อำเภอเกาะยาว

อำเภอในจังหวัดพังงา ประเทศไทย

เกาะยาว ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา เป็นอำเภอที่มีระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอยาวนานที่สุดในประเทศไทยถึง 85 ปี ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2446 ขึ้นตรงต่อเมืองพังงา และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531[1]

อำเภอเกาะยาว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ko Yao
คำขวัญ: 
เกาะสามเมือง ลือเลื่องการท่องเที่ยว หนึ่งเดียวรังนก มรดกอันดามัน มหัศจรรย์น้ำทะเลจืด
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอเกาะยาว
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอเกาะยาว
พิกัด: 8°6′42″N 98°35′27″E / 8.11167°N 98.59083°E / 8.11167; 98.59083
ประเทศ ไทย
จังหวัดพังงา
พื้นที่
 • ทั้งหมด128.465 ตร.กม. (49.601 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด14,538 คน
 • ความหนาแน่น113.17 คน/ตร.กม. (293.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 82160 ไปรษณีย์พรุใน
83000
รหัสภูมิศาสตร์8202
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเกาะยาว ถนนกาลัญกุล ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 82160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอเกาะยาว มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

แก้

บรรพบุรุษของชาวเกาะยาวได้อพยพมาจากจังหวัดตรังตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวน้อย และ สตูล จะตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวใหญ่ และอื่น ๆ ที่อยู่แถบนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2328) ขณะที่พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ผู้ที่หนีมาเห็นว่าเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่มีความเหมาะสมที่จะหลบภัย จึงได้ตั้งหลักแหล่งบริเวณนี้

พ.ศ. 2446 ทางราชการยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอเกาะยาว แยกออกมาจากอำเภอเมืองพังงา และขึ้นต่อเมืองพังงา ในปี พ.ศ. 2460 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ[2] เกาะยาวมีฐานะเป็นกิ่งอำเภออยู่แล้ว จากหลักฐานประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 ในท้องที่มณฑลภูเก็ต กิ่งอำเภอเกาะยาวมีพื้นที่การปกครองสองตำบล คือ ตำบลเกาะยาวใหญ่[3] และตำบลเกาะยาวน้อย[4] ได้สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอหลังแรกเมื่อปี พ.ศ. 2463 ต่อมาได้ย้ายมาในที่ว่าการปัจจุบันในปี พ.ศ. 2508

ต่อมาข้าราชการและประชาชนต้องการให้ยกกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็นอำเภอเกาะยาว ตลอดจนจังหวัดพังงาได้สนับสนุนให้ทางราชการยกฐานะให้ รวมได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย จนในที่สุดก็ได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็น อำเภอเกาะยาว ในวันที่ 30 ธันวาคม 2530 โดยมีผลในรุ่งขึ้น วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531[1] รวมระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอ 85 ปี นับว่าเป็นกิ่งอำเภอที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย

  • วันที่ - พ.ศ. 2446 แยกพื้นที่ตำบลเกาะยาวใหญ่ และตำบลเกาะยาวน้อย จากอำเภอเมืองพังงา มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเกาะยาว และให้ขึ้นการปกครองตรงต่ออำเภอเมืองพังงา
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะยาว ในท้องที่บางส่วนของตำบลเกาะยาวน้อย[5]
  • วันที่ 2 พฤศจิกายน 2525 ตั้งตำบลพรุใน แยกออกจากตำบลเกาะยาวใหญ่[6]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอเกาะยาว อำเภอเมืองพังงา เป็น อำเภอเกาะยาว[1]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเกาะยาว เป็นเทศบาลตำบลเกาะยาว[7] ด้วยผลของกฎหมาย

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเกาะยาวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[8]
แผนที่
1. เกาะยาวน้อย Ko Yao Noi
7
5,412
 
2. เกาะยาวใหญ่ Ko Yao Yai
4
2,832
3. พรุใน Phru Nai
7
6,348

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอเกาะยาวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเกาะยาว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะยาวน้อย
  • เทศบาลตำบลพรุใน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรุในทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวน้อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเกาะยาว)

รายชื่อเกาะในเขตอำเภอเกาะยาว

แก้

อำเภอเกาะยาว เป็นอำเภอที่มีเกาะมากเป็นอันดับสามของจังหวัดพังงา รองจากอำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วทุ่ง มีมากถึง 35 เกาะจาก 155 เกาะ มีเกาะหลักคือ เกาะยาวใหญ่ และเกาะยาวน้อย มีเนื้อที่ประมาณ 87.24 ตารางกิโลเมตร และ 36.14 ตารางกิโลเมตรตามลำดับ และเกาะเล็ก ๆ อีก 33 เกาะ ซึ่งอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ และเทศบาลตำบลพรุใน ทุกเกาะมีพื้นที่รวมทั้งหมด 128.465 ตารางกิโลเมตร[9]

ลำดับที่ ชื่อเกาะ ตำบล พื้นที่ (ตร.กม.) หน่วยงาน
1 นก เกาะยาวน้อย 0.004 อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
2 บ่อรังไก่ เกาะยาวน้อย 0.004 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
3 ยูง เกาะยาวน้อย 0.005 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
4 ตีหมู เกาะยาวน้อย 0.007 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
5 เหลาหนี เกาะยาวน้อย 0.012 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
6 จาบัง เกาะยาวน้อย 0.014 อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
7 แตเราะ เกาะยาวน้อย 0.017 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
8 ทอง เกาะยาวน้อย 0.023 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
9 นอก เกาะยาวน้อย 0.026 อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
10 แดง เกาะยาวน้อย 0.026 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
11 หินมดแดง เกาะยาวน้อย 0.03 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
12 พลอง เกาะยาวน้อย 0.033 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
13 ฮันตู เกาะยาวน้อย 0.034 อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
14 ใต้ เกาะยาวน้อย 0.052 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
15 เหลาไป เกาะยาวน้อย 0.054 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
16 กูดูเล็ก เกาะยาวน้อย 0.069 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
17 โรย เกาะยาวน้อย 0.192 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
18 เหลาบาตัง เกาะยาวน้อย 0.346 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
19 กูดูใหญ่ เกาะยาวน้อย 0.408 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
20 โบยน้อย เกาะยาวน้อย 0.574 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
21 โบยใหญ่ เกาะยาวน้อย 2.350 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
22 ยาวน้อย เกาะยาวน้อย 36.140 เทศบาลตำบลเกาะยาว, องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย
23 ลูกเกาะ เกาะยาวใหญ่ 0.002 อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
24 สูบ เกาะยาวใหญ่ 0.004 อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
25 โล๊ะกาหลาด เกาะยาวใหญ่ 0.156 อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
26 ยาวใหญ่ เกาะยาวใหญ่, พรุใน 87.241 เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่, เทศบาลตำบลพรุใน
27 ไข่ พรุใน 0.012 เทศบาลตำบลพรุใน
28 ไข่ใน พรุใน 0.014 เทศบาลตำบลพรุใน
29 ช่องลัดน้อย พรุใน 0.017 เทศบาลตำบลพรุใน
30 ไข่นอก พรุใน 0.033 เทศบาลตำบลพรุใน
31 ดอกไม้ พรุใน 0.06 เทศบาลตำบลพรุใน
32 ไก่ พรุใน 0.072 เทศบาลตำบลพรุใน
33 หนุ่ย พรุใน 0.119 เทศบาลตำบลพรุใน
34 ลีปี พรุใน 0.146 เทศบาลตำบลพรุใน
35 ช่องลัดใหญ่ พรุใน 0.169 เทศบาลตำบลพรุใน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอนามน อำเภอพระยืน อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอจะแนะ อำเภอหนองหงส์ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอเกาะยาว อำเภอแกดำ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโนนคูณ อำเภอควนโดน อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง และอำเภอตาลสุม พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (278 ก): (ฉบับพิเศษ) 33-37. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลภูเก็ต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 572–575. February 26, 1921.
  4. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลภูเก็ต]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 519–530. December 25, 1921.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะยาว อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 67-68. January 7, 1957.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเกาะยาว อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (163 ง): 4366–4368. November 2, 1982.
  7. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
  8. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  9. "ข้อมูลเกาะรายจังหวัด - เกาะในจังหวัดพังงา". สืบค้นเมื่อ April 16, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)