
นายกรัฐมนตรีนีโคไล บุลกานิน
ก่อนหน้านีโคไล บุลกานิน
ถัดไปโรดีออน มาลีนอฟสกี
เสนาธิการใหญ่กองทัพแดง
ดำรงตำแหน่ง
กุมภาพันธ์ 1941 – 29 กรกฎาคม 1941
ก่อนหน้าคีริลล์ เมเรตสคอฟ
ถัดไปโบริส ชาปอชนีคอฟ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ธันวาคม ค.ศ. 1896(1896-12-01)
สเตรลคอฟคา คาลูกา จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต18 มิถุนายน ค.ศ. 1979(1979-06-18) (82 ปี)
กรุงมอสโก สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต
เชื้อชาติโซเวียต
ศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์รัสเซีย
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
คู่สมรสอะเล็กซันดรา ดีฟนา ซุยโควา (1920-1953)
กาลีนา อะเล็กซันดรอฟนา เซมโยโนวา (1965-1973)
บุตรอีรา จูโควา (ช. 1928)

มาร์การีตา จูโควา (1929-2011)
เอลลา จูโควา (1937-2010)

มาเรีย จูโควา (ช. 1957)
วิชาชีพทหาร
รางวัลวีรชนแห่งสหภาพโซเวียต (4)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ รัสเซีย
 สหภาพโซเวียต
สังกัดกองทัพบกจักรวรรดิรัสเซีย
กองทัพแดง
กองทัพบกโซเวียต
ประจำการ1915–1957
ยศจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต
บังคับบัญชามณฑลทหารบกเคียฟ
แนวรบตะวันตก
แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1
มณฑลทหารบกโอเดสซา
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามกลางเมืองรัสเซีย
สงครามชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น (ยุทธการฮาลฮิน กอล)
มหาสงครามรักชาติ

จูคอฟเกิดในครอบครัวยากจนในภาคกลางของรัสเซีย เขาเข้ารับราชการทหารในกองทัพบกจักรวรรดิรัสเซียและเคยสู้รบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ต่อมาจูคอฟเข้าร่วมกับกองทัพแดงในช่วงสงครามกลางเมืองรัสเซีย และมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานตามลำดับ ในปีค.ศ. 1939 จูคอฟเป็นแม่ทัพกลุ่มและได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยเหนือญี่ปุ่นในยุทธการที่ฮาลฮิน กอล ชัยชนะครั้งนี้ทำให้เขาได้รับเหรียญวีรชนแห่งสหภาพโซเวียตเป็นครั้งแรก ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 จูคอฟได้รับตำแหน่งเสนาธิการใหญ่กองทัพแดง

จูคอฟดำรงตำแหน่งเสนาธิการใหญ่ได้ไม่นาน นาซีเยอรมนีก็บุกสหภาพโซเวียต ทำให้เขาถูกปลดจากตำแหน่งและถูกส่งตัวไปรับผิดชอบการป้องกันสามเมืองใหญ่ เลนินกราด, มอสโก และสตาลินกราด เขายังมีส่วนร่วมวางแผนการรุกตีสำคัญหลายครั้ง อาทิ ยุทธการที่คูสค์ และปฏิบัติการบากราติออน ต่อมาในปีค.ศ. 1945 จูคอฟบังคับบัญชาแนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 และมีส่วนร่วมในการรุกวิสตูลา–โอเดอร์กับยุทธการที่เบอร์ลิน ซึ่งนำไปสู่ความปราชัยของนาซีเยอรมนีและการสิ้นสุดสงครามบนทวีปยุโรป จูคอฟได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนฝ่ายโซเวียตในการรับตราสารยอมจำนนของเยอรมนี

จูคอฟเป็นนายพลที่ขึ้นชื่อที่สุดคนหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง[1] ความสามารถในการบังคับบัญชาทางปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ของเขาทำให้เขาเป็นที่ยอมรับนับถืออย่างมาก[2] สัมฤทธิภาพการรบของเขาพัฒนาความรู้ทางทหารของมนุษยชาติอย่างสำคัญ โดยมีอิทธิพลมากทั้งต่อทฤษฎีทางทหารของโซเวียตและทั้งโลก[3]

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

แก้
 
เกออร์กี จูคอฟ ในเครื่องแบบทหารกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย (1916)
 
เกออร์กี จูคอฟ ในฐานะผู้บัญชาการ กองพันทหารม้า Buzuluk ที่ 39, หน่วยทหารม้า Samara ที่ 7 (1923)
 
เกออร์กี จูคอฟ กับนายพลมองโกเลีย ในช่วงยุทธการที่ฮาลฮินโกล (1939)

จูคอฟเกิดในครอบครัวชาวนารัสเซีย พ.ศ. 2458 ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารในกองทัพบกจักรวรรดิรัสเซีย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขารบได้อย่างกล้าหาญ จึงได้รับเหรียญตราและถูกเลื่อนยศ หลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม แห่งปี พ.ศ. 2460 ชูคอฟเข้าร่วมกับพรรคบอลเชวิค และต่อสู้ในสงครามกลางเมืองรัสเซีย ช่วงปี พ.ศ. 2461 – พ.ศ. 2464 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2466 เขาขึ้นเป็นผู้บัญชาการกรม พ.ศ. 2473 เป็นผู้บัญชาการกองพัน ชูคอฟเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญในทฤษฎีใหม่ของสงครามยานเกราะ เขาโดดเด่นเรื่องการวางแผนการรบที่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย เขาเน้นระเบียบวินัยและความเข้มงวด เขาเป็นหนึ่งในบรรดานายทหารไม่มากนักที่รอดพ้นจากการกวาดล้างกองทัพครั้งใหญ่ของสตาลิน ช่วงปี พ.ศ. 2481 – พ.ศ. 2482

พ.ศ. 2481 ชูคอฟ เป็นผู้บัญชาการกลุ่มกองทัพโซเวียตมองโกเลียที่ 1 และเป็นผู้บัญชาการรบกับกองทัพกวางตุ้งของญี่ปุ่นที่บริเวณพรมแดนมองโกเลียกับรัฐแมนจูกัวของญี่ปุ่นในสงครามอย่างไม่เป็นทางการช่วงปี พ.ศ. 2481 – พ.ศ. 2482 ที่เริ่มจากการกระทบกระทั่งรายวันตามแนวพรมแดน โดยญี่ปุ่นหวังจะทดสอบกำลังในการป้องกันเขตแดนของฝ่ายโซเวียต จนเรื่องนี้กลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบอย่างรวดเร็ว ที่เรียกว่า ยุทธการที่ฮาลฮินโกล ญี่ปุ่นทุ่มกำลังพล 80,000 นาย รถถัง 180 คัน และอากาศยาน 450 ลำเข้าสู่สงคราม งานนี้ชูคอฟสามารถพิชิตฝ่ายญี่ปุ่นได้โดยง่าย และได้รับตำแหน่งเป็นวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียตแต่ชื่อเสียงของเขาไม่เป็นที่รู้จักในภายนอก เพราะช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี ชาติตะวันตกไม่สนใจการรบแบบยานเกราะเคลื่อนที่ที่เขานำมาลองใช้ที่ ฮาลฮิน โกล สงครามสายฟ้าแลบของเยอรมันต่อฝรั่งเศส จึงสร้างความประหลาดใจให้กับผู้คนมากมาย

ชูคอฟ ได้รับการเลื่อนยศเป็นพลเอกในปี พ.ศ. 2483 ระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม พ.ศ. 2484 เขาเป็นประธานเสนาธิการกองทัพแดง แต่เพราะความขัดแย้งกับสตาลิน เขาจึงถูกปลด หลังจากที่นาซีเยอรมนีบุกสหภาพโซเวียตได้ไม่นาน

แม่ทัพใหญ่

แก้

มูลเหตุของความขัดแย้งกับสตาลินในครั้งนั้น ก็คือจูคอฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในนายทหารไม่กี่คน ที่กล้าที่จะท้วงติงผู้นำ เขาทักท้วงสตาลินว่า เคียฟคงจะทานการรุกของข้าศึกไม่ไหว ทางที่ดีน่าจะถอยทัพออกมาก่อน แต่สตาลินไม่พอใจอย่างมาก จึงปลดเขาจากตำแหน่งเมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 และส่งไปดูแลการรบที่เลนินกราด แต่ในที่สุดแล้วจูคอฟก็พิสูจน์ว่าเขาเป็นฝ่ายถูก เมื่อโซเวียตเสียทหารไปถึงครึ่งล้านที่เคียฟ

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2484 เมื่อข้าศึกรุกเข้าประชิดกรุงมอสโก จูคอฟถูกเรียกตัวมาเป็นผู้บัญชาการแนวรบกลาง แทนนายพล เซมิออน ตีโมเชนโค เพื่อปกป้องกรุงมอสโก ซึ่งเขาก็ทำได้สำเร็จ เมื่อสามารถผลักดันข้าศึกให้ถอยออกไปจนมอสโกพ้นขีดอันตราย ความสำเร็จนี้ทำให้สตาลินยอมรับฟังความคิดเห็นของนายพลของเขามากขึ้น และยอมถูกวิจารณ์มากขึ้น และชูคอฟก็กลับมาเป็นนายทหารคู่ใจของเขาอีกครั้ง ปีต่อมา จูคอฟ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการสูงสุด และส่งไปดูแลสตาลินกราด ซึ่งที่นี่ โซเวียตสามารถพิชิตกองทัพที่ 6 ของเยอรมนีลงได้สำเร็จ แม้จะต้องเสียทหารไปเป็นล้าน

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2486 เขาดูแลการตีฝ่าการล้อมเลนินกราดครั้งแรก ในเดือกรกฎาคมปีเดียวกัน ในบันทึกความทรงจำ ชูคอฟบอกว่าเขามีบทบาทสำคัญในการวางแผนยุทธการที่คูสค์ (Kursk) ที่ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม โดยที่นี่กองทัพเยอรมันประสบความปราชัยในช่วงฤดูร้อนเป็นครั้งแรก จึงถือว่าเป็นชัยชนะที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับที่สตาลินกราด

หลังจากนั้น ชูคอฟ ก็ดูแลเรื่องการปลดปล่อยการปิดล้อมเลนินกราดที่ประสบความสำเร็จ เดือนมกราคม พ.ศ. 2487 ชูคอฟ นำกองทัพโซเวียตในการรุกที่มีชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการเบรเกรชั่น ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นปฏิบัติการณ์ทางทหารที่สุดยอดที่สุดของสงครามโลกครั้งที่สอง เดือนเมษายน พ.ศ. 2488 กองทัพโซเวียตยึดกรุงเบอร์ลินได้ และฟาสซิสต์เยอรมนียอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข

หลังสงคราม

แก้

หลังสงครามจบสิ้น ชูคอฟเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเขตยึดครองโซเวียตในเยอรมนี และเป็นผู้ว่าการทหารที่นั่น ความที่เขาเป็นที่นิยมชมชอบจากคนหลายฝ่ายอย่างมาก จึงมองกันว่าเขามีแนวโน้มเป็นอันตรายอย่างมากกับระบอบเผด็จการสตาลิน ปี พ.ศ. 2489 เขาจึงถูกเก็บเข้ากรุ และโดนย้ายมาเป็นผู้บัญชาการเขตการทหารโอเดสซา ซึ่งห่างไกลจากเมืองหลวง และไม่ค่อยมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ หลังการตายของสตาลิน เขาก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยได้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในปี พ.ศ. 2496 และเป็นรัฐมนตรีกระทรวงนี้ในปี พ.ศ. 2498

มิถุนายน พ.ศ. 2500 ชูคอฟ ได้ขึ้นเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการกลาง สภาเปรสซิเดียม แต่ถูกนิกิต้า ครุสชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตยุคนั้นปลดจากกระทรวงและคณะกรรมาธิการกลางเดือนตุลาคมปีเดียวกัน เพราะความขัดแย้งทางนโยบายด้านการทหารหลายเรื่อง

หลังครุชชอฟถูกโค่นล้มเดือนตุลาคม พ.ศ. 2507 เลโอนิด เบรซเนฟ ผู้นำประเทศคนใหม่ได้ฟื้นฟูความนิยมให้ชูคอฟอีกครั้ง แต่ไม่ฟื้นฟูอำนาจให้ชูคอฟกลับมาเป็นที่นิยมในโซเวียตจวบจนเสียชีวิตไปในปี พ.ศ. 2517 และศพของเขาถูกนำมาประกอบพิธีอย่างสมเกียรติ

ความด่างพร้อย

แก้

ท่ามกลางบรรยากาศของชัยชนะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นายทหารหลายคนในฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มมีบทบาทเป็นนักการเมืองหรือเตรียมตัวเป็นผู้มีอำนาจบริหารประเทศหลายคน เช่น ชาร์ล เดอ โกลล์แห่งฝรั่งเศส, ดไวต์ เดวิด ไอเซนฮาวร์แห่งสหรัฐอเมริกา สมาชิกระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์เกิดความหวาดระแวงว่า จูคอฟอาจจะมีพฤติกรรมเช่นนั้นและลงเอยแบบนโปเลียนที่ทำลายการปกครองแบบพรรค ซึ่งคล้ายคลึงกับความหวาดระแวงต่อจอมพลตูคาเชฟสกี ด้วยวาทะ "นโปเลียนแดง" ที่ถูกประหารชีวิตในช่วงการกวาดล้างครั้งใหญ่ในสหภาพโซเวียต

เครื่องอิสริยาภรณ์

แก้

จักรวรรดิรัสเซีย

แก้
  กางเขนแห่งนักบุญจอร์จ ชั้นที่ 3

สหภาพโซเวียต

แก้
  วีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต (29 สิงหาคม 1939, 29 กรกฎาคม 1944, 1 มิถุนายน 1945, 1 ธันวาคม 1956)
  เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัยชนะ (No. 1, 10 เมษายน 1944 และ No. 5, 30 มีนาคม 1945)
  เครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน (16 สิงหาคม 1936, 29 สิงหาคม 1939, 21 กุมภาพันธ์ 1945, 1 ธันวาคม 1956, 1 ธันวาคม 1966, 1 ธันวาคม 1971)
  เครื่องอิสริยาภรณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคม (22 กุมภาพันธ์ 1968)
  เครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง (31 สิงหาคม 1922, 3 พฤศจิกายน 1944, 20 มิถุนายน 1949)
  เครื่องอิสริยาภรณ์ซูโวรอฟ, ชั้นที่ 1 (Serial No. 1, 28 มกราคม 1943 และ Serial No. 39, 28 กรกฎาคม 1943)
  เหรียญ "สำหรับการป้องกันที่สตาลินกราด"
  เหรียญ "สำหรับการป้องกันที่เลนินกราด"
  เหรียญ "สำหรับการป้องกันที่คอเคซัส"
  เหรียญ "สำหรับการป้องกันที่มอสโก"
  เหรียญ "สำหรับการปลดปล่อยกรุงวอร์ซอ"
  เหรียญ "สำหรับการยึดกรุงเบอร์ลิน"
  เหรียญ "สำหรับชัยชนะเหนือญี่ปุ่น"
  เหรียญ "สำหรับชัยชนะเหนือเยอรมนีในมหาสงครามของผู้รักชาติ ค.ศ. 1941-ค.ศ. 1945"
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 20 ปีในชัยชนะเหนือเยอรมนีในมหาสงครามของผู้รักชาติ ค.ศ. 1941-ค.ศ. 1945"
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 20 ปีการทำงานและรับใช้กองทัพแดง"
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 30 ปีการสถาปนากองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ"
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 40 ปีการสถาปนากองทัพโซเวียต"
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 50 ปีการสถาปนากองทัพโซเวียต"
  เหรียญที่ระลึก "ในพิธีฉลองครบรอบ 100 ปีวันเกิดของ วลาดีมีร์ อิลลิช เลนิน"
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 250 ปีนครเลนินกราด"
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 800 ปีกรุงมอสโก"
  อาวุธเกียรติยศ – กระบี่ประกอบตราแผ่นดินของสหภาพโซเวียตสีทอง (22 มกราคม 1968)

ต่างประเทศ

แก้
  วีรชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนมองโกลเลีย (ค.ศ. 1969)
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 30 ปี ยุทธการที่ฮาลฮิน กอล" (ค.ศ. 1969)
  เครื่องอิสริยาภรณ์ชุคบาตาร์ (3 ครั้ง ค.ศ. 1968, ค.ศ. 1969, ค.ศ. 1971)
  เครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง (มองโกเลีย) (2 ครั้ง, ค.ศ. 1939 และ ค.ศ. 1942)
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 50 ปี การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนมองโกลเลีย" ( ค.ศ. 1971)
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 50 ปี การสถาปนากองทัพประชาชนมองโกลเลีย" (ค.ศ. 1971)
  เหรียญที่ระลึก "สำหรับชัยชนะเหนือญี่ปุ่น" (ค.ศ. 1945)
  เครื่องอิสริยาภรณ์สิงโตขาว, ชั้นประถมาภรณ์ (เชโกสโลวัก, ค.ศ. 1945)
  เครื่องอิสริยาภรณ์ทหารสิงโตขาว,"สำหรับชัยชนะ" ชั้นประถมาภรณ์ (เชโกสโลวัก,ค.ศ. 1945)
  กางเขนสงครามเชโกสโลวัก (เชโกสโลวัก, ค.ศ. 1945)
  กางเขนแห่งกรุนวอลด์ ชั้นประถมาภรณ์ (ค.ศ. 1945)
  เครื่องอิสริยาภรณ์สงครามเวอร์ตูติ มิลิตาริ ชั้นประถมาภรณ์ (ค.ศ. 1945)
  เครื่องอิสริยาภรณ์โปโลเนีย รีสติตูตา ชั้นที่ 3 (ค.ศ. 1968, และ กางเขนนายทัพ, ค.ศ. 1973)
  เหรียญ "สำหรับวอร์ซอ ค.ศ. 1939-ค.ศ. 1945" (ค.ศ. 1946)
  เหรียญสำหรับโอเดอร์, ไนส์เซ และบอลติก (ค.ศ. 1946)
  ลีเจียนออฟเมอริต หัวหน้าผู้บัญชาการ (สหรัฐอเมริกา, ค.ศ. 1945)
  เครื่องราชอิสริยาภรณ์บาธ ชั้นสังวาล ฝ่ายทหาร (สหราชอาณาจักร, ค.ศ. 1945)
  เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นประถมาภรณ์ (ฝรั่งเศส, ค.ศ. 1945)
  ครัวซ์เดอแกรซ์ (ฝรั่งเศส)
  เหรียญ "มิตรภาพจีน-โซเวียต" (1953 และ 1956)
  อิสริยาภรณ์แห่งเสรีภาพ (ค.ศ. 1956)
  อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณยิ่ง ชั้นประถมาภรณ์ (ค.ศ. 1956)
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 90 ปี ชาตกาลของแกออร์กี ดีมีตรอฟ" (บัลแกเรีย)
  เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 25 ปี การสถาปนากองทัพประชาชนบัลแกเลีย" (บัลแกเรีย)
  Garibaldi Partisan Star (อิตาลี, ค.ศ. 1956)
?
Order of the Republic (สาธารณรัฐประชาชนตูวาน, ค.ศ. 1939)
  • Title of Honorary Italian Partisan (อิตาลี, ค.ศ. 1956)

อ้างอิง

แก้
  1. Dwight D. Eisenhower. "Crusade in Europe" (1948), p. 285.
  2. Harold Shukman (1993) Stalin's Generals, Grove Press, New York City, p. 172, ISBN 1842125133.
  3. John Eisenhower (1974). Strictly Personal. New York. 1974. p. 21, ISBN 0385070713.