อำเภอโพธิ์ชัย

อำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย

โพธิ์ชัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ด

อำเภอโพธิ์ชัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Pho Chai
คำขวัญ: 
ดินแดนกระติบข้าวใหญ่ ผ้าไหมล้ำค่า
ผ้าขาวม้าเนื้อดี ข้าวจี่ปั้นโต
แตงโมแสนหวาน เล่าขานหลวงปู่ใหญ่
แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภอโพธิ์ชัย
แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภอโพธิ์ชัย
พิกัด: 16°19′25″N 103°46′9″E / 16.32361°N 103.76917°E / 16.32361; 103.76917
ประเทศ ไทย
จังหวัดร้อยเอ็ด
พื้นที่
 • ทั้งหมด394.3 ตร.กม. (152.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด58,080 คน
 • ความหนาแน่น147.30 คน/ตร.กม. (381.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 45230
รหัสภูมิศาสตร์4508
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอโพธิ์ชัย ถนนจรจำรูญ ตำบลขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด 45230
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

บ้านโพธิ์ชัยเดิมรวมขึ้นกับบ้านขามเปี้ย อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะต่อมาบ้านขามเปี้ยมีประชาชนอพยพมาอยู่หนาแน่น จนในปี พ.ศ. 2504 นายชา มนตรี จึงได้พาผู้คนจำนวนหนึ่งแยกมาตั้งหมู่บ้านใหม่ขึ้นในบริเวณโคกกระโดน ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่า อยู่ห่างจากบ้านขามเปี้ยไปทางทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ตั้งชื่อว่า "บ้านโคกกระโดน" ตามชื่อสถานที่ พร้อมกันนั้นชาวบ้านได้ตั้งนายชา มนตรี ขึ้นเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมาราษฎรตำบลขามเปี้ยได้พิจารณาเห็นว่า การขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ นี้ ราษฎรประสบควาามยากลำบากในการติดต่อราชการ ประกอบกับการดูแลของเจ้าหน้าที่ไม่ทั่วถึง เพราะการคมนาคมติดต่อไม่สะดวก ระยะทางไกลประมาณ 30 กิโลเมตรเศษ จึงได้ขอแยกมาขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดร้อยเอ็ด มีคราวหนึ่งที่เจ้าคุณเทศา(โพธิ์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดมาตรวจราชการพักอยู่ที่วัดบ้านโคกกระโดน พิจารณาเห็นว่า ชื่อบ้านโคกกระโดนนี้ไม่เพราะเท่าที่ควร ขณะประชุมราษฎรอยู่ที่ศาลาวัดก็ปรารภถึงเรื่องชื่อหมู่บ้าน ต้องการจะเปลี่ยนเสียใหม่ บังเอิญมองไปเห็นต้นโพธิ์อยู่ในบริเวณวัด จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "บ้านโพธิ์ชัย" ชาวบ้านจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า "บ้านโพธิ์ชัย" ตั้งแต่นั้นมา ผู้ใหญ่บ้านที่ปกครองบ้านโพธิ์ชัยต่อจากนายชา มนตรี คือ นายเข็ม ชูศรีทอง นายสุข สายโรจน์ นายเวน โพธิ์ชัยแสน และนายหนู แสนโบราณ แต่ละคนได้นำราษฎรปรับปรุงหมู่บ้านและได้สร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ไว้หลายแห่ง ซึ่งเป็นการนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่นในโอกาสต่อมา เช่น ร่วมกันสร้างบึงศรีจำรูญ(อยู่ทางทิศตะวันออกของสถานีตำรวจ) เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร พัฒนาหมู่บ้าน ติดถนนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จนมีประชาชนจากที่อื่นอพยพมาอยู่ในหมู่บ้านโพธิ์ชัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็๋นชุมชนหนาแน่นขึ้น ในปี พ.ศ. 2507 ขณะที่นายหนู แสนโบราณ เป็นผู้ใหญ่บ้านโพธิ์ชัย และนายบุญ ขามช่วง เป็นกำนันตำบลขามเปี้ย คณะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครูประชาบาล ตลอดจนผู้นำท้องถิ่นในเขตตำบลขามเปี้ย ตำบลเชียงใหม่ และตำบลสะอาด ได้ประชุมปรึกษาหารือกันที่วัดโคกหนองบัว ตำบลเชียงใหม่ พิจารณาเห็นว่า ท้องที่ตำบลขามเปี้ย ตำบลเชียงใหม่ และตำบลสะอาด มีอาณาเขตติดต่อกันและอยู่ห่างไกลจากอำเภอโพนทองมาก การเดินทางไปติดต่อราชการที่อำเภอไม่สะดวก ประกอบกับสภาพท้องที่ทั่ว ๆ ไปเป็นที่เชื่อได้ว่าจะเจริญต่อไปภายหน้า สมาชิกที่ได้มาประชุมกันได้มีมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ว่า ควรขอแยกทั้ง 3 ตำบลนี้ ออกจากอำเภอโพนทอง ขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้น สำหรับสถานที่จะตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ทุกตำบลต่างก็ต้องการให้ตั้งในเขตตำบลของตน แต่ตำบลเชียงใหม่กับตำบลสะอาดมีปัญหาเรื่องไม่มีที่ดินสำหรับจัดสรรเป็นศูนย์ราชการของกิ่งอำเภอตำบลขามเปี้ยจึงขอรับไปดำเนินการ เพราะมีที่ดินระหว่างบ้านโพธิ์ชัยกับบ้านขามเปี้ย เนื้อที่ประมาณ 740 ไร่ แบ่งที่ดินจัดสรรบางส่วนเป็นสถานที่สร้างศูนย์ราชการและบ้านพัก อีกส่วนหนึ่งเปิดให้ราษฏรจับจองอยู่อาศัยมีราษฏรหมู่บ้านใกล้เคียงอพยพมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกว่า "บ้านโนนกิ่ง" และแยกเป็นหมู่บ้านใหม่เมื่อเดือนเมษายน 2517 ว่า "บ้านชัยวารี"

เมื่อปี พ.ศ. 2516 ทางราชการกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติงบประมาณเป็นเงิน 40,000 บาท สำหรับการสร้างที่ว่าการอำเภอหนึ่งหลัง และบ้านพักข้าราชการสามหลัง ครั้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2517 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศแบ่งท้องที่อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอโพธิ์ชัย มีเขตการปกครองเป็น 4 ตำบล คือ ตำบลขามเปื้ย ตำบลสะอาด ตำบลเชียงใหม่ และตำบลคำพอุง ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลขามเปี้ย ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2517 เป็นต้นไป โดยมี นายนพพร จันทรถง เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรก[1] และต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ได้มีพระราชกษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอโพธิ์ชัย เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2522 และมีนายพุฒิชัย จรัณยานันท์ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอโพธิ์ชัยเป็นคนแรก[2]


ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอโพธิ์ชัยตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอโพธิ์ชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 112 หมู่บ้าน

 
ตำบลของอำเภอโพธิ์ชัย
ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน หมู่บ้าน ประชากร [a] [3]
1 ขามเปี้ย Kham Pia 20 10,778
2 เชียงใหม่ Chiang Mai 12 8,273
3 บัวคำ Bua Kham 11 5,345
4 อัคคะคำ Akkha Kham 14 8,131
5 สะอาด Sa-at 14 4,568
6 คำพอุง Kham Pha-ung 13 9,346
7 หนองตาไก้ Nong Ta Kai 10 3,556
8 ดอนโอง Don Ong 10 4,387
9 โพธิ์ศรี Pho Si 8 3,838
รวม 112 58,222
  1. ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอโพธิ์ชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลชัยวารี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลขามเปี้ย
  • เทศบาลตำบลเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงใหม่ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลคำพอุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำพอุงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลอัคคะคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอัคคะคำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขามเปี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขามเปี้ย (นอกเขตเทศบาลตำบลชัยวารี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบัวคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวคำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตาไก้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตาไก้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนโอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนโองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ศรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ศรีทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
  • ถ้ำภูมวย ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านนางาม หมู่ที่ 11 ตำบลคำพอุง เป็นถ้ำที่เกิดจากธรรมชาติ อยู่เนินเขา สามารถมองเห็นทิวทัศน์บริเวณด้านล่าง ซึ่งสวยงาม
  • ถ้ำสินชัย ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 10 ตำบลคำพอุง เป็นถ้ำที่เกิดจากธรรมชาติเช่นเดียวกับถ้ำภูมวย และมีทิวทัศน์สวยงาม
  • อุทยานศาลเจ้าปู่ขามเปี้ย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอบริเวณด้านหลังโรงพยาบาลโพธิ์ชัย สถานที่ดังกล่าวเป็นที่สิงสถิตของเจ้าปู่ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไปและเป็นป่าทึบ เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ซึ่งเหมาะสำหรับศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติวิทยา และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องที่
  • ป่าดงแม่เผด ตั้งอยู่ในตำบลคำพอุง เป็นเขตภูเขาที่ทอดตัวของทิวเขาภูพาน รอยต่อจังหวัดกาฬสินธุ์

ธนาคาร

แก้
  • ธนาคารออมสิน (สาขาย่อยโพธิ์ชัย)
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (สาขาโพธิ์ชัย)

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอโพธิ์ชัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (58 ง): 801. April 2, 1974. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2019-10-01.
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (42 ก ฉบับพิเศษ): 19–24. March 25, 1979. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2019-10-01.
  3. กระทรวงสาธารณสุข (1 มกราคม 2562). "จำนวนประชากรทะเบียนราษฏร์ ย้อนหลัง 3 ปี". hdcservice.moph.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-08. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)