อำเภอสุวรรณภูมิ

อำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย

สุวรรณภูมิ เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นอำเภอศูนย์กลางทางด้านการคมนาคม การปกครอง การศึกษาเเละเศรษฐกิจของกลุ่มอำเภอโซนใต้ของจังหวัดร้อยเอ็ด อีกทั้งยังเป็นอำเภอที่มีความเจริญเป็นรองแค่เพียงอำเภอเมืองร้อยเอ็ด ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 116,015 คน

อำเภอสุวรรณภูมิ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Suwannaphum
คำขวัญ: 
สุวรรณภูมิแดนกู่พระโกนา ทุ่งกุลาสดใส งานใหญ่บั้งไฟแสน ดินแดนวัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภอสุวรรณภูมิ
แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภอสุวรรณภูมิ
พิกัด: 15°36′33″N 103°48′1″E / 15.60917°N 103.80028°E / 15.60917; 103.80028
ประเทศ ไทย
จังหวัดร้อยเอ็ด
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,107.042 ตร.กม. (427.431 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด114,296 คน
 • ความหนาแน่น103.25 คน/ตร.กม. (267.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 45130
รหัสภูมิศาสตร์4511
ที่ตั้งที่ว่าการหมู่ที่ 2 ถนนปัทมานนท์ ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 45130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์

แก้
 
แผนที่อาณาเขต เมืองท่งศรีภูมิ ระหว่างปี พ.ศ. 2256 - 2315 เเละเมืองสุวรรณภูมิ ระหว่างปี พ.ศ. 2315 - 2318

พื้นที่อำเภอสุวรรณภูมิเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองท่งศรีภูมิ เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยเเก่นสารสินธ์ุเเทบจะทั้งหมด เเละบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธร อุบลราชธานี ชัยภูมิ อุดรธานี ซึ่งเมืองท่งศรีภูมิเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ สถาปนาโดยพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรเมื่อปี พ.ศ. 2256 ต่อมาได้เข้ามาอยู่ในอาณาเขตของอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 2308 จนถึงอาณาจักรธนบุรีในปี พ.ศ. 2310 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. 2315 ต่อมาได้ลดฐานะจากเมืองชั้นเอก (เทียบเท่าจังหวัด) เป็น "อำเภอสุวรรณภูมิ" ในปี พ.ศ. 2451 เมืองขึ้นของเมืองสุวรรณภูมิถูกเปลี่ยนเป็นอำเภอภายในจังหวัดร้อยเอ็ด 3 เมือง และเป็นอำเภอภายในจังหวัดมหาสารคาม 1 เมือง

อำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน นับจากปีที่ถูกยุบเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2451 มีนายอำเภอทั้งสิ้นแล้ว 45 คน มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล ทั้งนี้ อำเภอสุวรรณภูมิมีการแยกออกเป็น 2 อำเภอหลังปี พ.ศ. 2451 ได้แก่ อำเภอเมืองสรวง และอำเภอโพนทราย ในด้านลำดับชั้นของอำเภอที่กำหนดโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย อำเภอสุวรรณภูมิมีฐานะเป็นอำเภอชั้น 1 เช่นเดียวกับอำเภอเมืองร้อยเอ็ด และอำเภอเมืองในจังหวัดอื่น ๆ ที่มิใช่อำเภอชั้นพิเศษ

หลังจากที่เมืองสุวรรณภูมิถูกยุบกลายเป็นอำเภอ คงเหลือพื้นที่โดยประมาณ 1,532.294 ตารางกิโลเมตร ต่อมาเเม้ว่าอำเภอสุวรรณภูมิจะมีการเเยกออกไปอีก 2 อำเภ�� (อำเภอเมืองสรวงเเละอำเภอโพนทราย) อำเภอสุวรรณภูมิก็ยังคงเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัดร้อยเอ็ดจนถึงปัจจุบัน ด้วยขนาดพื้นที่ 1,107.042 ตารางกิโลเมตร

 
เจ้าแก้วมงคล
 
อนุสาวรีย์ท้าวเซียง เจ้าผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิคนที่ 4 และเป็นผู้ครองเมืองสุวรรณภูมิคนแรก

ลำดับผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิ

แก้
ลำดับ ผู้ว่าราชการเมือง เริ่มต้น (พ.ศ.) สิ้นสุด (พ.ศ.) จำนวนปี เหตุการณ์สำคัญ/อื่น ๆ
1 พระศรีเกษตราธิไชย (สีลา) 2443 2444 1

พระศรีเกษตราธิไชย (สีลา) เป็นเจ้าเมืองเกษตรวิสัยแต่เดิม ด้วยการยุบยกเลิกหัวเมืองต่าง ๆ จึงได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีเกษตราธิไชยมารักษาราชการผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิท่านแรก ก่อนจะมีการแต่งตั้งผู้ว่าราชการเมืองจากส่วนกลาง พระศรีเกษตราธิไชย (สีลา) เป็นบุตรของพระศรีเกษตราธิไชย (สัง) เจ้าเมืองเกษตรวิสัย

ปัจจุบันทายาทของพระศรีเกษตราธิไชยสืบเชื้อสายตรงในนามสกุล "สังขศิลา"
2 ขุนมัณฑลานุการ (ชม) 2445 2446 1

ขุนมัณฑลานุการ (ชม) รักษาราชการในตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิ

ในระหว่างนี้เกิดกบฏผู้มีบุญ ทางผู้วาราชการเมืองสุวรรณภูมิได้เกณฑ์ไพร่พลจำนวน 1,000 คนเศษพร้อมอาวุธ ปืนคาบศิลาอย่างเก่า ปืนสไนเดอร์ ปืนแมลิคอร์ ทำการปราบปรามและจับกุมผีบุญได้อย่างราบคาบ
3 ญาพ่อเมืองแพน (ต้นสกุล วลัยศรี) 2446 2451 5

วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2445 พระครูสุพรรณภูมิคณาจารย์ (พระหลักคำเมือง) เจ้าคณะเมืองสุวรรณภูมิถึงแก่มรณภาพด้วยอาพาธเป็นไข้ โดยพระครูสุพรรณภูมิคณาจารย์เป็นเจ้าอาวาส วัดไตรภูมิคณาจารย์ บ้านตากแดด เมืองสุวรรณภูมิ[1]

ญาพ่อเมืองแพนดำรงตำแหน่งยกกระบัตรเมือง รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิจนกระทั่งปี พ.ศ. 2451 กระทรวงมหาดไทยได้ปรับปรุงลักษณะการปกครองท้องที่ ยุบเมืองสุวรรณภูมิเป็นอำเภอสุวรรณภูมิ และยุบมณฑลร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด ให้ อำเภอสุวรรณภูมิขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ดนับแต่นั้นมา ในปี พ.ศ. 2451 ภายหลังมีการยุบเมืองสุวรรณภูมิเป็นอำเภอสุวรรณภูมิแล้วนั้น เมืองที่เคยขึ้นต่อเมืองสุวรรณภูมิได้ถูกยุบเป็นอำเภอ และโอนย้ายไปสังกัดจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้

เมืองพยัคฆภูมิพิสัยยุบเป็นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ให้ขึ้นจังหวัดมหาสารคาม

เมืองเกษตรวิสัยยุบเป็นอำเภอเกษตรวิสัย, เมืองพนมไพรแดนมฤคยุบเป็นอำเภอพนมไพร, เมืองจตุรพักตร์พิมานยุบเป็นอำเภอจตุรพักตรพิมาน ทั้งสามอำเภอให้ขึ้นกับ จังหวัดร้อยเอ็ด

ลำดับนายอำเภอสุวรรณภูมิ (หลังปี พ.ศ. 2451)

แก้

การนับตำแหน่งนายอำเภอนับจากปี พ.ศ. 2451 นั้น จะใช้ลำดับที่ 1 ใหม่ เนื่องจากผู้ว่าราชการเมืองของเมืองชั้นเอกมีฐานะเทียบเท่า "ผู้ว่าราชการจังหวัด" ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงและยุบฐานะเมืองเป็นอำเภอ และตำแหน่ง "ผู้ว่าราชการจังหวัด" เป็น "นายอำเภอ" ดังนั้นจึงนับลำดับใหม่

ลำดับที่ นายอำเภอ เริ่มต้น (พ.ศ.) สิ้นสุด (พ.ศ.) จำนวนปี เหตุการณ์สำคัญ/อื่น ๆ
1 หลวงประชาชนบาล 2451 2455 4
ในปี พ.ศ. 2454 ตั้งโรงเรียนประชาบาล ต่อมาคือ โรงเรียนเมืองสุวรรณภูมิ อาศัยศาลาวัดเหนือเป็นสถานศึกษา เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2 พระรัตนวงษา (ก่อนหน้า หลวงประจำจันทรเขตร) (น้อย) ลิวิสิทธิ์ 2455 2463 8
ในปี พ.ศ. 2456 ยกฐานะโรงเรียนประชาบาลเป็นโรงเรียนรัฐบาล "โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล" ภายหลังยุบเป็นโรงเรียนประชาบาลในปี พ.ศ. 2465 ก่อนเป็นโรงเรียนเมืองสุวรรณภูมิ
3 ขุนสกลรักษา (เชย สุขสุคนธ์) 2463 2463 1
4 หลวงประสาสน์ โสภณ (ร.ท.อุ่ม ภมรสูตร) 2463 2473 10

ในระหว่าง พ.ศ 2463–2473 หลวงประสาสน์โสภณ (อุ่น ภมรสูตร) ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอสุวรรณภูมิสมัยนั้นได้ริเริ่มสร้างสุขศาลาขึ้นบริเวณหน้าตลาดสด บริเวณธนาคารออมสินปัจจุบันมีพื้นที่ 61 ไร่ มีเจ้าหน้าที่มหาดไทยเป็นผู้ดูแลดำเนินการ ต่อมาทางราชการได้บรรจุผู้ช่วยแพทย์ ชื่อ นาย ช. สายเชื้อ มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสุขศาลาสุวรรณภูมิเป็นคนแรก

ในปี พ.ศ. 2467 เมืองแพน วลัยศรี (ผู้รักษาการตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิท่านสุดท้าย) ร่วมกับคณะ ทำการบูรณะอุโบสถและปฏิสังขรณ์ ปิดทององค์พระพุทธรูปวัดใต้วิไลธรรม โดยว่าจ้างช่างชาวญวน คือ นายจางและนายฮาย เป็นผู้ก่อสร้าง รวมทั้งมีการวาดภาพจิตรกรรมโดยนายโสม โดยหลวงประสาศน์ โสภณเป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระธรรมสุนทรอบภิรม พระอธิการ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ซึ่งยังคงปรากฏหลักฐานการบันทึกและภาพวาด อุโบสถ ณ วัดใต้วิไลธรรมจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่าบึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอมาขุดลอกบึง เพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน
5 หลวงชาญรัฐกิจ (เชย พลาศรัย) 2473 2476 3
6 ขุนประเสริฐสรรพกิจ (วิเชียร วงศ์แก้ว) 2476 2479 3
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศสยาม โดยจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นเขตเลือกตั้งเดียว มีผู้แทนราษฎรจำนวน 2 คน คือ พันโทพระไพศาลเวชกรรม (สวาสดิ์ โสมเกษตริน) และจ่านายสิบขุนเสนาสัสดี (ถั่ง ทองทวี)
7 นายโสภณ อัศดร (เงก สาตะมัย) 2479 2487 8
8 ร้อยโท ถวิล ธนสีลังกูร 2487 2490 3
ย้ายที่ว่าการอำเภอไปดงป่าก่อ (ปัจจุบัน)
9 นายส่ง ศุภโตษะ 2490 2490 1
10 นายสีขร สีขรภูมานุรักษ์ 2490 2491 1
11 นายเอิบ กลิ่นอุบล 16 ธ.ค. 2491 2493 2
ตั้งตำบลทุ่งหลวง (แยกจากตำบลสระคู) ตำบลหัวโทน (แยกจากตำบลน้ำคำ) ตำบลหินกอง (แยกจากตำบลสระคู) และตำบลบ่อพันขัน (แยกออกจากตำบลเปลือย)[2]
12 ร้อยตรีสุวรรณ โรจนวิภาดา 27 มิ.ย. 2493 2495 2
ในปี พ.ศ. 2493 จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ประกาศขนานนามทางหลวงแผ่นดินให้เป็นเกียรติแก่ผู้มีส่วนประกอบคุณงามความดีต่อประเทศในราชกิจจานุเบกษา 12 ธันวาคม 2493 ทางหลวงแผ่นดินสาย ร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ-สุรินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 214) ให้ขนานนามว่า ถนนปัทมานนท์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวีรพล ปัทมานนท์ อดีตนายช่างกำกับหมวดการทางสุรินทร์ และทางหลวงแผ่นดินสายสุวรรณภูมิ-ยะโสธร-อำนาจเจริญ ให้ขนานนามว่า ถนนอรุณประเสริฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายจำปี อรุณประเสิรฐ นายช่างกำกับแขวง
13 นายสวัสดิ์ พรหมดิเรก 8 ก.ค. 2495 15 มี.ค. 2498 2 ปี 8 เดือน
ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ก่อตั้ง “โรงเรียนสุวรรณภูมิ” เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยอาศัยอาคารเรียนชั่วคราวโรงเรียนบ้านสุวรรณภูมิ (โรงเรียนเมืองสุวรรณภูมิในปัจจุบัน) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว และในปี พ.ศ. 2551 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย
14 นายเสถียร นาครวาจา 23 มี.ค. 2498 24 ก.ค. 2499 1 ปี 4 เดือน
15 นายสาคร เพชรวิเศษ 29 ก.ค. 2499 13 ก.ค. 2503 4 ปี

ในปี พ.ศ. 2499 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2499 (ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 54 เล่ม 37 ตอนที่ 60 วันที่ 3 สิงหาคม 2499)[3]

ในปี พ.ศ. 2503 ตั้งโรงเรียนประชาบาล ต่อมาเป็นโรงเรียนเมืองใหม่สุวรรณภูมิและโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่สุวรรณภูมิ
16 นายประเสริฐ เทศประสิทธิ์ 13 ก.ค. 2503 30 พ.ย. 2504 1 ปี 4 เดือน
17 นายเฉียบ สมุทระกระพงศ์ 16 ธ.ค. 2504 30 ก.ย. 2508 3 ปี 9 เดือน
ตั้งตำบลโพนทราย โดยแยกหมู่บ้านจากตำบลสามขา อำเภอสุวรรณภูมิ เป็นตำบลโพนทรายใน วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2508[4]
18 นายสุวรรณ สุภาผล 10 ต.ค. 2508 26 พ.ค. 2514 5 ปี 8 เดือน

ปี พ.ศ. 2509 กรมไปรษณีย์โทรเลขเปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขสุวรรณภูมิ[5] โดยเปิดพร้อมกันกับอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย, อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

ตั้งตำบลเมืองทุ่ง โดยแยกหมู่บ้านจากตำบลสระคูจำนวน 12 หมู่บ้าน มีผลในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2509[6]

ตั้งตำบลคูเมือง โดยแยกหมู่บ้านจากตำบลหนองผือ อำเภอสุวรรณภูมิ 5 หมู่บ้าน และหมู่บ้านจากตำบลสงยาง อำเภอสุวรรณภูมิ 4 หมู่บ้าน รวม 9 หมู่บ้านเป็นตำบลคูเมือง ขึ้นอำเภอสุวรรณภูมิ[7] ณ วันที่ 11 เมษายน 2510
19 นายประจวบ ศริ 27 พ.ค. 2514 1 ก.ย. 2516 2 ปี 4 เดือน

29 มิถุนายน พ.ศ. 2515 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้ตั้งโรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาลขึ้น โดยชื่อเริ่มก่อตั้งคือ “โรงเรียนศรีสุวรรณภูมิพิทยา” (คนทั่วไปจึงมักเรียกว่าโรงเรียนศรี) โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคือโรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย) เป็นสถานที่ในการเรียน โดยมีนายเอิบ (มนตรี) จันทรสนาม รักษาการณ์ในตำแหน่งครูใหญ่ และทำการย้ายมาสถานที่ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2516 มีพื้นที่ 72 ไร่ และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล

7 กันยายน พ.ศ. 2514 ตั้งตำบลดอกไม้ โดยแยกหมู่บ้านจากตำบลสงยาง อำเภอสุวรรณภูมิ 8 หมู่บ้าน และจากตำบลสระคู 2 หมู่บ้าน รวม 10 หมู่บ้านขึ้นเป็นตำบลดอกไม้[8]
20 นายสงวน วัฒนานันท์ 1 ก.ย. 2516 12 พ.ค. 2520 3 ปี 8 เดือน

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 กระทรวงมหาดไทย (โดยนายพ่วง สุวรรณรัฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย) ได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอเมืองสรวง และได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2516 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 90 ตอนที่ 26 หน้าที่ 817 ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2516 ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ตำบลหนองผือ ตำบลหนองหิน และตำบลคูเมือง (แยกสามตำบลจากอำเภอสุวรรณภูมิ) ส่วนราชการต่าง ๆ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2516

ในปี พ.ศ. 2512–2518 กลุ่มผู้นำท้องถิ่น นำโดยกำนันสุนีย์ พวงจันทร์และสภาตำบลโพนทรายเห็นว่าการไปติดต่อราชการที่อำเภอสุวรรณภูมิไม่สะดวกเป็นอย่างมาก จึงได้มีการเคลี่อนไหวเรียกร้องขอยกฐานะเป็นอำเภอเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 จึงได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอโพนทราย
21 นายจำรูญ บุญโทแสง 20 พ.ค. 2520 30 ก.ย. 2522 2 ปี 4 เดือน
ในปี พ.ศ. 2522 ได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเมืองสรวง โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 96 ตอนที่ 42 หน้าที่ 22 ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522 ยกฐานะกิ่งอำเภอเมืองสรวงขึ้นเป็นอำเภอเมืองสรวง มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2522 (โดย ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี)
22 นายพงษ์เพชร ชูจินดา 12 ต.ค. 2522 23 พ.ย. 2522 2 เดือน 11 วัน
23 นายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ 24 ก.ย. 2522 23 ก.ย. 2525 2 ปี
24 นายวิรุณ ทิพากร 24 พ.ย. 2525 7 ต.ค. 2527 1 ปี 10 เดือน
25 นายกิจจารักษ์ ชุ่มชื่น 7 ต.ค. 2527 15 ม.ค. 2530 2 ปี 4 เดือน
26 นายเสรี ทวีวัฒน์ 16 ม.ค. 2530 2 ก.ค. 2533 3 ปี 6 เดือน
ในปี พ.ศ. 2532 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอโพนทรายเป็นอำเภอโพนทราย เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 โดยแยกตำบลโพนทราย ตำบลสามขา ตำบลศรีสว่าง ตำบลยางคำ โดยมีนายสุภาพ จันทร์ภิรมย์เป็นสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) คนแรกจากอำเภอโพนทรายในปี พ.ศ. 2533
27 นายณรงค์ หรือโอภาส 2 ก.ค. 2533 17 ต.ค. 2537 4 ปี 3 เดือน
28 นายพนม นันทวิสิทธิ์ 17 ต.ค. 2537 14 ต.ค. 2539 2 ปี
29 นายธนู สุขฉายา 14 ต.ค. 2539 19 พ.ค. 2540 7 เดือน
30 นายปรีชา กาญจนวาปสถิตย์ 19 พ.ค. 2540 9 พ.ย. 2540 6 เดือน
ในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้ง "วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด 2" ในวันที่ 28 กรกฎาคม โดยกรมอาชีวศึกษาได้สั่งให้ข้าราชการสังกัดวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดจำนวน 3 คนทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและผู้ช่วยผู้ประสานงานการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดแห่งที่ 2 ดังนี้ นายชำนาญ เชิงสะอาด, นายจำเนียร สุธิมาธรรม, นายจิตรกร จันทร์เสละ
31 นายอำนวย จันทน์อาภรณ์ 10 พ.ย. 2540 1 พ.ย. 2541 1 ปี
32 นายรังสรรค์ เพียรอดวงษ์ 2 พ.ย. 2541 16 ต.ค. 2543 1 ปี 11 เดือน

ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลสระคูเป็น "เทศบาลตำบลสระคู"

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยฯ จากวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดแห่งที่ 2 เป็น "วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ"
33 นายอุไร หล่าสกุล 27 พ.ย. 2543 30 ก.ย. 2545 1 ปี 10 เดือน
34 นายชูศักดิ์ สุทธิประภา 16 ธ.ค. 2545 30 ก.ย. 2547 1 ปี 9 เดือน
35 นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ 1 พ.ย. 2547 11 ธ.ค. 2549 2 ปี 1 เดือน
วันที่ 27 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 เปลี่ยนแปลงชื่อจากเทศบาลตำบลสระคูเป็นเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ 6.8 ตารางกิโลเมตร
36 นายนะริทธิ์ ไชยะชน 8 ม.ค. 2550 23 ต.ค. 2550 9 เดือน
37 นายผดุงศักดิ์ ไชยอาลา 24 ต.ค. 2550 30 ก.ย. 2552 1 ปี 11 เดือน
38 นายอานนท์ ศรีรัตน์ 25 ม.ค. 2553 12 ธ.ค. 2554 1 ปี 11 เดือน
39 นายเลิศสิน จึงจรัสทรัพย์ 13 ธ.ค. 2554 30 ก.ย. 2556 1 ปี 9 เดือน
40 นายปณิธาน สุนารัตน์ 16 ธ.ค. 2556 30 ก.ย. 2558 1 ปี 9 เดือน
41 นายสุธี เล้าสุบินประเสริฐ 16 พ.ย. 2558 6 พ.ย. 2559 1 ปี
42 นายวัยวุฒิ อาศรัยผล 7 พ.ย. 2559 30 ก.ย. 2561 2 ปี
ในปี พ.ศ. 2559 ได้มีโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นโครงการจัดตั้งวิทยาเขตในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอสุวรรณภูมิ
43 นายธนิตย์ พันธ์หินกอง 8 พ.ย. 2561 6 เม.ย. 2563 1 ปี 5 เดือน 2 วัน
44 นายณรงค์ศักดิ์ สบาย 7 เม.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 6 เดือน
45 นายโชคชัย วัฒนกูล มีนาคม 2564
46 นายคงคา ชื่นจิต ปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอสุวรรณภูมิตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอสุวรรณภูมิแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน ได้แก่

 
ตำบลของอำเภอสุวรรณภูมิ
ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน หมู่บ้าน ประชากร [a] [9]
1. สระคู Sa Khu 21 20,239
2. ดอกไม้ Dok Mai 14 6,172
3. นาใหญ่ Na Yai 15 7,822
4. หินกอง Hin Kong 16 9,352
5. เมืองทุ่ง Mueang Thung 8 5,177
6. หัวโทน Hua Thon 12 5,331
7. บ่อพันขัน Bo Phan Khan 9 4,556
8. ทุ่งหลวง Thung Luang 15 7,955
9. หัวช้าง Hua Chang 12 6,276
10. น้ำคำ Nam Kham 16 9,498
11. ห้วยหินลาด Huai Hin Lat 12 5,554
12. ช้างเผือก Chang Phueak 11 6,810
13. ทุ่งกุลา Thung Kula 14 7,169
14. ทุ่งศรีเมือง Thung Si Mueang 12 7,441
15. จำปาขัน Champa Khan 12 6,691
รวม 199 116,043
  1. ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอสุวรรณภูมิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสระคู
  • เทศบาลตำบลจำปาขัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจำปาขันทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหินกอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินกองทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลทุ่งกุลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกุลาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลทุ่งหลวง ครอบคลุมพื���นที่ตำบลทุ่งหลวงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลดอกไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอกไม้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระคู (นอกเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองทุ่งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวโทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวโทนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพันขัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อพันขันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำคำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยหินลาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช้างเผือกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งศรีเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งศรีเมืองทั้งตำบล

ประชากร

แก้

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป และมีอาชีพเสริมอื่น ๆ เช่น เลี้ยงสัตว์ รวมกลุ่มทำสินค้าหัตถกรรม และอุตสาหกรรมในครัวเรือน โดยมีซึ่งลำน้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชาวบ้านมีหลายสาย คือ ลำน้ำเสียว ลำน้ำพลับพลา ห้วยหินลาด และลำน้ำมูล

วัด

แก้

วัดที่สำคัญในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิมีดังต่อไปนี้

  1. วัดใต้วิไลรรม
  2. วัดกลาง
  3. วัดสว่างโพธิ์ทอง
  4. วัดเจริญราษฎร์
  5. วัดทุ่งลัฎฐิวัน
  6. วัดเหนือสุพรรณวราราม
  7. วัดพระบรมธาตุสุวรรณภูมิ(วัดป่าวังพระเจ้า)

สถานศึกษา

แก้

ระดับวิทยาลัย โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่สำคัญในเขตอำเภอสุวรรณภูมิมีดังต่อไปนี้

  1. โครงการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้
  2. วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ
  3. วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย สุวรรณภูมิ
  4. โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
  5. โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย

โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่สำคัญในเขตอำเภอสุวรรณภูมิมีดังต่อไปนี้

  1. โรงเรียนเมืองสุวรรณภูมิ
  2. โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่สุวรรณภูมิ
  3. โรงเรียนดอนแฮดวิทยา
  4. โรงเรียนกระดิ่งทอง
  5. โรงเรียนการกุศลวัดกลาง
  6. โรงเรียนเจริญศึกษา
  7. โรงเรียนอนุบาลศรีภูมิวิทยารักษ์
  8. โรงเรียนบ้านน้ำคำน้อย
  9. โรงเรียนโสภาพพิทยาภรณ์

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
 
กู่พระโกนา
  • กู่พระโกนา บ.กู่พระโกนา ต.สระคู
  • อนุสาวรีย์เจ้าแก้วมงคล และ เขต คูเมืองบ้านท่ง ( ประกาศชื่อโบราณสถาน กรมศิลปากร พ.ศ. 2478 )
  • สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ บ.หัวโทน ต.หัวโทน
  • สิมวัดสระเกตุ บ.น้ำคำ ต.น้ำคำ
  • พระธาตุวัดเบญจ์ บ.หัวโทน ต.หัวโทน
  • บ่อพันขัน บ.ตาเณร ต.จำปาขัน
  • วัดพระธาตุบ่อพันขัน บ.หนองมะเหี๊ยะ ต.จำปาขัน
  • อ่างเก็บน้ำบ่อพันขัน บ.ตาเณร,บ.หญ้าหน่อง ต.จำปาขัน
  • พระธาตุอรหันต์โมคคัลลาน์ วัดกลาง คุ้มวัดกลาง ในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ
  • อนุสาวรีย์ท้าวเซียงเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ
  • ศูนย์พัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ บ.กู่พระโกนา ต.สระคู
  • พิพิธภัณฑ์หอยล้านปี บ.โพนครกน้อย ต.สระคู
  • สระสี่เหลี่ยม สระสองแก ต.สระคู
  • กู่หินกอง บ.หินกอง ต.หินกอง
  • วัดพระธาตุนาใหญ่ บ.นาใหญ่ ต.นาใหญ่
  • วัดพระเจ้าใหญ่บ้านยางเครือ บ.ยางเครือ ต.เมืองทุ่ง
  • วัดกู่อารัมย์ บ.ดงเมือง ต.เมืองทุ่ง
  • บึงท่าศาลา บ.กู่พระโกนา ต.สระคู
  • โครงการจัดตั้งวิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ต.หินกอง

เทศกาลสำคัญ

แก้
 
บุญบั้งไฟ
  • งานประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอสุวรรณภูมิ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีอย่างยิ่งใหญ่ ระดับประเทศ โดยเฉพาะวันแห่ ขบวนฟ้อน เซิ้งบั้งไฟ และบั้งไฟลายศรีภูมิ กับการตกแต่งขบวนบั้งไฟที่มากที่สุดของประเทศ โดยงานจัด ในวันเสาร์ อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนของทุกปี ณ ลานอนุสาวรีย์พระรัตนวงษา (ท้าวเซียง) และหน้าที่ว่าการอำเภอสุวรรณภูมิ โดยงานมีความโดดเด่นที่แตกต่างจากที่อื่น คือ เอกลักษณ์การตกแต่งเอ้ บั้งไฟด้วยลายกรรไกรตัด เพียงแห่งเดียวในประเทศ หรือที่เรียกว่า ลายศรีภูมิ รวมทั้งขบวนรำสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ นอกจากนี้ งานประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ ยังมีสืบเนื่องยาวนาน มีช่างบั้งไฟลายศรีภูมิ ในคุ้มวัดทุกคุ้มวัด ในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ และบั้งไฟเอ้ ทั่วเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จะเข้าร่วมแข่งขันประเภทบั้งไฟขนาดใหญ่ทั้งหมด จนทำให้ เป็นหนึ่งในงานประเพณีบั้งไฟที่มีชื่อเสียงที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศ จนมีคำกล่าวที่ว่า "หากอยากดูบั้งไฟครบครัน หลากหลายกิจกรรม ไปที่ ยโสธร หากอยากดูบั้งไฟจุดขึ้นสูง จำนวนมาก ให้ไปที่อำเภอพนมไพร และ หากอยากดู บั้งไฟเอ้ตกแต่งสวยงามขนาดใหญ่มากที่สุดและขบวนรำสวยงามมากที่สุดไปที่ อำเภอสุวรรณภูมิ " โดยตั้งเเต่ งานประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ 2567 เป็นต้นไป จะมีขบวนแห่รำเซิ้งสวยงาม ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะมีการถูกจัดขึ้นเป็นครั้งเเรกในปี พ.ศ. 2567 ให้สมเกียรติกับดินเเดนที่มีการจัดงานบุญบั้งไฟอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเอกลักษณ์เเละมีความเก่าเเก่เเละต่อเนื่องมาอย่างยาวนานมากที่สุดเเห่งหนึ่งของภาคอีสานเเละของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นงานประเพณีที่ดึงดูดเเละเป็นศูนย์รวมให้ลูกหลานเมืองศรีภูมิหรือเครือข่ายลูกหลานเจ้าเเก้วมงคล (บรรพชนกลุ่มใหญ่ของภาคอีสาน) ที่มีอยู่ทั่วภาคอีสานเเละประเทศไทยให้กลับมาเยี่ยมเยือนถิ่นเก่าของบรรพชน ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็น เมืองบรรพบุรุษของชาวอีสาน ก่อนที่ภายหลังจะมีการอพยพเเยกกันออกไปสร้างเมืองเเละชุมชนต่างๆมากมายทั่วภาคอีสาน นับได้ว่าเป็นศูนย์รวมทางจิตใจให้เเก่ลูกหลานชาวอีสานได้มากมายเลยทีเดียว

ชาวอำเภอสุวรรณภูมิที่มีชื่อเสียง

แก้

ข้าราชการ/นักการเมือง/นักวิชาการ

แก้
  • นายเชาว์ สายเชื้อ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ท่านแรก
  • นายดุลย์ ดวงเกตุ ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคกิจสังคม
  • นายขจรศักดิ์ ศรีสวาสดิ์ ��.ส.ร้อยเอ็ด พรรคความหวังใหม่
  • นายวิรัช ประราศรี กำนันตำบลสระคู อดีต ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • นายสมศักดิ์ เศรษโฐ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ นายกสันนิบาตเทศบาลจังหวัดร้อยเอ็ด ปี - ปัจจุบัน
  • นายวรรณทัศน์พล อิศวะเมธธรีสกุล ประธานสภาเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ
  • นายวสันต์ สามิบัติ์ ประธานชุมชนหมู่ 3 เขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ
  • นายกิตติ สมทรัพย์ ส.ส.ร้อยเอ็ดเขต 6 อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย อำเภอหนองฮี
  • พล.ต.ต.ดร.พิพัฒนพงศ์ เฏฌาฌัญ ผู้บังคับการ สน.ยานนาวา
  • พ.ต.อ.พิเศษ พิภพ ใยบัว รองผู้บังคับการ สน.ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
  • คารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สังกัดพรรคภูมิใจไทย
  • นายทองลี มีหินกอง ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี - ปัจจุบัน

พระภิกษุสงฆ์

แก้

พระครูสุพรรณภูมิคณาจารย์ (สอ) - เจ้าคณะเมืองสุวรรณภูมิ รูปสุดท้าย

หลวงปู่ชม ฐานะธัมโม[10] - วัดกู่พระโกนา

พระครูพุทธบาลมุนี - วัดชัยมงคล บ้านคำพรินทร์ ตำบลเปลือย (ปัจจุบัน ตำบลช้างเผือก)

หลวงปู่เคน ฐานะธัมโม[11] - วัดใต้วิไลธรรม

พระราชพรหมจริยะคุณ - เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ฝ่ายมหานิกาย วัดบ้านเปลือยใหญ่ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

นักกีฬา

แก้

นักธุรกิจ

แก้

นายพนม ศรีแสนปาง - นายกสมาคมพ่อค้าอำเภอสุวรรณภูมิ / ประธานบริษัทมหาชนจำกัด ศรีแสงดาวไบโอพาวเวอร์

นักร้อง/นักดนตรี/นักแสดง

แก้
  • ลำไย ไหทองคำ นักร้องลูกทุ่ง,หมอลำ นักเเสดง พิธีกร ราชินีอินดี้[12]
  • เอกราช สุวรรณภูมิ นักร้องลูกทุ่ง
  • เจมส์ จตุรงค์ นักร้องลูกทุ่ง,หมอลำ นักเเสดง
  • ใบตอง จันทร์งาม หรือ แป๋ว ปัทมา นักร้องหมอลำ
  • บี ประภาพร ขวัญใจแฟนแฟน นางเอกหมอลำสังกัดคณะหมอลำขวัญใจแฟนแฟน แมน จักรพันธ์
  • เจ้สี่ พลล้ำ อดีตตลกคณะระเบียบวาทะศิลป์
  • บู๊ท จักรพันธ์ ลำเพลิน ซานเล้าบันเทิงศิลป์ อดีตพระเอกหมอลำคณะระเบียบวาทะศิลป์ หัวหน้าวงซานเล้าบันเทิงศิลป์
  • ไอออน กลวัชร ข้าวสารแลนด์ นักร้อง พระเอกหมอลำคณะซานเล้าบันเทิงศิลป์
  • หนึ่ง พลาญชัย ท็อปไลน์ พระเอกหมอลำคณะคำผุนร่วมมิตร
  • ภานุวัฒน์ วิเศษวงษา นักเเต่งเพลง (เเต่งเพลงดัง อาทิ บ่เป็นหยังเขาเข้าใจ ซังได้ซังเเล้ว ห้ามตั๋ว นางไอ่ของอ้าย เพิ่นบ่แม่นผู้สาวเฮา เป็นต้น)

ศิลปินเเห่งชาติ

แก้

นักปราชญ์ชุมชน พื้นบ้าน

แก้

นายสมัยลี สร้อยศิลา - ปราชญ์พื้นบ้าน ด้านทัศนศิลป์ การตัดแต่งลายเอ้บั้งไฟ ลายศรีภูมิ

นายล้อม ปราสาร - ปราชญ์ชุมชน ด้านศาสนพิธี พิธีกรรม การทอผ้าไหม ไหมลายศรีภูมิดั้งเดิม

กำนันเดช ภูสองชั้น - ผู้เขียน "คนทุ่งกุลา", อดีตกำนันตำบลทุ่งหลวง

นายเลียบ แจ้งสนาม - ศิลปินพื้นบ้าน ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ของ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ( วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561 )

อ้างอิง

แก้
  1. "ข่าวตายหัวเมือง" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 19, 28 ธันวาคม 2445, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 67, 18 กรกฎาคม 2493, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 73, 3 สิงหาคม 2499, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอพนมไพร อำเภอโพนทอง และอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 82, 23 มีนาคม 2508, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
  5. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขกันทรารมย์ เขมราฐ บึงกาฬ และสุวรรณภูมิ" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 83, 16 สิงหาคม 2509, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เกษตรวิสัย และอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 83, 12 เมษายน 2509, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนทอง อำเภอธวัชบุรี อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอพนมไพร และกิ่งอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 84, 11 เมษายน 2510, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 88, 7 กันยายน 2514, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
  9. กระทรวงสาธารณสุข (1 มกราคม 2562). "จำนวนประชากรทะเบียนราษฏร์ ย้อนหลัง 3 ปี". hdcservice.moph.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-09-30.
  10. "หลวงปู่ชม ฐานะธัมโม วัดกู่พระโกนา อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด". ๑๐๘ พระเกจิ. 23 ธันวาคม 2563. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-17. สืบค้นเมื่อ 2024-11-15.
  11. "พระครูสุพรรณภูมิคณาจารย์ (สอ)". ปักหมุดเมืองไทย. 11 สิงหาคม 2564. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-17. สืบค้นเมื่อ 2024-11-15.
  12. "สวยแบบไทย! ลำไย ไหทองคำ ลุคนี้ดี สมราคา ราชินีอินดี้เบอร์ 1 ของไทย". ทรูไอดี. 27 กรกฎาคม 2563. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-13. สืบค้นเมื่อ 2024-11-15.