อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส
อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส (Eleftherios Venizelos; ชื่อเต็ม : อีเลฟเทรีออส คีรีอาคู เวนิเซลอส ;Elefthérios Kyriákou Venizélos, กรีก: Ἐλευθέριος Κυριάκου Βενιζέλος ; 23 สิงหาคม ค.ศ. 1864 - 18 มีนาคม ค.ศ. 1936) เป็นผู้นำชาวกรีกที่ประสบความสำเร็จในขบวนการปลดปล่อยชาติกรีกและเป็นรัฐบุรุษที่มีเสน่ห์ในช่วงยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นที่จดจำจากการส่งเสริมนโยบายแนวเสรีนิยมประชาธิปไตย[1][2][3] เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งกรีซหลายสมัย โดยดำรงตำแหน่งระหว่างค.ศ. 1910 ถึงค.ศ. 1920 และตั้งแต่ค.ศ. 1928 ถึงค.ศ. 1932 เวนิเซลอสเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งในกิจการทั้งภายในและภายนอกของกรีซ ซึ่งทำให้เขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "ผู้สร้างกรีซสมัยใหม่"[4] และยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในฐานะ "เอ็ทนาร์ช" (Ethnarch)
การเข้ามามีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศครั้งแรกของเขาคือการที่เขามีบทบาทสำคัญในการดำเนินการความเป็นอิสระของรัฐครีตและหลังจากนั้นได้รวมเกาะครีตเข้ากับกรีซ ในเวลาโดยเร็ว เขาถูกเชิญไปยังกรีซเพื่อแก้ไขปัญหาการชะงักงันทางการเมืองและกลายเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ ไม่เพียงแต่เขาเริ่มต้นการปฏิรูปรัฐธรรมนูญและเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทำให้สังคมกรีกมีความเป็นสมัยใหม่ และยังได้จัดตั้งทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือขึ้นมาใหม่เพื่อเตรียมการกับความขัดแย้งในอนาคต ก่อนสงครามบอลข่านในปีค.ศ. 1912 - 1913 บทบาทที่เป็นตัวเร่งของเวนิเซลอสได้ชาวยให้กรีซสามารถเข้าร่วมสันนิบาตบอลข่าน ซึ่งเป็นกลุ่มสัมพันธมิตรของรัฐบอลข่านเพื่อต่อต้านจักรวรรดิออตโตมัน โดยผ่านความเฉียบแหลมทางการทูต พื้นที่และประชากรของกรีซได้เพิ่มทวีมากขึ้นจากการปลดปล่อยมาซิโดเนีย, อีพิรัสและส่วนที่เหลือของหมู่เกาะอีเจียน
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914 - 1918) เขาได้นำกรีซไปเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อขยายพรมแดนกรีก อย่างไรก็ตาม ด้วยนโยบายต่างประเทศที่สนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำให้เขามีความขัดแย้งโดยตรงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งก่อให้เกิดความแตกแยกแห่งชาติ ความแตกแยกนี้ได้ก่อให้เกิดการแบ่งขั้วในหมู่ประชาชนระหว่างฝ่ายกษัตริย์นิยมและกลุ่มนิยมเวนิเซลอส (Venizelists; เวนิเซลิสต์) และเกิดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจระหว่างทั้งสองกลุ่มที่ได้บั่นทอนทำลายการเมืองและชีวิตทางสังคมของกรีซมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ[5] ต่อมาฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ เวนิเซลอสได้รับดินแดนใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอานาโตเลีย ซึ่งทำให้แนวคิดกรีกเมกาลีใกล้เคียงความเป็นจริงยิ่งขึ้น แม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จ แต่เวนิเซลอสได้พ่ายแพ้การเลือกตั้งในปีค.ศ. 1920 ซึ่งในที่สุดทำให้กรีซพ่ายแพ้ในสงครามกรีก-ตุรกี (1919 - 1922) เวนิเซลอสซึ่งได้เนรเทศตัวเองออกไป ได้เป็นตัวแทนของกรีซในการเจรจาที่นำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาโลซานและข้อตกลงการแลกเปลี่ยนร่วมกันในระดับประชากรระหว่างกรีซและตุรกี
ในช่วงเวลาที่เวนิเซลอสยังดำรงตำแหน่งอยู่ ได้ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ในระดับปกติกับประเทศเพื่อนบ้านของกรีซและได้ขยายการปฏิรูปรัฐธรรมนูญและเศรษฐกิจ ในปีค.ศ. 1935 เวนิเซลอสได้เปลี่ยนแนวคิดหลังจากการเกษียณอายุราชการโดยการสนับสนุนการรัฐประหารโดยกองทัพ และเขาได้จัดตั้งสาธารณรัฐเฮเลนิกที่สองที่มีความอ่อนแอและล้มเหลวอย่างรุนแรง
ต้นกำเนิดและช่วงต้นของชีวิต
แก้บรรพบุรุษ
แก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 บรรพบุรุษของเวนิเซลอส ชื่อว่า คราฟวาตัส อาศัยอยู่ที่เมืองมีสตราส์ ในเพโลพอนนีสตอนใต้ ในช่วงที่จักรวรรดิออตโตมันเข้ารุกรานคาบสมุทรในปีค.ศ. 1770 สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวคราฟวาตัส นามว่า เวนิเซลอส คราฟวาตัส ซึ่งเป็นน้องชายคนสุดท้องของครอบครัว ได้เตรียมการหลบหนีไปยังครีตและลงหลักปักฐานที่นั่นด้วยตัวเอง ลูกชายของเขาไเละงนามสกุลของบรรพบุรุษและเรียกนามสกุลตนเองว่า เวนิเซลอส ครอบครัวมีต้นกำเนิดเป็นชาวลาโคเนีย, ชาวมานีออทและชาวครีตัน[6]
ครอบครัวและการศึกษา
แก้อีเลฟเทริออสเกิดที่มอร์นีส์ ใกล้เมืองชาเนีย (มักรู้จักในนามว่า คาเนีย) ครีต ในสมัยที่ออตโตมันครอบครอง เป็นบุตรของคีรีอาคอส เวนิเซลอส พ่อค้าและนักปฏิวัติชาวครีต[7] เมื่อเกิดการปฏิวัติครีตปีค.ศ. 1866 ครอบครัวเวนิเซลอสได้หลบหนีไปยังเกาะซีรอส เนื่องจากการที่บิดาของเขามีส่วนร่วมในการก่อการปฏิวัติ[6] พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้กลับมายังครีตและอาศัยอยูที่ซีรอสจนถึงปีค.ศ. 1872 เมื่อสุลต่านอับดุล อะซีซทรงพระราชทานอภัยโทษ
เขาใช้เวลาในปีสุดท้ายของการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนในเออร์มูโปลี เกาะซีรอส ซึ่งเขาได้รับประกาศนียบัตรในปีค.ศ. 1880 ในปีค.ศ. 1881 เขาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอเธนส์ ในสำนักนิติศาสตร์ และได้รับปริญญาในด้านนิติศาสตร์ด้วยคะแนนยอดเยี่ยม เขาได้กลับมายังครีตในปีค.ศ. 1886 และทำงานในฐานะทนายความที่ชาเนีย ตลอดชีวิตของเขาเขายังคงรักในการอ่านอย่างต่อเนื่องและได้รับการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ, ภาษาอิตาเลียน, ภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศส[6]
เข้าสู่การเมือง
แก้สถานการณ์ในครีตช่วงต้นชีวิตของเวนิเซลอสเป็นที่ราบรื่น จักรวรรดิออตโตมันถูกบั่นทอนทำลายด้วยการปฏิรูปซึ่งอยู่ภายใต้ความกดดันของนานาชาติ ในขณะที่ชาวครีตปรารถนาที่จะเห็นสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 ทรงละทิ้ง "พวกนอกรีตที่น่ารังเกียจ"[8] ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่แน่นอนเหล่านี้ เวนิเซลอสได้เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1889 ในฐานะที่เป็นสมาชิกพรรคเสรีนิยมของเกาะ[7] ในฐานะผู้แทน เขาได้ประสบความสำเร็จจากการพูดที่มีคารมคมคายและความคิดเห็นที่รุนแรงของเขา[9]
อาชีพทางการเมืองในครีต
แก้การลุกฮือของชาวครีตัน
แก้เบื้องหลัง
แก้การปฏิวัติหลายครั้งในครีต ในช่วงระหว่างและหลังสงครามประกาศอิสรภาพกรีซ (ค.ศ. 1821, 1833, 1841, 1858, 1866, 1878, 1889, 1895, 1897)[10] เป็นผลมาจากความปรารถนาของชาวครีตันสำหรับการทำอีโนซิส (Enosis) คือการรวมเข้ากับกรีซ[11] ในการปฏิวัติครีตปีค.ศ. 1866 ทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงกันภายใต้แรงกดดันของมหาอำนาจ ซึ่งถึงที่สุดด้วยการทำข้อตกลงฮาเลปา หลังจากนั้นข้อตกลงได้ถูกรวมอบู่ในบทบัญญัติของสนธิสัญญาเบอร์ลิน ซึ่งในส่วนภาคผนวกได้มีการยอมให้กับชาวครีตันก่อนหน้านี้ เช่นใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เป็นพื้นฐานของรัฐ (ค.ศ. 1868) ที่ร่างโดยวิลเลียม เจมส์ สติลแมน ในส่วนสรุปของข้อตกลงได้อนุญาตให้มีรัฐบาลชาวกรีกที่มีระดับขนาดใหญ่ในครีตเป็นวิธีการจำกัดความปรารถนาของพวกเขาที่จะลุกขึ้นต่อต้านเจ้านายออตโตมันของพวกเขา[12] แต่ชาวมุสลิมในครีต ผู้ซึ่งขึ้นตรงต่อออตโตมันตุรกี ไม่พอใจการปฏิรูปเหล่านี้ ในฐานะที่พวกเขาได้มองว่าการบริหารเกาะได้ถูกส่งผ่านไปยังมือของประชาชนชาวกรีกที่นับถือศาสนาคริสต์ ในทางปฏิบัติ จักรวรรดิออตโตมันมีความล้มเหลวในการบังคับใช้บทบัญญัติของข้อตกลง ดังนั้นจึงเป็นการเติมเชื้อไฟความตึงเครียดที่มีอยู่ระหว่างสองชุมชน ผู้มีอำนาจออตโตมันจะพยายามรักษาความสงบเรียบร้อยโดยการจัดส่งการเพิ่มกำลังทหารอย่างมากในช่วงค.ศ. 1880 - 1896 ตลอดระยะเวลานั้น ปัญหาชาวครีตัน ได้เป็นประเด็นหลักของความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรกรีซกับจักรวรรดิออตโตมัน
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1897 ความรุนแรงและความวุ่นวายได้ทวีมากขึ้นบนเกาะ ทำให้เกิดการแบ่งเป็นสองขั้ว การสังหารหมู่ประชากรที่นับถือศาสนาคริสต์ได้เกิดขึ้นในชาเนีย[13][14][15][16]และเรทีมโน[16][17][18] รัฐบาลกรีกได้รับแรงกดดันจากประชาชน การไม่ยอมอ่อนข้อกับสถานะทางการเมือง กลุ่มชาตินิยมแบบสุดโต่งคือกลุ่มเอ็ทนีกิ เอไทเรเอีย (Ethniki Etaireia)ที่เกิดขึ้น[19] และความไม่พอใจที่มหาอำนาจไม่เต็มใจเข้าแทรกแซง ทำให้รัฐบาลกรีกได้ตัดสินใจที่จะส่งเรือรบและบุคลากรทางกองทัพเพื่อปกป้องชาวกรีกครีตัน[20] มหาอำนาจไม่มีทางเลือกอื่นและจะดำเนินการยึดครองเกาะ แต่ก็สายไปแล้ว กองทัพกรีกประมาณ 2,000 นายได้ขึ้นฝั่งที่โคลิมวารีในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1897[21] และภายใต้การบังคับบัญชาของพันเอกทีโมลีออน วัสซอส ได้ประกาศว่าเขายึดเกาะนี้ "ในนามของพระมหากษัตริย์แห่งเฮลลีนส์" และนั่นคือการประกาศรวมครีตเข้ากับกรีซ[22] สิ่งนี้ทำให้เกิดการลุกฮือขึ้นทั่วทั้งเกาะในทันที มหาอำนาจตัดสินใจปิดล้อมครีตด้วยกองทัพเรือและกองทัพบก ดังนั้นจึงสามารถหยุดกองทัพกรีกที่กำลังจะเข้าเมืองชาเนียได้[23]
เหตุการณ์ที่อาโกรตีรี
แก้เวนิเซลอสในขณะนั้นได้เดินทางหาเสียงเลือกตั้งไปทั่วเกาะ ครั้งหนี่งเขา"เห็นคาเนียในเปลวเพลิง"[24] เขารีบเดินทางไปที่หมู่บ้านมาลาซา ใกล้เมืองคาเนีย ที่ซึ่งมีการเรียกประชุมพลกลุ่มกบฏประมาณ 2,000 คน และตั้งให้เขาขึ้นเป็นหัวหน้า เขาเสนอการโจมตีพร้อมๆกับกบฏคนอื่นๆโดยโจมตีกองทัพเติร์กที่อาโกรตีรีเพื่อที่จะขับไล่กองทัพออกไปจากที่ราบ (หมู่บ้านมาลาซาอยู่ในที่สูง) ปฏิบัติการของเวนิเซลอสที่อาโกรตีรีได้เป็นการกำหนดตำนานของเขา ผู้คนได้แต่งบทกวีถึงอาโกรตีรีและบทบาทของเขาที่นั่น มีบทบรรณาธิการและบทความที่กล่าวเกี่ยวกับความกล้าหาญของเขา วิสัยทัศน์และความอัจฉริยะทางการทูตของเขาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในความยิ่งใหญ่หลังจากนี้[13] เวนิเซลอสใช้เวลาทั้งคืนที่อาโกรตีรีและธงชาติกรีซได้ถูกเชิญขึ้น กองทัพออตโตมันได้ขอความช่วยเหลือจากผู้บัญชาการกองทัพเรือต่างชาติให้โจมตีกลุ่มกบฏ โดยกองเรือของมหาอำนาจได้ยิงถล่มฐานที่มั่นของกลุ่มกบฏที่อาโกรตีรี ลูกปืนใหญ่ทำให้ธงร่วงหล่นลงมา ซึ่งธงได้ถูกเชิญขึ้นอีกครั้งในทันที มีการเล่าลือเชิงตำนานได้ประกาศถึงปฏิบัติการของเขาในเดือนกุมภาพันธ์นั้น เป็นคำกล่าวต่อไปนี้
“ | ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ [เขา]ได้ถูกสั่งจากผู้บัญชาการเรือให้ลดธงลง และให้สลายกองทัพกบฏ เขาปฏิเสธ![25] | ” |
“ | เวนิเซลอสมุ่งหน้าสู่ท่าเซาดา ที่ซึ่งเรือรบจอดทอดสมออยู่และเขาได้อธิบายว่า "คุณมีปืนใหญ่ ก็ยิงไป! แต่ธงของเราจะไม่ลดลงมา"... [หลังจากธงถูกยิง] เวนิเซลอสได้วิ่งไปข้างหน้าแต่เพื่อนของเขาได้หยุดเขาไว้ ทำไมถึงเสี่ยงชีวิตที่มีค่าอย่างไร้ประโยชน์ด้วยเล่า?[26] | ” |
“ | เป็นวันที่สำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1897 เมื่อ...เขาปฏิเสธคำสั่งของมหาอำนาจผู้ปกครองและมีวลีที่งดงามในหนังสือพิมพ์กรีกว่า "ท้าทายกองทัพเรือแห่งยุโรป"[27] | ” |
“ | ภายใต้การทูตที่ราบรื่นของวันนี้คือ นักปฏิวัติ ผู้ซึ่งแหย่ให้พวกเติร์กออกจากเกาะครีต และหัวหน้าผู้กล้าซึ่งพักอยู่กับกลุ่มกบฏน้อยๆบนยอดเนินเขาคาเนีย และเขาทำการท้าทายกงสุลและกองทัพเรือของทุก[มหา]อำนาจ![28] | ” |
ในเย็นวันเดียวกันกับการยิงปืนถล่ม เวนิเซลอสได้เขียนข้อความประท้วงไปยังผู้บัญชาการกองทัพเรือต่างชาติ ซึ่งลงนามโดยหัวหน้าทั้งหมดที่อยู่ที่อาโกรตีรี เขาเขียนว่ากลุ่มกบฏจะคงรักษาฐานที่มั่นไว้จนกว่าทุกๆคนถูกฆ่าโดยการสุนปืนใหญ่ของกองทัพเรือยุโรปจนหมดสิ้นแล้วเพื่อจะไม่ยอมให้พวกเติร์กยังคงดำรงอยู่ในครีต[29] ข้อความได้รั่วไหลอย่างจงใจไปยังหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ ซึ่งได้สร้างความรู้สึกทั้งในกรีซและในยุโรป ที่ซึ่งมีความคิดในเรื่องของชาวคริสต์ ผู้ต้องการเสรีภาพของเขา ได้ถูกโจ���ตีโดยกองทัพเรือของชาวคริสต์ด้วยกัน ทำให้เกิดความขุ่นเคืองเป็นอันมาก ความเห็นใจทั่วทั้งยุโรปตะวันตกต่อคริสต์ศาสนิกชนในครีตได้เป็นที่ประจักษ์และได้เกิดเสียงปรบมือสรรเสริญแก่ชาวกรีกเป็นจำนวนมาก[23]
สงครามในเทสซาลี
แก้มหาอำนาจได้ส่งบันทึกข้อความทางวาจาไปยังรัฐบาลกรีซและจักรวรรดิออตโตมันในวันที่ 2 มีนาคม เพื่อเสนอหนทางที่เป็นไปได้ในการแก้ไข "ปัญหาครีตัน" ซึ่งครีตจะกลายเป็นรัฐอิสระภายใต้อำนาจของสุลต่าน[8] ทางประตูวิจิตรของออตโตมันได้ตอบรับในวันที่ 5 มีนาคม โดยยอมรับข้อเสนอในหลักการ แต่ในวันที่ 8 มีนาคม รัฐบาลกรีซได้ปฏิเสธข้อเสนอที่ไม่น่าพอใจและยืนยันว่าการรวมครีตเข้ากับกรีซคือหนทางเดียวเท่านั้น
เวนิเซลอสในฐานะที่เป็นตัวแทนของกองกำลังกบฏได้พบกับนายพลเรือของมหาอำนาจบนเรือรบรัสเซียในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1897 แม้ว่าจะไม่มีความคืบหน้าในการพบปะกันครั้งนี้ เขาได้ชักชวนให้นายพลพาเขาไปรอบเกาะภายใต้การคุ้มครองเพื่อสำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับคำถามว่าความเป็นอิสระหรือการรวมเป็นสหภาพเดียวกับกรีซ[30] ในขณะที่ประชากรชาวครีตันส่วนใหญ่แรกเริ่มสนับสนุนการรวมเป็นสหภาพ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเทสซาลีได้เปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชนไปเป็นการเป็นรัฐอิสระโดยทันที
ในปฏิกิริยาต่อการกบฏในครีตและความช่วยเหลือที่ส่งมาจากกรีซ จักรวรรดิออตโตมันได้ย้ายกองทัพส่วนที่สำคัญในคาบสมุทรบอลข่านมายังทางตอนเหนือของเทสซาลี ใกล้กับพรมแดนกรีซ[31] กรีซได้ตอบรับด้วยการเสริมกำลังไปที่พรมแดนเทสซาลี อย่าไรก็ตาม ความผิดปกติของกองทัพกรีซ ที่ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มเอ็ทนีกิ เอไทเรเอีย (ผู้สนับสนุนแนวคิดกรีกเมกาลี) ได้ปฏิบัติการโดยไม่มีคำสั่งและบุกเข้าไปที่ด่านหน้าของกองทัพเติร์ก[32] ทำให้จักรวรรดิออตโตมันประกาศสงครามกับกรีซในวันที่ 17 เมษายน สงครามนี้เป็นหายนะของกรีซ ทหารเติร์กมีการเตรียมพร้อมดีกว่า โดยส่วนใหญ่เนื่องจากการปฏิรูปที่ผ่านมาที่ดำเนินการโดยชาวเยอรมันคือ บารอน ฟอน เดอ โกลทซ์ และกองทัพกรีซได้ล่าถอยภายในไม่กี่สัปดาห์ มหาอำนาจได้เข้าแทรกแซงอีกครั้งและได้มีการลงนามสนธิสัญญาสงบศึกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1897[33]
ผลสรุป
แก้การพ่ายแพ้ของกรีซในสงครามกรีซ-ตุรกี ได้สูญเสียพื้นที่ขนาดเล็กที่เส้นพรมแดนเทสซาลีตอนเหนือและชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม 4,000,000 ปอนด์[33] ซึ่งกลายเป็นชัยชนะทางการทูต กลุ่มมหาอำนาจ (สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, รัสเซีย และอิตาลี) ตามมาด้วยเกิดการสังหารหมู่ในฮีราคลีออนในวันที่ 25 สิงหาคม[16][35][36]ได้กำหนดทางออกสุดท้ายของ "ปัญหาครีตัน" คือ ครีตได้ถูกประกาศเป็นรัฐอิสระภายใต้อำนาจของซูเซอเรนออตโตมัน
เวนิเซลอสมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหานี้ ไม่เพียงแต่เป็นผู้นำกบฏครีตันแต่ยังเป็นนักการทูตที่เชี่ยวชาญโดยการสื่อสารกับนายพลเรือของมหาอำนาจบ่อยๆ[36] มหาอำนาจทั้งสี่ยอมรับการบริหารของครีต และเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ พระโอรสองค์ที่สองในพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ ทรงเป็นข้าหลวงใหญ่ โดยเวนิเซลอสดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่ค.ศ. 1899 ถึงค.ศ. 1901[37]
รัฐอิสระครีต
แก้เจ้าชายจอร์จทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่แห่งครีตเป็นระยะเวลา 3 ปี[37] ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1898 พระองค์ได้เสด็จมาถึงชาเนีย ที่ซึ่งทรงได้รับการต้อนรับอย่างคาดไม่ถึง ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1899 ข้าหลวงใหญ่ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารอันประกอบด้วยผู้นำชาวครีตัน เวนิเซลอสได้ดำรงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและคณะกรรมการที่เหลือได้เริ่มต้นที่จะก่อตั้งรัฐขึ้นมา หลังจากที่เวนิเซลอสได้ผ่านตัวบทกฎหมายออกมาในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1900 ความขัดแย้งระหว่างเขาและเจ้าชายจอร์จได้เกิดขึ้น
เจ้าชายจอร์จทรงตัดสินพระทัยเดินทางไปยังยุโรปและทรงประกาศจ่อประชาชนชาวครีตันว่า "เมื่อข้าพเจ้าเดินทางไปยุโรป ข้าพเจ้าจะทวงถามมหาอำนาจถึงเรื่องการผนวก และข้าพเจ้าหวังว่าจะประสบความสำเร็จได้ด้วยเครือข่ายครอบครัวของข้าพเจ้า"[38] แถลงการณ์นี้ทรงมีถึงประชาชนโดยไม่ผ่านการรับรู้หรือความเห็นชอบจากคณะกรรมการ เวนิเซลอสได้กล่าวว่าเจ้าชายทรงปฏิบัติพระองค์ไม่เป็นที่เหมาะสมในการที่ทรงให้ความหวังแก่ประชาชนในบางสิ่งบางอย่างที่เป็นไปไม่ได้ในขณะนั้น ซึ่งเป็นไปตามที่เวนิเซลอสคาดการณ์ไว้ ในช่วงที่เจ้าชายเสด็จประพาส มหาอำนาจได้ปฏิเสธตำร้องขอของพระองค์[37][38]
ความขัดแย้งยังคงเกิดขึ้นในประเด็นอื่นอีกเมื่อ เจ้าชายมีพระประสงค์ที่จะสร้างพระราชวัง แต่เวนิเซลอสได้คัดค้านอย่างแข็งขันเพราะนั่นหมายถึงการทำให้การปกครองจะถูกจัดการอย่างถาวร ชาวครีตันได้ยอมรับเพียงชั่วคราวจนกว่าจะพบทางออกสุดท้าย[37] ความสัมพันธ์ของทั้งสองเป็นที่ขุ่นเคืองมากขึ้นและเวนิเซลอสได้ยืนยันอีกครั้งในการลาออกจากตำแหน่งของเขา[39]
ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร เวนิเซลอสได้แสดงความคิดเห็นว่าเกาะไม่ได้เป็นอิสระอย่างเป็นสาระสำคัญ ตั้งแต่กำลังทหารของมหาอำนาจยังคงอยู่และมหาอำนาจยังปกครองโดยผ่านตัวแทนคือเจ้าชาย เวนิเซลลอสแนะนำว่าครั้งหนึ่งระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าชายก็ต้องหมดไป จากนั้นมหาอำนาจควรจะเชิญคณะกรรมการซึ่งเป็นไปตามมาตรา 39 ของรัฐธรรมนูญ (ซึ่งถูกระงับในการประชุมที่โรม) ในการเลือกประมุขคนใหม่ โดยการนำเอาอำนาจของมหาอำนาจออกไป เมื่อกองกำลังทหารของมหาอำนาจถอนออกไปจากเกาะแล้วพร้อมกับผู้แทนของพวกเขา การรวมเข้ากับกรีซจะเป็นเรื่องง่ายที่จะสำเร็จ ข้อเสนอนี้ถูกแย่งนำไปใช้ประโยชน์โดยฝ่ายตรงข้ามของเวนิเซลอสที่กล่าวหาเขาว่า เขาอยากให้ครีตมีอำนาจอิสระ เวนิเซลอสโต้ตอบผู้กล่าวหาด้วยการยืนยันที่จะลาออกอีกครั้ง ด้วยเหตุผลที่ว่าสำหรับเขามันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำงานร่วมกับสมาชิกของคณะกรรมการ เขามั่นใจในข้าหลวงใหญ่แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะเข้าร่วมฝ่ายค้าน[37]
ในวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1901 ในรายงาน เขาได้เปิดเผยเหตุผลที่บังคับให้เขาลาออกจากตำแหน่งเพื่อได้เป็นข้าหลวงใหญ่ แต่ข่าวได้ถูกแพร่ออกไป ในวันที่ 20 มีนาคม เวนิเซลอสถูกปลดเพราะ "เขาไม่ได้มีอำนาจในการสนับสนุนในความคิดที่ตรงข้ามกับของข้าหลวง"[37][40] ต่อจากนี้ เวนิเซลอสได้ยอมรับเป็นหัวหน้าฝ่ายตรงข้ามของเจ้าชาย ต่อไปอีกสามปี เขาดำเนินการทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างหนักจนการบริหารกลายเป็นอัมพาตจริงๆและเกิดความตึงเครียดครอบงำเกาะ ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1905 เกิดการปฏิวัติเทริโซ ที่ซึ่งเขาได้เป็นหัวหน้าผู้ก่อการ
การปฏิวัติเทริโซ
แก้ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1905 กลุ่���กบฏได้รวมตัวกันที่เทริโซและประกาศ "การรวมสหภาพทางการเมืองกับกรีซภายใต้รัฐธรรมนูญเสรีฉบับเดียว"[41] การแก้ไขปัญหาได้ถูกส่งไปยังมหาอำนาจ ที่ซึ่งกำลังถกเถียงถึงข้อตกลงชั่วคราวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งกำลังขัดขวางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาะ และทางออกเดียวในการแก้ไข "ปัญหาครีตัน" คือการรวมเข้ากับกรีซ ข้าหลวงใหญ่พร้อมความเห็นชอบจากมหาอำนาจได้ตอบไปยังกลุ่มกบฏว่าจะนำกำลังทหารเข้ามาปราบ��ราม[37] อย่างไรก็ตาม ผู้แทนหลายคนได้มาเข้าร่วมกับเวนิเซลอส กงสุลของมหาอำนาจหลังได้พบกับเวนิเซลอสที่มอร์นีส์โดยพยายามจะบรรลุข้อตกลงการเจรจา แต่ก็ไม่เป็นผล
คณะรัฐบาลปฏิวัติได้เรียกร้องว่าครีตควรจะมีระบอบการปกครองที่คล้ายคลึงกับรูเมเลียตะวันออก ในวันที่ 18 กรกฎาคม มหาอำนาจได้ประกาศกฎอัยการศึก แต่นั่นก็ไม่สามารถยับยั้งกลุ่มกบฏได้ ในวันที่ 15 สิงหาคม การประชุมประจำที่ชาเนียได้ลงมติเห็นชอบการปฏิรูปที่เวนิเซลอสเสนอมากที่สุด กงสุลของมหาอำนาจได้พบกับเวนิเซลอสอีกครั้งและยอมรับการปฏิรูปที่เขาเสนอ สิ่งนี้นำไปสู่จุดสิ้นสุดกบฏเทริโซ และการลาออกจากตำแหน่งของเจ้าชายจอร์จในฐานะข้าหลวงใหญ่ มหาอำนาจได้มอบหมายอำนาจในการเลือกข้าหลวงของเกาะคนใหม่แก่พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ ทำให้อำนาจในการปกครองโดยพฤตินัยของจักรวรรดิออตโตมันเป็นอันโมฆะ อดีตนายกรัฐมนตรีกรีซ อเล็กซานดรอส ไซมิส ได้ถูกเลือกให้เป็นข้าหลวงใหญ่ และเจ้าหน้าที่และนายทหารชั้นประทวนชาวกรีกได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในองค์กรกองทหารครีต ทันทีที่องค์กรกองทหารได้รับการจัดตั้ง ทหารต่างชาติได้ถอนกำลังออกจากเกาะ นี้ถือเป็นชัยชนะส่วนบุคคลของเวนิเซลอส ที่ได้มีชื่อเสียงไม่เพียงแต่ในกรีซแต่ในยุโรปด้วย[37]
จากการปฏิวัติยังเติร์ก บัลแกเรียได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมันในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1908 และในวันถัดมา จักรพรรดิออสเตรีย จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 ทรงประกาศผนวกบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา ด้วยเหตุการณ์เหล่านี้ ในวันเดียวกัน ชาวครีตันได้ลุกฮือขึ้น พลเรือนหลายพันคนในชาเนียและพื้นที่รอบๆได้ชุมนุมกัน ซึ่งเวนิเซลอสได้ประกาศรวมครีตเข้ากับกรีซ โดยมีการติดต่อกับรัฐบาลที่เอเธนส์ ไซมิสได้เดินทางไปยังกรีซก่อนที่จะเกิดการชุมนุม
การชุมนุมได้ถูกเรียกรวมพลขึ้นและประกาศความเป็นอิสระของครีต ข้าราชการได้สาบานตนต่อหน้าพระนามพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ ในขณะที่สมาชิกทั้งห้าของคณะกรรมการบริหารได้ถูกจัดตั้งขึ้น ด้วยอำนาจในการควบคุมเกาะนี้ในพระนามของพระมหากษัตริย์ และด้วยกฎหมายของรัฐกรีก ประธานคณะกรรมการคือ อันโตนิออส มิเชลิดากิส และเวนิเซลอสได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและการต่างประเทศ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1910 ได้มีการประชุมครั้งใหม่และเวนิเซลอสได้รับเลือกให้เป็นประธานและจากนั้นคือนายกรัฐมนตรี ทหารต่างชาติทั้งหมดได้ออกไปจากครีตและอำนาจทั้งหมดได้ถ่ายโอนมายังรัฐบาลของเวนิเซลอส
อาชีพทางการเมืองในกรีซ
แก้การปฏิวัติโกวดีปีค.ศ. 1909
แก้เวนิเซลอสกล่าวปาฐกถาในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาโดยสื่อต่างประเทศในการประชุมสันติภาพ ปีค.ศ. 1919[42][43]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1909 จำนวนเจ้าหน้าที่ในกองทัพกรีกได้ลอกเลียนแบบมาจากกลุ่มยังเติร์กในคณะกรรมาธิการสหภาพและความก้าวหน้า ที่พยายามจะปฏิรู๔ปรัฐบาลแห่งชาติของประเทศและจัดระเบียบกองทัพ ดังนั้นจึงเป็นการสร้างสันนิบาตกองทัพ สันนิบาตนี้ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1909 ย้ายตั้งพักแรมอยู่ชานกรุงเอเธนส์ที่โกวดี ด้วยกันกับผู้สนับสนุนของพวกเขาได้บีบบังคับให้รัฐบาลของดีมิทริออส รอลลิสลาออก และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายใต้นายกรัฐมนตรีคนใหม่คือ คีเรียโควลิส มัฟโรมิชาลิส เป็นการเข้ารับตำแหน่งภายใต้แรงกดดันทางทหารโดยตรงเหนือสภา แต่การสนับสนุนของสาธารณชนต่อสันนิบาตได้จางหายไปอย่างรวดเร็วเมื่อเห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทราบถึงวิธีการที่จะตอบสนองความต้องการของพวกเขา[44] ภาวะทางตันทางการเมืองยังคงดำรงอยู่ต่อไปจนกระทั่งสันนิบาตได้เชิญเวนิเซลอสจากเกาะครีตเข้ามาดำเนินการในฐานะผู้นำ[45]
เวนิเซลอสไปยังเอเธนส์หลังจากปรึกษาหารือกับสันนิบาตและกับผู้แทนในการเมืองโลก เขาเสนอจัดตั้งรัฐบาลใหม่และปฏิรูปรัฐสภากรีซ ข้อเสนอของเขาได้รับการพิจารณาจากพระมหากษัตริย์และนักการเมืองกรีกที่เป็นอันตรายต่อการสถาปนาการเมือง อย่างไรก็ตาม พระเจ้าจอร์จที่ 1 ทรงเกรงว่าจะเกิดวิกฤตการณ์มากขึ้น ทรงเรียกประชุมสภาและผู้นำทางการเมือง และทรงแนะนำให้พวกเขายอมรับข้อเสนอของเวนิเซลอส หลังจากมีการเลื่อนเวลาออกไปมาก พระมหากษัตริย์ทรงเห็นชอบที่จะแต่งตั้งให้สเตฟานอส ดรากูมิส (ซึ่งได้รับการชี้นำจากเวนิเซลอส) จัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่จะนำประเทศไปสู่การเลือกตั้งอีกครั้งเมื่อสันนิบาตได้ถูกยุบเลิกไป[46] ในการเลือกตั้งวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1910 เหล่าผู้สมัครอิสระได้ที่นั่งในรัฐสภาเกือบครึ่ง ซึ่งจะกลายเป็นผู้มาใหม่ในฉากการเมืองกรีก แม้จะมีข้อสงสัยในการเป็นพลเมืองกรีกที่ถูกต้องของเวนิเซลอส และด้วยไม่มีการเลือกตั้งในแบบรายบุคคลที่สิ้นสุดที่ผู้เลือกตั้งสูงสุดในอัตติกา เขาได้รับการจัดตั้งให้เป็นผู้นำของฝ่ายอิสระในทันทีและดังนั้นเขาจึงตั้งพรรคการเมือง คือ พรรคโกมมาไฟเลฟทีรอน (พรรคเสรินิยม) ไม่นานหลังจากการเลือกตั้ง เขาเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่ด้วยหวังที่จะชนะเสียงข้างมาก พรรคเก่าได้ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งใหม่และในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1910 พรรคของเวนิเซลอสชนะการเลือกตั้ง 300 ที่นั่งจาก 362 ที่นั่งในรัฐสภา โดยเป็นการที่พลเรือนได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในฉากการเมืองใหม่มากที่สุด[44] เวนิเซลอสจัดตั้งรัฐบาลและเริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจ, การเมืองและกิจการระดับประเทศ
การปฏิรูปในปีค.ศ. 1910 - 1914
แก้เวนิเซลอสพยายามเดินหน้าตามโครงการปฏิรูปของเขาในด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและสังคม, การศึกษาและวรรณกรรม โดยการประนี���ระนอมความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งอย่างเป็นรูปธรรม ในด้านการศึกษา ตัวอย่างเช่นพลวัตในปัจจุบันได้นิยมใช้ภาษาพูด ดีโมทิกิ ได้กระตุ้นปฏิกิริยาอนุรักษนิยม ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจในรัฐธรรมนูญ (มาตรา 107) ที่เห็นด้วยกับภาษาทางการที่ "บริสุทธิ์" คือ ภาษาคาทาเรวูซา ซึ่งมีลักษณะกลับไปยังยุคคลาสสิก[47]
ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1911 กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างเสรีภาพส่วนบุคคล ด้วยมาตรการที่อำนวยความสะดวกแก่ฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐสภา และการสร้างระบบการศึกษาระดับประถมศึกษาภาคบังคับ และสิทธิในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย ความมั่นใจในการแต่งตั้งข้าราชการระดับถาวร สิทธิในการเชิญบุคลากรชาวต่างชาติในการดำเนินการปรับโครงสร้างการบริหารและการทหาร การสร้างสภาแห่งรัฐอีกครั้งและความเรียบง่ายในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ จุดมุ่งหมายของการปฏิรูปคือการรักษาความปลอดภัยโดยรวมของประชาชนและการปกครองด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการผลิตเศรษฐทรัพย์ของประเทศ ในบริบทนี้วางแผนโดยกระทรวงทั้งแปด กระทรวงเศรษฐกิจแห่งชาติได้มีบทบาทนำ นับตั้งแต่ต้นปีค.ศ. 1911 กระทรวงนำโดย เอ็มมานูเอล เบนากิส พ่อค้าผู้มั่งคั่งชาวกรีกที่มาจากอียิปต์และเป็นเพื่อนของเวนิเซลอส[47] ในระหว่างปีค.ศ. 1911 และ 1912 จำนวนของกฎหมายมากมายที่มุ่งเน้นกรรมกรในกรีซได้รับการประกาศใช้ มาตรการที่เฉพาะเจาะจงได้มีข้อห้ามใช้แรงงานเด็ก และการทำงานของผู้หญิงในเวลากลางคืน ที่ซึ่งใช้เวลาในการทำงานและวันหยุด และนำไปสู่การก่อตั้งองค์กรแรงงาน[48] เวนิเซลอสยังคงใช้มาตรการในการปรับปรังุการบริหารจัดการ ความยุติธรรมและการรักษาควมสงบ และมีการจัดตั้งกลุ่มคนที่ไร้ที่ดินให้ตั้งถิ่นฐานที่เทสซาลี[47]
เชิงอรรถ
แก้- ↑ Kitromilides, 2006, p. 178
- ↑ 'Liberty Still Rules' เก็บถาวร 2013-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Time, Feb.18,1924
- ↑ "Venizélos, Eleuthérios". Encyclopædia Britannica Online. 2008.
- ↑ Duffield J. W., The New York Times, October 30, 1921, Sunday link
- ↑ "Intrigue in Greece". The Argus (Melbourne, Vic. : 1848 – 1956). Melbourne, Vic.: National Library of Australia. 4 July 1916. p. 7. สืบค้นเมื่อ 29 November 2012.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Chester, 1921, p. 4
- ↑ 7.0 7.1 Mitsotaki, Zoi (2008). "Venizelos the Cretan. His roots and his family". National Foundation Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-18. สืบค้นเมื่อ 2014-08-25.
- ↑ 8.0 8.1 Ion, 1910, p. 277
- ↑ Kitromilides, 2006, p. 45, 47
- ↑ Kitromilides, 2006, p. 16
- ↑ Clogg, 2002, p. 65
- ↑ "Pact of Halepa". Encyclopædia Britannica Online. 2008.
- ↑ 13.0 13.1 Kitromilides, 2006, p. 58
- ↑ Lowell Sun (newspaper), 6/2/1897, p. 1
- ↑ Holland, 2006, p. 87
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Papadakis, Nikolaos E. (2008). "Eleftherios Venizelos His path between two revolutions 1889–1897". National Foundation Research. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-18. สืบค้นเมื่อ 2014-08-26.
- ↑ Holland, 2006, p. 91
- ↑ Chester, 1921, p. 35
- ↑ Chester, 1921, p. 34
- ↑ Kitromilides, 2006, p. 30
- ↑ Kitromilides, 2006, p. 62
- ↑ Kerofilias, 1915, p. 14
- ↑ 23.0 23.1 Dunning, Jun. 1987, p. 367
- ↑ Chester, 1921, pp. 35–36
- ↑ Gibbons, p. 24
- ↑ Kerofilias, 1915, pp. 13–14
- ↑ Leeper, 1916, pp. 183–184
- ↑ Anne O'Hare, McCormark, Venizelos the new Ulysses of Hellas, The New York Times Magazine, 2 September, p. 14
- ↑ Kitromilides, 2006, pp. 63–64
- ↑ Kitromilides, 2006, p. 65
- ↑ Rose, 1897, pp. 2–3
- ↑ Dunning, June 1897, p. 368
- ↑ 33.0 33.1 Dunning Dec. 1897, p. 744
- ↑ Understanding life in the borderlands: boundaries in depth and in motion, I. William Zartman, 2010, p.169
- ↑ Ion, 1910, p. 278
- ↑ 36.0 36.1 Kitromilides, 2006, p. 68
- ↑ 37.0 37.1 37.2 37.3 37.4 37.5 37.6 37.7 Manousakis, George (2008). "Eleftherios Venizelos during the years of the High Commissionership of Prince George (1898–1906)". National Foundation Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-09-01.
- ↑ 38.0 38.1 Kerofilias, 1915, pp. 30–31
- ↑ Kerofilias, 1915, p. 33
- ↑ Chester, 1921, p. 82
- ↑ Chester, 1921, p. 95
- ↑ Gibbons pp. 35–7
- ↑ Alastos p. 38
- ↑ 44.0 44.1 Mazower, 1992, p. 886
- ↑ "Military League". Encyclopædia Britannica Online. 2008.
- ↑ Chester, 1921, pp. 129–133
- ↑ 47.0 47.1 47.2 Gardika-Katsiadaki, Eleni (2008). "Period 1910 – 1914". National Foundation Research. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-18. สืบค้นเมื่อ 2014-11-27.
- ↑ Kyriakou, 2002, pp. 491–492
อ้างอิง
แก้- หนังสือ
- Abbott, G. F. (2008). Greece and the Allies 1914–1922. London: Methuen & co. ltd. ISBN 978-0-554-39462-6.
- Alastos, D. (1942). Venizelos, Patriot, Statesman, Revolutionary. London: P. Lund, Humphries & co.
- Bagger, E. S. (1922). Eminent Europeans; studies in continental reality (PDF). G.P. Putnam's Sons.
- Burg, D. F. (1998). Almanac of World War I. Lexington: University Press of Kentucky. ISBN 0-8131-2072-1.
- Chester, S. M. (1921). Life of Venizelos, with a letter from His Excellency M. Venizelos (PDF). London: Constable.
- Clogg, R. (2002). A Concise History of Greece. London: Cambridge University Press. ISBN 0-521-00479-9.
- Contogeorgis, G. (1996). Histoire de la Grèce. Nations d'Europe. ISBN 2-218-03841-2.
- Dutton, D. (1998). The Politics of Diplomacy: Britain and France in the Balkans in the First World War. I.B. Tauris. ISBN 978-1-86064-079-7.
- Fotakis, Z. (2005). Greek naval strategy and policy, 1910–1919. London: Routledge. ISBN 978-0-415-35014-3.
- Gibbons, H. A. (1920). Venizelos. Houghton Mifflin Company.
- Hall, Richard C. (2000). The Balkan Wars, 1912–1913: Prelude to the First World War. Routledge. ISBN 0-415-22946-4.
- Hickey, M. (2007). First World War: Volume 4 The Mediterranean Front 1914–1923. Taylor & Francis. ISBN 1-84176-373-X.[ลิงก์เสีย]
- Holland, R. F.; Makrides D. (2006). The British and the Hellenes: Struggles for mastery in the Eastern Mediterranean 1850–1960. Oxford University Press. ISBN 0-19-924996-2.
- Karamanlis, Kostas Al. (1995). Eleftherios Venizelos and the External Relations of Greece 1928–1930 (ภาษากรีก). Athens: Papazisis' Editions.
- Karolidis, P. (1974). The History of the Greek Nation (Volume XVI) (ภาษากรีก). Athens: Ekdotike Athenon. ISBN 960-213-101-2.
- Kerofilias, C. (1915). Eleftherios Venizelos, his life and work (PDF). John Murray.
- Kitromilides, P. (2006). Eleftherios Venizelos: The Trials of Statesmanship. Edinburgh: Edinburgh University Press. ISBN 0-7486-2478-3.
- Koliopoulos, G.; Veremis, T. (2002). Greece : the modern sequel : from 1831 to the present. New York: NYU Press. ISBN 0-8147-4767-1.
- Legg, K. R. (1969). Politics in modern Greece. Stanford University Press. ISBN 0-8047-0705-7.
- Leon, G. B. (1974). Greece and the Great Powers 1914–17. Thessaloniki: Institute of Balkan Studies.
- Manolikakis, Giannis (1985). Eleftherios Venizelos: his unknown life. Athens.
- Markezinis, S. (1968). Political History of modern Greece, Volume 4 (ภาษากรีก). Athens: Papyros.
- Paxton, Hibben (1920). Constantine I and the Greek People. New York: The Century Co. ISBN 978-1-110-76032-9.
- Pentzopoulos, D.; Smith M. L. (2002). The Balkan exchange of minorities and its impact on Greece. C. Hurst & Co Publishers. ISBN 1-85065-674-6.
- Price, Crawfurd (1917). Venizelos and the war, a sketch of personalities and politics (PDF). London: Simpkin.
- Rose, W. K. (2003, with 1st ed. 1987). With the Greeks in Thessaly. Adamant Media Corporation. ISBN 1-4021-0628-9.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - Seligman, V. J. (1920). Victory of Venizelos (PDF).
- Tsichlis, Vasileios S. E. (2007). The Goudi movement and Eleutherios Venizelos (ภาษากรีก). Polytropon. ISBN 960-8354-69-2.
- Tucker, Spencer C.
{{cite book}}
: line feed character ใน |first=
ที่ตำแหน่ง 11 (help)- Vatikotes, P. (1998). Popular autocracy in Greece, 1936–41: a political biography of general Ioannis Metaxas. London: Routledge. ISBN 978-0-7146-4869-9.
- Venizelos, E. (1916). Greece in Her True Light: Her Position in the World-wide War as Expounded by E. Venizelos (PDF). New York.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)
- เอกสาร
- Black, Cyril E. (January 1948). "The Greek Crisis: Its Constitutional Background". The Review of Politics. 10 (1): 84–99. doi:10.1017/S0034670500044521. JSTOR 1404369.
- Dunning, Wm. A. (June 1897). "Record of Political Events". Political Science Quarterly. The Academy of Political Science. 12 (3): 352–380. doi:10.2307/2140141. JSTOR 2140141.
- Dunning, Wm. A. (December 1897). "Record of Political Events". Political Science Quarterly. The Academy of Political Science. 12 (4): 734–756. doi:10.2307/2139703. JSTOR 2139703.
- Ion, Theodore P. (April 1910). "The Cretan Question". The American Journal of International Law. American Society of International Law. 4 (2): 276–284. doi:10.2307/2186614. JSTOR 2186614.
- Kyriakidou, Maria (2002). "Legislation in Inter-war Greece Labour Law and Women Workers: A Case Study of Protective" (PDF). European History Quarterly. 32 (4): 489. doi:10.1177/0269142002032004147. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2014-08-25.
- Leeper, A. W. A. (1916). "Allied Portraits: Eleftherios Venizelos". The New Europe I.
- Mazower, M. (December 1992). "The Messiah and the Bourgeoisie: Venizelos and Politics in Greece, 1909–1912". The Historical Journal. 35 (4): 885–904. doi:10.1017/S0018246X00026200. JSTOR 2639443.
เว็บไซต์อ้างอิง
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Eleftherios Venizelos